ยอดเด็กตายจากโรคหัดใน จชต. พุ่งเป็น 21 ราย หลังโรคระบาดเมื่อกันยายน
2018-11-29
เจ้าหน้าที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวในวันพฤหัสบดีนี้ว่า ยอดเด็กเสียชีวิตจากการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนนี้เป็นต้นมา พุ่งเป็น 21 รายแล้ว โดยสาเหตุมาจากการที่ผู้ปกครองมุสลิมบางส่วนปฏิเสธการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก เพราะเชื่อว่าวัคซีนต้านโรคหัดมีส่วนประกอบของหมู อย่างก็ตามอัตราการระบาดได้ลดลงแล้ว และสถานการณ์ดีขึ้น
ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวแก่เบนาร์นิวส์ว่า ผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเด็กเล็กอายุระหว่าง 7 เดือน ถึง 2 ปี 6 เดือน มีภาวะทุพโภชนาการ ทุกรายเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคหัดที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ปอดอักเสบ และอุจจาระร่วง ทั้งหมดไม่มีประวัติว่าเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรค และบางรายอายุยังไม่ครบเกณฑ์ที่จะได้รับวัคซีน โดยเป็นเหตุให้เสียชีวิต ในยะลา 10 ราย ในปัตตานี 10 ราย และที่อื่นอีกหนึ่งราย
"จากข้อมูลในฐานข้อมูลโครงการกำจัดโรคหัด และรายงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ภาคใต้ตอนล่าง มีรายงานผู้ป่วยไข้ออกผื่นและสงสัยโรคหัด จำนวนทั้งสิ้น 3,052 ราย เสียชีวิต 21 ราย” ดร.นายแพทย์สุวิช กล่าวแก่เบนาร์นิวส์
ดร.นายแพทย์สุวิช กล่าวว่า ถึงแม้โรคหัดจะมีวัคซีนที่ใช้สำหรับการป้องกัน แต่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง พบว่าฉีดวัคซีนได้ล่าช้า เพราะการปฏิเสธวัคซีนของผู้ปกครอง ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิตทุกราย ไม่เคยได้รับวัคซีน
"เพราะเขามองว่าวัคซีนมีการผสมของหมู ไม่สะอาด เขาจึงไม่รับวัคซีน จึงทำให้เกิดการระบาดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา” ดร.นายแพทย์สุวิช กล่าวแก่เบนาร์นิวส์
นางตีเยาะ (สงวนนามสกุล) ชาวบ้านในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ตนเองปฏิเสธการให้วัคซีนกับบุตรของตน เพราะมีคนบอกว่าวัคซีนมีส่วนผสมของหมู
"วัคซีน บาป อิสลามห้ามเกี่ยวข้องกับหมู เขาบอกว่าวัคซีนมีสารจากหมูเข้าไปผสมด้วย ก็ไม่อยากให้ลูกรับวัคซีน อัลลอฮ์จะรู้ อัลลอฮ์จะปกป้องคนที่ศรัทธา" นางตีเยาะ กล่าว
นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าวว่า ประเทศไทย ดำเนินการป้องกันโรคหัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 แต่ยังมีการระบาดเป็นระยะๆ โดยในปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า มีผู้เป็นโรคหัดประมาณ 3,000 ราย แต่ไม่มีการเสียชีวิต
ในสถานการณ์โดยรวมนั้น นายแพทย์อรุณ ประเสริฐสุข รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลปัตตานี กล่าวว่า การแพร่ระบาดโรคหัดที่ปัตตานี เริ่มลดน้อยลง เพราะวัคซีนเริ่มลดการติดเชื้อได้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในจังหวัดต่างๆ ของสามจังหวัด ได้ประเมินว่ามีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 90 ถึง 95 เปอร์เซ็นต์
"แนวโน้มผู้ป่วยในแต่ละวันเริ่มน้อยลง และไม่น่าเป็นห่วง เพราะวัคซีนสามารถควบคุมการระบาดมากขึ้น แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ไม่กล้าฉีดวัคซีน เพราะเข้าใจว่าวัคซีนไม่ฮาลาล" นายแพทย์อรุณ ประเสริฐสุข รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลปัตตานี กล่าวแก่เบนาร์นิวส์
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง แฝงอยู่ในสารน้ำมูก ในจมูกหรือคอของผู้ติดเชื้อ สามารถติดต่อถึงผู้อื่นได้ เมื่อมีการสั่งน้ำมูก หรือการไอจาม โดยเชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศได้ถึงสองชั่วโมง
รัฐ-ผู้นำมุสลิม รณรงค์การฉีดวัคซีน
นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าวว่า ประเทศไทย ได้ดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนป้องกันโรคหัดให้แก่เด็กอายุ 9 เดือน มาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และให้วัคซีนป้องกันโรคหัดแก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อีกเป็นเข็มที่สอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2539
ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเป็นวัคซีนรวม โรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม โดยให้เข็มที่ 1 ในเด็กอายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 ในเด็กอายุ 2 ปีครึ่ง ถึง 3 ปี และเก็บตกในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งมีครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเข็ม 1 และเข็ม 2 เฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่าร้อยละ 89.59 และ 91.08 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม นพ.สงกรานต์ กล่าวว่าประเทศไทย ยังคงมีผู้ป่วยโรคหัดรายงานผ่านระบบเฝ้าระวังโรค ปีละ 4,000-7,000 ราย และยังมีการระบาดของโรคหัดเป็นระยะๆ
ทั้งนี้ เมื่อปลายเดือนตุลาคม นายแพทย์สงกรานต์ กล่าวว่า มียอดเด็กผู้เสียชีวิตในสามจังหวัดชายแดนใต้ 12 ราย ซึ่งเป็นเด็กในยะลา 10 ราย และมีผู้ที่ต้องเฝ้าระวังอีก 8,000 ราย ซึ่งทางการต้องเร่งฉีดวัคซีน โดยวัคซีนจะมีผลคุ้มกันโรคหลังการฉีดวัคซีนสองสัปดาห์ โดยในขณะนั้น สามารถฉีดวัคซีนให้เป้าหมายในพื้นที่ได้เพียง 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
จากปัญหาการปฏิเสธวัคซีน จุฬาราชมนตรี ผู้นำศาสนาในพื้นที่ และภาครัฐ ได้ระดมการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรับทราบว่า ให้สามารถรับการฉีดวัคซีนได้โดยไม่ผิดกฎศาสนา
“การแพร่ระบาดของโรคหัดเกิดจากการไม่ฉีดวัคซีน ทางสาธารณสุขไม่สามารถดำเนินการเร่งฉีดวัคซีนฝ่ายเดียวได้ ก็ใช้ระบบให้นายอำเภอ นำพลังสี่เสาหลัก ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่ นายก อบต. ครู อิหม่าม สาธารณสุข มาช่วย ก็เห็นชัดว่ามีผู้ที่ไม่ยอมรับวัคซีนมาฉีดวัคซีนเพิ่ม จากที่ไม่ยอมฉีดวัคซีน ถึงราว 50 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ก็ลดลงเหลือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์” ดร.บอรอเฮง ดีเยาะ สาธารณสุขอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี กล่าวแก่เบนาร์นิวส์
“จากการตรวจสอบในจำนวนผู้ที่เสียชีวิต ส่วนใหญ่พบว่าเป็นเด็กที่ป่วยแล้ว แต่ไม่ยอมเข้ารักษากับโรงพยาบาล จะมาตอนที่ ปอดมีปัญหาแล้ว ก็ขอพรให้เด็กๆ ที่ไม่สบายรักษาให้หายเร็วๆ เด็กที่ไม่ฉีด ก็คงจะต้องฉีดจนครบทุกคน” ดร.บอรอเฮง กล่าว
https://www.benarnews.org/thai/news/TH-measles-deepsouth-11292018134239.html
ยอดเด็กตายจากโรคหัดใน จชต. พุ่งเป็น 21 ราย หลังโรคระบาดเมื่อกันยายน
2018-11-29
เจ้าหน้าที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวในวันพฤหัสบดีนี้ว่า ยอดเด็กเสียชีวิตจากการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนนี้เป็นต้นมา พุ่งเป็น 21 รายแล้ว โดยสาเหตุมาจากการที่ผู้ปกครองมุสลิมบางส่วนปฏิเสธการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก เพราะเชื่อว่าวัคซีนต้านโรคหัดมีส่วนประกอบของหมู อย่างก็ตามอัตราการระบาดได้ลดลงแล้ว และสถานการณ์ดีขึ้น
ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวแก่เบนาร์นิวส์ว่า ผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเด็กเล็กอายุระหว่าง 7 เดือน ถึง 2 ปี 6 เดือน มีภาวะทุพโภชนาการ ทุกรายเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคหัดที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ปอดอักเสบ และอุจจาระร่วง ทั้งหมดไม่มีประวัติว่าเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรค และบางรายอายุยังไม่ครบเกณฑ์ที่จะได้รับวัคซีน โดยเป็นเหตุให้เสียชีวิต ในยะลา 10 ราย ในปัตตานี 10 ราย และที่อื่นอีกหนึ่งราย
"จากข้อมูลในฐานข้อมูลโครงการกำจัดโรคหัด และรายงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ภาคใต้ตอนล่าง มีรายงานผู้ป่วยไข้ออกผื่นและสงสัยโรคหัด จำนวนทั้งสิ้น 3,052 ราย เสียชีวิต 21 ราย” ดร.นายแพทย์สุวิช กล่าวแก่เบนาร์นิวส์
ดร.นายแพทย์สุวิช กล่าวว่า ถึงแม้โรคหัดจะมีวัคซีนที่ใช้สำหรับการป้องกัน แต่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง พบว่าฉีดวัคซีนได้ล่าช้า เพราะการปฏิเสธวัคซีนของผู้ปกครอง ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิตทุกราย ไม่เคยได้รับวัคซีน
"เพราะเขามองว่าวัคซีนมีการผสมของหมู ไม่สะอาด เขาจึงไม่รับวัคซีน จึงทำให้เกิดการระบาดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา” ดร.นายแพทย์สุวิช กล่าวแก่เบนาร์นิวส์
นางตีเยาะ (สงวนนามสกุล) ชาวบ้านในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ตนเองปฏิเสธการให้วัคซีนกับบุตรของตน เพราะมีคนบอกว่าวัคซีนมีส่วนผสมของหมู
"วัคซีน บาป อิสลามห้ามเกี่ยวข้องกับหมู เขาบอกว่าวัคซีนมีสารจากหมูเข้าไปผสมด้วย ก็ไม่อยากให้ลูกรับวัคซีน อัลลอฮ์จะรู้ อัลลอฮ์จะปกป้องคนที่ศรัทธา" นางตีเยาะ กล่าว
นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าวว่า ประเทศไทย ดำเนินการป้องกันโรคหัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 แต่ยังมีการระบาดเป็นระยะๆ โดยในปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า มีผู้เป็นโรคหัดประมาณ 3,000 ราย แต่ไม่มีการเสียชีวิต
ในสถานการณ์โดยรวมนั้น นายแพทย์อรุณ ประเสริฐสุข รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลปัตตานี กล่าวว่า การแพร่ระบาดโรคหัดที่ปัตตานี เริ่มลดน้อยลง เพราะวัคซีนเริ่มลดการติดเชื้อได้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในจังหวัดต่างๆ ของสามจังหวัด ได้ประเมินว่ามีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 90 ถึง 95 เปอร์เซ็นต์
"แนวโน้มผู้ป่วยในแต่ละวันเริ่มน้อยลง และไม่น่าเป็นห่วง เพราะวัคซีนสามารถควบคุมการระบาดมากขึ้น แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ไม่กล้าฉีดวัคซีน เพราะเข้าใจว่าวัคซีนไม่ฮาลาล" นายแพทย์อรุณ ประเสริฐสุข รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลปัตตานี กล่าวแก่เบนาร์นิวส์
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง แฝงอยู่ในสารน้ำมูก ในจมูกหรือคอของผู้ติดเชื้อ สามารถติดต่อถึงผู้อื่นได้ เมื่อมีการสั่งน้ำมูก หรือการไอจาม โดยเชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศได้ถึงสองชั่วโมง
รัฐ-ผู้นำมุสลิม รณรงค์การฉีดวัคซีน
นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าวว่า ประเทศไทย ได้ดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนป้องกันโรคหัดให้แก่เด็กอายุ 9 เดือน มาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และให้วัคซีนป้องกันโรคหัดแก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อีกเป็นเข็มที่สอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2539
ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเป็นวัคซีนรวม โรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม โดยให้เข็มที่ 1 ในเด็กอายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 ในเด็กอายุ 2 ปีครึ่ง ถึง 3 ปี และเก็บตกในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งมีครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเข็ม 1 และเข็ม 2 เฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่าร้อยละ 89.59 และ 91.08 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม นพ.สงกรานต์ กล่าวว่าประเทศไทย ยังคงมีผู้ป่วยโรคหัดรายงานผ่านระบบเฝ้าระวังโรค ปีละ 4,000-7,000 ราย และยังมีการระบาดของโรคหัดเป็นระยะๆ
ทั้งนี้ เมื่อปลายเดือนตุลาคม นายแพทย์สงกรานต์ กล่าวว่า มียอดเด็กผู้เสียชีวิตในสามจังหวัดชายแดนใต้ 12 ราย ซึ่งเป็นเด็กในยะลา 10 ราย และมีผู้ที่ต้องเฝ้าระวังอีก 8,000 ราย ซึ่งทางการต้องเร่งฉีดวัคซีน โดยวัคซีนจะมีผลคุ้มกันโรคหลังการฉีดวัคซีนสองสัปดาห์ โดยในขณะนั้น สามารถฉีดวัคซีนให้เป้าหมายในพื้นที่ได้เพียง 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
จากปัญหาการปฏิเสธวัคซีน จุฬาราชมนตรี ผู้นำศาสนาในพื้นที่ และภาครัฐ ได้ระดมการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรับทราบว่า ให้สามารถรับการฉีดวัคซีนได้โดยไม่ผิดกฎศาสนา
“การแพร่ระบาดของโรคหัดเกิดจากการไม่ฉีดวัคซีน ทางสาธารณสุขไม่สามารถดำเนินการเร่งฉีดวัคซีนฝ่ายเดียวได้ ก็ใช้ระบบให้นายอำเภอ นำพลังสี่เสาหลัก ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่ นายก อบต. ครู อิหม่าม สาธารณสุข มาช่วย ก็เห็นชัดว่ามีผู้ที่ไม่ยอมรับวัคซีนมาฉีดวัคซีนเพิ่ม จากที่ไม่ยอมฉีดวัคซีน ถึงราว 50 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ก็ลดลงเหลือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์” ดร.บอรอเฮง ดีเยาะ สาธารณสุขอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี กล่าวแก่เบนาร์นิวส์
“จากการตรวจสอบในจำนวนผู้ที่เสียชีวิต ส่วนใหญ่พบว่าเป็นเด็กที่ป่วยแล้ว แต่ไม่ยอมเข้ารักษากับโรงพยาบาล จะมาตอนที่ ปอดมีปัญหาแล้ว ก็ขอพรให้เด็กๆ ที่ไม่สบายรักษาให้หายเร็วๆ เด็กที่ไม่ฉีด ก็คงจะต้องฉีดจนครบทุกคน” ดร.บอรอเฮง กล่าว
https://www.benarnews.org/thai/news/TH-measles-deepsouth-11292018134239.html