….กว่าจะมาถึงจุดนี้..../วัชรานนท์

กระทู้คำถาม
คำถามจากกระทู้นี้น่าสนใจ  
https://ppantip.com/topic/38083212
อยากจะนำบริบทและเหตุการณ์ทางการเมืองของไทยมาเสริมในการตอบ    แต่ดูทิศทางลมแล้ว...ก็ออกจะเสี่ยงเอาการอยู่  จึงขออ้างเอา "เส้นทางสู่ประชาธิปไตย" ของอังกฤษแทนก็แล้วกันนะครับ


ปี 1215  (ก่อนกำเนิดกรุงสุโขทัย: วชรน) พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษได้(ถูกบังคับ)ลงพระนามาภิไธยใน "กฏบัตรแมกนากาตาร์" (รัฐธรรมนูญฉบับแรกและฉบับเดียวของอังกฤษ)  ในการลดอำนาจของพระมหาษัตริย์ลงไป     จะว่านั่นเป็นการสิ้นสุดระบบ "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" ของอังกฤษก็ไม่เชิงเสียทีเดียวนัก   อำนาจส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในมือราชสำนัก  และขุนนางชั้นผู้ใหญ่  โดยเฉพาะอำนาจในการเก็บภาษี


อีกหนึ่งศตวรรษต่อมาคือปีคริสศักราชที่13  ก็มีการตั้งปาร์ลีเมนต์(รัฐสภา)ขึ้น  เพื่อคานอำนาจกษัตริย์อังกฤษและศาสนจักร   กระนั้น  อำนาจส่วนใหญ่ยังอยู่ในมือราชสำนักและผู้นำทางศาสนาอยู่  แม้จะมีการประท้วงและสงครามกลางเมืองเกิดขึ้น  แต่ชัยชนะก็จะเป็นของราชสำนัก

จนกระทั่งเข้าสู่ยุคคริสศักราชที่16 (ยุคสมัยอยุธยาตอนกลาง: วชรน) พระเจ้าชาร์ลที่๑ พยายามรวบอำนาจทั้งหมดไว้ที่พระองค์  แล้วเกิดการขัดแย้งกับนักการเมืองในรัฐสภา     นักการเมืองในสภานำโดยนายทหารที่ชื่อนายพลโอลิเวอร์ ครอมพ์เวลล์  นำกำลังทหารยึดอำนาจพระเจ้าชาร์ล   แล้วจับพระเจ้าชาร์ลประหารชีวิต (ตัดคอ)    ในวันที่ศาลประกาศคำตัดสินประหารชีวิตพระองค์นั้น   พระองค์ถึงกับมือไม้สั่น  ทำให้หัวไม้เท้าของพระองค์หลุดลงไปบนพื้น  พระองค์สั่งให้ทหารองค์รักษ์เก็บมันขึ้นมา   แต่ทหารกลับทำเฉย (ถ้าเป็นเมื่อก่อน ทหารคนนั้นตองลนลานรีบเก็บ)   นั่นแหละทำให้พระองค์ตระหนักถึง  การสิ้นสุดของ "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" แล้ว


นายพลโอลิเวอร์  ขึ้นปกครองอังกฤษแทนพระเจ้าชาร์ลโดยไม่ได้สถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์  แต่ในฐานะ "ผู้พิทักษ์รัฐ" โดยใช้ระบบรัฐสภา   และเมื่อสิ้นสุดนายพลโอลิเวอร์   โอรสของพระเจ้าชาร์ลที่๑ ที่ลี้ภัยอยู่ฝรังเศสก็กลับมาทวงบัลลังก์คืน  สถาปนาเป็นพระเจ้าชาร์ลที่๒   แล้วก็ขุดศพของนายพลโอลิเวอร์ขึ้นมาแขวนคอเพื่อเป็นการแก้แค้นแทนพระบิดา  พระเจ้าชาร์ลที่สองพยายามรวบอำนาจมาไว้ที่ราชสำนัก   แต่ก็ยังคงระบบรัฐสภาเอาไว้


ถัดจากพระเจ้าชาร์ลที่2 ก็คือพระเจ้าเจมส์ที่2 ซึ่งเป็นราชโอรส  ขึ้นครองราชย์ต่อ  พระเจ้าเจมส์ได้ใช้อำนาจก้าวก่ายรัฐสภาหลายอย่าง  จนเป็นที่เหนื่อยหน่ายและไม่ชอบในรัฐสภาและขุนนาง    ทั้งรัฐสภาและขุนนางจึงเขียนจดหมายลับไปถึงเจ้าชายวิลเลี่ยมแห่งออเรนจ์ (ซึ่งเป็นญาติของพระเจ้าเจมส์)ที่ประทับอยู่เนเธอแลนด์สนับสนุนให้มาแย่งราชบัลลังก์จากพระเจ้าเจมส์   อีกสถานะหนึ่งของเจ้าชายวิลเลี่ยมที่มีต่อพระเจ้าเจมส์ก็คือเป็น "พระราชลูกเขย" ที่แต่งงานกับเจ้าหญิงแมรี่   เจ้าชายวิลเลี่ยมรับคำเชิญจากขุนนางและรัฐสภาอังกฤษ   โดยแต่งทัพเรือจำนวนมหึมาจากเนเธอแลนด์มาอังกฤษเพื่อชิงบัลลังก์    พระเจ้าเจมส์หรือ "พ่อตา" ของเจ้าชายวิลเลี่ยมตอนแรกก็ไปตั้งทัพรอที่จะรบกับลูกเขยที่ชายฝั่งทะเลแต่สุดท้ายก็หนีกลับลอนดอน   กลับมาถึงลอนดอนก็พบว่าญาติๆ ส่วนใหญ่และขุนนางชั้นผู้ใหญ่  ได้หนีไปฝักใฝ่กับเจ้าชายวิลเลี่ยมแล้ว    พระองค์จึงปลอมตัวเป็นสามัญชนคิดจะหนีภัยไปฝรั่งเศส   แต่ก็ถูกทหารองค์รักษ์พระองค์จับเอาไว้ระหว่างทางแล้วส่งกลับลอนดอน


เจ้าชายวิลเลี่ยมได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าวิลเลี่ยมที่3 โดยการรับรองจากคณะรัฐสภา   และรัฐสภาเสนอให้เจ้าหญิงแมรี่พระมเหสีเป็นสมเด็จพระราชินีแมรี่ปกครองร่วมกับพระองค์ด้วย   ภายใต้เงื่อนไขว่า  การตัดสินใจต่างๆ ต้องผ่าน "ระบบรัฐสภา"   นี่คือจุดเริ่มต้นของระบบรัฐสภาที่เป็นรูปร่างของอังกฤษ


ความสัมพันธ์ระหว่งพระเจ้าวิลเลี่ยมที่3 กับรัฐสภาก็เป็นแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย    ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่14 ของฝรั่งเศส (น่าจะตรงกับยุคพระนารายณ์ของเรา: วชรน)    พระเจ้าวิลเลี่ยมได้ของบประมาณในการทำสงครามกับพระเจ้าหลุยส์ที่14 จากรัฐสภา    ซึ่งรัฐสภาอนุมัติงบประมาณสงครามให้กับพระองค์เป็นจำนวนเงิน5ล้านปอนด์!!  เมื่อพระเจ้าวิลเลี่ยมทำสงครามชนะพระเจ้าหลุยส์ที่14   ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภากับราชสำนัก็ดีขึ้น   ในยุคนั้นถือเป็นยุครุ่งเรืองและระบบรัฐสภาเริ่มที่จะหยั่งรากในอังกฤษอย่างมั่นคง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่