สธ.ยัน วัคซีนโรคหัด ไม่ได้ทำจากส่วนประกอบของหมู หลังภาคใต้ระบาดหนัก ดับ 5!
วันที่ 11 ตุลาคม 2561 - 13:18 น.
จากกรณีที่เกิดโรคหัดระบาดในพื้นที่ภาคใต้ โดยพบว่า การระบาดของโรคหัดและทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ในพื้นที่ จ.ยะลา โดยเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด มาก่อนนั้น
เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ดร.นพ.สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรค(สคร.) ที่ 12 จ.สงขลา เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคหัดในจังหวัดยะลายังมีการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง และมีการระบาดในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมของวัคซีนต่ำ จากรายงานสถานการณ์โรคหัด ในเขต 12 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-10 ต.ค.61 พบผู้ป่วย 429 ราย สูงสุดคือ จ.ยะลา 282 ราย เสียชีวิต 5 ราย รองลงมา จ.ปัตตานี 61 ราย และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ในจังหวัดอื่นพบสัดส่วนการระบาดที่สูงในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
ดร.นพ.สุวิช เปิดเผยว่า สคร.12 สงขลา และสำนักงานสาธารณสุข จ.ยะลา ลงพื้นที่สอบสวนหาสาเหตุการเสียชีวิต พบว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 5 ราย มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และสาเหตุเกิดจากการไม่ได้รับวัคซีนและได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เนื่องจากประชาชนมีความเข้าใจผิดคิดว่าวัคซีนผลิตมาจากส่วนประกอบของหมู จึงปฏิเสธการรับวัคซีน อีกทั้งความครอบคลุมของวัคซีนในพื้นที่ที่มีเด็กเสียชีวิตต่ำกว่าร้อยละ 60 ซึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนดต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 จึงจะสามารถป้องกันโรคหัดได้
“ยันยืนว่าวัคซีนโรคหัดที่นำมาใช้ในประเทศไทยเป็นวัคซีนที่ปลอดภัย ไม่มีส่วนประกอบมาจากหมู เป็นวัคซีนที่มีการใช้กันทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศมุสลิม อย่างประเทศมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย วัคซีนยังมีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคได้”ดร.นพ.สุวิช กล่าว
ดร.นพ.สุวิช เปิดเผยว่า ขอเน้นย้ำให้ประชาชนที่มีบุตรหลาน ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโรคหัดมารับการฉีดวัคซีนโดยด่วน ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านฟรี และหากเด็กในปกครอง มีไข้ ไอ มีผื่นแดงและตาแดง ให้แยกเด็กออกไม่ให้สัมผัสกับเด็กอื่น เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ และในกรณีที่ในบ้านที่มีเด็กสัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วย หากไม่ได้รับวัคซีนหรือฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ให้ผู้ปกครองนำเด็กไปฉีดวัคซีนให้ครบ หรือในกรณีของเด็กนักเรียน หากมีอาการข้างต้นให้หยุดอยู่บ้าน เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์เช่นกัน
ดร.นพ.สุวิช เปิดเผยว่าสำนักงานสาธารณสุข จ.ยะลา ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินฯ โรคหัดขึ้น (EOC) พร้อมทั้งได้ควบคุมการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ จ.ยะลา ด้วยมาตรการ 323 “หาให้ครบ ฉีดให้ทัน” โดยลงพื้นที่เชิงรุกดำเนินการวินิจฉัยโรคให้เร็ว แจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ทราบภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อสอบสวนโรค หาผู้สัมผัสโรคให้ครบ ภายใน 2 วัน และดำเนินการฉีดวัคซีนแก่ผู้สัมผัสโรคภายใน 3 วัน สคร.12 สงขลา ได้ร่วมประชุม EOC เพื่อให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการและสนับสนุนวัคซีนโรคหัดแก่พื้นที่แล้ว
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_1674554
สธ.ยัน วัคซีนโรคหัด ไม่ได้ทำจากส่วนประกอบของหมู หลังภาคใต้ระบาดหนัก ดับ 5!
วันที่ 11 ตุลาคม 2561 - 13:18 น.
จากกรณีที่เกิดโรคหัดระบาดในพื้นที่ภาคใต้ โดยพบว่า การระบาดของโรคหัดและทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ในพื้นที่ จ.ยะลา โดยเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด มาก่อนนั้น
เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ดร.นพ.สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรค(สคร.) ที่ 12 จ.สงขลา เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคหัดในจังหวัดยะลายังมีการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง และมีการระบาดในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมของวัคซีนต่ำ จากรายงานสถานการณ์โรคหัด ในเขต 12 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-10 ต.ค.61 พบผู้ป่วย 429 ราย สูงสุดคือ จ.ยะลา 282 ราย เสียชีวิต 5 ราย รองลงมา จ.ปัตตานี 61 ราย และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ในจังหวัดอื่นพบสัดส่วนการระบาดที่สูงในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
ดร.นพ.สุวิช เปิดเผยว่า สคร.12 สงขลา และสำนักงานสาธารณสุข จ.ยะลา ลงพื้นที่สอบสวนหาสาเหตุการเสียชีวิต พบว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 5 ราย มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และสาเหตุเกิดจากการไม่ได้รับวัคซีนและได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เนื่องจากประชาชนมีความเข้าใจผิดคิดว่าวัคซีนผลิตมาจากส่วนประกอบของหมู จึงปฏิเสธการรับวัคซีน อีกทั้งความครอบคลุมของวัคซีนในพื้นที่ที่มีเด็กเสียชีวิตต่ำกว่าร้อยละ 60 ซึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนดต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 จึงจะสามารถป้องกันโรคหัดได้
“ยันยืนว่าวัคซีนโรคหัดที่นำมาใช้ในประเทศไทยเป็นวัคซีนที่ปลอดภัย ไม่มีส่วนประกอบมาจากหมู เป็นวัคซีนที่มีการใช้กันทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศมุสลิม อย่างประเทศมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย วัคซีนยังมีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคได้”ดร.นพ.สุวิช กล่าว
ดร.นพ.สุวิช เปิดเผยว่า ขอเน้นย้ำให้ประชาชนที่มีบุตรหลาน ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโรคหัดมารับการฉีดวัคซีนโดยด่วน ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านฟรี และหากเด็กในปกครอง มีไข้ ไอ มีผื่นแดงและตาแดง ให้แยกเด็กออกไม่ให้สัมผัสกับเด็กอื่น เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ และในกรณีที่ในบ้านที่มีเด็กสัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วย หากไม่ได้รับวัคซีนหรือฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ให้ผู้ปกครองนำเด็กไปฉีดวัคซีนให้ครบ หรือในกรณีของเด็กนักเรียน หากมีอาการข้างต้นให้หยุดอยู่บ้าน เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์เช่นกัน
ดร.นพ.สุวิช เปิดเผยว่าสำนักงานสาธารณสุข จ.ยะลา ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินฯ โรคหัดขึ้น (EOC) พร้อมทั้งได้ควบคุมการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ จ.ยะลา ด้วยมาตรการ 323 “หาให้ครบ ฉีดให้ทัน” โดยลงพื้นที่เชิงรุกดำเนินการวินิจฉัยโรคให้เร็ว แจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ทราบภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อสอบสวนโรค หาผู้สัมผัสโรคให้ครบ ภายใน 2 วัน และดำเนินการฉีดวัคซีนแก่ผู้สัมผัสโรคภายใน 3 วัน สคร.12 สงขลา ได้ร่วมประชุม EOC เพื่อให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการและสนับสนุนวัคซีนโรคหัดแก่พื้นที่แล้ว
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_1674554