วัชรสมาธิ กายว่าง จิตว่าง

วัชรสมาธิ กายว่าง จิตว่าง

    วัชรสมาธิ ก็เปรียบเสมือนสายฟ้า สายฟ้าก็เปรียบเสมือนปัญญา ปัญญาที่เข้าใจ ๓ สิ่งนี้ คือ

    ๑. กายว่าง (身空) คือ ว่างจากการยึดมั่นถือมั่น

    ๒. จิตว่าง (心空)คือ จิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น ถือถ้าจิตไปยึดมั่นถือมั่นก็จะกลายเป็นจิตมิจฉา เป็นสิ่งที่ผิด คือ จะให้ดำรงเป็นตลอดเช่นนั้นไม่ได้ ไม่เป็นความจริง เพราะขัดแย้งกับธรรม จึงเป็นมิจฉา พอเป็นมิจฉา เราก็ทุกข์ เพราะเราอยากให้เป็นอย่างนั้นแล้วเป็นไม่ได้ เช่น หน้าตาเราจะไม่ให้แก่เป็นไปไม่ได้ ฟันเราจะไม่ให้เจ็บ ไม่หัก ก็เป็นไปไม่ได้

    จิ๋นซีฮ่องเต้ (秦始皇帝) เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะ พยายามจะให้มีอำนาจมากที่สุด หาของกินที่เป็นอมตะ เลยต้องทำให้อาณาจักรของตนเองเสียไป แทนที่จะเอาเวลาไปบริหารประเทศ กลับเอาเวลามาครุ่นคิดว่าตนเองจะมีชีวิตที่อายุยืนยาวมากที่สุดยังไง ห่วงอำนาจ สุดท้ายตระกูลอยู่ได้ไม่ยืนยาว

    ๓. วัชรสมาธิ (金剛空)คือ ปัญญาที่เข้าใจธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกสรรพสิ่งจะยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ทุกสิ่งมีอัตตาแต่เราจะยึดมั่นถือมั่นในอัตตาไม่ได้ เปรียบเสมือนดั่งภาพมายา ดั่งเงา ดั่งความฝัน ดั่งฟองในน้ำ และดั่งสายฟ้าแลบ ดังใน วัชรัจเฉทิกาปรัชญาปารมิตาสูตร (金剛般若波羅蜜多經 : Diamond Sutra) ของฝ่ายพระพุทธศาสนามหายาน

    กิม แปลว่า ทอง
    กัง แปลว่า แรง
    กิมกัง แปลรวมกัน แปลว่าสายฟ้าแลบ เรียกว่า วัชระ เป็นภาษาสันสกฤต

    กายว่างกับจิตว่างนี่มันแตกต่างกันไหม? ก็ไม่แตกต่างกัน เป็นไปพร้อมกัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะแยกให้เราเห็น ขนาดแยกให้เราเห็นเรายังไม่รู้เรื่องเลย ถ้าไม่แยกเราก็ยิ่งไม่รู้

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่