ในต้นกระทู้ จะเป็นวิทยาศาสตร์หนักหน่อย เพื่อให้เข้าใจ Pattern การนอน และ ช่วงต่างๆ ของการนอน ทั้งเรื่องคลื่นสมอง เวลาในแต่ละช่วง และ Pattern ต่างๆ ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบในการ นำไปปรับใช้ ในความเห็นที่ 1 สำหรับคนที่ไม่ชอบวิทยาศาสตร์หนักๆ ให้ข้ามไปอ่านการปรับใช้ความรู้นี้ ที่ความเห็นที่ 1 เลยครับ
Source: www.thealphaparent.com
โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะใช้เวลาประมาณ 36% ของเราในการนอน ดั้งนั้น ถ้าคุณมีชีวิตถึงอายุเฉลี่ยของคนไทยคือ 74 ปี คุณจะใช้เวลาถึงเกือบ 27 ปีในการนอนหลับเลยทีเดียว ดังนั้นวันนี้ ผมเลยอยากจะมาคุยให้ฟังถือเรื่องการนอนในแง่มุมที่ ไม่ค่อยมีใคร มาคุยให้ฟังมาก่อน เพื่อให้เพื่อนๆ ไปปรับใช้ และจะทำให้เกิดคุณภาพการนอน และ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
บางคนคิดว่าการนอนเป็นเรื่องที่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ แต่จริงๆ แล้วการนอนไม่ได้เปล่าประโยชน์อย่างที่คิดๆ กัน เราคงต้องเริ่มเรื่องด้วยการอธิบายก่อนว่าการนอนแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือช่อง REM (Rapid Eye Movement) และ การหลับแบบ NON REM (Non Rapid Eye Movement)
กราฟ Stage ของการนอนจากการทดลอง
ส่วน NON REM (Non Rapid Eyes Movement)
นั้นเป็นการหลับตอนเริ่มหลับ และ มีความฝันเกิดขึ้นน้อยมาก และ ฝันที่เกิดขึ้นจะเป็นฝันที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่าฝันในช่วง REM และในช่วง NON REM นี้เองยังสามารถแยกย่อยออกเป็น 3 (หรือ 4) ขั้นย่อยอีกด้วย แบ่งเป็น
Stage 1 : เป็นช่วงที่เราเพิ่งจะเริ่มหลับ โดยทั่วไปจะอยู่ จะเป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 5-10 นาที หลังจากหลับตาลง ใน Stage นี้สมองจะเริ่มทำงานช้าลง ถ้าเราถูกปลุกให้ตื่นตอนนี้ เราจะไม่ค่อยงัวเงียมากนัก และ บางทีก็จะรู้สึกว่าเรายังไม่ได้นอนเลยด้วยซ้ำ ในช่วงนี้นี่เอง คลื่นสมองในช่วงนี้จะเป็นคลื่น Alpha และTheta ซึ่งคลื่นสมอง จะขึ้นลงอยู่ คลื่น Alpha ที่ขึ้นลงอยู่ระหว่าง 8 – 14 รอบ และ Theta ที่ขึ้นลงระหว่าง 4 – 7 รอบต่อวินาที ในช่วงนี้ บางที ตาอาจจะกลอกไปมาช้าๆ ได้ นอกจากนี้ ในการนอน Stage1 บางคนอาจจะเคยเจอปรากฎการณ์ ตกใจตื่น (Hypnic Jerk) หรือ การรู้สึกเหมือนกำลังจะตกจากที่สูง แล้วก็สะดุ้งตัวตื่นขึ้นมา นอกจากนี้บางคนอาจจะได้ยินหรือเห็นอะไรบางอย่างในช่วงนี้ ซึ่งฝรั่งเขาเรียกกันว่า Hypnagogic Hallucinationแต่ในช่วงนี้ไม่ค่อยมีผลกับร่างกายมากนัก
คลื่นสมองในช่วง Non Rem Stage (Theta Wave Form)
Stage 2 : เป็นช่วงรอยต่อระหว่างการเริ่มหลับไปยังหลับลึก คลื่นสมองจะทำงานเร็วขึ้นมาก จะทำคลื่นสมองรูปแบบ K-Complex ที่มีความถี่ประมาณ 0.8 รอบต่อวินาที, Delta ที่มีความถี่ระหว่าง 1 – 4 รอบต่อวินาที และ Sleep Spindle โดยจะทำงานอยู่ระหว่าง 12-14 รอบต่อวินาที ซึ่งรวมแล้วจะเรียกว่า คลื่น Beta ใน Stage 2 นี่เองหัวใจจะเริ่มเต้นช้าลง และ อุณหภูมิในร่างกายจะเริ่มลดลงเล็กน้อย ช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งในช่วงนี้สมองจะทำงานในส่วนของ Cerebral Cortex และ Thalamus ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มีหน้าที่เกี่ยวกับความทรงจำ, ความสนใจ, การรับรู้ต่างๆ, ความคิด, ภาษา, และ สติ ดังนั้นการนอนสั้นๆ เพียง 30 – 40 นาที ก็เพียงพอที่จะทำให้เรากระตุ้นการทำงานของสมอง เก็บข้อมูลเข้าความทรงจำระยะสั้น เพิ่มสมาธิ และยังทำให้ตื่นมาไม่งัวเงียมากนัก ด้วย เนื่องจาก Thalamus ยังทำงานอยู่ดังนั้นร่างกายจะรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก เช่น เสียง การสัมผัส ฯลฯ ได้ไม่ยากมากนัก ช่วงนี้เราจะไม่ฝัน
คลื่นสมองในช่วง Non Rem Stage 2 (K Complex Sleep Spindle และ Delta Wave Form)
Stage 3 : การหลับลึก (จริงๆ แล้วสามารถแบ่งได้อีก เป็น Stage 3 และ Stage 4 ซึ่งมี คลื่นสมองต่างกันเล็กน้อย แต่นับตั้งแต่ปี 2007 ทั้งสอง Stages ได้ถูกรวมเรียกเป็น Stage 3) ในช่วงนี้เองที่ร่างกายจะตอบสนองกับสิ่งรบกวนภายนอกน้อยลงมาก ถ้าเราถูกปลุกช่วงนี้เราจะรู้สึกงัวเงียมากที่สุด โดยปกติการหลับใน Stage นี้คลื่นสมองจะเป็นรูปแบบ Delta ซะเป็นส่วนใหญ่ ร่างกายจะอยู่ในสภาวะพักผ่อนมากที่สุดในช่วงนี้เอง นอกจากนี้การหลั่ง Growth Hormone เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จะเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ ในการหลับ แบบ Non REM ก็สามารถเกิดการฝันได้เช่นกัน โดยการฝันส่วนใหญ่ของ Non REM จะเกิดขึ้นช่วงกลางของการหลับลึก (แต่ก่อนคือตอนStage 4) แต่ว่าความฝันในช่วงนี้จะเป็นฝันที่ค่อนข้างสมจริง ดังนั้น การละเมอ หรือ การฉี่รดที่นอน จะเกิดขึ้นในช่วงนี้เองล่ะครับ
คลื่นสมองในช่วง Non Rem Stage 3 (Delta Wave)
ช่วง REM (Rapid Eyes Movement)
เป็น ช่วงที่ตาเราจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้สมองของเราจะทำงานใกล้เคียงกับตอนที่เราตื่น จึงทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงที่คนเราจะฝันมากกว่าการนอนหลับช่วงอื่นๆ และ การฝันนั้นจะค่อนข้างโลดโผน อย่างเช่น เห็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในโลกปกติ สามารถทำอะไรพิสดารได้ อย่างเช่น เห็นปีศาจมาตามฆ่า หรือ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ หรือ ว่าฝันว่าเห็นภูติผีปีศาจต่างๆ ได้ ในช่วงนี้เองร่างกายจะสามารถพุ่งจากช่วงหลับ ไปเป็นช่วงครึ่งหลับครึ่งตื่น ซึ่งเมื่อเราอยู่ในช่วง REM เราจะควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ ไม่ค่อยได้ (Temporary Paralysis) เพื่อป้องกันการทำอันตรายตัวเอง หรือ ผู้อื่น ซึ่งเมื่อเกิดอาการเช่นนี้ บางคนก็นึกว่าผีอำ ครับ
แล้วการนอนหลับแลล REM มีประโยชน์อะไรกับชีวิตเราบ้าง จริงๆ อาจจะพูดได้ว่า REM มีประโยชน์อยู่สองอย่าง คือ การเรียนรู้ถาวร และ การสร้างจินตนาการ ผมอยากจะเรียกการนอนแบบ REM ว่า การที่สมองจัดเรียงข้อมูลในสมองใหม่ มันจึงทำให้ข้อมูลต่างๆ ผสมกันไปมาจนทำให้เราจะสามารถฝันถึงสิ่งต่างๆ นาๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต หรือ สิ่งที่เราเคยจินตนาการถึงได้ เนื่องจากสมองจัดเรียกข้อมูล ชุดใหม่เข้ากับข้อมูลเดิมๆ ที่เคยมีอยู่ในสมองของเรา ซึ่งจุดนี้เราอาจจะใช้ประโยชน์จากมันโดยการ คิดอะไรบางอย่างก่อนที่จะนอน และ สมองจะพยายามใช้ข้อมูลทั้งหมดที่เรามีอยู่ มาประมวลผลโดยอัตโนมัติ และ ทำให้เรามีเปอร์เซนต์ที่ทำให้เราสามารถคิดปัญหาต่างๆ ออกโดยวิธีการนอกกรอบไปไกลเลยทีเดียว ซึ่งหลายๆ คนน่าจะเคยทำแบบนี้อย่างที่เราไม่รู้ตัวก็เป็นได้
คลื่นสมองในเวลาที่เราหลับทั้งหมด
Source:
http://www.world-of-lucid-dreaming.com/the-stages-of-sleep.html
มาทำความรู้จัก กับสิ่งที่เราใช้เวลามากที่สุดในชีวิต “การนอน”
Source: www.thealphaparent.com
โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะใช้เวลาประมาณ 36% ของเราในการนอน ดั้งนั้น ถ้าคุณมีชีวิตถึงอายุเฉลี่ยของคนไทยคือ 74 ปี คุณจะใช้เวลาถึงเกือบ 27 ปีในการนอนหลับเลยทีเดียว ดังนั้นวันนี้ ผมเลยอยากจะมาคุยให้ฟังถือเรื่องการนอนในแง่มุมที่ ไม่ค่อยมีใคร มาคุยให้ฟังมาก่อน เพื่อให้เพื่อนๆ ไปปรับใช้ และจะทำให้เกิดคุณภาพการนอน และ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
บางคนคิดว่าการนอนเป็นเรื่องที่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ แต่จริงๆ แล้วการนอนไม่ได้เปล่าประโยชน์อย่างที่คิดๆ กัน เราคงต้องเริ่มเรื่องด้วยการอธิบายก่อนว่าการนอนแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือช่อง REM (Rapid Eye Movement) และ การหลับแบบ NON REM (Non Rapid Eye Movement)
ส่วน NON REM (Non Rapid Eyes Movement)
นั้นเป็นการหลับตอนเริ่มหลับ และ มีความฝันเกิดขึ้นน้อยมาก และ ฝันที่เกิดขึ้นจะเป็นฝันที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่าฝันในช่วง REM และในช่วง NON REM นี้เองยังสามารถแยกย่อยออกเป็น 3 (หรือ 4) ขั้นย่อยอีกด้วย แบ่งเป็น
Stage 1 : เป็นช่วงที่เราเพิ่งจะเริ่มหลับ โดยทั่วไปจะอยู่ จะเป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 5-10 นาที หลังจากหลับตาลง ใน Stage นี้สมองจะเริ่มทำงานช้าลง ถ้าเราถูกปลุกให้ตื่นตอนนี้ เราจะไม่ค่อยงัวเงียมากนัก และ บางทีก็จะรู้สึกว่าเรายังไม่ได้นอนเลยด้วยซ้ำ ในช่วงนี้นี่เอง คลื่นสมองในช่วงนี้จะเป็นคลื่น Alpha และTheta ซึ่งคลื่นสมอง จะขึ้นลงอยู่ คลื่น Alpha ที่ขึ้นลงอยู่ระหว่าง 8 – 14 รอบ และ Theta ที่ขึ้นลงระหว่าง 4 – 7 รอบต่อวินาที ในช่วงนี้ บางที ตาอาจจะกลอกไปมาช้าๆ ได้ นอกจากนี้ ในการนอน Stage1 บางคนอาจจะเคยเจอปรากฎการณ์ ตกใจตื่น (Hypnic Jerk) หรือ การรู้สึกเหมือนกำลังจะตกจากที่สูง แล้วก็สะดุ้งตัวตื่นขึ้นมา นอกจากนี้บางคนอาจจะได้ยินหรือเห็นอะไรบางอย่างในช่วงนี้ ซึ่งฝรั่งเขาเรียกกันว่า Hypnagogic Hallucinationแต่ในช่วงนี้ไม่ค่อยมีผลกับร่างกายมากนัก
Stage 2 : เป็นช่วงรอยต่อระหว่างการเริ่มหลับไปยังหลับลึก คลื่นสมองจะทำงานเร็วขึ้นมาก จะทำคลื่นสมองรูปแบบ K-Complex ที่มีความถี่ประมาณ 0.8 รอบต่อวินาที, Delta ที่มีความถี่ระหว่าง 1 – 4 รอบต่อวินาที และ Sleep Spindle โดยจะทำงานอยู่ระหว่าง 12-14 รอบต่อวินาที ซึ่งรวมแล้วจะเรียกว่า คลื่น Beta ใน Stage 2 นี่เองหัวใจจะเริ่มเต้นช้าลง และ อุณหภูมิในร่างกายจะเริ่มลดลงเล็กน้อย ช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งในช่วงนี้สมองจะทำงานในส่วนของ Cerebral Cortex และ Thalamus ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มีหน้าที่เกี่ยวกับความทรงจำ, ความสนใจ, การรับรู้ต่างๆ, ความคิด, ภาษา, และ สติ ดังนั้นการนอนสั้นๆ เพียง 30 – 40 นาที ก็เพียงพอที่จะทำให้เรากระตุ้นการทำงานของสมอง เก็บข้อมูลเข้าความทรงจำระยะสั้น เพิ่มสมาธิ และยังทำให้ตื่นมาไม่งัวเงียมากนัก ด้วย เนื่องจาก Thalamus ยังทำงานอยู่ดังนั้นร่างกายจะรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก เช่น เสียง การสัมผัส ฯลฯ ได้ไม่ยากมากนัก ช่วงนี้เราจะไม่ฝัน
Stage 3 : การหลับลึก (จริงๆ แล้วสามารถแบ่งได้อีก เป็น Stage 3 และ Stage 4 ซึ่งมี คลื่นสมองต่างกันเล็กน้อย แต่นับตั้งแต่ปี 2007 ทั้งสอง Stages ได้ถูกรวมเรียกเป็น Stage 3) ในช่วงนี้เองที่ร่างกายจะตอบสนองกับสิ่งรบกวนภายนอกน้อยลงมาก ถ้าเราถูกปลุกช่วงนี้เราจะรู้สึกงัวเงียมากที่สุด โดยปกติการหลับใน Stage นี้คลื่นสมองจะเป็นรูปแบบ Delta ซะเป็นส่วนใหญ่ ร่างกายจะอยู่ในสภาวะพักผ่อนมากที่สุดในช่วงนี้เอง นอกจากนี้การหลั่ง Growth Hormone เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จะเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ ในการหลับ แบบ Non REM ก็สามารถเกิดการฝันได้เช่นกัน โดยการฝันส่วนใหญ่ของ Non REM จะเกิดขึ้นช่วงกลางของการหลับลึก (แต่ก่อนคือตอนStage 4) แต่ว่าความฝันในช่วงนี้จะเป็นฝันที่ค่อนข้างสมจริง ดังนั้น การละเมอ หรือ การฉี่รดที่นอน จะเกิดขึ้นในช่วงนี้เองล่ะครับ
ช่วง REM (Rapid Eyes Movement)
เป็น ช่วงที่ตาเราจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้สมองของเราจะทำงานใกล้เคียงกับตอนที่เราตื่น จึงทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงที่คนเราจะฝันมากกว่าการนอนหลับช่วงอื่นๆ และ การฝันนั้นจะค่อนข้างโลดโผน อย่างเช่น เห็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในโลกปกติ สามารถทำอะไรพิสดารได้ อย่างเช่น เห็นปีศาจมาตามฆ่า หรือ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ หรือ ว่าฝันว่าเห็นภูติผีปีศาจต่างๆ ได้ ในช่วงนี้เองร่างกายจะสามารถพุ่งจากช่วงหลับ ไปเป็นช่วงครึ่งหลับครึ่งตื่น ซึ่งเมื่อเราอยู่ในช่วง REM เราจะควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ ไม่ค่อยได้ (Temporary Paralysis) เพื่อป้องกันการทำอันตรายตัวเอง หรือ ผู้อื่น ซึ่งเมื่อเกิดอาการเช่นนี้ บางคนก็นึกว่าผีอำ ครับ
แล้วการนอนหลับแลล REM มีประโยชน์อะไรกับชีวิตเราบ้าง จริงๆ อาจจะพูดได้ว่า REM มีประโยชน์อยู่สองอย่าง คือ การเรียนรู้ถาวร และ การสร้างจินตนาการ ผมอยากจะเรียกการนอนแบบ REM ว่า การที่สมองจัดเรียงข้อมูลในสมองใหม่ มันจึงทำให้ข้อมูลต่างๆ ผสมกันไปมาจนทำให้เราจะสามารถฝันถึงสิ่งต่างๆ นาๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต หรือ สิ่งที่เราเคยจินตนาการถึงได้ เนื่องจากสมองจัดเรียกข้อมูล ชุดใหม่เข้ากับข้อมูลเดิมๆ ที่เคยมีอยู่ในสมองของเรา ซึ่งจุดนี้เราอาจจะใช้ประโยชน์จากมันโดยการ คิดอะไรบางอย่างก่อนที่จะนอน และ สมองจะพยายามใช้ข้อมูลทั้งหมดที่เรามีอยู่ มาประมวลผลโดยอัตโนมัติ และ ทำให้เรามีเปอร์เซนต์ที่ทำให้เราสามารถคิดปัญหาต่างๆ ออกโดยวิธีการนอกกรอบไปไกลเลยทีเดียว ซึ่งหลายๆ คนน่าจะเคยทำแบบนี้อย่างที่เราไม่รู้ตัวก็เป็นได้
Source: http://www.world-of-lucid-dreaming.com/the-stages-of-sleep.html