อากาศในภาคเหนือและอีสานเริ่มเปลื่ยน
ไอแดดที่เคยร้อน ค่อยๆจางลง มีลมหนาวเข้ามาแทนที่ ยิ่งตกดึก ยิ่งสัมผัสอากาศหนาวได้มากขึ้น
เช่นเดียวกับทางใต้ มรสุมที่ผัดลมหนาวให้ภาคอื่นๆ พัดพาเอาฝนมาแบบชุ่มฉ่ำ ทั้งกลางวันและกลางคืน
มีความหนาวเย็นจากละอองและเม็ดฝน ตลอดทั้งวัน ในพื้นที่แถบอ่าวไทย
เมื่อความหนาวมาเยือน อาหารบางอย่างก็มาพร้อมกับฤดูของมัน
ฝั่งอันดามัน ก็จะเริ่มเข้าสู่ ฤดูของหอยชนิดนี้ และจะหมดฤดูในอีก3-4เดือนต่อจากนี้ไป
ตะโกเคยโพสถึงเรื่องราวหอยไว้หลายโพส ครั้นพอถึงช่วงฤดูของมัน ก็จะนำมาโพสอีก เป็นแบบนี้ทุกๆปี
ราวกับว่า เป็นหน้าม้า ของหอยชนิดนี้ หากแต่ความจริงแล้ว ตะโกต้องการสื่อให้รู้เพียงว่า หอยชนิดนี้ มันอร่อยเกินคำว่าหอย
สมาชิกที่เคยรัปทาน และรับรู้รสชาติของหอยท้ายเภา จะพอทราบว่า อร่อยเพียงใด
สำหรับสมาชิกที่ไม่เคยเห็นหรือไม่เคยรู้จัก ก็คงไม่ทราบประวัติที่มาที่ไป ตะโกจึงขออาสา พาไปรู้จักอีกครั้ง
หอยท้ายเภามีชื่อจริงๆว่า หอยท้ายเรือสำเภา เนื่องจากรูปร่างท้ายเปลือกของหอย มีลักษณะเหมือนท้ายเรือสำเภาจีน
ชาวบ้าน จึงตั้งชื่อตามที่พบเห็น หอยชนิดนี้จัดเป็นหอย2ฝา อาศัยฝังทรายปนโคลน ในบริเวณห่างฝั่งไม่มากนัก
จัดเป็นหอยที่ผู้คนรู้จักน้อยมาก ขนาดคนในพื้นที่รอบนอก ก็ไม่ค่อยรู้จักมากนัก
หอยชนิดนี้ จับโดยชาวบ้านที่มีอาชีพทำประมง ปีนึงจะใช้เวลาราว4เดือนเพื่องมหอยขาย
จากแหล่งพื้นที่ในการหาหอยที่สตูล แถบปากบารา มีข้อกำหนดชัดเจนว่า ถ้าจะดำหอยชนิดนี้ ต้องไม่ใช้เครื่องมือ
และอุปกรณ์ที่จับแบบล้างเผ่าพันธ์ เช่นการใช้เรือคราด หรือ ใช้ถังออกซิเจนหรือปั้มลม ในการลงดำหาหิย
ใช้ได้เฉพาะคราดมือ และต้องดำน้ำแบบไม่มีอุปกรณ์ช่วยหายใจ ยกเว้นหน้ากากดำน้ำ
ทั้งนี้ ก็เพื่อให้คนรุ่นหลังได้อยู่ได้กิน และมีอาชีพเสริมด้วยการดำหอยต่อไปรุ่นลูกหลาน
หอยชนิดนี้ เมื่อชาวบ้านดำมาได้ ก็จะขายให้กับคนรับซื้อ เมื่อซื้อหอยมาก็ต้องเตรียมบ่อพักและเตรียมออกซิเจน
เพื่อพักฟื้นหอย และคลายดินโคลนทรายออก ก่อนนำส่งขายทั้งในกทม และ ต่างประเทศ
โดย70% ถูกส่งไปฮ่องกง ไต้หวัน เป็นหลัก ร้านหรือภัตตาคาร ในกทมรองลงมา
ราคาขายจากคนที่จับมาในปีนี้ถือว่าราคามาแรงมากๆ อาจจะเป็นช่วงต้นฤดูที่ออกสตาท์ราคามาแบบสวยงาม
280-300 เป็นราคาเริ่มต้น กว่าจะถึงผู้บริโภคในประเทศต้องมี500 และราว700ที่ถึงฮ่องกง
ตะโกน้อยในปีที่แล้ว เริ่มรู้จักทำความคุ้นเคยกับหอยชนิดนี้ และคาดว่า จะยิ่งรู้จักมากขึ้นในปีต่อๆไป
ตะโกน้อย ชวนฝอย อร่อยกับ หอยท้ายเภา
ไอแดดที่เคยร้อน ค่อยๆจางลง มีลมหนาวเข้ามาแทนที่ ยิ่งตกดึก ยิ่งสัมผัสอากาศหนาวได้มากขึ้น
เช่นเดียวกับทางใต้ มรสุมที่ผัดลมหนาวให้ภาคอื่นๆ พัดพาเอาฝนมาแบบชุ่มฉ่ำ ทั้งกลางวันและกลางคืน
มีความหนาวเย็นจากละอองและเม็ดฝน ตลอดทั้งวัน ในพื้นที่แถบอ่าวไทย
เมื่อความหนาวมาเยือน อาหารบางอย่างก็มาพร้อมกับฤดูของมัน
ฝั่งอันดามัน ก็จะเริ่มเข้าสู่ ฤดูของหอยชนิดนี้ และจะหมดฤดูในอีก3-4เดือนต่อจากนี้ไป
ตะโกเคยโพสถึงเรื่องราวหอยไว้หลายโพส ครั้นพอถึงช่วงฤดูของมัน ก็จะนำมาโพสอีก เป็นแบบนี้ทุกๆปี
ราวกับว่า เป็นหน้าม้า ของหอยชนิดนี้ หากแต่ความจริงแล้ว ตะโกต้องการสื่อให้รู้เพียงว่า หอยชนิดนี้ มันอร่อยเกินคำว่าหอย
สมาชิกที่เคยรัปทาน และรับรู้รสชาติของหอยท้ายเภา จะพอทราบว่า อร่อยเพียงใด
สำหรับสมาชิกที่ไม่เคยเห็นหรือไม่เคยรู้จัก ก็คงไม่ทราบประวัติที่มาที่ไป ตะโกจึงขออาสา พาไปรู้จักอีกครั้ง
หอยท้ายเภามีชื่อจริงๆว่า หอยท้ายเรือสำเภา เนื่องจากรูปร่างท้ายเปลือกของหอย มีลักษณะเหมือนท้ายเรือสำเภาจีน
ชาวบ้าน จึงตั้งชื่อตามที่พบเห็น หอยชนิดนี้จัดเป็นหอย2ฝา อาศัยฝังทรายปนโคลน ในบริเวณห่างฝั่งไม่มากนัก
จัดเป็นหอยที่ผู้คนรู้จักน้อยมาก ขนาดคนในพื้นที่รอบนอก ก็ไม่ค่อยรู้จักมากนัก
หอยชนิดนี้ จับโดยชาวบ้านที่มีอาชีพทำประมง ปีนึงจะใช้เวลาราว4เดือนเพื่องมหอยขาย
จากแหล่งพื้นที่ในการหาหอยที่สตูล แถบปากบารา มีข้อกำหนดชัดเจนว่า ถ้าจะดำหอยชนิดนี้ ต้องไม่ใช้เครื่องมือ
และอุปกรณ์ที่จับแบบล้างเผ่าพันธ์ เช่นการใช้เรือคราด หรือ ใช้ถังออกซิเจนหรือปั้มลม ในการลงดำหาหิย
ใช้ได้เฉพาะคราดมือ และต้องดำน้ำแบบไม่มีอุปกรณ์ช่วยหายใจ ยกเว้นหน้ากากดำน้ำ
ทั้งนี้ ก็เพื่อให้คนรุ่นหลังได้อยู่ได้กิน และมีอาชีพเสริมด้วยการดำหอยต่อไปรุ่นลูกหลาน
หอยชนิดนี้ เมื่อชาวบ้านดำมาได้ ก็จะขายให้กับคนรับซื้อ เมื่อซื้อหอยมาก็ต้องเตรียมบ่อพักและเตรียมออกซิเจน
เพื่อพักฟื้นหอย และคลายดินโคลนทรายออก ก่อนนำส่งขายทั้งในกทม และ ต่างประเทศ
โดย70% ถูกส่งไปฮ่องกง ไต้หวัน เป็นหลัก ร้านหรือภัตตาคาร ในกทมรองลงมา
ราคาขายจากคนที่จับมาในปีนี้ถือว่าราคามาแรงมากๆ อาจจะเป็นช่วงต้นฤดูที่ออกสตาท์ราคามาแบบสวยงาม
280-300 เป็นราคาเริ่มต้น กว่าจะถึงผู้บริโภคในประเทศต้องมี500 และราว700ที่ถึงฮ่องกง
ตะโกน้อยในปีที่แล้ว เริ่มรู้จักทำความคุ้นเคยกับหอยชนิดนี้ และคาดว่า จะยิ่งรู้จักมากขึ้นในปีต่อๆไป