อังกฤษในยุคที่กำลังสร้างปึกแผ่นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งว่าจะตอกหมุดประชาธิปไตยแล้วหยั่งรากมาถึงปัจจุบัน ต้องอยู่ในภาวะล้มลุกคลุกคลาน เลือดนองแผ่นดิน สงครามกลางเมือง ฯลฯ กินเวลาหลายร้อยปี หนึ่งในเหตุการณ์ที่กล่าวขวัญกันมากที่สุดที่พลิกประวัติศาสตร์อังกฤษก็คือ การต่อสู้แย่งอำนาจกันระหว่าง “รัฐสภา” กับ “สถาบัน” ในยุคของพระเจ้าชาร์ลที่๑
พระเจ้าชาร์ล์ในวัยเด็กเป็นคนพูดติดอ่างและสุขภาพไม่ดีจึงมีปมด้อยชอบเก็บตัว พระองค์ไม่ได้คิดว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ ความจริงการขึ้นครองราชย์ของพระบิดาของพระองค์ถือว่าเป็น “ส้มหล่น” จากการที่พระนางอลิซาเบธที่๑ไม่ได้แต่งงาน ตระกูลของพระเจ้าชาร์ลส่วนใหญ่ก็อยู่สายของราชวงศ์ทางเหนือคือสก็อตแลนด์ แต่พระนางอลิซาเบธได้มอบบัลลังก์ให้กับพระเจ้าเจมส์ (บิดาของพระเจ้าชาร์ลที่๑) ก่อนสวรรคต ตัวพระเจ้าชาร์ลที่๑ ก็มีพระเชษฐาซึ่งสุขภาพดีกว่าเป็นองค์รัชทายาทอยู่แล้ว ต่อมาพระเชษฐาสิ้นพระชนม์ ตำแหน่งรัชทายาทจึงตกมาที่พระองค์อย่างไม่ได้ตั้งตัว
พระเจ้าชาร์ลที่๑ ครองราชย์ต่อจากราชบิดาในขณะที่เงินในท้องพระคลังแทบจะไม่เหลือ พระองค์จึงทรงพยายามที่จะเก็บภาษีแบบโหด จนชาวเมืองผู้ดีโอดครวญทั่วหย่อมหญ้า นอกเหนือจากนั้น “คนใกล้ชิด” ของพระองค์คือเอิร์ลแห่ง “บัคกิงแฮม” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าบักกิ้งแฮมเป็น “สายล่อฟ้า” ซึ่งนำมาซึ่งจุดจบของพระองค์และทั้งตัวบักกิงแฮมด้วย
เอิร์ลแห่งบักกิ้งแฮมท่านนี้เป็นข้าราชบริพารอัศวินเก่าในยุคของพระบิดาของพระเจ้าชาร์ลที่๑ เป็นที่ปรึกษาใกล้ชิดของพระบิดา (ที่ลือกันว่าเป็นทั้งคู่รักด้วย) พระเจ้าชาร์ลที่๑ ทรงไว้พระทัยและปกป้องบักกิ้งแฮมอัศวินคู่ใจคนนี้มาก ขนาดถึงว่าพระองค์ทรงจะไปสู่ขอเจ้าหญิงจากสเปนมาเป็นมเหสีแต่ก็ล้มเหลว สาเหตุหลักก็เพราะว่าราชสำนักสเปนไม่พอใจท่าทีที่หยาบกระด้างของบักกิ้งแฮมอัศวินคู่ใจพระเจ้าชาร์ลที่๑ ถึงกับว่ามีการขอจากสเปนอย่างเป็นทางการว่าให้ประหารชีวิตบักกิ้งแฮมเสีย แต่พระเจ้าชาร์ลที่๑ ไม่สน แถมต่อมาก็ประกาศสงครามกับสเปนซะเลย โดยให้บักกิ้งแฮมนั่นแหละเป็นผู้นำทัพ แต่ก็พ่ายแพ้กลับมาอย่างอดสู
การพ่ายแพ้สงครามต่อสเปน ทำให้คณะรัฐสภาที่ไม่ชอบขี้หน้าบักกิ้งแฺฮมเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเข้ามาไต่สวนเพราะเงินที่รัฐสภาอนุมัติให้ไปทำสงครามนั้นไม่ใช่น้อยๆ แต่พระเจ้าชาร์ลที่๑ ก็ปกป้องบักกิ้งแฮม มิหนำซ้ำจับผู้แทนรัฐสภาเข้าคุกไปสองคน ความบาดหมางระหว่าง “รัฐสภา” กับ “ กษัตริย์” เริ่มก่อตัวขึ้น และต่อมาบักกิ้งแฮมต้องการทำสงครามอีก คราวนี้รัฐสภาไม่อนุมัติเงินอุดหนุน ส่วนตัวพระเจ้าชาร์ลที่๑ เองก็ต้องการเงินใช้จ่ายด้านอื่นด้วย เมื่อรัฐสภายืนยันว่ายังไม่สามารถอนุมัติได้ พระเจ้าชาร์ลที่๑ ก็ใช้พระราชอำนาจยุบรัฐสภาให้รู้แล้วรู้รอดไปเสียเลย!! ยุบไปนานถึง11ปี
ภาวะการเงินของราชสำนักอังกฤษตอนนั้นถือว่าล้มละลายทีเดียว ธนาคารในลอนดอนไม่อนุมัติให้พระเจ้าชาร์ลที่๑ ยืมเงิน บริษัทอีสอินเดียที่ทำการค้าระหว่างอังกฤษกับเอเชียที่มีเงินมากมายก็ปฏิเสธที่จะให้เงินพระเจ้าชาร์ลที่๑ สุดท้ายพระองค์ก็หันมาขูดรีดเอากับประชาชนของพระองค์ นำกฏหมายเก่าเกี่ยวกับเก็บภาษีมาใช้ (พระองค์ออกกฏหมายเองไม่ได้เพราะรัฐสภาถูกยุบไปแล้ว จึงไม่มีการประชุมรัฐสภาเพื่อออกและตรากฏหมาย) บักกิ้งแฮมอัศวินคู่ใจก็ทำการรบแพ้กลับมาอีก แล้วสุดท้ายบักกิ้งแฮมก็ถูกลอบสังหาร พระเจ้าชาร์ลที่๑ เสียใจร้องไห้เก็บตัวในห้องบรรทมถึงสองวัน
ในระหว่าง 11 ปีที่รัฐสภาถูกยุบไปนั้นประวัติศาสตร์อังกฤษเรียกช่วงนั้นว่า 11 years’ tyranny หรือบางทีก็เรียกว่า Personal rule ส่วนอดีตสมาชิกรัฐสภาก็รวมตัวกันพยายามสร้างอำนาจเพื่อคานพระเจ้าชาร์ลที่๑ ตามมุมเมืองต่างๆ ที่นำโดยนายพลโอลิเวอร์ ครอมพ์เวลส์ มีตั้งกองกำลังทหารขึ้นเป็นของตัวเอง กล่าวกันว่านี้คือจุดกำเนิดของ “กองทหารราบ” ครั้งแรก ที่มีการว่าจ้างทหารเข้ามาประจำการแบบเป็นอาชีพ ส่วนทหารของพระเจ้าชาร์ลที่๑ ก็เรียกว่ากลุ่มรอยัลลิสต์ (หรือโปรเจ้า) ถึงจุดนี้ “สงครามการเมือง” ระหว่างกษัตริย์กับรัฐสภาจึงต้องเกิดอย่างเลี่ยงไม่ได้
พระเจ้าชาร์ลที่๑ พ่ายแพ้ต่อกองกำลังของนายพลโอลิเวอร์ และพยายามหลบหนีจากการช่วยเหลือของบาทหลวงขึ้นเหนือไปสก็อตแลนด์ (พระองค์ประสูติที่นั่น) หวังจะสก็อตแลนด์ให้ช่วยภายหลัง แต่พระองค์ถูกทหารสก็อตแลนด์จับเป็นตัวประกันแล้วเรียกค่าไถ่จากรัฐบาลอังกฤษเป็นจำนวนเงินถึงหนึ่งแสนปอนด์ ต่อมา พระองค์ก็ถูกสมาชิกรัฐสภาตัดสินประหารชีวิตฐานทรราชย์!! เป็นที่น่าสังเกตุว่าคณะสมาชิกรัฐสภาที่เข้าร่วมตัดสินในวันนั้นมีเพียง 68 คน แทนที่จะเป็น 130 กว่าๆ …...
ต่อมา....โอรสของพระเจ้าชาร์ลที่๑ คือพระเจ้าชาร์ลที่๒ ทวงบัลลังก์คืน พระองค์ก็ตามไล่ล่าหาตัวสมาชิกรัฐสภาที่ตัดสินประหารพระราชบิดาของพระองค์มาชำระเพื่อแก้แค้น ไม่เว้นแม้กระทั่งต้องขุดศพคนที่ตายไปแล้วมาตัดคอเป็นการแก้แค้นแทนพระราชบิดา
...เล่าเรื่องเมืองผู้ดี: “ 11 ปีบริหารประเทศโดยไม่มีรัฐสภา ” ลงเอยด้วย??..../วชรน
พระเจ้าชาร์ล์ในวัยเด็กเป็นคนพูดติดอ่างและสุขภาพไม่ดีจึงมีปมด้อยชอบเก็บตัว พระองค์ไม่ได้คิดว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ ความจริงการขึ้นครองราชย์ของพระบิดาของพระองค์ถือว่าเป็น “ส้มหล่น” จากการที่พระนางอลิซาเบธที่๑ไม่ได้แต่งงาน ตระกูลของพระเจ้าชาร์ลส่วนใหญ่ก็อยู่สายของราชวงศ์ทางเหนือคือสก็อตแลนด์ แต่พระนางอลิซาเบธได้มอบบัลลังก์ให้กับพระเจ้าเจมส์ (บิดาของพระเจ้าชาร์ลที่๑) ก่อนสวรรคต ตัวพระเจ้าชาร์ลที่๑ ก็มีพระเชษฐาซึ่งสุขภาพดีกว่าเป็นองค์รัชทายาทอยู่แล้ว ต่อมาพระเชษฐาสิ้นพระชนม์ ตำแหน่งรัชทายาทจึงตกมาที่พระองค์อย่างไม่ได้ตั้งตัว
พระเจ้าชาร์ลที่๑ ครองราชย์ต่อจากราชบิดาในขณะที่เงินในท้องพระคลังแทบจะไม่เหลือ พระองค์จึงทรงพยายามที่จะเก็บภาษีแบบโหด จนชาวเมืองผู้ดีโอดครวญทั่วหย่อมหญ้า นอกเหนือจากนั้น “คนใกล้ชิด” ของพระองค์คือเอิร์ลแห่ง “บัคกิงแฮม” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าบักกิ้งแฮมเป็น “สายล่อฟ้า” ซึ่งนำมาซึ่งจุดจบของพระองค์และทั้งตัวบักกิงแฮมด้วย
เอิร์ลแห่งบักกิ้งแฮมท่านนี้เป็นข้าราชบริพารอัศวินเก่าในยุคของพระบิดาของพระเจ้าชาร์ลที่๑ เป็นที่ปรึกษาใกล้ชิดของพระบิดา (ที่ลือกันว่าเป็นทั้งคู่รักด้วย) พระเจ้าชาร์ลที่๑ ทรงไว้พระทัยและปกป้องบักกิ้งแฮมอัศวินคู่ใจคนนี้มาก ขนาดถึงว่าพระองค์ทรงจะไปสู่ขอเจ้าหญิงจากสเปนมาเป็นมเหสีแต่ก็ล้มเหลว สาเหตุหลักก็เพราะว่าราชสำนักสเปนไม่พอใจท่าทีที่หยาบกระด้างของบักกิ้งแฮมอัศวินคู่ใจพระเจ้าชาร์ลที่๑ ถึงกับว่ามีการขอจากสเปนอย่างเป็นทางการว่าให้ประหารชีวิตบักกิ้งแฮมเสีย แต่พระเจ้าชาร์ลที่๑ ไม่สน แถมต่อมาก็ประกาศสงครามกับสเปนซะเลย โดยให้บักกิ้งแฮมนั่นแหละเป็นผู้นำทัพ แต่ก็พ่ายแพ้กลับมาอย่างอดสู
การพ่ายแพ้สงครามต่อสเปน ทำให้คณะรัฐสภาที่ไม่ชอบขี้หน้าบักกิ้งแฺฮมเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเข้ามาไต่สวนเพราะเงินที่รัฐสภาอนุมัติให้ไปทำสงครามนั้นไม่ใช่น้อยๆ แต่พระเจ้าชาร์ลที่๑ ก็ปกป้องบักกิ้งแฮม มิหนำซ้ำจับผู้แทนรัฐสภาเข้าคุกไปสองคน ความบาดหมางระหว่าง “รัฐสภา” กับ “ กษัตริย์” เริ่มก่อตัวขึ้น และต่อมาบักกิ้งแฮมต้องการทำสงครามอีก คราวนี้รัฐสภาไม่อนุมัติเงินอุดหนุน ส่วนตัวพระเจ้าชาร์ลที่๑ เองก็ต้องการเงินใช้จ่ายด้านอื่นด้วย เมื่อรัฐสภายืนยันว่ายังไม่สามารถอนุมัติได้ พระเจ้าชาร์ลที่๑ ก็ใช้พระราชอำนาจยุบรัฐสภาให้รู้แล้วรู้รอดไปเสียเลย!! ยุบไปนานถึง11ปี
ภาวะการเงินของราชสำนักอังกฤษตอนนั้นถือว่าล้มละลายทีเดียว ธนาคารในลอนดอนไม่อนุมัติให้พระเจ้าชาร์ลที่๑ ยืมเงิน บริษัทอีสอินเดียที่ทำการค้าระหว่างอังกฤษกับเอเชียที่มีเงินมากมายก็ปฏิเสธที่จะให้เงินพระเจ้าชาร์ลที่๑ สุดท้ายพระองค์ก็หันมาขูดรีดเอากับประชาชนของพระองค์ นำกฏหมายเก่าเกี่ยวกับเก็บภาษีมาใช้ (พระองค์ออกกฏหมายเองไม่ได้เพราะรัฐสภาถูกยุบไปแล้ว จึงไม่มีการประชุมรัฐสภาเพื่อออกและตรากฏหมาย) บักกิ้งแฮมอัศวินคู่ใจก็ทำการรบแพ้กลับมาอีก แล้วสุดท้ายบักกิ้งแฮมก็ถูกลอบสังหาร พระเจ้าชาร์ลที่๑ เสียใจร้องไห้เก็บตัวในห้องบรรทมถึงสองวัน
ในระหว่าง 11 ปีที่รัฐสภาถูกยุบไปนั้นประวัติศาสตร์อังกฤษเรียกช่วงนั้นว่า 11 years’ tyranny หรือบางทีก็เรียกว่า Personal rule ส่วนอดีตสมาชิกรัฐสภาก็รวมตัวกันพยายามสร้างอำนาจเพื่อคานพระเจ้าชาร์ลที่๑ ตามมุมเมืองต่างๆ ที่นำโดยนายพลโอลิเวอร์ ครอมพ์เวลส์ มีตั้งกองกำลังทหารขึ้นเป็นของตัวเอง กล่าวกันว่านี้คือจุดกำเนิดของ “กองทหารราบ” ครั้งแรก ที่มีการว่าจ้างทหารเข้ามาประจำการแบบเป็นอาชีพ ส่วนทหารของพระเจ้าชาร์ลที่๑ ก็เรียกว่ากลุ่มรอยัลลิสต์ (หรือโปรเจ้า) ถึงจุดนี้ “สงครามการเมือง” ระหว่างกษัตริย์กับรัฐสภาจึงต้องเกิดอย่างเลี่ยงไม่ได้
พระเจ้าชาร์ลที่๑ พ่ายแพ้ต่อกองกำลังของนายพลโอลิเวอร์ และพยายามหลบหนีจากการช่วยเหลือของบาทหลวงขึ้นเหนือไปสก็อตแลนด์ (พระองค์ประสูติที่นั่น) หวังจะสก็อตแลนด์ให้ช่วยภายหลัง แต่พระองค์ถูกทหารสก็อตแลนด์จับเป็นตัวประกันแล้วเรียกค่าไถ่จากรัฐบาลอังกฤษเป็นจำนวนเงินถึงหนึ่งแสนปอนด์ ต่อมา พระองค์ก็ถูกสมาชิกรัฐสภาตัดสินประหารชีวิตฐานทรราชย์!! เป็นที่น่าสังเกตุว่าคณะสมาชิกรัฐสภาที่เข้าร่วมตัดสินในวันนั้นมีเพียง 68 คน แทนที่จะเป็น 130 กว่าๆ …...
ต่อมา....โอรสของพระเจ้าชาร์ลที่๑ คือพระเจ้าชาร์ลที่๒ ทวงบัลลังก์คืน พระองค์ก็ตามไล่ล่าหาตัวสมาชิกรัฐสภาที่ตัดสินประหารพระราชบิดาของพระองค์มาชำระเพื่อแก้แค้น ไม่เว้นแม้กระทั่งต้องขุดศพคนที่ตายไปแล้วมาตัดคอเป็นการแก้แค้นแทนพระราชบิดา