โรคหัดระบาด คร่า 4 ชีวิต ที่จ.ยะลา
วันที่ 9 ตุลาคม 2561 - 15:15 น.
โรคหัดระบาด – เมื่อวันที่ 9 ต.ค. พล.อ.สุรเซษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษรัฐบาลของรัฐบาล มีความห่วงใยเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังมีรายงานว่าช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการระบาดของโรคหัดและทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ในพื้นที่จ.ยะลา โดยเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด มาก่อน จึงประสานและขับเคลื่อนการรณรงค์ให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงและขอให้พ่อแม่พาบุตรหลานไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด
โดยยอมรับว่า มีบางพื้นที่ที่มีปัญหาการต่อต้านการฉีดวัคซีนในเด็กมุสลิม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและสำนักจุฬาราชมนตรี เคยทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่แล้วว่าการรับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ในเด็กมุสลิมสามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้โรคหัดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสมีเซิล (Measles) ทำให้มีอาการ มีไข้ออกผื่น มีน้ำมูก ตาแดง กลัวแสง อาการจะมากขึ้นพร้อมกับไข้สูงขึ้นและจะมีผื่นขึ้นในวันที่ 4 ลักษณะผื่นนูนแดงติดกันเป็นปื้น และจะขึ้นที่หน้า แผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา
เมื่อผื่นแพร่กระจายไปทั่วตัว ไข้จะเริ่มลดลง ผื่นระยะแรกมีสีแดงจะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง ก่อนผื่นขึ้นจะพบจุดขาวๆ เล็ก ๆ มีขอบสีแดงๆ อยู่ในกระพุ้งแก้ม จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ก่อนที่จะมีผื่นขึ้น พบบ่อยในเด็กอายุ 1-6 ปี ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
โรคหัดสามารถติดต่อกันได้ง่าย หากไม่มีภูมิป้องกันโรค ด้วยการไอ จามหรือพูดกันในระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย และเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่อ เด็กอายุ 2 ปีครึ่ง
ขณะนี้สาธารณสุขจังหวัดยะลาได้ควบคุมการระบาดโรคหัดในพื้นที่จังหวัดยะลา ด้วยมาตรการ 323 “หาให้ครบ ฉีดให้ทัน” ลงพื้นที่เชิงรุกดำเนินการวินิจฉัยโรคให้เร็ว แจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ทราบภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อลงสอบสวนโรค หาผู้สัมผัสโรคให้ครบ ภายใน 2 วัน และดำเนินการฉีดวัคซีนแก่ผู้สัมผัสโรคภายใน 3 วัน ในส่วนของผู้สัมผัสโรค ได้แก่ ผู้ที่อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ป่วย ในโรงเรียน ที่ทำงาน ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดคลุกคลี และบุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลสัมผัสผู้ป่วย
อย่างไรก็ตามในวันที่ 19 ต.ค.นี้ เวลา 13.00 น. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในการประชุมคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_1665470
โรคหัดระบาด คร่า 4 ชีวิต ที่จ.ยะลา
วันที่ 9 ตุลาคม 2561 - 15:15 น.
โรคหัดระบาด – เมื่อวันที่ 9 ต.ค. พล.อ.สุรเซษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษรัฐบาลของรัฐบาล มีความห่วงใยเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังมีรายงานว่าช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการระบาดของโรคหัดและทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ในพื้นที่จ.ยะลา โดยเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด มาก่อน จึงประสานและขับเคลื่อนการรณรงค์ให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงและขอให้พ่อแม่พาบุตรหลานไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด
โดยยอมรับว่า มีบางพื้นที่ที่มีปัญหาการต่อต้านการฉีดวัคซีนในเด็กมุสลิม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและสำนักจุฬาราชมนตรี เคยทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่แล้วว่าการรับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ในเด็กมุสลิมสามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้โรคหัดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสมีเซิล (Measles) ทำให้มีอาการ มีไข้ออกผื่น มีน้ำมูก ตาแดง กลัวแสง อาการจะมากขึ้นพร้อมกับไข้สูงขึ้นและจะมีผื่นขึ้นในวันที่ 4 ลักษณะผื่นนูนแดงติดกันเป็นปื้น และจะขึ้นที่หน้า แผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา
เมื่อผื่นแพร่กระจายไปทั่วตัว ไข้จะเริ่มลดลง ผื่นระยะแรกมีสีแดงจะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง ก่อนผื่นขึ้นจะพบจุดขาวๆ เล็ก ๆ มีขอบสีแดงๆ อยู่ในกระพุ้งแก้ม จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ก่อนที่จะมีผื่นขึ้น พบบ่อยในเด็กอายุ 1-6 ปี ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
โรคหัดสามารถติดต่อกันได้ง่าย หากไม่มีภูมิป้องกันโรค ด้วยการไอ จามหรือพูดกันในระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย และเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่อ เด็กอายุ 2 ปีครึ่ง
ขณะนี้สาธารณสุขจังหวัดยะลาได้ควบคุมการระบาดโรคหัดในพื้นที่จังหวัดยะลา ด้วยมาตรการ 323 “หาให้ครบ ฉีดให้ทัน” ลงพื้นที่เชิงรุกดำเนินการวินิจฉัยโรคให้เร็ว แจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ทราบภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อลงสอบสวนโรค หาผู้สัมผัสโรคให้ครบ ภายใน 2 วัน และดำเนินการฉีดวัคซีนแก่ผู้สัมผัสโรคภายใน 3 วัน ในส่วนของผู้สัมผัสโรค ได้แก่ ผู้ที่อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ป่วย ในโรงเรียน ที่ทำงาน ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดคลุกคลี และบุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลสัมผัสผู้ป่วย
อย่างไรก็ตามในวันที่ 19 ต.ค.นี้ เวลา 13.00 น. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในการประชุมคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_1665470