บันทึกการเดินทางในเบนิน
อารัมภบท
เราได้ยินคำว่า “วูดู” มานานมาก นานจนไม่สามารถระบุว่าเคยได้ยินครั้งแรกเมื่อไหร่ ในสำนึกทางศัพทมูลวิทยา (etymology) เราคิดว่ามันเป็นคำสแลงที่สร้างขึ้นมาเพื่อเรียกอำนาจเร้นรับหรือพิธีกรรมทางไสยาศาสตร์ที่เจือไปด้วยสัญญะแห่งความดุร้ายและน่ากลัว แต่ใครจะคาดคิดว่าวูดูเป็นคำที่มีมานานหลายศตวรรษเพราะมันคือชื่อศาสนาพื้นถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ฟอนในประเทศเบนิน (Benin) นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าคำคำนี้ถูกส่งออกจากแอฟริกาตะวันตกในช่วงการค้าทาสโดยติดมากับเรือสำเภาที่ไปขึ้นท่ายังแผ่นดินโลกใหม่และด้วยอิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์และภาพยนตร์คำว่าวูดูก็แพร่กระจายไปทั่วโลก ที่น่าสนใจคือตัวคำยังคงรักษาแก่นของความหมายตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีที่โยกย้ายถิ่นฐานไปตามกระแสโลกาภิวัตน์อย่างไม่น่าเชื่อ มากไปกว่านั้นชาวเบนินยังคงอนุรักษ์พิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาวูดูไว้อย่างเหนียวแน่นแม้จะได้รับอิทธิพลจากศาสนาองค์กรระดับโลกอย่างคริสต์และอิสลามที่แผ่ขยายเข้ามาในทวีปแอฟริกาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมของชาวยุโรปและเคาะลีฟะห์ (chaliphate) ของรัฐมุสลิมอย่างอาณาจักรออตโตมัน
เมื่อพูดถึงเรื่องพิธีกรรม ทุกวันที่ 10 มกราคมของทุกปีนักบวชและศาสนิกของศาสนาวูดูจะร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในเบนินโดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองวิดะห์ (Ouidah) เมืองที่ถือได้ว่าเป็นอู่อารยธรรมของประเทศ และในเดือนมกราคมที่ผ่านมาเราได้สบโอกาสเดินทางไปร่วมเป็นสักขีพยานของงานนี้ ที่น่าสังเกตคือตัวงานใช้ชื่อว่า “Voodoo Festival” เหมือนต้องการจะสื่อความหมายโดยนัยว่าทางเบนินเองต้องการจะสถาปนาพิธีกรรมทางศาสนาวูดูให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคล้ายกับเทศการสงกรานต์และลอยกระทงของบ้านเรา
จากคนที่ไม่เคยเดินทางไปทวีปแอฟริกาจึงอดไม่ได้ที่จะตื่นเต้นระคนหวาดกลัวเพราะในสำนึกของเรททวีปแอฟริกายังเป็นดินแดนลี้ลับที่รอการค้นหา แต่นั่นก็เป็นเพียงความรู้สึกหรืออาจจะเรียกได้ว่ามายาคติ การเดินทางครั้งนี้จึงเหมือนการไปเรียนรู้จากพื้นที่จริง น่าสนใจว่าภาพที่จินตนาการกับความจริงจะแตกต่างกันมากน้อยขนาดไหน
DAY 1
6 มกราคม 2018
เรามาถึงโคโตนูอันเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางการคมนาคมของเบนินในตอนกลางดึก ระหว่างทางจากสนามบินไปยังเกสท์เฮาส์มีแสงไฟส่องสลัวเป็นระยะ บรรยากาศภายนอกดูอึมครึมไม่ต่างจากภายในรถแท็กซี่ที่นั่งมาค่าที่ไม่สามารถเดาได้เลยว่าพลขับจะพาไปยังแห่งหนตำบลไหน คนเบนินพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการอันเป็นมรดกตกทอดจากยุคล่าอาณานิคม เกสท์เฮาส์ที่พักอยู่ในย่านชาวต่างชาติที่มาทำมาหากินในเบนิน (expat) จึงถือเป็นย่านที่ดีระดับหนึ่ง ส่วนตัวเกสท์เฮาส์เองก็ใหญ่โตมีรั้วรอบขอบชิดเหมือนบ้านคหบดีในเมืองไทย เราเลือกพักห้องแอร์เพราะถึงแม้อากาศจะไม่ร้อนมากแต่มีความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้างสูง ตกดึกมีช่วงที่ไฟดับพอให้ตื่นเต้นเป็นกษัยแต่โชคดีที่ทางเกสท์เฮาส์มีผู้จัดการคอยเปิดเครื่องปั่นไฟให้ความสุขสบายแก่ผู้พักอาศัย คืนแรกในเบนินจึงไม่สมบุกสมบันมากกว่าที่เป็นอยู่
Guesthouse Cocotiers หากใครไปโคโตนูแนะนำให้พักที่นี่
DAY 2
7 มกราคม 2018
ตื่นเช้ามานั่งทานอาหารที่ศาลาแปดเหลี่ยมในสวนหย่อมข้างตัวเรือน ก๊กกุ (Kokku) ผู้จัดการทำหน้าที่เป็นทั้งกุ๊กและพนักงานเสิร์ฟ อาหารเช้ากอปรไปด้วยขนมปังฝรั่งเศสกับแยม, ไข่เจียวแผ่นบาง บางจนสามารถขึงทำข้าวเกรียบปากหม้อขายได้, และกาแฟ กินเสร็จก็ออกไปเดินตลาด Dantopak ตลาดที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งค้าปลีกและส่งที่ใหญ่ที่สุดในเบนิน เรากวักมือเรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้างอันมีชื่อท้องถิ่นว่า zemidjans พี่วินขี่ฉวัดเฉวียนได้ใจแบบไม่กลัวว่าลูกค้าจะเหลือชีวิตรอดจ่ายเงินเมื่อถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่
พี่วินแห่งโคโตนู
ตลาด Dantopak คล้ายกับตลาดนัดสวนจตุจักรแต่วุ่นวายกว่ามาก มีขายทุกสิ่งในสากลโลกทั้งของสดจำพวกเนื้อสัตว์, พืช, ผัก, และผลไม้; อาหารปรุงดิบและสุก (ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถบริโภคได้ คาดว่าพ่อค้าแม่ขายคงคลุกยาปฏิชีวนะเข้าไปด้วย); กระเป๋าหลากหลายยี่ห้อ, เสื้อบอล (รู้สึกว่าจะเป็นที่นิยมมาก แต่เท่าที่เห็นเป็นเสื้อบอลของทีมในแถบแอฟริกา), เครื่องเสียง, หมวกกันน็อกที่มีหลากหลายแบบให้เลือกสรร, น้ำดื่มบรรจุถุงพลาสติกพร้อมหลอดปลายแหลม, เสื้อผ้าเด็ก, ขนมนมเนย, ข้าวสาร, ธัญพืช, และอีกมากมายจาระไนไม่หมดไม่สิ้น
รอบๆตลาด
นอกจากนี้ Dantopak ยังเป็นเหมือนชุมทางการคมนาคม มีรถขนส่งไปยังจุดต่างๆของเบนิน สารภาพว่าเป็นการไปตลาดต่างแดนที่น่ากลัวที่สุดในชีวิตเพราะไม่เห็นนักท่องเที่ยวเลยแม้แต่คนเดียว กะจะเดินถ่ายรูปเก็บบรรยากาศก็กล้าๆกลัวๆ ทั้งที่จริงๆแล้วพ่อค้าแม่ขายก็อัธยาศัยดี ยิ้มแย้ม พูดคุย ถึงแม้จะคุยกันไม่รู้เรื่องก็ตาม
สภาพอากาศแถวตลาดขมุกขมัวมาก เต็มไปด้วยควันจากท่อไอเสียทำลายทุกอายตนะ ปลายตลาด Dantopak ติดกับแม่น้ำ Cotonou ที่ไหลเทลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกตรงอ่าวเบนิน ตรงตลิ่งแม่น้ำฝั่งตลาดมีกองขยะมหึมาตั้งเป็นเนินและไหลเอิ่บลงไปยังพื้นน้ำเบื้องล่าง (น้ำใสดีเพราะเห็นขยะลอยสวยงาม)
โคโตเนี่ยนน่ารัก
DAY 3
8 มกราคม 2018
เราขี่พี่วินไป Hotel du Lac อันเป็นจุดเริ่มต้นของทัวร์ชมชุมชนชาวน้ำกานวีเอ้ (Ganvie) ที่สร้างบ้านแปงเมืองบนทะเลสาบทางเหนือของโคโตนู พี่วินยังคงให้บริการแบบคงเส้นคงวา หากใครรู้สึกท้อแท้แลสิ้นหวังในชีวิต แนะนำให้มาขี่พี่วินที่โคโตนู ทุกครั้งที่ไปถึงจุดหมายปลายทาง นั่นแหละคือกำไร นั่นแหละคือสาเหตุที่เราจะยังมีชีวิตอยู่ต่อไป
Hotel Du Lac เป็นโรงแรมระดับดีปานกลางถึงดีมากตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ Cotonou ก่อนเข้าโรงแรมต้องผ่านเครื่องสแกนสรรพาวุธ ภายในติดแอร์เย็นฉ่ำ พอ 9 โมงตรงก็มีคุณพี่พลขับเดินนำหน้าพาไปลงเรือที่ท่าน้ำโรงแรม (ทั้งเรือมีอยู่คนเดียว เป็น VIP trip จริงๆ)
พี่พลขับ
เรือพาหนะเป็นเรือหางยาวติดเครื่องยนต์มีที่นั่ง 2 แถวและมีหลังคาคอยกันรังสียูวี พี่พลขับขับเรือได้ฉวัดเฉวียนไม่แพ้พี่วินแถมบางครั้งยังตั้งค่าอัตโนมัติแล้วเดินมาสนทนาปราศรัยกับเราที่หัวเรือ หลังจากขึ้นไปทางเหนือได้สักพัก แม่น้ำ Cotonou ก็ขยายกลายเป็นทะเลสาบที่กว้างใหญ่ไพศาลอันมีชื่อว่าโนคูเอ้ (Nokoue) ขนาดที่มองไม่เห็นฝั่ง (อนึ่ง, อีกสาเหตุที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยคือทัศนวิสัยที่ย่ำแย่จากฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศ ใครเป็นหอบหืดขอให้คิดให้จงหนักว่าจะมาเที่ยวเบนินดีหรือไม่) ระหว่างทางจะเห็นเรือใหญ่ขนคนจำนวนมากล่องมาจากใจกลางทะเลสาบ คาดว่าคือเรือรับส่งผู้โดยสารจากกานวีเอ้มายังโคโตนูโดยมีท่าขึ้นอยู่ที่ตลาด Dantopak
ระหว่างทางจากโคโตนูไปยังกานวีเอ้
จากโคโตนูใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงจึงมาถึง
บ้านเรือนของชาวกานวีเอ้เป็นบ้านเดี่ยววางอยู่บนฐานที่วางน้ำหนักบนตอไม้ผุดพรายขึ้นมาจากทะเลสาบคล้ายเรือนไทยภาคกลาง ทางเข้าหมู่บ้านเป็นทางน้ำแบบให้เรือสวนกันไปมาอุปรมาเหมือนถนนใหญ่ ชาวกานเวี่ยนปลูกบ้านแบบใครใคร่ปลูก ปลูก คือดูไร้แพทเทิร์น มีตรอกซอกซอยเต็มไปหมด ค่าที่ไปถึงประมาณ 10 โมงจึงได้เห็นผู้คนมากมายออกมาจับจ่ายใช้สอยสัญจรไปมาทางเรือเป็นที่จอแจแบบตลาดน้ำดำเนินสะดวกบ้านเรายังต้องยอมยกธงขาว ภายในเรือค้ามีทุกอย่างทั้งอาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ยารักษาโรค, จะขาดก็แต่ซื้อขายที่อยู่อาศัยเท่านั้น
บ้านเรือนชาวน้ำกานวีเอ้
#BeninDiary: ไปดูวูดูให้รู้ว่าวูดูน่าดูหรือไม่น่าดู
อารัมภบท
เราได้ยินคำว่า “วูดู” มานานมาก นานจนไม่สามารถระบุว่าเคยได้ยินครั้งแรกเมื่อไหร่ ในสำนึกทางศัพทมูลวิทยา (etymology) เราคิดว่ามันเป็นคำสแลงที่สร้างขึ้นมาเพื่อเรียกอำนาจเร้นรับหรือพิธีกรรมทางไสยาศาสตร์ที่เจือไปด้วยสัญญะแห่งความดุร้ายและน่ากลัว แต่ใครจะคาดคิดว่าวูดูเป็นคำที่มีมานานหลายศตวรรษเพราะมันคือชื่อศาสนาพื้นถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ฟอนในประเทศเบนิน (Benin) นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าคำคำนี้ถูกส่งออกจากแอฟริกาตะวันตกในช่วงการค้าทาสโดยติดมากับเรือสำเภาที่ไปขึ้นท่ายังแผ่นดินโลกใหม่และด้วยอิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์และภาพยนตร์คำว่าวูดูก็แพร่กระจายไปทั่วโลก ที่น่าสนใจคือตัวคำยังคงรักษาแก่นของความหมายตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีที่โยกย้ายถิ่นฐานไปตามกระแสโลกาภิวัตน์อย่างไม่น่าเชื่อ มากไปกว่านั้นชาวเบนินยังคงอนุรักษ์พิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาวูดูไว้อย่างเหนียวแน่นแม้จะได้รับอิทธิพลจากศาสนาองค์กรระดับโลกอย่างคริสต์และอิสลามที่แผ่ขยายเข้ามาในทวีปแอฟริกาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมของชาวยุโรปและเคาะลีฟะห์ (chaliphate) ของรัฐมุสลิมอย่างอาณาจักรออตโตมัน
เมื่อพูดถึงเรื่องพิธีกรรม ทุกวันที่ 10 มกราคมของทุกปีนักบวชและศาสนิกของศาสนาวูดูจะร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในเบนินโดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองวิดะห์ (Ouidah) เมืองที่ถือได้ว่าเป็นอู่อารยธรรมของประเทศ และในเดือนมกราคมที่ผ่านมาเราได้สบโอกาสเดินทางไปร่วมเป็นสักขีพยานของงานนี้ ที่น่าสังเกตคือตัวงานใช้ชื่อว่า “Voodoo Festival” เหมือนต้องการจะสื่อความหมายโดยนัยว่าทางเบนินเองต้องการจะสถาปนาพิธีกรรมทางศาสนาวูดูให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคล้ายกับเทศการสงกรานต์และลอยกระทงของบ้านเรา
จากคนที่ไม่เคยเดินทางไปทวีปแอฟริกาจึงอดไม่ได้ที่จะตื่นเต้นระคนหวาดกลัวเพราะในสำนึกของเรททวีปแอฟริกายังเป็นดินแดนลี้ลับที่รอการค้นหา แต่นั่นก็เป็นเพียงความรู้สึกหรืออาจจะเรียกได้ว่ามายาคติ การเดินทางครั้งนี้จึงเหมือนการไปเรียนรู้จากพื้นที่จริง น่าสนใจว่าภาพที่จินตนาการกับความจริงจะแตกต่างกันมากน้อยขนาดไหน
DAY 1
6 มกราคม 2018
เรามาถึงโคโตนูอันเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางการคมนาคมของเบนินในตอนกลางดึก ระหว่างทางจากสนามบินไปยังเกสท์เฮาส์มีแสงไฟส่องสลัวเป็นระยะ บรรยากาศภายนอกดูอึมครึมไม่ต่างจากภายในรถแท็กซี่ที่นั่งมาค่าที่ไม่สามารถเดาได้เลยว่าพลขับจะพาไปยังแห่งหนตำบลไหน คนเบนินพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการอันเป็นมรดกตกทอดจากยุคล่าอาณานิคม เกสท์เฮาส์ที่พักอยู่ในย่านชาวต่างชาติที่มาทำมาหากินในเบนิน (expat) จึงถือเป็นย่านที่ดีระดับหนึ่ง ส่วนตัวเกสท์เฮาส์เองก็ใหญ่โตมีรั้วรอบขอบชิดเหมือนบ้านคหบดีในเมืองไทย เราเลือกพักห้องแอร์เพราะถึงแม้อากาศจะไม่ร้อนมากแต่มีความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้างสูง ตกดึกมีช่วงที่ไฟดับพอให้ตื่นเต้นเป็นกษัยแต่โชคดีที่ทางเกสท์เฮาส์มีผู้จัดการคอยเปิดเครื่องปั่นไฟให้ความสุขสบายแก่ผู้พักอาศัย คืนแรกในเบนินจึงไม่สมบุกสมบันมากกว่าที่เป็นอยู่
Guesthouse Cocotiers หากใครไปโคโตนูแนะนำให้พักที่นี่
DAY 2
7 มกราคม 2018
ตื่นเช้ามานั่งทานอาหารที่ศาลาแปดเหลี่ยมในสวนหย่อมข้างตัวเรือน ก๊กกุ (Kokku) ผู้จัดการทำหน้าที่เป็นทั้งกุ๊กและพนักงานเสิร์ฟ อาหารเช้ากอปรไปด้วยขนมปังฝรั่งเศสกับแยม, ไข่เจียวแผ่นบาง บางจนสามารถขึงทำข้าวเกรียบปากหม้อขายได้, และกาแฟ กินเสร็จก็ออกไปเดินตลาด Dantopak ตลาดที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งค้าปลีกและส่งที่ใหญ่ที่สุดในเบนิน เรากวักมือเรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้างอันมีชื่อท้องถิ่นว่า zemidjans พี่วินขี่ฉวัดเฉวียนได้ใจแบบไม่กลัวว่าลูกค้าจะเหลือชีวิตรอดจ่ายเงินเมื่อถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่
พี่วินแห่งโคโตนู
ตลาด Dantopak คล้ายกับตลาดนัดสวนจตุจักรแต่วุ่นวายกว่ามาก มีขายทุกสิ่งในสากลโลกทั้งของสดจำพวกเนื้อสัตว์, พืช, ผัก, และผลไม้; อาหารปรุงดิบและสุก (ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถบริโภคได้ คาดว่าพ่อค้าแม่ขายคงคลุกยาปฏิชีวนะเข้าไปด้วย); กระเป๋าหลากหลายยี่ห้อ, เสื้อบอล (รู้สึกว่าจะเป็นที่นิยมมาก แต่เท่าที่เห็นเป็นเสื้อบอลของทีมในแถบแอฟริกา), เครื่องเสียง, หมวกกันน็อกที่มีหลากหลายแบบให้เลือกสรร, น้ำดื่มบรรจุถุงพลาสติกพร้อมหลอดปลายแหลม, เสื้อผ้าเด็ก, ขนมนมเนย, ข้าวสาร, ธัญพืช, และอีกมากมายจาระไนไม่หมดไม่สิ้น
รอบๆตลาด
นอกจากนี้ Dantopak ยังเป็นเหมือนชุมทางการคมนาคม มีรถขนส่งไปยังจุดต่างๆของเบนิน สารภาพว่าเป็นการไปตลาดต่างแดนที่น่ากลัวที่สุดในชีวิตเพราะไม่เห็นนักท่องเที่ยวเลยแม้แต่คนเดียว กะจะเดินถ่ายรูปเก็บบรรยากาศก็กล้าๆกลัวๆ ทั้งที่จริงๆแล้วพ่อค้าแม่ขายก็อัธยาศัยดี ยิ้มแย้ม พูดคุย ถึงแม้จะคุยกันไม่รู้เรื่องก็ตาม
สภาพอากาศแถวตลาดขมุกขมัวมาก เต็มไปด้วยควันจากท่อไอเสียทำลายทุกอายตนะ ปลายตลาด Dantopak ติดกับแม่น้ำ Cotonou ที่ไหลเทลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกตรงอ่าวเบนิน ตรงตลิ่งแม่น้ำฝั่งตลาดมีกองขยะมหึมาตั้งเป็นเนินและไหลเอิ่บลงไปยังพื้นน้ำเบื้องล่าง (น้ำใสดีเพราะเห็นขยะลอยสวยงาม)
โคโตเนี่ยนน่ารัก
DAY 3
8 มกราคม 2018
เราขี่พี่วินไป Hotel du Lac อันเป็นจุดเริ่มต้นของทัวร์ชมชุมชนชาวน้ำกานวีเอ้ (Ganvie) ที่สร้างบ้านแปงเมืองบนทะเลสาบทางเหนือของโคโตนู พี่วินยังคงให้บริการแบบคงเส้นคงวา หากใครรู้สึกท้อแท้แลสิ้นหวังในชีวิต แนะนำให้มาขี่พี่วินที่โคโตนู ทุกครั้งที่ไปถึงจุดหมายปลายทาง นั่นแหละคือกำไร นั่นแหละคือสาเหตุที่เราจะยังมีชีวิตอยู่ต่อไป
Hotel Du Lac เป็นโรงแรมระดับดีปานกลางถึงดีมากตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ Cotonou ก่อนเข้าโรงแรมต้องผ่านเครื่องสแกนสรรพาวุธ ภายในติดแอร์เย็นฉ่ำ พอ 9 โมงตรงก็มีคุณพี่พลขับเดินนำหน้าพาไปลงเรือที่ท่าน้ำโรงแรม (ทั้งเรือมีอยู่คนเดียว เป็น VIP trip จริงๆ)
พี่พลขับ
เรือพาหนะเป็นเรือหางยาวติดเครื่องยนต์มีที่นั่ง 2 แถวและมีหลังคาคอยกันรังสียูวี พี่พลขับขับเรือได้ฉวัดเฉวียนไม่แพ้พี่วินแถมบางครั้งยังตั้งค่าอัตโนมัติแล้วเดินมาสนทนาปราศรัยกับเราที่หัวเรือ หลังจากขึ้นไปทางเหนือได้สักพัก แม่น้ำ Cotonou ก็ขยายกลายเป็นทะเลสาบที่กว้างใหญ่ไพศาลอันมีชื่อว่าโนคูเอ้ (Nokoue) ขนาดที่มองไม่เห็นฝั่ง (อนึ่ง, อีกสาเหตุที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยคือทัศนวิสัยที่ย่ำแย่จากฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศ ใครเป็นหอบหืดขอให้คิดให้จงหนักว่าจะมาเที่ยวเบนินดีหรือไม่) ระหว่างทางจะเห็นเรือใหญ่ขนคนจำนวนมากล่องมาจากใจกลางทะเลสาบ คาดว่าคือเรือรับส่งผู้โดยสารจากกานวีเอ้มายังโคโตนูโดยมีท่าขึ้นอยู่ที่ตลาด Dantopak
ระหว่างทางจากโคโตนูไปยังกานวีเอ้
จากโคโตนูใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงจึงมาถึง
บ้านเรือนของชาวกานวีเอ้เป็นบ้านเดี่ยววางอยู่บนฐานที่วางน้ำหนักบนตอไม้ผุดพรายขึ้นมาจากทะเลสาบคล้ายเรือนไทยภาคกลาง ทางเข้าหมู่บ้านเป็นทางน้ำแบบให้เรือสวนกันไปมาอุปรมาเหมือนถนนใหญ่ ชาวกานเวี่ยนปลูกบ้านแบบใครใคร่ปลูก ปลูก คือดูไร้แพทเทิร์น มีตรอกซอกซอยเต็มไปหมด ค่าที่ไปถึงประมาณ 10 โมงจึงได้เห็นผู้คนมากมายออกมาจับจ่ายใช้สอยสัญจรไปมาทางเรือเป็นที่จอแจแบบตลาดน้ำดำเนินสะดวกบ้านเรายังต้องยอมยกธงขาว ภายในเรือค้ามีทุกอย่างทั้งอาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ยารักษาโรค, จะขาดก็แต่ซื้อขายที่อยู่อาศัยเท่านั้น
บ้านเรือนชาวน้ำกานวีเอ้