ปฏิวัติวงการแพทย์!! หมอจุฬาฯ คิดค้น ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง ต่อยอด รางวัลโนเบล ใช้ระบบตามธรรมชาติของมนุษย์ ฆ่าเซลล์มะเร็ง ไม่ส่งผลข้างเคียงต่อคนไข้ – ทุ่มเทชีวิต เพื่อหาวิธีลดราคายา ให้ทุกคนเข้าถึงได้ เบื้องต้นยัง ‘ขาดเงินทุนวิจัย’ ขอคนไทยคนละ 5 บาท บริจาคเพื่อการคิดค้นยา ต่อลมหายใจผู้ป่วยมะเร็ง ในอนาคต
ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง – แสงสว่าง และความหวังสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ได้ถูกจุดประกายขึ้นมา เมื่อคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์หรือการแพทย์ ที่สถาบันแคโรลินสกา ในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ประกาศมอบ รางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปี 2018 แก่ นายเจมส์ พี. อัลลิสัน ศาสตราจารย์จากศูนย์มะเร็งเอ็ม.ดี . แอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และนายทาซูกุ ฮอนโจ ผู้เชี่ยวชาญระบบภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น จากผลงานการค้นพบวิธี บำบัดมะเร็ง ด้วยการควบคุมการตอบสนองเชิงลบในระบบภูมิคุ้มกัน

(COMBO) This combination created on October 1, 2018 of a file picture taken on September 18, 2014 in Taipeh shows Tasuku Honjo (L) of Japan and James P Allison (R) of the US. – James P Allison of the US and Tasuku Honjo of Japan won the 2018 Nobel Medicine Prize for research that has revolutionised the treatment of cancer, the jury said on October 1, 2018. (Photo by SAM YEH / AFP)
การค้นพบการรักษามะเร็งด้วยระบบภูมิคุ้มกันของคุณหมออัลลิสัน และคุณหมอฮอนโจ ถูกค้นพบเมื่อประมาณปี 1995 โดยหลังจากนั้นมีบริษัทยายักษ์ใหญ่ และศูนย์วิจัยหลายแห่ง นำไปคิดค้นต่อยอด จนได้ยาภูมิคุ้มกันรักษามะเร็ง ซึ่งยังถูกใช้อยู่ในวงจำกัด เพราะมีราคาสูง คือ หลอดละ 2 แสนบาท

“ นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล” ผู้อำนวยการ “ศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบ” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับประเทศไทย ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ก็มักจะหมดความหวัง เพราะทราบว่าเป็นโรคที่ไม่มียา หรือวิธีการรักษาที่การันตีผลลัพธ์ ทำเพียงรักษาตามอาการ หรือใช้วิธีใช้เคมีบำบัด หรือฉายแสง ทำลายเซลล์ร้ายชนิดนี้ ซึ่งมีผลข้างเคียงด้านลบต่อคนไข้สูงมาก
‘ยาภูมิคุ้มกันรักษามะเร็ง หรือยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง’ จึงเป็นนวัตกรรม หรือสิ่งใหม่ ที่คนไทยยังไม่รู้จักแพร่หลาย แต่เมื่อไม่นานมานี้ “นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล” ผู้อำนวยการ “ศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบ” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ต่อยอดการค้นพบของคุณหมอฮอนโจ เพื่อผลิต ‘ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง’ ให้แก่คนไทย ในราคาถูก และเข้าถึงได้
วันที่ 18 ต.ค. ที่อาคารแพทยพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แขวง และเขต ปทุมวัน คุณหมอไตรรักษ์ ได้เปิดห้องวิจัยต้อนรับ ‘ข่าวสดออนไลน์’ และเผยขั้นตอนการคิดค้น ‘ยารักษามะเร็ง’ พร้อมประกาศจุดยืนว่า ‘ตอนนี้ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ต้องการผลิตยารักษาที่ถูกที่สุด และรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ทุกคน ทุกชนชั้นเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง’ แม้จะมีอุปสรรค หรือความยากลำบากมากมายเพียงใดก็ตาม เพราะ คิดว่าหากไม่เริ่มต้นวันนี้ ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นวันไหน

“สถิติโดยเฉลี่ยทุกคนมีโอกาสเป็นมะเร็งประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ คำนวณง่ายๆ คือ ในคน 3 คน ที่นั่งอยู่ในห้องนี้ 1-2 มีโอกาสป่วยเป็นมะเร็ง ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และคนที่ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง จึงมีความสำคัญมาก” คุณหมอไตรรักษ์ กล่าวเปิดประเด็น
คุณหมอไตรรักษ์ เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นของงานวิจัยนี้ว่า ตนมีความสนใจ และเชี่ยวชาญด้านแอนติบอดี และการรักษาด้วยการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่ต่างประเทศ ซึ่งตนก็คลุกคลี และรู้จักกับแพทย์ที่อยู่ในวงการนี้ จุดเปลี่ยนอีกอย่างหนึ่ง คือ มีคนไข้ที่ได้รับการรักษาจากยาแอนติบอดี จนเซลล์มะเร็งสลาย และหายเป็นปกติ ทั้งๆ ที่ป่วยในระยะที่เกือบจะเสียชีวิต เป็นประสบการณ์ตรงที่พบมาด้วยตัวเอง เมื่อเห็นว่าการใช้ แอนติบอดี รักษามะเร็งได้ผล จึงอยากจะทำให้เกิดขึ้นในเมืองไทย

ก่อนคุณหมอจะอธิบายถึงสาเหตุของการเกิด ‘มะเร็ง’ ว่า สาเหตุก็มาจากหลายอย่าง ทั้งปัจจัยภายนอก และภายใน สิ่งแวดล้อมอาจจะมีสารปนเปื้อน อย่างเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็มีสาเหตุมาจากอาหารจำพวกเบคอน และไส้กรอก เพราะมีสารไนไตรท ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง หรือการสูบบุหรี่ หรือการรับประทานปลาดิบ ที่มีพยาธิใบไม้ สิ่งเหล่านี้คือ ปัจจัยภายนอกที่ทราบกัน
ด้านปัจจัยภายใน ก็มีอย่างเช่น ‘ภาวะอ้วน’ สร้างความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งกว่า 14 ชนิด เมื่อเราอ้วนจะทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง เมื่อไม่นานมานี้ตนได้เข้าร่วมการประชุมเรื่องโรคมะเร็ง ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังตื่นตัวเรื่อง ภาวะอ้วน เพราะ ตัวเลขคนอ้วนในประเทศกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หลายคนยังเข้าใจว่า ความอ้วนก่อให้เกิดโรคหัวใจ โรคความดันสูง หรือโรคเบาหวานเท่านั้น
“โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานร่างกายเสื่อม ฉะนั้นภาวะไหนก็แล้วแต่ ที่ทำให้ร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ ก็ทำให้เกิดมะเร็งมากขึ้น เราทุกคนมีเซลล์ที่จะก่อให้เกิดมะเร็งอยู่ แต่ที่ยังไม่ปรากฏ ก็เป็นเพราะมีภูมิต้านทานคอยควบคุม และทำลายเรื่อยๆ ดังนั้นอาจจะเรียกว่า ‘มะเร็ง’ คือ อาการป่วยของภูมิต้านทาน สังเกตว่า จะพบมะเร็งเมื่อมีอายุมากขึ้น” คุณหมอไตรรักษ์ ขยายความเพิ่มเติม

กระบวนการการทำงานของ ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง
งานวิจัยครั้งนี้จะใช้ต้นแบบจาก ศ.นพ.ทาสุกุ ฮอนโจ (Tasuku Honjo) แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) 1 ใน 2 นักวิจัย ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปี 2018 กระบวนการขั้นตอนการทำงาน ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง ซึ่งคุณหมอฮอนโจ ได้ค้นพบ โปรตีน พีดี-1 (PD-1) ซึ่งอยู่บนผิวของเม็ดเลือดขาว และค้นพบว่า หาก พีดี-1 (PD-1) ได้จับคู่กับโปรตีนที่ชื่อว่า พีดี-แอล1 (PD-L1) จะทำให้ส่งสัญญาณ และทำให้เม็ดเลือดขาวไม่เข้ามาทำงาน หรือทำลายเซลล์มะเร็ง เสมือนการใส่หน้ากากหลอกว่าเป็นเซลล์ปกติ เพราะเม็ดเลือดขาว จะมีกลไกที่จะไม่ฆ่า หรือทำลายกันเอง ผ่านการสื่อสารกันระหว่างเซลล์ ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ก็อยู่บนเซลล์เม็ดขาวอยู่แล้ว แต่มะเร็งได้ไปหยิบยืมกลไกนี้มาใช้เพื่อไม่ให้ถูกทำลาย
“เป็นกลไกการจัดการการหลบหนีของมะเร็ง โดยใช้กลไกธรรมชาติของร่างกายมนุษย์” คุณหมอ กล่าว
คุรหมอกล่าวว่า ที่ผ่านมาการรักษามะเร็งจะใช้ 3 วิธี คือ การรักษาด้วยคีโม หรือเคมีบำบัด (chemotherapy) การรักษาด้วยวิธีฉายแสง หรือการฉายรังสีรักษา (radiotherapy) และอีกวิธีที่นิยมทำกันคือ 3 ใช้ยาพุ่งเป้า (targeted therapy) ซึ่งเป็นวิธีที่ส่งผลข้างเคียงด้านลบต่อคนไข้ เพราะเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียงเซลล์มะเร็งจะถูกทำลายด้วย รวมไปถึงอาการผมร่วง เบื่ออาหาร หรือร่างกายอ่อนแอ แต่ยาแอนติบอดีนี้ ไม่ส่งผลข้างเคียง เพราะเป็นกลไกตามธรรมชาติในร่างกาย

บริษัทยา 6 แห่ง ที่ผลิตยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง
ขณะนี้มีบริษัทยายักษ์ใหญ่เพียง 6 แห่ง ที่สามารถวิจัย และผลิตยาแอนติบอดีได้ ซึ่งก็มีราคาสูงมาก ตกหลอดละ 2 แสนบาท ด้านองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ให้การรับรองผลลัพธ์แล้ว ผ่านการเก็บข้อมูลการรักษามะเร็งทั้ง 15 ชนิด โดยเริ่มเก็บตัวอย่างตั้งแต่เดือน ก.ย. 2014 นอกจากนี้ยังมีการทำวิจัยเกี่ยวกับยาแอนติบอดีกว่า 1,500 งานวิจัย การลงทุนวิจัยยาตัวนี้ต้องใช้เงินกว่า 1 พันล้านเหรียญ หรือประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท และใช้เวลาวิจัยกว่า 7-10 ปี
ประเทศไทยจึงไม่มีหน่วยงานไหนทำวิจัย เป็นโครงการที่ถือว่ายากมาก แต่ตนเห็นว่า เรามีสิทธิ์เป็นมะเร็งกันทุกคน ตอนนี้ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว เลยคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อรักษามะเร็ง สำคัญคือ เรารู้แล้วว่ามีวิธีรักษาให้หาย แต่ต้องทำให้ถูกลง เพื่อให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

นักวิจัยกำลังส่องส่องสิ่งมีชีวิตในถาดทดลอง
คุณหมอ อธิบายว่า ผลลัพธ์การรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และชนิดของมะเร็ง ยกตัวอย่างเช่นมะเร็งผิวหนัง ได้ผลประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ มะเร็งไฝดำ ได้ผลประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ มะเร็งปอด ได้ผลประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ มะเร็งไต 25 เปอร์เซ็นต์ คือ ได้ผลอยู่เฉลี่ยแบบกลางๆ แต่นี่คือ ตัวอย่างผลของคนไข้ที่เคยได้ยาสูตรปกติมาแล้ว ในต่างประเทศผู้ป่วยที่ใช้ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง จะมีประกันสังคมดูแล แต่สำหรับประเทศไทย ต้องเป็นคนที่มีกำลังจ่ายสูงเท่านั้น
ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ยาไบโอโลจิกส์ (Biologics) ที่สร้างจากสิ่งมีชีวิต หรือโปรตีน ขณะนี้ยังไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ เพราะยังไม่เสร็จสิ้นการวิจัย แต่หากจะช่วยตั้งชื่อก็ยินดี

หลอดทดลอง 
เป้าหมายของคุณหมอ
คุณหมอได้เปิดตารางแสดงผลราคายารักษามะเร็งที่ตั้งเป้าไว้ โดยอธิบายว่า ตนตั้งใจว่าจะลดราคายาลง 10 เท่า จาก 2.5 แสนบาท ให้เหลือ 2 หมื่นบาท คิดเผื่อไปถึงการให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนค่ารักษา เพราะหากราคายังสูงขนาดนี้ ก็คงจะไม่มีการแบ่งงบประมาณมาดูแลผู้ป่วย ซึ่งยาตัวนี้ต้องให้ทุก 2-3 สัปดาห์ หากฉีดไป 3-4 เดือนแล้วได้ผล ก็ต้องฉีดต่อเนื่องรวมประมาณ 17 เข็ม จนครบ 2 ปี ค่าใช้จ่ายก็จะอยู่ที่ 8-9 ล้านบาท ตนจึงอยากจะลดราคาให้เหลือประมาณ 6-7 แสนบาท
ขณะนี้ที่สหรัฐอเมริกา แพทย์สามารถใช้ยาแอนติบอดีรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดได้เลย โดยไม่ต้องใช้คีโม หรือฉายแสงก่อน ซึ่งผลลัพธ์คือ ได้ผล 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่อไปในอนาคตมีความหวังว่าสามารถรักษามะเร็งได้หายขาด ช่วงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีนี้

นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล และผู้ช่วยวิจัย ในห้องปฏิบัติการ
คุณหมอไตรรักษ์ อธิบายแผนการวิจัยว่า แผนงานถูกแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกคือ การสร้างต้นแบบ ซึ่งเรากำลังอยู่ในช่วงนี้อยู่ และตอนนี้เราก็ได้ต้นแบบที่คล้ายกับตัวที่มาจับกับ พีดี-1 (PD-1) เพื่อแยกออกมาจาก พีดี-แอล1 (PD-L1) แล้ว แต่เป็นผลที่ปรากฏในหลอดทดลอง ยังไม่ได้นำไปทดลองในสัตว์ หรือมนุษย์ ขั้นต่อไปเราต้องสร้างแอนติบอดี ที่มีรูปร่างคล้ายกับที่มีอยู่ในมนุษย์ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ต่อมาช่วงที่ 2 จะเป็นขั้นตอนของการผลิตแอนติบอดีให้ได้จำนวนมาก ใช้เวลา 2 ปี จะได้ยาเป็นขวด เพื่อนำไปใช้ในสัตว์ทดลอง หลังจากนั้นจะนำไปใช้ในสัตว์ทดลอง ก็จะใช้เวลาอีก 1 ปีครึ่ง ถ้าทุกอย่างออกมาได้ผล เราก็จะเริ่มใช้ในคน ซึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็ง ที่มาเป็นอาสาสมัครเพื่อทดลองตัวยา **คือยังไม่ใช้ในการรักษาทั่วไป แต่ต้องรอต่อไปอีกประมาณ 4-5 ปี
ตนมีความหวังว่า ยาตัวนี้จะถูกใช้ในประเทศไทยอย่างทั่วถึง อาจจะมีคนที่คิดวิจัยการรักษาได้ดีกว่า ส่วนนี้ก็ยินดี เพราะไม่มีการแข่งขัน แค่คิดว่าอยากให้คนไทยได้ใช้ยาแค่นั้น

คุณหมอออกความเห็นเรื่องสวัสดิการการรักษาพยาบาลของไทย ว่า หากเป็นเรื่องยารักษามะเร็งนี้ ส่วนตัวคิดว่า อาจจะเป็นในรูปแบบ ‘ร่วมกันจ่าย’ หากให้รัฐบาลรับผิดชอบฝ่ายเดียวอาจจะต้องใช้งบสูงมาก แต่ก็ต้องมาคิดว่าจะให้มีอัตราแบ่งกันจ่ายฝ่ายละเท่าไหร่ ซึ่งในต่างประเทศก็ยังแก้ปัญหานี้ไม่ตกเช่นกัน แต่หากเป็นไปได้ ก็อยากจะให้ทุกคนได้รับการรักษาฟรีทั้งหมด แต่คิดว่ารัฐควรจะมีส่วนรับผิดชอบด้วย เพราะตอนนี้ ศูนย์ของเราได้รับงบประมาณจากทาง จุฬาฯ มา 100 ล้านบาท ซึ่งก็ถือว่ายังไม่เพียงพอ เพราะ ยังมีอีก 2 ช่วงที่ต้องดำเนินการต่อ
“หากสามารถผลิตออกมาเป็นยาแอนติบอดีรักษามะเร็งสำเร็จ ก็คงจะจัดตั้งองค์กรในรูปแบบคล้ายบริษัท แสวงหากำไรเป็นส่วนน้อย เพื่อนำมาหล่อเลี้ยงการผลิตยาบ้าง แต่คงไม่ทำในรูปแบบการค้า เหมือนภาคเอกชน”

นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล
ขณะนี้ยังขาดทุนสำหรับวิจัยอีกมาก จึงอยากจะขอรับบริจาค โดยเฉพาะภาคเอกชน เพราะหากรอจากรัฐบาล ก็อาจจะทำให้ขาดตอนในการวิจัย หรือคล่องตัวไม่พอ เพราะ เป้าหมายของเราคือ ต้องการให้คนไทยมียารักษามะเร็งใช้ให้เร็วที่สุด
โดยหลังจากสัมภาษณ์เสร็จ คุณหมอไตรรักษ์ได้เปิดห้องวิจัยยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง พร้อมเปิดให้ ‘ข่าวสดออนไลน์’ ได้ใช้กล้องจุลทัศน์ส่องสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋ว ที่อยู่ในถาดเลี้ยง ซึ่งกำลังจะให้คุณค่าแก่ผู้ป่วยมะเร็งในอนาคต พร้อมพลิกวงการแพทย์ไทย ให้มีความหวังที่จะต่อยอด และคิดค้นวิธีที่จะรักษาโรคชนิด
ข่าวสด : ปฏิวัติวงการแพทย์ หมอจุฬาฯ คิดค้นยาแอนติบอดี้ รักษามะเร็ง ต่อยอดรางวัลโนเบล
ปฏิวัติวงการแพทย์!! หมอจุฬาฯ คิดค้น ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง ต่อยอด รางวัลโนเบล ใช้ระบบตามธรรมชาติของมนุษย์ ฆ่าเซลล์มะเร็ง ไม่ส่งผลข้างเคียงต่อคนไข้ – ทุ่มเทชีวิต เพื่อหาวิธีลดราคายา ให้ทุกคนเข้าถึงได้ เบื้องต้นยัง ‘ขาดเงินทุนวิจัย’ ขอคนไทยคนละ 5 บาท บริจาคเพื่อการคิดค้นยา ต่อลมหายใจผู้ป่วยมะเร็ง ในอนาคต
ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง – แสงสว่าง และความหวังสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ได้ถูกจุดประกายขึ้นมา เมื่อคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์หรือการแพทย์ ที่สถาบันแคโรลินสกา ในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ประกาศมอบ รางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปี 2018 แก่ นายเจมส์ พี. อัลลิสัน ศาสตราจารย์จากศูนย์มะเร็งเอ็ม.ดี . แอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และนายทาซูกุ ฮอนโจ ผู้เชี่ยวชาญระบบภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น จากผลงานการค้นพบวิธี บำบัดมะเร็ง ด้วยการควบคุมการตอบสนองเชิงลบในระบบภูมิคุ้มกัน

(COMBO) This combination created on October 1, 2018 of a file picture taken on September 18, 2014 in Taipeh shows Tasuku Honjo (L) of Japan and James P Allison (R) of the US. – James P Allison of the US and Tasuku Honjo of Japan won the 2018 Nobel Medicine Prize for research that has revolutionised the treatment of cancer, the jury said on October 1, 2018. (Photo by SAM YEH / AFP)
การค้นพบการรักษามะเร็งด้วยระบบภูมิคุ้มกันของคุณหมออัลลิสัน และคุณหมอฮอนโจ ถูกค้นพบเมื่อประมาณปี 1995 โดยหลังจากนั้นมีบริษัทยายักษ์ใหญ่ และศูนย์วิจัยหลายแห่ง นำไปคิดค้นต่อยอด จนได้ยาภูมิคุ้มกันรักษามะเร็ง ซึ่งยังถูกใช้อยู่ในวงจำกัด เพราะมีราคาสูง คือ หลอดละ 2 แสนบาท

“ นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล” ผู้อำนวยการ “ศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบ” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับประเทศไทย ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ก็มักจะหมดความหวัง เพราะทราบว่าเป็นโรคที่ไม่มียา หรือวิธีการรักษาที่การันตีผลลัพธ์ ทำเพียงรักษาตามอาการ หรือใช้วิธีใช้เคมีบำบัด หรือฉายแสง ทำลายเซลล์ร้ายชนิดนี้ ซึ่งมีผลข้างเคียงด้านลบต่อคนไข้สูงมาก
‘ยาภูมิคุ้มกันรักษามะเร็ง หรือยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง’ จึงเป็นนวัตกรรม หรือสิ่งใหม่ ที่คนไทยยังไม่รู้จักแพร่หลาย แต่เมื่อไม่นานมานี้ “นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล” ผู้อำนวยการ “ศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบ” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ต่อยอดการค้นพบของคุณหมอฮอนโจ เพื่อผลิต ‘ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง’ ให้แก่คนไทย ในราคาถูก และเข้าถึงได้
วันที่ 18 ต.ค. ที่อาคารแพทยพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แขวง และเขต ปทุมวัน คุณหมอไตรรักษ์ ได้เปิดห้องวิจัยต้อนรับ ‘ข่าวสดออนไลน์’ และเผยขั้นตอนการคิดค้น ‘ยารักษามะเร็ง’ พร้อมประกาศจุดยืนว่า ‘ตอนนี้ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ต้องการผลิตยารักษาที่ถูกที่สุด และรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ทุกคน ทุกชนชั้นเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง’ แม้จะมีอุปสรรค หรือความยากลำบากมากมายเพียงใดก็ตาม เพราะ คิดว่าหากไม่เริ่มต้นวันนี้ ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นวันไหน

“สถิติโดยเฉลี่ยทุกคนมีโอกาสเป็นมะเร็งประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ คำนวณง่ายๆ คือ ในคน 3 คน ที่นั่งอยู่ในห้องนี้ 1-2 มีโอกาสป่วยเป็นมะเร็ง ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และคนที่ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง จึงมีความสำคัญมาก” คุณหมอไตรรักษ์ กล่าวเปิดประเด็น
คุณหมอไตรรักษ์ เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นของงานวิจัยนี้ว่า ตนมีความสนใจ และเชี่ยวชาญด้านแอนติบอดี และการรักษาด้วยการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่ต่างประเทศ ซึ่งตนก็คลุกคลี และรู้จักกับแพทย์ที่อยู่ในวงการนี้ จุดเปลี่ยนอีกอย่างหนึ่ง คือ มีคนไข้ที่ได้รับการรักษาจากยาแอนติบอดี จนเซลล์มะเร็งสลาย และหายเป็นปกติ ทั้งๆ ที่ป่วยในระยะที่เกือบจะเสียชีวิต เป็นประสบการณ์ตรงที่พบมาด้วยตัวเอง เมื่อเห็นว่าการใช้ แอนติบอดี รักษามะเร็งได้ผล จึงอยากจะทำให้เกิดขึ้นในเมืองไทย

ก่อนคุณหมอจะอธิบายถึงสาเหตุของการเกิด ‘มะเร็ง’ ว่า สาเหตุก็มาจากหลายอย่าง ทั้งปัจจัยภายนอก และภายใน สิ่งแวดล้อมอาจจะมีสารปนเปื้อน อย่างเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็มีสาเหตุมาจากอาหารจำพวกเบคอน และไส้กรอก เพราะมีสารไนไตรท ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง หรือการสูบบุหรี่ หรือการรับประทานปลาดิบ ที่มีพยาธิใบไม้ สิ่งเหล่านี้คือ ปัจจัยภายนอกที่ทราบกัน
ด้านปัจจัยภายใน ก็มีอย่างเช่น ‘ภาวะอ้วน’ สร้างความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งกว่า 14 ชนิด เมื่อเราอ้วนจะทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง เมื่อไม่นานมานี้ตนได้เข้าร่วมการประชุมเรื่องโรคมะเร็ง ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังตื่นตัวเรื่อง ภาวะอ้วน เพราะ ตัวเลขคนอ้วนในประเทศกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หลายคนยังเข้าใจว่า ความอ้วนก่อให้เกิดโรคหัวใจ โรคความดันสูง หรือโรคเบาหวานเท่านั้น
“โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานร่างกายเสื่อม ฉะนั้นภาวะไหนก็แล้วแต่ ที่ทำให้ร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ ก็ทำให้เกิดมะเร็งมากขึ้น เราทุกคนมีเซลล์ที่จะก่อให้เกิดมะเร็งอยู่ แต่ที่ยังไม่ปรากฏ ก็เป็นเพราะมีภูมิต้านทานคอยควบคุม และทำลายเรื่อยๆ ดังนั้นอาจจะเรียกว่า ‘มะเร็ง’ คือ อาการป่วยของภูมิต้านทาน สังเกตว่า จะพบมะเร็งเมื่อมีอายุมากขึ้น” คุณหมอไตรรักษ์ ขยายความเพิ่มเติม

กระบวนการการทำงานของ ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง
งานวิจัยครั้งนี้จะใช้ต้นแบบจาก ศ.นพ.ทาสุกุ ฮอนโจ (Tasuku Honjo) แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) 1 ใน 2 นักวิจัย ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปี 2018 กระบวนการขั้นตอนการทำงาน ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง ซึ่งคุณหมอฮอนโจ ได้ค้นพบ โปรตีน พีดี-1 (PD-1) ซึ่งอยู่บนผิวของเม็ดเลือดขาว และค้นพบว่า หาก พีดี-1 (PD-1) ได้จับคู่กับโปรตีนที่ชื่อว่า พีดี-แอล1 (PD-L1) จะทำให้ส่งสัญญาณ และทำให้เม็ดเลือดขาวไม่เข้ามาทำงาน หรือทำลายเซลล์มะเร็ง เสมือนการใส่หน้ากากหลอกว่าเป็นเซลล์ปกติ เพราะเม็ดเลือดขาว จะมีกลไกที่จะไม่ฆ่า หรือทำลายกันเอง ผ่านการสื่อสารกันระหว่างเซลล์ ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ก็อยู่บนเซลล์เม็ดขาวอยู่แล้ว แต่มะเร็งได้ไปหยิบยืมกลไกนี้มาใช้เพื่อไม่ให้ถูกทำลาย
“เป็นกลไกการจัดการการหลบหนีของมะเร็ง โดยใช้กลไกธรรมชาติของร่างกายมนุษย์” คุณหมอ กล่าว
คุรหมอกล่าวว่า ที่ผ่านมาการรักษามะเร็งจะใช้ 3 วิธี คือ การรักษาด้วยคีโม หรือเคมีบำบัด (chemotherapy) การรักษาด้วยวิธีฉายแสง หรือการฉายรังสีรักษา (radiotherapy) และอีกวิธีที่นิยมทำกันคือ 3 ใช้ยาพุ่งเป้า (targeted therapy) ซึ่งเป็นวิธีที่ส่งผลข้างเคียงด้านลบต่อคนไข้ เพราะเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียงเซลล์มะเร็งจะถูกทำลายด้วย รวมไปถึงอาการผมร่วง เบื่ออาหาร หรือร่างกายอ่อนแอ แต่ยาแอนติบอดีนี้ ไม่ส่งผลข้างเคียง เพราะเป็นกลไกตามธรรมชาติในร่างกาย

บริษัทยา 6 แห่ง ที่ผลิตยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง
ขณะนี้มีบริษัทยายักษ์ใหญ่เพียง 6 แห่ง ที่สามารถวิจัย และผลิตยาแอนติบอดีได้ ซึ่งก็มีราคาสูงมาก ตกหลอดละ 2 แสนบาท ด้านองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ให้การรับรองผลลัพธ์แล้ว ผ่านการเก็บข้อมูลการรักษามะเร็งทั้ง 15 ชนิด โดยเริ่มเก็บตัวอย่างตั้งแต่เดือน ก.ย. 2014 นอกจากนี้ยังมีการทำวิจัยเกี่ยวกับยาแอนติบอดีกว่า 1,500 งานวิจัย การลงทุนวิจัยยาตัวนี้ต้องใช้เงินกว่า 1 พันล้านเหรียญ หรือประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท และใช้เวลาวิจัยกว่า 7-10 ปี
ประเทศไทยจึงไม่มีหน่วยงานไหนทำวิจัย เป็นโครงการที่ถือว่ายากมาก แต่ตนเห็นว่า เรามีสิทธิ์เป็นมะเร็งกันทุกคน ตอนนี้ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว เลยคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อรักษามะเร็ง สำคัญคือ เรารู้แล้วว่ามีวิธีรักษาให้หาย แต่ต้องทำให้ถูกลง เพื่อให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

นักวิจัยกำลังส่องส่องสิ่งมีชีวิตในถาดทดลอง
คุณหมอ อธิบายว่า ผลลัพธ์การรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และชนิดของมะเร็ง ยกตัวอย่างเช่นมะเร็งผิวหนัง ได้ผลประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ มะเร็งไฝดำ ได้ผลประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ มะเร็งปอด ได้ผลประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ มะเร็งไต 25 เปอร์เซ็นต์ คือ ได้ผลอยู่เฉลี่ยแบบกลางๆ แต่นี่คือ ตัวอย่างผลของคนไข้ที่เคยได้ยาสูตรปกติมาแล้ว ในต่างประเทศผู้ป่วยที่ใช้ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง จะมีประกันสังคมดูแล แต่สำหรับประเทศไทย ต้องเป็นคนที่มีกำลังจ่ายสูงเท่านั้น
ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ยาไบโอโลจิกส์ (Biologics) ที่สร้างจากสิ่งมีชีวิต หรือโปรตีน ขณะนี้ยังไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ เพราะยังไม่เสร็จสิ้นการวิจัย แต่หากจะช่วยตั้งชื่อก็ยินดี

หลอดทดลอง 
เป้าหมายของคุณหมอ
คุณหมอได้เปิดตารางแสดงผลราคายารักษามะเร็งที่ตั้งเป้าไว้ โดยอธิบายว่า ตนตั้งใจว่าจะลดราคายาลง 10 เท่า จาก 2.5 แสนบาท ให้เหลือ 2 หมื่นบาท คิดเผื่อไปถึงการให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนค่ารักษา เพราะหากราคายังสูงขนาดนี้ ก็คงจะไม่มีการแบ่งงบประมาณมาดูแลผู้ป่วย ซึ่งยาตัวนี้ต้องให้ทุก 2-3 สัปดาห์ หากฉีดไป 3-4 เดือนแล้วได้ผล ก็ต้องฉีดต่อเนื่องรวมประมาณ 17 เข็ม จนครบ 2 ปี ค่าใช้จ่ายก็จะอยู่ที่ 8-9 ล้านบาท ตนจึงอยากจะลดราคาให้เหลือประมาณ 6-7 แสนบาท
ขณะนี้ที่สหรัฐอเมริกา แพทย์สามารถใช้ยาแอนติบอดีรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดได้เลย โดยไม่ต้องใช้คีโม หรือฉายแสงก่อน ซึ่งผลลัพธ์คือ ได้ผล 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่อไปในอนาคตมีความหวังว่าสามารถรักษามะเร็งได้หายขาด ช่วงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีนี้

นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล และผู้ช่วยวิจัย ในห้องปฏิบัติการ
คุณหมอไตรรักษ์ อธิบายแผนการวิจัยว่า แผนงานถูกแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกคือ การสร้างต้นแบบ ซึ่งเรากำลังอยู่ในช่วงนี้อยู่ และตอนนี้เราก็ได้ต้นแบบที่คล้ายกับตัวที่มาจับกับ พีดี-1 (PD-1) เพื่อแยกออกมาจาก พีดี-แอล1 (PD-L1) แล้ว แต่เป็นผลที่ปรากฏในหลอดทดลอง ยังไม่ได้นำไปทดลองในสัตว์ หรือมนุษย์ ขั้นต่อไปเราต้องสร้างแอนติบอดี ที่มีรูปร่างคล้ายกับที่มีอยู่ในมนุษย์ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ต่อมาช่วงที่ 2 จะเป็นขั้นตอนของการผลิตแอนติบอดีให้ได้จำนวนมาก ใช้เวลา 2 ปี จะได้ยาเป็นขวด เพื่อนำไปใช้ในสัตว์ทดลอง หลังจากนั้นจะนำไปใช้ในสัตว์ทดลอง ก็จะใช้เวลาอีก 1 ปีครึ่ง ถ้าทุกอย่างออกมาได้ผล เราก็จะเริ่มใช้ในคน ซึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็ง ที่มาเป็นอาสาสมัครเพื่อทดลองตัวยา **คือยังไม่ใช้ในการรักษาทั่วไป แต่ต้องรอต่อไปอีกประมาณ 4-5 ปี
ตนมีความหวังว่า ยาตัวนี้จะถูกใช้ในประเทศไทยอย่างทั่วถึง อาจจะมีคนที่คิดวิจัยการรักษาได้ดีกว่า ส่วนนี้ก็ยินดี เพราะไม่มีการแข่งขัน แค่คิดว่าอยากให้คนไทยได้ใช้ยาแค่นั้น

คุณหมอออกความเห็นเรื่องสวัสดิการการรักษาพยาบาลของไทย ว่า หากเป็นเรื่องยารักษามะเร็งนี้ ส่วนตัวคิดว่า อาจจะเป็นในรูปแบบ ‘ร่วมกันจ่าย’ หากให้รัฐบาลรับผิดชอบฝ่ายเดียวอาจจะต้องใช้งบสูงมาก แต่ก็ต้องมาคิดว่าจะให้มีอัตราแบ่งกันจ่ายฝ่ายละเท่าไหร่ ซึ่งในต่างประเทศก็ยังแก้ปัญหานี้ไม่ตกเช่นกัน แต่หากเป็นไปได้ ก็อยากจะให้ทุกคนได้รับการรักษาฟรีทั้งหมด แต่คิดว่ารัฐควรจะมีส่วนรับผิดชอบด้วย เพราะตอนนี้ ศูนย์ของเราได้รับงบประมาณจากทาง จุฬาฯ มา 100 ล้านบาท ซึ่งก็ถือว่ายังไม่เพียงพอ เพราะ ยังมีอีก 2 ช่วงที่ต้องดำเนินการต่อ
“หากสามารถผลิตออกมาเป็นยาแอนติบอดีรักษามะเร็งสำเร็จ ก็คงจะจัดตั้งองค์กรในรูปแบบคล้ายบริษัท แสวงหากำไรเป็นส่วนน้อย เพื่อนำมาหล่อเลี้ยงการผลิตยาบ้าง แต่คงไม่ทำในรูปแบบการค้า เหมือนภาคเอกชน”

นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล
ขณะนี้ยังขาดทุนสำหรับวิจัยอีกมาก จึงอยากจะขอรับบริจาค โดยเฉพาะภาคเอกชน เพราะหากรอจากรัฐบาล ก็อาจจะทำให้ขาดตอนในการวิจัย หรือคล่องตัวไม่พอ เพราะ เป้าหมายของเราคือ ต้องการให้คนไทยมียารักษามะเร็งใช้ให้เร็วที่สุด
โดยหลังจากสัมภาษณ์เสร็จ คุณหมอไตรรักษ์ได้เปิดห้องวิจัยยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง พร้อมเปิดให้ ‘ข่าวสดออนไลน์’ ได้ใช้กล้องจุลทัศน์ส่องสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋ว ที่อยู่ในถาดเลี้ยง ซึ่งกำลังจะให้คุณค่าแก่ผู้ป่วยมะเร็งในอนาคต พร้อมพลิกวงการแพทย์ไทย ให้มีความหวังที่จะต่อยอด และคิดค้นวิธีที่จะรักษาโรคชนิด