เรียนรู้ในขณะที่นอนหลับได้หรือไม่? จากการวิจัยชี้ว่า พวกเรามีขีดความสามารถในการเรียนรู้จำกัดในช่วงที่คลื่นนอนหลับเคลื่อน



นักวิจัยพบว่า ความสามารถในการเรียนรู้ของพวกเรามีขีดจำกัดในช่วงที่คลื่นนอนหลับเคลื่อนไหวช้า จากการใช้ MEG นั้น พวกเขาชี้ว่า แม้ว่าสมองของพวกเรายังคงรับรู้เสียงในช่วงนอนหลับ แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำการเรียนรู้ได้อย่างเป็นระบบได้

การถูกกล่อมให้นอนหลับหรือการใช้ความสามารถในการเรียนรู้ในช่วงที่นอนหลับอยู่นั้น ถือเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากในยุคปี 60 ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีตัวอย่างของนิยาย Brave New World ที่เขียนโดย Aldous Huxley ซึ่งแต่ละคนจะได้รับการปลูกฝังการดำเนินชีวิตในอนาคตในช่วงที่นอนหลับอยู่ แนวคิดนี้สุดท้ายก็หมดความนิยมไป เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ถึงการเรียนรู้ในช่วงที่นอนหลับอยู่

อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆนี้ได้มีการวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นอย่างเช่น ปฎิกิริยาตอบกลับนั้น ก็มีความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นในช่วงนอนหลับอยู่ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตามก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า การนอนหลับจะช่วยก่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นมา

งานวิจัยได้มีการตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific Reports ก็ชี้ว่า ในขณะที่สมองของพวกเรารับรู้เสียงต่างๆในช่วงนอนหลับไม่เต็มที่ ความสามารถในการรับรู้เสียงต่างๆให้ได้อย่างเป็นระบบนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับช่วงที่ตื่นนอนมากนักและการรับรู้เสียงจะหายไปในช่วงที่นอนหลับเต็มที่

ในช่วงนอนหลับนั้น ทางด้านผู้เข้าร่วมก็ได้รับรู้เสียงต่างๆไม่ว่าจะเป็นเสียงสุ่มหรือเสียงที่มีโครงสร้างชัดเจน 3 องค์ประกอบด้วยกัน

ในช่วงนอนหลับพบว่า สมอง MEG มีการตอบสนองไปในทางเสียงเดียว แต่ไม่มีการตอบสนองไปในทางเสียงที่กระจาย

ในช่วงที่นอนยังไม่หลับนั้น อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมทุกๆคนก็ได้ตอบสนองปฎิกิริยาในส่วนของสมอง MEG ที่สะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มเสียง 3 องค์ประกอบด้วยกัน

ผลลัพธ์ที่ออกมาจากงานวิจัยนี้ก็ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดในการเรียนรู้ในช่วงที่นอนหลับคลื่นถี่ช้าๆ ซึ่งนั่นก็อาจเป็นขีดจำกัดในการที่จะทำให้สมองได้รับการเรียนรู้เบื้องต้นแบบง่ายๆ

ผู้แปล : Mr.lawrence10

ที่มา : sciencedaily.com

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่