ประวัติศาสตร์อังกฤษ...เมื่อนักรบ/นักปฏิวัติ/นักประชาธิปไตยตกม้าตาย(จริงๆ).../วชรน.

กระทู้คำถาม
อังกฤษก่อนที่จะมาสู่จุด “แม่แบบประชาธิปไตย” ก็เคยล้มลุกคลุกคลาน  บาดเจ็บและล้มตายเลือดนองแผ่นดินมาหลายร้อยปี   เมื่อไม่นานมานี้ผมเคยเขียนกระทู้เรื่อง “กว่าจะมาถึงจุดนี้” เรื่องราวประวัติความเป็นมาของระบบรัฐสภาของอังกฤษไว้ที่กระทู้นี้   https://ppantip.com/topic/38084670   โดยคร่าวๆ

แม้ปีคศ.1215 พระเจ้าจอห์นได้ยอมลงพระนามาภิไธยยอมลดอำนาจกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้กฏบัตร “แมคนาคาตาร์”  แต่สถานะของกษัตริย์ยังคงมีอิทธิพลเป็นอย่างมาก    ถัดมาหลายร้อยปีในยุคพระเจ้าชาร์ลที่๑  พระองค์ทรงใช้อำนาจของพระองค์พยายามลดบทบาทรัฐสภา  จนเกิดการต่อต้านอย่างรุนแรง  และท้ายที่สุดตัวพระเจ้าชาร์ลที่๑เองก็ถูกคณะรัฐสภาตัดสินประหารชีวิต  นั่นเป็นการขยับสถานะและอำนาจของ “รัฐสภา” ให้เด่นขึ้น   หัวหน้าคณะปฏิวัติคือนายพลโอลิเวอร์ขึ้นปกครองแทนโดยเรียกตัวเองว่า "ผู้พิทักษ์" แทนที่จะสถาปนาตัวเองเป็นพระมหากษัตริย์

หลายสิบปีต่อมา...ลูกของพระเจ้าชาร์ลกลับมาทวงบัลลังก์คืนได้และพยายามจะฟื้นฟูระบบของกษัตริย์ให้มีอำนาจเหนือรัฐสภา   จนทำให้สมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่งไม่พอใจ  แล้วร่างจดหมายเชิญเจ้าชายวิลเลี่ยมแห่งออเรนจ์ประเทศฮอลแลนด์นำทหารมาปฏิบัติพระเจ้าเจมส์แห่งอังกฤษ(ซึ่งเป็นพ่อตาของเจ้าชายวิลเลี่ยมนั่นเอง)  การนำทหารจากฮอลแลนด์ขึ้นเกาะอังกฤษแล้วทำการปฏิวัติพระเจ้าเจมส์ของเจ้าชายวิลเลี่ยมครั้งนั้น  นักประวัติศาสตร์อังกฤษเห็นตรงกันและเรียกการปฏิวัติว่า “การเปลี่ยนแปลงอันรุ่งโรจน์” The glorious revolution (อันนี้ผมแปลเอาเองนะครับ)หลังจากงัดพ่อตาออกจากบัลลังก์ได้แล้ว  รัฐสภาอังกฤษก็สถาปนาพระองค์และพระมเหสีของพระองค์ให้ปกครองอังกฤษร่วมกันในนามพระเจ้าวิลเลี่ยมที่๓ และพระนางแมรี่ที่๒     พระองค์ทั้งสองได้ให้คำปฏิญาณต่อหน้าคณะรัฐสภาว่า  การตัดสินใดๆ ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐสภาก่อน   นั่นแหละ....เป็นการตอกเสาหลักของอำนาจที่แท้จริงของรัฐสภา   ภาพที่พระเจ้าวิลเลี่ยมที่๓ และพระนางแมรี่ที่๒ ให้คำปฏิญาณ กลายเป็นภาพที่ใช้ประดับในตึกรัฐสภาอังกฤษจำนวนมาก


ความเห็นต่อไป  ผมจะเล่ารายละเอียดว่าทำไมรัฐสภาอังกฤษจึงเขียนจดหมายไปเชิญเจ้าชายนักรบแห่งฮอลแลนด์มาทำการปฏิบัติกษัตริย์ของตนเอง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่