กสทช. โต้.(เรียกค่าเสียหาย กสทช. 2.75 แสนล้านบาท) ชี้ CATยอมรับกฏหมาย ตอนรับฟังความคิดเห็นร่างเยี่ยวยาแล้ว (ด้วยตัวเอง)

15 ตุลาคม 2556 กสทช. โต้.(เรียกค่าเสียหาย กสทช. 2.75 แสนล้านบาท) ชี้ CATยอมรับกฏหมาย ตอนรับฟังความคิดเห็นร่างเยี่ยวยาแล้ว (ด้วยตัวเอง) ว่าปฏิบัติตาม CAT ก็ได้ประโยชน์จากค่าเช่า

ประเด็นหลัก


ดร.สุทธิพล  ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. ด้านกฎหมาย  เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ถือเป็นสิทธิที่  CAT สามารถกระทำได้  แต่จะสมเหตุสมผลตามที่ CAT กล่าวอ้างหรือไม่นั้นกระบวนการทางศาลจะเป็นผู้ตัดสินเอง ซึ่งกรณีนี้เป็นเรื่องที่ กสทช. ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ว่า CAT ในฐานะเป็นผู้ประกอบการที่เคยได้ประโยชน์จากสัญญาสัมปทานย่อมพยายามใช้สิทธิของตนอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ที่ CAT คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการสิ้นสุดของสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800  MHz    และจากการออกประกาศห้ามซิมดับดังกล่าว  แต่ในบทบาทของ กสทช. ที่ทำหน้าที่เป็นองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแล ย่อมมีหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่จะต้องปกป้องประโยชน์สาธารณะและคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน อีกทั้งยังต้องคุ้มครองผู้ใช้บริการไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านของระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต รวมทั้งต้องบังคับใช้ “ประกาศห้ามซิมดับ” ให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อปกป้องประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการจำนวนกว่า 18 ล้านคนให้สามารถใช้บริการต่อไปโดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนผู้ใช้บริการอย่าตื่นตระหนกกับข่าวการฟ้องคดีดังกล่าว เพราะ กสทช. เชื่อมั่นในฐานอำนาจและดุลพินิจโดยชอบ ซึ่งตั้งอยู่บนประโยชน์สูงสุดของประชาชน



ส่วนที่ CAT อ้างสิทธิในการได้รับโอนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดเสมือนกับว่าเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสมบัติของ CAT ก็ฟังไม่ขึ้นเพราะทั้งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 บัญญัติตรงกันว่าเลขหมายโทรคมนาคมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ไม่ได้เป็นทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจอีกต่อไป ซึ่งเรื่องนี้มีหลายฝ่ายเข้าใจผิดและไม่ทราบว่า กติกาในเรื่องนี้ได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปแล้ว โดยที่ กสทช.มีอำนาจในการอนุญาตและกำกับดูแลการใช้เลขหมายโทรคมนาคม ซึ่งหากปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ดำเนินการตามเงื่อนไขการอนุญาต โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร กสทช.ก็มีอำนาจถอนคืนเลขหมายโทรคมนาคมได้ การที่ CAT อ้างว่ามีสิทธิในเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานโดยไปอ้างสิทธิตามสัญญาสัมปทานที่ผูกอยู่กับกฎหมายเดิม จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

  เมื่อ CAT ไม่มีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ หลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดไปแล้ว CAT จึงไม่ได้รับความเสียหายใดๆ ในการที่ กสทช. ออกประกาศห้ามซิมดับ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนโดยไม่ให้บริการสาธารณะหยุดชะงัก ตรงกันข้าม ผลจากการที่บริการโทรคมนาคมยังคงดำเนินการต่อไป CAT จะยังคงมีรายได้ ที่จะเกิดจากการให้เช่าโครงข่ายที่ผู้รับสัมปทานจะส่งมอบให้หลังสัมปทานสิ้นสุด ซึ่งเมื่อตามประกาศห้ามซิมดับกำหนดให้ CAT เป็นผู้ให้บริการด้วย ผู้ให้บริการที่ต้องใช้โครงข่ายในการให้บริการคลื่น 1800 MHz จึงต้องจ่ายค่าเช่าโครงข่ายแก่ CAT ตามที่จะตกลงกัน ประกาศห้ามซิมดับนี้จึงไม่ได้ไปทำให้ CAT เสียสิทธิใดๆ แต่กลับไปทำให้ CAT มีรายได้จากการให้เช่าโครงข่าย ตรงกันข้ามหากมีการเพิกถอนประกาศนี้ CAT เองก็จะได้รับความเสียหาย เพราะไม่สามารถให้บริการโดยใช้คลื่นความถี่นี้ได้ แต่ถ้า CAT ไปให้บริการโดยไม่มีประกาศนี้รองรับ ก็จะเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายทันที

  นอกจากนี้ข้อกล่าวหาของ CAT ยังขัดแย้งกันเอง โดยอ้างว่าประกาศห้ามซิมดับไม่ชอบและยอมรับว่าสัญญาสัมปทานสิ้นสุด แต่กลับยืนยันว่าจะเป็นผู้ให้บริการแต่ผู้เดียวในระหว่างระยะเวลาคุ้มครองตามประกาศดังกล่าว นอกจากนี้ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ CAT ก็มีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นตลอดกระบวนการ โดยได้ให้ความเห็นว่ายอมรับในอำนาจตามกฎหมายของ กสทช.ในการออกประกาศห้ามซิมดับ แต่ประสงค์จะเป็นผู้ดูแลผู้ใช้บริการและต้องการให้ขยายระยะเวลาคุ้มครองเป็น 2 ปี ซึ่งแสดงอยู่ในตัวว่า CAT ยอมรับในหลักการและความชอบด้วยกฎหมายของประกาศแล้ว แต่ไม่พอใจในรายละเอียดของเงื่อนไขจึงต้องการให้มีการปรับปรุงให้ชัดเจนเท่านั้น ซึ่งสามารถตรวจสอบความเห็นเรื่องดังกล่าวของ CAT ได้จากผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะที่ กสทช. ได้เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน กสทช.






  พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. แสดงความเห็นว่า การใช้สิทธิในการฟ้องร้องคดีของ CAT ในครั้งนี้น่าจะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เพราะเป็นการเรียกร้องสิทธิทั้งๆที่ CAT รู้ดีว่าไม่มีสิทธิตามสัญญาสัมปทานที่สิ้นสุดลงแล้ว นอกจากนี้ CAT ยังเข้าร่วมในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของร่างประกาศนี้มาโดยตลอดและหลายประเด็นที่ปรากฎในข่าว CAT ก็ไม่ได้หยิบยกขึ้นในช่วงที่มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ จึงเหมือนมีการเพิ่มเติมประเด็นขึ้นมาใหม่เพื่อจะได้ใช้เป็นข้ออ้างในการฟ้องคดี รวมทั้งมีการหยิบยกข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาอ้าง กล่าวคือเรื่องการเร่งการโอนย้ายเลขหมายนั้น ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง คือ กสทช. ไม่ได้เข้าไปก้าวล่วงสิทธิของคู่สัญญาสัมปทานก่อนที่สัญญาสัมปทานยังไม่สิ้นสุด และยึดหลักการที่ว่า การโอนย้ายต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ แม้ว่าจะมีข้อเรียกร้องของนักวิชาการบางคนที่ต้องการให้มีการโอนย้ายแบบเหมาเข่งก็ตาม แต่ กสทช. ก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม ซึ่งตัวแทนของ CAT เองก็รับรู้ในเรื่องนี้มาโดยตลอด

  “การออกประกาศห้ามซิมดับนี้ไม่ได้เป็นการให้ “สิทธิ” ใดๆในการใช้คลื่นความถี่แก่ผู้ประกอบการรายใด แต่เป็นการกำหนด “หน้าที่” ให้ผู้ให้บริการต้องให้บริการต่อไป เพื่อมิให้บริการสาธารณะต้องหยุดชะงัก จึงไม่ได้เป็นเรื่องของการประกอบกิจการโทรคมนาคม แต่เป็นเรื่องที่จะต้องช่วยเหลือประชาชนในระหว่างเปลี่ยนผ่านระบบไม่ให้ได้รับผลกระทบ ซึ่งประกาศนี้ยืนยันชัดเจนว่า ผู้ให้บริการประกอบด้วยทั้งผู้ให้สัมปทานเดิมและผู้รับสัมปทานเดิม ฉะนั้น ทั้ง CAT รวมทั้งผู้รับสัมปทานเดิมจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามประกาศฯ โดยไม่สามารถอ้างสิทธิเดิมตามสัญญาสัมปทานที่สิ้นสุดไปแล้ว เพื่อมาลบล้างหน้าที่ตามประกาศนี้ได้” รองประธาน กสทช. กล่าวทิ้งท้าย

  ด้านแหล่งข่าวในวงการกิจการโทรคมนาคม ได้ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า ประเด็นการฟ้องของ CAT เหมือนกับอ้างการเป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อเรียกร้อง “สิทธิ” ในการปกป้องประโยชน์ของหน่วยงาน โดยไม่ได้คำนึกถึงประโยชน์ของประชาชน ซึ่งในฐานะที่ CAT ไม่ได้เป็นเพียงผู้รับใบอนุญาต แต่เป็นรัฐวิสาหกิจด้วย จึงไม่ควรมุ่งแสวงหากำไรเข้าหน่วยงานของตนเพียงอย่างเดียว แต่ควรมีจิตสำนึกที่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของประชาชน ตลอดจนควรดำรงตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้นการที่ยื่นฟ้องเพื่อให้เพิกถอนประกาศห้ามซิมดับและเรียกร้องการได้สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ แม้สัญญาสัมปทานจะหมดไปแล้วเพียงเพื่อปกป้องประโยชน์ของ CAT แต่อย่างเดียวนั้นจึงดูไม่สมเหตุสมผล และที่สำคัญ CAT รู้อยู่เต็มอกว่าตนไม่มีสิทธิตามสัญญาสัมปทานอีกต่อไป และเมื่อไม่มีสิทธิจึงไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น และที่ประหลาดใจมากไปกว่านั้น ก็คือ ประกาศฯนี้ถือเป็นอาวุธลับที่ช่วยให้ CAT ได้รับประโยชน์จากการให้เช่าโครงข่าย 2 จี  เพราะถ้าไม่มีประกาศฯนี้ก็ไม่มีใครสามารถใช้คลื่น 1800 MHz ที่หมดอายุสัมปทานได้ และเมื่อไม่มีการใช้คลื่น 1800 MHz โครงข่าย 2จี ที่อยู่ในมือ CAT ก็จะกลายเป็นซากเศษเหล็กที่ไร้คุณค่าไปโดยปริยาย

ดังนั้นการที่ CAT ฟ้องเรียกค่าเสียหายกว่า 3 แสนล้านบาทที่ไม่มีจริงนั้น จึงฟังไม่ขึ้น อีกทั้งยังจะต้องใช้งบประมาณของรัฐในกรอบวงเงินสูงถึง 280 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าขึ้นศาลในการฟ้องคดีต่อ กสทช.นั้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและทำให้รัฐเสียหายอย่างมาก ซึ่งหากผลการดำเนินการฟ้องคดีดังกล่าวมีความเสียหายเกิดขึ้นก็ควรที่ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องของ CAT จะต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบด้วย





























http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=202799:-cat-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000128953



______________________________________

______________________________________



กสทช. แย้ง CAT ใช้สิทธิไม่สุจริตในการฟ้อง“ประกาศห้ามซิมดับ

altย้ำหมุด...! สัมปทานสิ้นสุด หมดสิทธิใช้คลื่น แนะในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้รับใบอนุญาต ควรปฏิบัติตามกฎหมาย โดยยึดประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นหลักชัย
มากกว่าเอาผลประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับเป็นตัวตั้ง
    จากกรณีที่ ที่ประชุม (บอร์ดกสท) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 มีมติให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT  ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอเพิกถอน ประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2556 (ประกาศห้ามซิมดับ) ที่ออกโดย กสทช. ตามที่เป็นข่าวนั้น

ดร.สุทธิพล  ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. ด้านกฎหมาย  เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ถือเป็นสิทธิที่  CAT สามารถกระทำได้  แต่จะสมเหตุสมผลตามที่ CAT กล่าวอ้างหรือไม่นั้นกระบวนการทางศาลจะเป็นผู้ตัดสินเอง ซึ่งกรณีนี้เป็นเรื่องที่ กสทช. ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ว่า CAT ในฐานะเป็นผู้ประกอบการที่เคยได้ประโยชน์จากสัญญาสัมปทานย่อมพยายามใช้สิทธิของตนอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ที่ CAT คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการสิ้นสุดของสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800  MHz    และจากการออกประกาศห้ามซิมดับดังกล่าว  แต่ในบทบาทของ กสทช. ที่ทำหน้าที่เป็นองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแล ย่อมมีหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่จะต้องปกป้องประโยชน์สาธารณะและคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน อีกทั้งยังต้องคุ้มครองผู้ใช้บริการไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านของระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต รวมทั้งต้องบังคับใช้ “ประกาศห้ามซิมดับ” ให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อปกป้องประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการจำนวนกว่า 18 ล้านคนให้สามารถใช้บริการต่อไปโดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนผู้ใช้บริการอย่าตื่นตระหนกกับข่าวการฟ้องคดีดังกล่าว เพราะ กสทช. เชื่อมั่นในฐานอำนาจและดุลพินิจโดยชอบ ซึ่งตั้งอยู่บนประโยชน์สูงสุดของประชาชน

  “ตราบใดที่ศาลปกครองกลางยังไม่มีคำสั่งเพิกถอนหรือสั่งห้ามบังคับใช้ประกาศห้ามซิมดับ การคุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการตามเงื่อนไขของประกาศดังกล่าว ก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยประชาชนผู้ใช้บริการที่ยังตกค้างอยู่ในระบบ 2 จี บนคลื่น 1800 MHz ที่สิ้นสุดสัมปทานจะไม่ได้รับผลกระทบ จึงขอให้ประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนกต่อกรณีที่ CAT ยื่นฟ้องในคดีดังกล่าว และกสทช.เองก็พร้อมและยินดีจะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายจากกระบวนการยุติธรรม โดยมั่นใจว่ามีข้อกฎหมายรองรับชัดเจนว่าประกาศนี้ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นมาตรการทางกฎหมายที่จำเป็นโดยไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าที่จะสามารถคุ้มครองประโยชน์สาธารณะของประชาชนผู้ใช้บริการกว่า 18 ล้านคน ส่วนที่มีการอ้างว่าคลื่นความถี่ 1800 MHz  หลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดเป็นสิทธิของ CAT เพียงผู้เดียว ก็เป็นเรื่องที่มีข้อกฎหมายชี้ชัดแล้วว่า CAT ไม่มีสิทธิใช้คลื่นความถี่หลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดแล้ว โดยคลื่นความถี่ต้องกลับมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. เพื่อนำไปจัดสรรใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนต่อไป ข้อเรียกร้องของ CAT จึงเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย และหากมีการไปกระทำการใดๆเพื่อ


ผมขอเปลื่ยนชื่อจาก So Magawn เป็น Magawn19 (มันมีความหมายว่าเริ่มเล่นพันทิปอายุ19ครับ) มีผลทุกช่องทางนะครับ รวมถึงคลังความรู้โทรคมนาคมและการสือสารโดยใช้ชื่อ http://magawn19.blogspot.com/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่