คิดได้แค่นี้จริงๆหรือนี่ ?

ปัจจุบันอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย ถือได้ว่า เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศที่สร้างรายได้เข้ารัฐ และเป็นประโยชน์ ต่อประชาชนทั้งประเทศ โดยเฉพาะหลังจากที่รัฐบาลไทยได้พัฒนาเข้าสู่ระบบเสรีแบบสากลทั่วโลกโดยตั้งสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.เข้ามาทำหน้าที่ ควบคุม กฎ การบริหารจัดการคลื่นความถี่ทั้งวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม ทำให้ ผู้ประกอบการเอกชนเดิมทั้ง 3 รายคือ AIS DTAC และ TRUE จากเดิมที่บริหารคลื่นผ่านรายได้ระบบสัมปทานที่ขึ้นกับ TOT และ CAT มาเป็นการบริหารคลื่นตามระบบขอใบอนุญาตผ่านการประมูลจาก กสทช.

ดังนั้นรัฐวิสาหกิจ 2 ราย ทั้ง TOT กับ CAT จากที่เป็นผู้ควบคุมกฎ ได้เปลี่ยนสถานะเป็นผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมเฉกเช่นเดียวกับเอกชนทั้ง 3 ราย




[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ทั้งนี้จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวพบว่า รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นจากภาคเอกชนทั้ง 3 ราย โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2001 ที่มีการให้กสทช.เข้ามามีบทบาทในการอนุญาตให้กับผู้ประกอบการตั้งแต่ระบบ3G จนมาถึง 4G ที่ยังไม่นับรวมที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาไปสู่ระบบ 5G เพื่อพัฒนาให้ทันกับมาตรฐานของโลกโดยมีรายได้จาก ใบอนุญาตรวมแล้วทั้งสิ้น 1 แสนกว่าล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่เคยได้รับจากระบบสัมปทานหรือจาก TOT กับ CAT ...ที่เพียง 10,000-20,000 ล้านบาท

เห็นเม็ดเงินที่ กสทช. นำส่งให้กับภาครัฐ หลักแสนล้านแล้ว ต้องยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการหารายได้ให้กับรัฐบาล ซึ่งจริงๆ แล้ว วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งกสทช. ก็คือการเปิดเสรีโทรคมนาคม ไม่ใช่การหารายได้ ซึ่งที่ผ่านมานับได้ว่า กสทช.ช่วยปลดแอกภาคเอกชนจากระบบสัมปทาน....ทำให้เกิดการเสมอภาคเท่าเทียมกันในการแข่งขันด้วยระบบใบอนุญาตที่แม้ราคาใบอนุญาตจะสูงลิบลิ่วเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย....เรียกได้ว่า ผลงานของกสทช. โดดเด่นมากในหลายเรื่อง....

ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า หลังจากมี กสทช. ทำให้รายได้หลักของรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งคือ TOT และ CAT ที่เคยมีรายได้จากระบบสัมปทานลดลงเห็นได้จาก ปี 2557 ได้งดการนำส่งเงินรายได้เข้าแผ่นดิน เนื่องจากขาดทุนอย่างต่อเนื่องจนต้องเดินเข้าสู่แผนฟื้นฟู...และอาจเดินไปถึงการควบรวมองค์กร... .


และด้วยเหตุผลนี้เองกระมังจึงได้เห็น "ตลกร้าย"...ที่ทำให้สังคมถึงกับอึ้งกับวิธีคิด...นั่นก็คือรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง TOT และ CAT ...การฟ้องร้อง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้ง 3 ราย โดยแต่ละรายโดนกันไปเป็นหลักแสนล้าน.... อย่างค่ายเอไอเส รวมแล้ว ก็ 1.6 แสนล้านบาท... ขณะที่ ดีแทค รวมคดีฟ้องร้อง รวมเกือบ 3 แสนล้าน ....ส่วนของ ทรูฯ กว่า 2 แสนล้านบาท...ซึ่งหาก TOT และ CAT ฟ้องร้องค่าเสียหายดังกล่าว โดยใช้ ข้ออ้างว่า เพื่อปกป้องตัวเองที่เกรงจะโดนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 พอที่จะเข้าใจได้ ..แต่หากเป็นการฟ้องเพื่อจะเรียกร้องเงินเข้าหน่วยงานถือเป็นเรื่องตลกร้ายที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย.... เพราะเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าตลาด (MARKET CAP) ของอุปกรณ์ทั้ง 3 ราย ที่เป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯมีมูลค่า 4 แสนล้านบาท สำหรับ AIS และ 2 แสนล้านบาท สำหรับ TRUE และ DTAC ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท เท่ากับว่า มูลค่าการฟ้องร้องของ TOT กับ AIS กับ ทรู ถือเป็นมูลค่าเท่ากับ 50% ของมูลค่าตลาด ในขณะที่ DTAC มูลค่าตลาดยังไม่พอจ่าย แต่ต่างจ่ายกลับไปให้ TOT กว่า 1.2 แสนล้านบาท หรือส่งผลทำให้ TOT กลับกลาย มาเป็นสถานะเดิม หรือเสือนอนกิน ก่อนจะมีการปล่อยเสรี คือเป็น องค์กรผูกขาด หรือเป็น ผู้เข้าควบคุมกฎแทน กสทช.เหมือนเดิม



หากเทียบตัวเลขที่เอกชนแต่ละราย โดนฟ้องกับมูลค่าตลาดของแต่ละบริษัทแล้ว ก็แทบจะทำให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง สามารถถือครองบริษัทสื่อสารไทยได้ทั้งบริษัทโดยไม่ต้องทำอะไร เรียกได้ว่ากลับสู่ระบบสัมปทานแบบผูกขาด โดยรัฐได้สบายๆ เพราะเป็นวิธีการหารายได้แบบไม่ต้องลงทุนลงแรงใดๆ กลับใช้วิธีหากินแบบเก่าๆ ถอยหลังลงคลอง

ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การพัฒนาเทคโนโลยีจาก 4จี เป็น 5จี ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพอุปกรณ์เทคโนโลยีให้มีความทันสมัย เทียบชั้นนานาประเทศ ที่วันนี้ เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีไปถึงยุค 5จี ....เชื่อว่า ณ วันนี้ ศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยทั้ง 3 ราย ไม่แพ้ชาติใด แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ รัฐวิสาหกิจ ทั้ง TOT กับ CAT ที่ยังมีความคิดการบริหารจัดการ "แบบนี้" ...เป็นแบบนี้ประเทศชาติจะเจริญได้อย่างไร น่าเป็นห่วงจริง!!!!



[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่