นายอมรเทพ จาวะลา ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยปี 2561 จะขยายตัว 4.5% โดยเศรษฐกิจไทยเร่งตัวแรงที่ 4.8% ในช่วงครึ่งปีแรก และคาดว่าเฉลี่ยครึ่งปีหลัง 2561 ที่ 4.2% โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ(จีดีพี) จะขยายตัวต่อเนื่องแต่อาจไม่ได้เร่งตัวแรงเหมือนช่วงก่อนหน้า ซึ่งคาดว่าจีดีพีไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) จะขยายตัว 4.3% และไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) จะขยายตัว 4.2%
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยอาจไม่เร่งแรงเหมือนช่วงก่อนหน้ามาจากภาคต่างประเทศ ทั้งการส่งออกและการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มชะลอลง จากทั้งสงครามการค้าที่กระทบการส่งออก และจากการหดตัวของนักท่องเที่ยวชาวจีนจากเหตุการณ์เรือล่มที่ภูเก็ตและด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนมาจากการลงทุนภาคเอกชนที่มีสัญญาณดีขึ้น จากการนำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ส่วนในปี 2562 นั้น สำนักวิจัยฯ คาดว่าจีดีพีเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 4.0% อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยอาจโตต่ำกว่าที่คาดจากความเสี่ยงต่างๆ
นายอมรเทพ กล่าวว่า ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้าจากวันนี้จนถึงวันเลือกตั้ง มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจทั้ง 4 เรื่อง (4ร.) ที่ควรระมัดระวัง ได้แก่
1. ร – รากหญ้า เพราะการบริโภคโดยรวมฟื้นได้ดี แต่ยังโตกระจุกในหมวดรถยนต์ หรือกำลังซื้อระดับกลาง-บนดี แต่หากดูการบริโภคกลุ่มอื่นๆ เช่น อาหาร เสื้อผ้า หรือของใช้ต่างๆ กลับโตน้อยมาก สะท้อน กำลังซื้อของคนระดับกลาง-ล่างยังไม่ขยับ ซึ่งช่วงหลายปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และรัฐบาลระมัดระวังการใช้นโยบายที่จะบิดเบือนกลไกตลาด ประกอบกับหนึ้ครัวเรือนกลุ่มนี้พุ่งสูงกว่าในอดีต ดังนั้น กำลังซื้อระดับรากหญ้าจึงหดหาย จึงห่วงกำลังซื้อที่ยังตกต่ำของคนส่วนใหญ่ของประเทศยังเป็นความเสี่ยงสำหรับเศรษฐกิจในระยะนี้
2. ร – แรงงาน การลงทุนภาคเอกชนเร่งแรงขึ้นและมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปีหน้า แต่ต้องระวังว่า การลงทุนรอบนี้ไม่เหมือนในอดีต เพราะมีการใช้เครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เน้นด้านออโตเมชั่น เมื่อเครื่องจักรแทนแรงงานคน ชั่วโมงการทำงานก็ไม่ได้เพิ่ม มีแต่จะลดลง แม้กำลังการผลิตสูงขึ้น ค่าจ้างโดยรวมจึงโตช้า ซึ่งหากแรงงานสามารถพัฒนาฝีมือ และใช้เครื่องยนต์ให้คล่อง ต่อยอดการผลิตให้มีมูลค่าเพิ่มได้ ค่าจ้างแรงงานก็จะขยับขึ้นได้เร็วกว่านี้ในอนาคต
นายอมรเทพ กล่าวว่า
3. ร – รักษาการ : รัฐบาลชุดปัจจุบันจะกลายสภาพเป็นรัฐบาลรักษาการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หลังประกาศการเลือกตั้ง คาดว่าจะประกาศในเดือนธันวาคมนี้ และการเลือกตั้งจะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งระหว่างเดือนธันวาคมนี้ไปจนถึงมีรัฐบาลชุดใหม่รับตำแหน่ง รัฐบาลรักษาการจะไม่อนุมัติโครงการใหม่ แม้จะยังสามารถดำเนินนโยบายเดิมให้มีความต่อเนื่องได้ แต่อาจกระทบการเบิกจ่าย หรือความเชื่อมั่นนักลงทุนต่อการเดินหน้าในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เตรียมไว้ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือ โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองในสายที่ยังไม่ได้รับอนุมัติจากครม. เป็นต้น
นอกจากนี้ที่สำคัญ การเลือกตั้งครั้งที่จะมีขึ้นเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าจะใช้เวลานานขึ้นกว่าในอดีต ก่อนที่จะได้นายกรัฐมนตรี หากไม่มีพรรคการเมืองใดรวบรวมเสียงข้างมาก และได้รับความไว้ใจจากวุฒิสมาชิก 250 เสียงที่สามารถลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้
4. ร – รีพับริกัน ด้านต่างประเทศเห็นจะมีเพียงเรื่องสงครามการค้าที่กดดันภาคการส่งออก แต่ให้จับตาการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐในวันที่ 6 พฤศจิกายน นี้ให้ดีว่า พรรครีพับริกันยังคงจะครองเสียงข้างมากจากทั้งสภาสูงและสภาล่างได้หรือไม่ เพราะหากทำได้ การเดินหน้าในประเด็นสงครามการค้าจะมีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ใช่เพียงกดดันการส่งออกจากจีน แต่สหรัฐจะมองหาประเทศอื่นที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ ให้ลดการส่งออก หรือให้บริษัทอเมริกันเหล่านั้นย้ายฐานกลับไปสหรัฐมากขึ้น ซึ่งไทยเองก็เกินดุลการค้ากับสหรัฐปีละกว่าสองหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และนับเป็นประเทศอันดับที่ 11 ที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐมากที่สุด
ซึ่งความชัดเจนต่อสงครามการค้าว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นหรือไม่ ก็จะเห็นในเดือนหน้านี้ ซึ่งเชื่อว่ารีพับริกันจะยังคงครองเสียงข้างมากได้ และจะเดินหน้าสงครามการค้าต่อเนื่อง ซึ่งจะกระทบการส่งออกของไทยในปีหน้าได้ แต่หากไม่ใช่ กลายเป็นสงครามการค้ายุติ แต่อย่าเพิ่งหวังว่าการส่งออกในปีหน้าจะดีได้ เพราะการส่งออกที่ดีในปีนี้ส่วนหนึ่งมาจากการนำเข้าเพื่อการบริโภคหรือการผลิตจริงๆ แต่ก็มีอีกส่วนที่เป็นการเร่งการนำเข้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการขึ้นภาษีในปีหน้า ซึ่งอาจเหมือนการยืมการนำเข้าในอนาคตมาใช้ก่อน และหากปีหน้าไม่มีภาษี สงครามการค้ายุติ การนำเข้าก็ไม่จำเป็นต้องเร่งแรง เพราะผู้นำเข้าได้สต๊อกสินค้าไว้แล้ว
JJNY : ซีไอเอ็มบีไทยชี้ 4 ปัจจัยเสี่ยงฉุดศก. ห่วงจีดีพีปี’62 โตต่ำกว่า 4%
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยอาจไม่เร่งแรงเหมือนช่วงก่อนหน้ามาจากภาคต่างประเทศ ทั้งการส่งออกและการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มชะลอลง จากทั้งสงครามการค้าที่กระทบการส่งออก และจากการหดตัวของนักท่องเที่ยวชาวจีนจากเหตุการณ์เรือล่มที่ภูเก็ตและด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนมาจากการลงทุนภาคเอกชนที่มีสัญญาณดีขึ้น จากการนำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ส่วนในปี 2562 นั้น สำนักวิจัยฯ คาดว่าจีดีพีเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 4.0% อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยอาจโตต่ำกว่าที่คาดจากความเสี่ยงต่างๆ
นายอมรเทพ กล่าวว่า ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้าจากวันนี้จนถึงวันเลือกตั้ง มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจทั้ง 4 เรื่อง (4ร.) ที่ควรระมัดระวัง ได้แก่
1. ร – รากหญ้า เพราะการบริโภคโดยรวมฟื้นได้ดี แต่ยังโตกระจุกในหมวดรถยนต์ หรือกำลังซื้อระดับกลาง-บนดี แต่หากดูการบริโภคกลุ่มอื่นๆ เช่น อาหาร เสื้อผ้า หรือของใช้ต่างๆ กลับโตน้อยมาก สะท้อน กำลังซื้อของคนระดับกลาง-ล่างยังไม่ขยับ ซึ่งช่วงหลายปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และรัฐบาลระมัดระวังการใช้นโยบายที่จะบิดเบือนกลไกตลาด ประกอบกับหนึ้ครัวเรือนกลุ่มนี้พุ่งสูงกว่าในอดีต ดังนั้น กำลังซื้อระดับรากหญ้าจึงหดหาย จึงห่วงกำลังซื้อที่ยังตกต่ำของคนส่วนใหญ่ของประเทศยังเป็นความเสี่ยงสำหรับเศรษฐกิจในระยะนี้
2. ร – แรงงาน การลงทุนภาคเอกชนเร่งแรงขึ้นและมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปีหน้า แต่ต้องระวังว่า การลงทุนรอบนี้ไม่เหมือนในอดีต เพราะมีการใช้เครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เน้นด้านออโตเมชั่น เมื่อเครื่องจักรแทนแรงงานคน ชั่วโมงการทำงานก็ไม่ได้เพิ่ม มีแต่จะลดลง แม้กำลังการผลิตสูงขึ้น ค่าจ้างโดยรวมจึงโตช้า ซึ่งหากแรงงานสามารถพัฒนาฝีมือ และใช้เครื่องยนต์ให้คล่อง ต่อยอดการผลิตให้มีมูลค่าเพิ่มได้ ค่าจ้างแรงงานก็จะขยับขึ้นได้เร็วกว่านี้ในอนาคต
นายอมรเทพ กล่าวว่า
3. ร – รักษาการ : รัฐบาลชุดปัจจุบันจะกลายสภาพเป็นรัฐบาลรักษาการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หลังประกาศการเลือกตั้ง คาดว่าจะประกาศในเดือนธันวาคมนี้ และการเลือกตั้งจะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งระหว่างเดือนธันวาคมนี้ไปจนถึงมีรัฐบาลชุดใหม่รับตำแหน่ง รัฐบาลรักษาการจะไม่อนุมัติโครงการใหม่ แม้จะยังสามารถดำเนินนโยบายเดิมให้มีความต่อเนื่องได้ แต่อาจกระทบการเบิกจ่าย หรือความเชื่อมั่นนักลงทุนต่อการเดินหน้าในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เตรียมไว้ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือ โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองในสายที่ยังไม่ได้รับอนุมัติจากครม. เป็นต้น
นอกจากนี้ที่สำคัญ การเลือกตั้งครั้งที่จะมีขึ้นเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าจะใช้เวลานานขึ้นกว่าในอดีต ก่อนที่จะได้นายกรัฐมนตรี หากไม่มีพรรคการเมืองใดรวบรวมเสียงข้างมาก และได้รับความไว้ใจจากวุฒิสมาชิก 250 เสียงที่สามารถลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้
4. ร – รีพับริกัน ด้านต่างประเทศเห็นจะมีเพียงเรื่องสงครามการค้าที่กดดันภาคการส่งออก แต่ให้จับตาการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐในวันที่ 6 พฤศจิกายน นี้ให้ดีว่า พรรครีพับริกันยังคงจะครองเสียงข้างมากจากทั้งสภาสูงและสภาล่างได้หรือไม่ เพราะหากทำได้ การเดินหน้าในประเด็นสงครามการค้าจะมีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ใช่เพียงกดดันการส่งออกจากจีน แต่สหรัฐจะมองหาประเทศอื่นที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ ให้ลดการส่งออก หรือให้บริษัทอเมริกันเหล่านั้นย้ายฐานกลับไปสหรัฐมากขึ้น ซึ่งไทยเองก็เกินดุลการค้ากับสหรัฐปีละกว่าสองหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และนับเป็นประเทศอันดับที่ 11 ที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐมากที่สุด
ซึ่งความชัดเจนต่อสงครามการค้าว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นหรือไม่ ก็จะเห็นในเดือนหน้านี้ ซึ่งเชื่อว่ารีพับริกันจะยังคงครองเสียงข้างมากได้ และจะเดินหน้าสงครามการค้าต่อเนื่อง ซึ่งจะกระทบการส่งออกของไทยในปีหน้าได้ แต่หากไม่ใช่ กลายเป็นสงครามการค้ายุติ แต่อย่าเพิ่งหวังว่าการส่งออกในปีหน้าจะดีได้ เพราะการส่งออกที่ดีในปีนี้ส่วนหนึ่งมาจากการนำเข้าเพื่อการบริโภคหรือการผลิตจริงๆ แต่ก็มีอีกส่วนที่เป็นการเร่งการนำเข้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการขึ้นภาษีในปีหน้า ซึ่งอาจเหมือนการยืมการนำเข้าในอนาคตมาใช้ก่อน และหากปีหน้าไม่มีภาษี สงครามการค้ายุติ การนำเข้าก็ไม่จำเป็นต้องเร่งแรง เพราะผู้นำเข้าได้สต๊อกสินค้าไว้แล้ว