กระทู้นี้แตกประเด็นมาจากกระทู้นี้ค่ะ
http://ppantip.com/topic/31213928
ว่าด้วยข้อ 1 . แก้ พรบ.สรรพสามิตโทรคมนาคม ให้เสียภาษีน้อยลง ได้ผลประโยชน์ 8,000 ล้าน
คำตอบ
สรุปเรื่องภาษีสรรพสามิตคร่าวๆ ดังนี้
ผู้ให้สัมปทาน ซึ่งได้แก่ TOT (ทศท.), CAT (กสท.)
บริษัทผู้รับสัมปทาน ซึ่งได้แก่ บริษัท AIS, DTAC, TRUE , TT&T , ...
ตัวอย่างวิธีคิดภาษีสรรพสามิต
สมมุติบริษัทรับสัมปทานมีรายได้ 100 บาท
ต้องส่งค่าสัมปทาน 20% หรือ 20 บาท
ของรายได้ที่ยังไม่หักภาษี
ซึ่งหน่วยงานผู้ให้สัมปทานจะได้ 20 บาท
เมื่อกำหนดให้เก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว
สมมุติเขาเรียกเก็บภาษี 10 %
บริษัทรับสัมปทานก็จะจ่ายให้ 10 บาท เป็นภาษีสรรพสามิตเข้ารัฐ
บริษัทรับสัมปทานแทนที่จะจ่ายให้ผู้ให้สัมปทาน 20 บาทเหมือนเดิม
ก็จ่าย 10 บาท เพราะนำภาษีสรรพสามิตที่จ่ายให้รัฐมาหักอีก 10 บาท
สรุปก็คือผู้รับสัมปทานทั้งหมด
ก็จ่าย 20 บาทเหมือนเดิม
ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงสักแดงเดียว
ส่วนคลัง ก็ได้รายได้เพิ่มขึ้นและเร็วขึ้น
คือได้ 10 บาทชัวร์ๆ ทุกๆ ไตรมาส
ไม่ต้องรอปันผลจาก TOT และ CAT ตอนสิ้นปี
ส่วนที่ดูเหมือนจะเสียมากที่สุดก็คือหน่วยงานผู้ให้สัมปทาน
ทั้ง TOT และ CAT
คือแทนที่จะได้ 20 บาท แต่กลับเหลือแค่ 10 บาท
ซึ่งที่จริงแล้วทุกปี หน่วยงานเหล่านี้
ก็ต้องส่งรายได้เข้ารัฐทุกปีตามอัตราที่รัฐกำหนดหรือเรียกเก็บ
เพราะรัฐหรือกระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 100%
ก็คือเป็นเจ้าของนั่นแหล่ะ
บางปีก็เลย 50% ด้วยซ้ำ
แต่ถ้ามีรายได้จากส่วนแบ่งน้อยทำให้รายได้โดยรวมน้อย
ก็ส่งเข้ารัฐตอนสิ้นปีน้อยลงไปด้วย
ถ้าได้มากก็ต้องส่งมากตามไปด้วยเหมือนกัน
บางช่วงที่มีวิกฤตรัฐเงินขาดมือจนแทบจะไม่มีเงินสดเหลือในคลัง
ก็มารีดเอากับ รัฐวิสาหกิจทั้งหลายไปใช้เป็นปกติอยู่แล้ว
ถึงยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิต
และดูเหมือนผู้ให้สัมปทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น
แต่หักลบกับที่ต้องส่งแล้วเหลือจริงๆ
ผมว่าน้อยกว่าที่ DTAC กับ TRUE งดเว้น
ไม่จ่ายค่า AC ให้แก่ TOT และ CAT
ซึ่งรายได้ส่วนนี้เสียไปปีๆ หนึ่งเป็นหมื่นๆ ล้านบาท
เสียหายหนักกว่าเรื่องภาษีสรรพสามิต
ซึ่งทั้งสองบริษัทก็ประกาศไม่จ่ายทันที
หลังการทำรัฐประหารไม่กี่เดือน
ถ้ามีคนคิดว่าทำรัฐประหารได้รัฐบาลที่เข้ามาเอื้อกับเอกชน
ที่อาจแอบหนุนช่วยเช่น ออกทุนช่วยในการทำรัฐประหาร
ทำให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งเสียหายก็คงมีสิทธิ์คิดได้
เพราะรู้สึกจะว่ารัฐบาลชุดนั้นทำเป็นมองไม่เห็น
ไม่คิดจะยับยั้งแก้ไข แก้ระเบียบอะไร
ทีเรื่องสรรพสามิตยังรีบยกเลิกทันทีที่เข้ามา
แถมเอกชนทั้งสองก็กล้าหาญประกาศไม่จ่ายค่า AC ทันที
หลังจากรัฐประหารสำเร็จไม่กี่เดือน
ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าสมัยรัฐบาลทักษิณ
ยังไม่เห็นกล้าบ้าบิ่นขนาดนี้
แล้วยังงี้ไม่มีใครคิดจะจัดการหาเรื่องยึดทรัพย์ใครบ้างเลยหรือ
สำหรับกรณีนี้เสียหายไม่น้อยกว่ากรณีภาษีสรรพสามิตเสียอีก
ถามว่าใครได้ใครเสียในการยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิต
ก็ถ้ามองมุม TOT กับ CAT เขาก็ต้องมองว่าเขาเสียแน่นอน
และถ้าจะเอาแบบนี้ก็ต้องให้ TOT กับ CAT ไม่ต้องจ่ายเงินเข้ารัฐทุกปีอีก
ซึ่งก็คือต้องแปรรูปแล้วเป็นบริษัทก็ไม่ต้องจ่ายเงินให้รัฐอีก
ให้จ่ายเป็นปันผลตามผลประกอบการแทน
เหมือนผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ถ้ามีการแปรรูปแล้ว
ซึ่งกระทรวงการคลังอาจได้ส่วนแบ่งจากรายได้น้อยลงไปอีก
ทั้งไม่ได้จากเอกชนรายใหม่และรายเดิม
แถมถ้ารัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งแปรรูปแล้ว
รัฐก็จะได้รายรับน้อยลงไปอีก
ซึ่งถ้ายังคงภาษีสรรพสามิตไว้
ผู้ที่ได้แน่ๆ ก็คือรัฐ ได้รายได้เต็มที่แน่นอนชัวร์ๆ
ทั้งผู้ประกอบการรายใหม่ รายเก่า รัฐวิสาหกิจก็ต้องเสียเหมือนกัน
แต่ถ้าไม่ทำยังงี้ยกเลิกไปอนาคตรายได้ด้านนี้ก็จะสูญไปเยอะมากๆ
อนาคตมีบริษัทใหม่ๆ เข้ามา
แทนที่จะได้รายได้เพิ่มขึ้นเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ก็จะไม่ได้เพิ่ม เท่าที่จะได้ตามรายได้ของบริษัทเหล่านี้
ซึ่งเขามีวิธีหักให้มีรายได้น้อยๆ เพื่อจะได้จ่ายภาษีน้อยๆ อยู่แล้ว
ในทางบัญชีสามารถทำได้ไม่ผิดกฏหมายด้วย
ตอนนี้ก็เสียหายไปปีๆ หนึ่งหลายหมื่นล้านสำหรับรัฐบาล
หลังจากยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิตตัวนี้
แล้วไปรอลุ้นรับปันผลหรือภาษี
ที่ทุกบริษัทสามารถหลบได้โดยถูกกฏหมาย
เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง เช่นหาค่าใช้จ่ายเพิ่ม เป็นต้น
หรือพวกพึ่งมาลงทุนใหม่ค่าใช้จ่ายก็เพียบ
5 ปีไม่รู้จะได้ภาษีสักกี่บาท
เรื่องนี้มันแล้วแต่มุมมอง
ถ้าคุณมองโดยที่คุณคือบริษัทผู้ให้สัมปทานแล้ว
การยกเลิกภาษีสรรพสามิตคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
แต่ถ้าคุณมีมุมมองเรื่องผลประโยชน์เข้ารัฐจริงๆ แล้ว
คุณก็ต้องคงไว้
สุดท้ายรัฐบาลสุรยุทธ์ก็เลือกที่จะยกเลิกภาษีสรรพสามิต
ซึ่งก็ง่ายๆ คนที่ได้คือใคร คนที่เสียคือใคร
ไม่ว่าออกมาแบบไหน
หนีไม่พ้น รัฐกับ ผู้ให้สัมปทานเท่านั้น
งานนี้เอกชนเขาไม่เกี่ยวอะไรด้วย
เปรียบเหมือนเป็นการทะเลาะกัน
ระหว่างกระเป๋าซ้ายกับกระเป๋าขวา
สุดท้ายรายได้รวมทั้ง 2 กระเป๋า
อาจทำให้กระเป๋าฉีกได้ในภายหลัง
ยิ่งถ้าเจอรัฐบาลขยันใช้เงินเก่ง
แต่หารายได้ไม่เป็นด้วยแล้ว
อาการน่าเป็นห่วงจริงๆ
ที่กำลังทำๆ อยู่นี่มองเฉพาะเรื่องกรณีมีคู่สัญญาสัมปทานเท่านั้น
ถ้าต่อไปมีรายใหม่ที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญารายได้ส่วนนี้ก็จะหายไป
และที่คิดว่าจะเรียกเก็บจาก 2 บริษัทนี้ได้
เท่ากับที่เคยได้จากเก็บภาษีสรรพาสามิต
เข้าใจว่าเขาก็ต้องเอาไปลงทุนหรือไปทำยังอื่น
เพื่อให้มีกำไรน้อยๆ หรือส่งเงินให้ไม่มากตามที่ต้องการ
บางปีไม่ถึงหมื่นล้านก็มี
แค่คิดจะเอาชนะกันแค่วันนี้
ลืมคิดตอนเปิดเสรีที่มีบริษัทต่างชาติมาแข่ง
ที่ไม่ต้องขอสัมปทานจาก TOT หรือ CAT
และถ้า TOT หรือ CAT ต้องแปรรูปอีก
กำไรจะไปตกกับผู้ถือหุ้นรายอื่นนอกจากกระทรวงการคลังด้วย
ซึ่งถ้าไม่แปรก็จะกลายเป็นยักษ์แคระแบบนี้ไปเรื่อยๆ
รอวันเจ๊งเพราะนอนเก็บค่าต๋งไปวันๆ
แต่ลืมคิดไปว่าถ้าพวก AIS, DTAC , TRUE
ได้รับไลเซ่นส์ประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว
หรือได้คลื่นใหม่เช่น 3G แล้ว เขาสามารถทำโปรโมชั่น
ให้ลูกค้าระบบเดิมของบริษัทเขา ย้ายไปใช้ระบบใหม่
ระบบเก่าก็จะค่อยๆ ร้างไปในที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก...
ความผิดใคร เข้ามาดูกัน ข้อ 1 . แก้ พรบ.สรรพสามิตโทรคมนาคม ให้เสียภาษีน้อยลง ได้ผลประโยชน์ 8,000 ล้าน
ว่าด้วยข้อ 1 . แก้ พรบ.สรรพสามิตโทรคมนาคม ให้เสียภาษีน้อยลง ได้ผลประโยชน์ 8,000 ล้าน
คำตอบ
สรุปเรื่องภาษีสรรพสามิตคร่าวๆ ดังนี้
ผู้ให้สัมปทาน ซึ่งได้แก่ TOT (ทศท.), CAT (กสท.)
บริษัทผู้รับสัมปทาน ซึ่งได้แก่ บริษัท AIS, DTAC, TRUE , TT&T , ...
ตัวอย่างวิธีคิดภาษีสรรพสามิต
สมมุติบริษัทรับสัมปทานมีรายได้ 100 บาท
ต้องส่งค่าสัมปทาน 20% หรือ 20 บาท
ของรายได้ที่ยังไม่หักภาษี
ซึ่งหน่วยงานผู้ให้สัมปทานจะได้ 20 บาท
เมื่อกำหนดให้เก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว
สมมุติเขาเรียกเก็บภาษี 10 %
บริษัทรับสัมปทานก็จะจ่ายให้ 10 บาท เป็นภาษีสรรพสามิตเข้ารัฐ
บริษัทรับสัมปทานแทนที่จะจ่ายให้ผู้ให้สัมปทาน 20 บาทเหมือนเดิม
ก็จ่าย 10 บาท เพราะนำภาษีสรรพสามิตที่จ่ายให้รัฐมาหักอีก 10 บาท
สรุปก็คือผู้รับสัมปทานทั้งหมด
ก็จ่าย 20 บาทเหมือนเดิม
ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงสักแดงเดียว
ส่วนคลัง ก็ได้รายได้เพิ่มขึ้นและเร็วขึ้น
คือได้ 10 บาทชัวร์ๆ ทุกๆ ไตรมาส
ไม่ต้องรอปันผลจาก TOT และ CAT ตอนสิ้นปี
ส่วนที่ดูเหมือนจะเสียมากที่สุดก็คือหน่วยงานผู้ให้สัมปทาน
ทั้ง TOT และ CAT
คือแทนที่จะได้ 20 บาท แต่กลับเหลือแค่ 10 บาท
ซึ่งที่จริงแล้วทุกปี หน่วยงานเหล่านี้
ก็ต้องส่งรายได้เข้ารัฐทุกปีตามอัตราที่รัฐกำหนดหรือเรียกเก็บ
เพราะรัฐหรือกระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 100%
ก็คือเป็นเจ้าของนั่นแหล่ะ
บางปีก็เลย 50% ด้วยซ้ำ
แต่ถ้ามีรายได้จากส่วนแบ่งน้อยทำให้รายได้โดยรวมน้อย
ก็ส่งเข้ารัฐตอนสิ้นปีน้อยลงไปด้วย
ถ้าได้มากก็ต้องส่งมากตามไปด้วยเหมือนกัน
บางช่วงที่มีวิกฤตรัฐเงินขาดมือจนแทบจะไม่มีเงินสดเหลือในคลัง
ก็มารีดเอากับ รัฐวิสาหกิจทั้งหลายไปใช้เป็นปกติอยู่แล้ว
ถึงยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิต
และดูเหมือนผู้ให้สัมปทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น
แต่หักลบกับที่ต้องส่งแล้วเหลือจริงๆ
ผมว่าน้อยกว่าที่ DTAC กับ TRUE งดเว้น
ไม่จ่ายค่า AC ให้แก่ TOT และ CAT
ซึ่งรายได้ส่วนนี้เสียไปปีๆ หนึ่งเป็นหมื่นๆ ล้านบาท
เสียหายหนักกว่าเรื่องภาษีสรรพสามิต
ซึ่งทั้งสองบริษัทก็ประกาศไม่จ่ายทันที
หลังการทำรัฐประหารไม่กี่เดือน
ถ้ามีคนคิดว่าทำรัฐประหารได้รัฐบาลที่เข้ามาเอื้อกับเอกชน
ที่อาจแอบหนุนช่วยเช่น ออกทุนช่วยในการทำรัฐประหาร
ทำให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งเสียหายก็คงมีสิทธิ์คิดได้
เพราะรู้สึกจะว่ารัฐบาลชุดนั้นทำเป็นมองไม่เห็น
ไม่คิดจะยับยั้งแก้ไข แก้ระเบียบอะไร
ทีเรื่องสรรพสามิตยังรีบยกเลิกทันทีที่เข้ามา
แถมเอกชนทั้งสองก็กล้าหาญประกาศไม่จ่ายค่า AC ทันที
หลังจากรัฐประหารสำเร็จไม่กี่เดือน
ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าสมัยรัฐบาลทักษิณ
ยังไม่เห็นกล้าบ้าบิ่นขนาดนี้
แล้วยังงี้ไม่มีใครคิดจะจัดการหาเรื่องยึดทรัพย์ใครบ้างเลยหรือ
สำหรับกรณีนี้เสียหายไม่น้อยกว่ากรณีภาษีสรรพสามิตเสียอีก
ถามว่าใครได้ใครเสียในการยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิต
ก็ถ้ามองมุม TOT กับ CAT เขาก็ต้องมองว่าเขาเสียแน่นอน
และถ้าจะเอาแบบนี้ก็ต้องให้ TOT กับ CAT ไม่ต้องจ่ายเงินเข้ารัฐทุกปีอีก
ซึ่งก็คือต้องแปรรูปแล้วเป็นบริษัทก็ไม่ต้องจ่ายเงินให้รัฐอีก
ให้จ่ายเป็นปันผลตามผลประกอบการแทน
เหมือนผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ถ้ามีการแปรรูปแล้ว
ซึ่งกระทรวงการคลังอาจได้ส่วนแบ่งจากรายได้น้อยลงไปอีก
ทั้งไม่ได้จากเอกชนรายใหม่และรายเดิม
แถมถ้ารัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งแปรรูปแล้ว
รัฐก็จะได้รายรับน้อยลงไปอีก
ซึ่งถ้ายังคงภาษีสรรพสามิตไว้
ผู้ที่ได้แน่ๆ ก็คือรัฐ ได้รายได้เต็มที่แน่นอนชัวร์ๆ
ทั้งผู้ประกอบการรายใหม่ รายเก่า รัฐวิสาหกิจก็ต้องเสียเหมือนกัน
แต่ถ้าไม่ทำยังงี้ยกเลิกไปอนาคตรายได้ด้านนี้ก็จะสูญไปเยอะมากๆ
อนาคตมีบริษัทใหม่ๆ เข้ามา
แทนที่จะได้รายได้เพิ่มขึ้นเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ก็จะไม่ได้เพิ่ม เท่าที่จะได้ตามรายได้ของบริษัทเหล่านี้
ซึ่งเขามีวิธีหักให้มีรายได้น้อยๆ เพื่อจะได้จ่ายภาษีน้อยๆ อยู่แล้ว
ในทางบัญชีสามารถทำได้ไม่ผิดกฏหมายด้วย
ตอนนี้ก็เสียหายไปปีๆ หนึ่งหลายหมื่นล้านสำหรับรัฐบาล
หลังจากยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิตตัวนี้
แล้วไปรอลุ้นรับปันผลหรือภาษี
ที่ทุกบริษัทสามารถหลบได้โดยถูกกฏหมาย
เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง เช่นหาค่าใช้จ่ายเพิ่ม เป็นต้น
หรือพวกพึ่งมาลงทุนใหม่ค่าใช้จ่ายก็เพียบ
5 ปีไม่รู้จะได้ภาษีสักกี่บาท
เรื่องนี้มันแล้วแต่มุมมอง
ถ้าคุณมองโดยที่คุณคือบริษัทผู้ให้สัมปทานแล้ว
การยกเลิกภาษีสรรพสามิตคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
แต่ถ้าคุณมีมุมมองเรื่องผลประโยชน์เข้ารัฐจริงๆ แล้ว
คุณก็ต้องคงไว้
สุดท้ายรัฐบาลสุรยุทธ์ก็เลือกที่จะยกเลิกภาษีสรรพสามิต
ซึ่งก็ง่ายๆ คนที่ได้คือใคร คนที่เสียคือใคร
ไม่ว่าออกมาแบบไหน
หนีไม่พ้น รัฐกับ ผู้ให้สัมปทานเท่านั้น
งานนี้เอกชนเขาไม่เกี่ยวอะไรด้วย
เปรียบเหมือนเป็นการทะเลาะกัน
ระหว่างกระเป๋าซ้ายกับกระเป๋าขวา
สุดท้ายรายได้รวมทั้ง 2 กระเป๋า
อาจทำให้กระเป๋าฉีกได้ในภายหลัง
ยิ่งถ้าเจอรัฐบาลขยันใช้เงินเก่ง
แต่หารายได้ไม่เป็นด้วยแล้ว
อาการน่าเป็นห่วงจริงๆ
ที่กำลังทำๆ อยู่นี่มองเฉพาะเรื่องกรณีมีคู่สัญญาสัมปทานเท่านั้น
ถ้าต่อไปมีรายใหม่ที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญารายได้ส่วนนี้ก็จะหายไป
และที่คิดว่าจะเรียกเก็บจาก 2 บริษัทนี้ได้
เท่ากับที่เคยได้จากเก็บภาษีสรรพาสามิต
เข้าใจว่าเขาก็ต้องเอาไปลงทุนหรือไปทำยังอื่น
เพื่อให้มีกำไรน้อยๆ หรือส่งเงินให้ไม่มากตามที่ต้องการ
บางปีไม่ถึงหมื่นล้านก็มี
แค่คิดจะเอาชนะกันแค่วันนี้
ลืมคิดตอนเปิดเสรีที่มีบริษัทต่างชาติมาแข่ง
ที่ไม่ต้องขอสัมปทานจาก TOT หรือ CAT
และถ้า TOT หรือ CAT ต้องแปรรูปอีก
กำไรจะไปตกกับผู้ถือหุ้นรายอื่นนอกจากกระทรวงการคลังด้วย
ซึ่งถ้าไม่แปรก็จะกลายเป็นยักษ์แคระแบบนี้ไปเรื่อยๆ
รอวันเจ๊งเพราะนอนเก็บค่าต๋งไปวันๆ
แต่ลืมคิดไปว่าถ้าพวก AIS, DTAC , TRUE
ได้รับไลเซ่นส์ประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว
หรือได้คลื่นใหม่เช่น 3G แล้ว เขาสามารถทำโปรโมชั่น
ให้ลูกค้าระบบเดิมของบริษัทเขา ย้ายไปใช้ระบบใหม่
ระบบเก่าก็จะค่อยๆ ร้างไปในที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก...