10 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก หากใครจำได้ในปี 2008 โลกเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรงที่เราเรียกกันว่า "วิกฤตเศรษฐกิจ" แฮมเบอร์เกอร์
ฟังแค่ชื่อก็พอเดาออก ว่าวิกฤตครั้งนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ความสั่นคลอนทางการเงินเดินทางไปเคาะประตูบ้านในแทบทุกประเทศ ถ้าให้พี่ทุยเล่าอย่างสั้นๆ สาเหตุหลักของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ คือ การสร้างหนี้อย่างไม่รู้จักประมาณตนของชาวอเมริกัน โดยเฉพาะหนี้เพื่อการซื้อบ้าน และอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ จนเกิดฟองสบู่แตกในที่สุด
โลกในวันนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เศรษฐกิจที่เคยเลวร้ายกลับมาดีขึ้นหรือยัง และมีอะไรที่เราควรต้องกังวล ในบทความนี้พี่ทุยจะพาไปดู 5 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจใหญ่ๆ ที่เราควรทราบหลังจากการเดินทางผ่านวิกฤติเศรษฐกิจครั้งล่าสุดมาแล้วถึง 10 ปี
1. หนี้ทั่วโลกอยู่ในระดับสูง และยังเติบโตต่อเนื่อง
นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา เงินกู้จากภาครัฐ องค์กรเอกชน และครัวเรือนทั่วโลก เพิ่มขึ้นราว 72 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตัวเลขดังกล่าวอาจดูไม่สูงมากนัก (เพราะวัดกันทั่วโลกเลย) แต่หากเทียบกับจีดีพี (GDP) ของทั่วโลกแล้วจะถือว่าเป็นหนี้ที่เยอะทีเดียว โดยตำแหน่งผู้กู้รายใหญ่ตกเป็นของภาครัฐบาล และองค์กรเอกชน
สาเหตุสำคัญมีอยู่ว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ส่งผลต่อประชาชน ทำให้ตกงาน และรายได้ลดลง รัฐบาลก็ต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือในด้านสวัสดิการ บางประเทศ เช่น จีน และสหรัฐฯเอง รัฐฯต้องเอาเงินไปพยุงสถาบันการเงิน และอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ทั้งๆที่เมื่อรายได้ประชาชนลดลง รัฐฯก็เก็บเงินจากภาษีได้น้อยลงเช่นเดียวกัน ภาระของรัฐฯจึงยิ่งหนักขึ้น สุดท้ายก็ต้องพึ่งเงินกู้
ปัจจุบัน หลายประเทศมีปริมาณเงินกู้สูงกว่าจีดีพีเสียแล้ว ประเทศเหล่านั้น ได้แก่ ญี่ปุ่น กรีซ อิตาลี โปรตุเกส เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สเปน และอังกฤษ ไม่ใช่เพียงแต่ในสหรัฐฯ จีน และยุโรปเท่านั้น แต่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดขึ้น (Emerging Market) ก็มีการกู้เงินเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเงินกู้ดังกล่าว ถูกนำไปขยายอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และตัวเมืองในประเทศ ในขณะที่เหล่าประเทศพัฒนาแล้วก่อหนี้ถึง 105% ของจีดีพี กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีอัตราหนี้อยู่เพียง 45% ของจีดีพี
หนี้ที่สูงขึ้นบางส่วน ยังเกิดจากปัญหาค่าเงินในประเทศอ่อนลงด้วย เช่น ในประเทศอาร์เจนตินา กาน่า อินโดนีเซีย ปากีสถาน ยูเครน และตุรกี ค่าเงินที่ลดต่ำลง ส่งผลให้หนี้ที่ยืมเป็นสกุลเงินต่างชาติมีปริมาณสูงขึ้น เรียกได้ว่าอยู่ๆหนี้ก็ท่วมหัวในชั่วข้ามคืนกันเลยทีเดียว
หากเงินกู้ถูกบริหารจัดการด้วยดี ปริมาณหนี้ที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องเลวร้ายนัก เพียงแต่เป็นไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่เรากลับเห็นวิธีการบริหารจัดการหนี้แบบผิดพลาดอยู่หลายครั้ง เช่น ประเทศศรีลังกาเสียสิทธิในการครอบครอง “ท่าเรือแฮมบันโตต้า” (Hambantota Harbor) ให้กับจีน เนื่องจากกู้เงินมาสร้าง แล้วไม่สามารถใช้คืนได้ หากเกิดการก่อหนี้เกินตัวเช่นนี้มากเข้า เราอาจพาเศรษฐกิจโลกเข้าสู่จุดเดิมเหมือนในปี 2008 อีกครั้ง
2. หนี้ครัวเรือน (Household Debt) ทั่วโลกลดลง
แม้ว่าหนี้สินทั่วโลกจะเพิ่มมากขึ้น แต่หากลงไปดูเป็นรายบุคคล หรือรายครัวเรือน เราพบว่าคนทั่วไปเป็นหนี้กันน้อยลง
อย่าพึ่งดีใจกับข่าวใหม่ล่าสุดนี้ เพราะพี่ทุยจะบอกว่ามันมีสาเหตุที่เชื่อมโยงมาจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์อยู่
ก่อนเกิดวิกฤตในปี 2008 ราคาบ้านในสหรัฐฯพุ่งสูงขึ้นมาก สวนทางกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลง รวมทั้งมาตรฐานทางการเงินอันหละหลวมของสถาบันการเงิน ธนาคาร และบริษัทเอกชนผู้ประเมินเครดิต ส่งผลให้ชาวอเมริกันกรูกันกู้เงินซื้อบ้าน เพราะคาดหวังว่าราคาจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ และสถาบันการเงินก็แย่งกันปล่อยสินเชื่อบ้านเป็นว่าเล่น
ความจริงแล้ว แม้ฟองสบู่จะแตกที่สหรัฐฯ แต่ในยุคนั้นเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลายๆแห่งก็มีลักษณะคล้ายๆกันเลย เช่น ที่อังกฤษ และไอร์แลนด์
หลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ราคาบ้านตกกลับลงมาสู่พื้นโลก ทำให้คนเป็นหนี้สูงกว่ามูลค่าบ้านปัจจุบัน (กู้เงินมาซื้อบ้านตอนบ้านราคาแพง ถึงบ้านจะราคาตกลงมา ก็ยังต้องใช้คืนเงินกู้ตามจำนวนที่กู้ตอนแรก) เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ผู้คนเกรงกลัวการก่อหนี้มากขึ้น บางคนต้องยอมให้บ้านถูกยึดเพื่อปลดหนี้ และลดภาระดอกเบี้ยของตัวเอง ในขณะที่ธนาคารก็ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อบ้านมากขึ้น หนี้ครัวเรือนจึงมีปริมาณลดลง ไม่เพียงเท่านั้น ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ไม่นิยมเป็นเจ้าของบ้านก็ส่งผลให้การกู้เพื่อซื้อบ้านลดน้อยลงด้วย
3. ความเสี่ยงที่ธนาคารเผชิญลดน้อยลง กำไรก็เช่นกัน
แน่นอนหลังเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ นโยบายของสถาบันการเงินผู้ออกกฎ และธนาคาร จำเป็นต้องปรับให้รัดกุมยิ่งขึ้น สถาบันการเงินขนาดใหญ่ ต้องมีเงินทุนสำรองไว้สนับสนุนธนาคารยามฉุกเฉิน ในขณะที่ธนาคารทั่วไปจะถือเงินสดน้อยลงเพื่อป้องกันการปล่อยเงินกู้อย่างไร้ประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ช่วงสิบปีที่ผ่านมา ธนาคารต้องลดกิจกรรมการซื้อขายสินค้าทางการเงินลง โดยที่ธนาคารยังไม่สามารถหาวิธีทำเงินในรูปแบบอื่นได้ ส่งผลให้ทั้งความเสี่ยง และกำไรของธนาคารลดลงทั้งคู่
ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROE) ของธนาคารใหญ่ๆทั่วโลกลดลงกว่าครึ่ง และจะสังเกตได้ว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคารจะแทบไม่ขยับสูงขึ้นเลย เพราะนักลงทุนเองก็มองไม่ออกว่าธนาคารจะถีบตัวเองออกจากสถานการณ์นี้ได้อย่างไร ธนาคารที่ยังคงทำกำไรได้ดี คือ ธนาคารที่หันไปโฟกัสเรื่องการลดต้นทุน ซึ่งธนาคารที่ทำได้มีจำนวนน้อยมาก
สิบปีที่ผ่านมารายได้ของธนาคารทั่วโลกเติบโต 2.4% ในขณะที่สิบปีก่อนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์รายได้ของพวกเขาโตขึ้นถึง 12.3%
4. ระบบการเงินทั่วโลกเชื่อมต่อกันน้อยลง ทำให้ปัญหาไม่ลุกลาม
นโยบายที่รัดกุมขึ้น ส่งผลให้การไหลเวียนของเม็ดเงินระหว่างประเทศลดต่ำลงด้วย วิกฤตเศรษฐกิจนอกจากการให้บทเรียนแล้ว ยังทำให้ธนาคารต้องหันมาวิเคราะห์กิจกรรมทางการเงินของตัวเองใหม่ด้วย ธนาคารในยุโรป และสหรัฐฯหลายแห่งพบว่าธุรกิจระหว่างประเทศของพวกเขาสร้างกำไรน้อยกว่าธุรกิจในประเทศ จึงลดกิจกรรมทางการเงินที่มีต่อประเทศ หรือภูมิภาคอื่นๆลง
ใน 10 ปี ที่ผ่านมา ยุโรปให้ภูมิภาคอื่นกู้เงินน้อยลงถึง 38% หรือประมาณ 6.1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ก่อนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ สินทรัพย์ของธนาคารทุกแห่งในเยอรมัน อยู่นอกประเทศถึงกว่า 2 ใน 3 แต่หลังวิกฤต สินทรัพย์นอกประเทศของพวกเขาลดลงมาเหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น
ธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ และสหรัฐฯ ขายสินทรัพย์นอกประเทศไปกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ธนาคารขนาดใหญ่ของโลกแห่งอื่นๆ ก็ลดปฏิสัมพันธ์กับธนาคารท้องถิ่นของประเทศอื่นลง โดยเฉพาะธนาคารในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศเป็นเรื่องยากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ความรุนแรงจะไปลุกลามไปสู่ประเทศอื่นง่ายๆ เหมือนเมื่อครั้งปี 2008
5. ความเสี่ยงใหม่ๆที่ต้องระวัง
"วิกฤตเศรษฐกิจ" ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศตุรกี เป็นตัวอย่างของความเสี่ยงที่กำลังเกิดกับภาคธุรกิจ อันเนื่องมาจากการมีหนี้เพิ่มมากขึ้น หนี้ที่กู้ยืมมาเป็นอัตราต่างประเทศ อาจเพิ่มขึ้นในชั่วข้ามคืน หากค่าเงินของประเทศอ่อนลง นี่อาจเป็นตัวอย่างที่ดี ให้ธุรกิจขนาดใหญ่หันมาระมัดระวังการกู้เงินให้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา เมื่อคำนึงถึงว่า ก่อนหน้านี้องค์กรหลายแห่งออกหุ้นกู้ (เป็นอีกหนึ่งวิธีในการกู้เงิน) ในขณะที่ไม่มีความพร้อม ทำให้ปัจจุบัน ทั่วทั้งโลกมีหุ้นกู้ที่ถูกประเมินเป็นเกรด BBB สูงถึงกว่า 40% (เกรด BBB สูงกว่าหุ้นกู้ด้อยสภาพ หรือเงินกู้ที่ถูกประเมินว่าน่าจะไม่สามารถชำระคืนได้ แค่ 1 ขั้น)
นอกเหนือจากหนี้องค์กรธุรกิจแล้ว เงินกู้ซื้อบ้าน หรืออสังหาฯก็มีความเสี่ยงในรูปแบบใหม่ๆเกิดขึ้น ในสหรัฐฯ กว่าครึ่งหนึ่งของเงินกู้ซื้อบ้าน ไม่ได้ถูกกู้กับธนาคารอีกต่อไป แต่ผู้ปล่อยกู้กลับกลายเป็นสตาร์ทอัพทางการเงิน หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป ซึ่งมีเป้าหมายเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อย และเครดิตต่ำกว่า
เมื่อการกู้เงินเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การใช้เงินอย่างเกินตัวอาจกลับมาอีกครั้ง บทเรียนหนึ่งที่ทั่วโลกได้รับในปี 2008 คือ ในขณะที่ฟองสบู่ค่อยๆพองตัว มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะสังเกตเห็นได้ ความเสี่ยงทุกด้านที่กล่าวมาอาจเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งต่อไป แม้ว่าทุกฝ่ายจะมีบทเรียนและระมัดระวังเป็นอย่างดี แต่ประวัติศาสตร์ก็สอนเราเสมอว่า วิกฤตเศรษฐกิจไม่เคยมาในรูปแบบเดิม
อย่างไรก็ดี ประวัติศาสตร์ยังบอกเราอีกว่า โลกจะใช้เวลาประมาณ 8 ปี ในการเยียวยาตัวเองจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และอย่างน้อย 10 ปีที่ผ่านมาก็ยังคงพิสูจน์ให้เห็นว่านั่นคือเรื่องจริง
ที่มาบทความ :
http://bit.ly/2IuyV3O
ติดตามเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆของ Money Buffalo ได้ที่
> Website : www.moneybuffalo.in.th
> Facebook : fb.com/moneybuffalo
> LINE :
https://goo.gl/GAQxF8
ครบรอบ 10 ปี "วิกฤตเศรษฐกิจ" กับ 5 เรื่องที่ควรรู้
10 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก หากใครจำได้ในปี 2008 โลกเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรงที่เราเรียกกันว่า "วิกฤตเศรษฐกิจ" แฮมเบอร์เกอร์
ฟังแค่ชื่อก็พอเดาออก ว่าวิกฤตครั้งนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ความสั่นคลอนทางการเงินเดินทางไปเคาะประตูบ้านในแทบทุกประเทศ ถ้าให้พี่ทุยเล่าอย่างสั้นๆ สาเหตุหลักของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ คือ การสร้างหนี้อย่างไม่รู้จักประมาณตนของชาวอเมริกัน โดยเฉพาะหนี้เพื่อการซื้อบ้าน และอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ จนเกิดฟองสบู่แตกในที่สุด
โลกในวันนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เศรษฐกิจที่เคยเลวร้ายกลับมาดีขึ้นหรือยัง และมีอะไรที่เราควรต้องกังวล ในบทความนี้พี่ทุยจะพาไปดู 5 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจใหญ่ๆ ที่เราควรทราบหลังจากการเดินทางผ่านวิกฤติเศรษฐกิจครั้งล่าสุดมาแล้วถึง 10 ปี
1. หนี้ทั่วโลกอยู่ในระดับสูง และยังเติบโตต่อเนื่อง
นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา เงินกู้จากภาครัฐ องค์กรเอกชน และครัวเรือนทั่วโลก เพิ่มขึ้นราว 72 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตัวเลขดังกล่าวอาจดูไม่สูงมากนัก (เพราะวัดกันทั่วโลกเลย) แต่หากเทียบกับจีดีพี (GDP) ของทั่วโลกแล้วจะถือว่าเป็นหนี้ที่เยอะทีเดียว โดยตำแหน่งผู้กู้รายใหญ่ตกเป็นของภาครัฐบาล และองค์กรเอกชน
สาเหตุสำคัญมีอยู่ว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ส่งผลต่อประชาชน ทำให้ตกงาน และรายได้ลดลง รัฐบาลก็ต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือในด้านสวัสดิการ บางประเทศ เช่น จีน และสหรัฐฯเอง รัฐฯต้องเอาเงินไปพยุงสถาบันการเงิน และอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ทั้งๆที่เมื่อรายได้ประชาชนลดลง รัฐฯก็เก็บเงินจากภาษีได้น้อยลงเช่นเดียวกัน ภาระของรัฐฯจึงยิ่งหนักขึ้น สุดท้ายก็ต้องพึ่งเงินกู้
ปัจจุบัน หลายประเทศมีปริมาณเงินกู้สูงกว่าจีดีพีเสียแล้ว ประเทศเหล่านั้น ได้แก่ ญี่ปุ่น กรีซ อิตาลี โปรตุเกส เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สเปน และอังกฤษ ไม่ใช่เพียงแต่ในสหรัฐฯ จีน และยุโรปเท่านั้น แต่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดขึ้น (Emerging Market) ก็มีการกู้เงินเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเงินกู้ดังกล่าว ถูกนำไปขยายอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และตัวเมืองในประเทศ ในขณะที่เหล่าประเทศพัฒนาแล้วก่อหนี้ถึง 105% ของจีดีพี กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีอัตราหนี้อยู่เพียง 45% ของจีดีพี
หนี้ที่สูงขึ้นบางส่วน ยังเกิดจากปัญหาค่าเงินในประเทศอ่อนลงด้วย เช่น ในประเทศอาร์เจนตินา กาน่า อินโดนีเซีย ปากีสถาน ยูเครน และตุรกี ค่าเงินที่ลดต่ำลง ส่งผลให้หนี้ที่ยืมเป็นสกุลเงินต่างชาติมีปริมาณสูงขึ้น เรียกได้ว่าอยู่ๆหนี้ก็ท่วมหัวในชั่วข้ามคืนกันเลยทีเดียว
หากเงินกู้ถูกบริหารจัดการด้วยดี ปริมาณหนี้ที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องเลวร้ายนัก เพียงแต่เป็นไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่เรากลับเห็นวิธีการบริหารจัดการหนี้แบบผิดพลาดอยู่หลายครั้ง เช่น ประเทศศรีลังกาเสียสิทธิในการครอบครอง “ท่าเรือแฮมบันโตต้า” (Hambantota Harbor) ให้กับจีน เนื่องจากกู้เงินมาสร้าง แล้วไม่สามารถใช้คืนได้ หากเกิดการก่อหนี้เกินตัวเช่นนี้มากเข้า เราอาจพาเศรษฐกิจโลกเข้าสู่จุดเดิมเหมือนในปี 2008 อีกครั้ง
2. หนี้ครัวเรือน (Household Debt) ทั่วโลกลดลง
แม้ว่าหนี้สินทั่วโลกจะเพิ่มมากขึ้น แต่หากลงไปดูเป็นรายบุคคล หรือรายครัวเรือน เราพบว่าคนทั่วไปเป็นหนี้กันน้อยลง
อย่าพึ่งดีใจกับข่าวใหม่ล่าสุดนี้ เพราะพี่ทุยจะบอกว่ามันมีสาเหตุที่เชื่อมโยงมาจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์อยู่
ก่อนเกิดวิกฤตในปี 2008 ราคาบ้านในสหรัฐฯพุ่งสูงขึ้นมาก สวนทางกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลง รวมทั้งมาตรฐานทางการเงินอันหละหลวมของสถาบันการเงิน ธนาคาร และบริษัทเอกชนผู้ประเมินเครดิต ส่งผลให้ชาวอเมริกันกรูกันกู้เงินซื้อบ้าน เพราะคาดหวังว่าราคาจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ และสถาบันการเงินก็แย่งกันปล่อยสินเชื่อบ้านเป็นว่าเล่น
ความจริงแล้ว แม้ฟองสบู่จะแตกที่สหรัฐฯ แต่ในยุคนั้นเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลายๆแห่งก็มีลักษณะคล้ายๆกันเลย เช่น ที่อังกฤษ และไอร์แลนด์
หลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ราคาบ้านตกกลับลงมาสู่พื้นโลก ทำให้คนเป็นหนี้สูงกว่ามูลค่าบ้านปัจจุบัน (กู้เงินมาซื้อบ้านตอนบ้านราคาแพง ถึงบ้านจะราคาตกลงมา ก็ยังต้องใช้คืนเงินกู้ตามจำนวนที่กู้ตอนแรก) เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ผู้คนเกรงกลัวการก่อหนี้มากขึ้น บางคนต้องยอมให้บ้านถูกยึดเพื่อปลดหนี้ และลดภาระดอกเบี้ยของตัวเอง ในขณะที่ธนาคารก็ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อบ้านมากขึ้น หนี้ครัวเรือนจึงมีปริมาณลดลง ไม่เพียงเท่านั้น ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ไม่นิยมเป็นเจ้าของบ้านก็ส่งผลให้การกู้เพื่อซื้อบ้านลดน้อยลงด้วย
3. ความเสี่ยงที่ธนาคารเผชิญลดน้อยลง กำไรก็เช่นกัน
แน่นอนหลังเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ นโยบายของสถาบันการเงินผู้ออกกฎ และธนาคาร จำเป็นต้องปรับให้รัดกุมยิ่งขึ้น สถาบันการเงินขนาดใหญ่ ต้องมีเงินทุนสำรองไว้สนับสนุนธนาคารยามฉุกเฉิน ในขณะที่ธนาคารทั่วไปจะถือเงินสดน้อยลงเพื่อป้องกันการปล่อยเงินกู้อย่างไร้ประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ช่วงสิบปีที่ผ่านมา ธนาคารต้องลดกิจกรรมการซื้อขายสินค้าทางการเงินลง โดยที่ธนาคารยังไม่สามารถหาวิธีทำเงินในรูปแบบอื่นได้ ส่งผลให้ทั้งความเสี่ยง และกำไรของธนาคารลดลงทั้งคู่
ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROE) ของธนาคารใหญ่ๆทั่วโลกลดลงกว่าครึ่ง และจะสังเกตได้ว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคารจะแทบไม่ขยับสูงขึ้นเลย เพราะนักลงทุนเองก็มองไม่ออกว่าธนาคารจะถีบตัวเองออกจากสถานการณ์นี้ได้อย่างไร ธนาคารที่ยังคงทำกำไรได้ดี คือ ธนาคารที่หันไปโฟกัสเรื่องการลดต้นทุน ซึ่งธนาคารที่ทำได้มีจำนวนน้อยมาก
สิบปีที่ผ่านมารายได้ของธนาคารทั่วโลกเติบโต 2.4% ในขณะที่สิบปีก่อนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์รายได้ของพวกเขาโตขึ้นถึง 12.3%
4. ระบบการเงินทั่วโลกเชื่อมต่อกันน้อยลง ทำให้ปัญหาไม่ลุกลาม
นโยบายที่รัดกุมขึ้น ส่งผลให้การไหลเวียนของเม็ดเงินระหว่างประเทศลดต่ำลงด้วย วิกฤตเศรษฐกิจนอกจากการให้บทเรียนแล้ว ยังทำให้ธนาคารต้องหันมาวิเคราะห์กิจกรรมทางการเงินของตัวเองใหม่ด้วย ธนาคารในยุโรป และสหรัฐฯหลายแห่งพบว่าธุรกิจระหว่างประเทศของพวกเขาสร้างกำไรน้อยกว่าธุรกิจในประเทศ จึงลดกิจกรรมทางการเงินที่มีต่อประเทศ หรือภูมิภาคอื่นๆลง
ใน 10 ปี ที่ผ่านมา ยุโรปให้ภูมิภาคอื่นกู้เงินน้อยลงถึง 38% หรือประมาณ 6.1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ก่อนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ สินทรัพย์ของธนาคารทุกแห่งในเยอรมัน อยู่นอกประเทศถึงกว่า 2 ใน 3 แต่หลังวิกฤต สินทรัพย์นอกประเทศของพวกเขาลดลงมาเหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น
ธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ และสหรัฐฯ ขายสินทรัพย์นอกประเทศไปกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ธนาคารขนาดใหญ่ของโลกแห่งอื่นๆ ก็ลดปฏิสัมพันธ์กับธนาคารท้องถิ่นของประเทศอื่นลง โดยเฉพาะธนาคารในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศเป็นเรื่องยากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ความรุนแรงจะไปลุกลามไปสู่ประเทศอื่นง่ายๆ เหมือนเมื่อครั้งปี 2008
5. ความเสี่ยงใหม่ๆที่ต้องระวัง
"วิกฤตเศรษฐกิจ" ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศตุรกี เป็นตัวอย่างของความเสี่ยงที่กำลังเกิดกับภาคธุรกิจ อันเนื่องมาจากการมีหนี้เพิ่มมากขึ้น หนี้ที่กู้ยืมมาเป็นอัตราต่างประเทศ อาจเพิ่มขึ้นในชั่วข้ามคืน หากค่าเงินของประเทศอ่อนลง นี่อาจเป็นตัวอย่างที่ดี ให้ธุรกิจขนาดใหญ่หันมาระมัดระวังการกู้เงินให้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา เมื่อคำนึงถึงว่า ก่อนหน้านี้องค์กรหลายแห่งออกหุ้นกู้ (เป็นอีกหนึ่งวิธีในการกู้เงิน) ในขณะที่ไม่มีความพร้อม ทำให้ปัจจุบัน ทั่วทั้งโลกมีหุ้นกู้ที่ถูกประเมินเป็นเกรด BBB สูงถึงกว่า 40% (เกรด BBB สูงกว่าหุ้นกู้ด้อยสภาพ หรือเงินกู้ที่ถูกประเมินว่าน่าจะไม่สามารถชำระคืนได้ แค่ 1 ขั้น)
นอกเหนือจากหนี้องค์กรธุรกิจแล้ว เงินกู้ซื้อบ้าน หรืออสังหาฯก็มีความเสี่ยงในรูปแบบใหม่ๆเกิดขึ้น ในสหรัฐฯ กว่าครึ่งหนึ่งของเงินกู้ซื้อบ้าน ไม่ได้ถูกกู้กับธนาคารอีกต่อไป แต่ผู้ปล่อยกู้กลับกลายเป็นสตาร์ทอัพทางการเงิน หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป ซึ่งมีเป้าหมายเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อย และเครดิตต่ำกว่า
เมื่อการกู้เงินเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การใช้เงินอย่างเกินตัวอาจกลับมาอีกครั้ง บทเรียนหนึ่งที่ทั่วโลกได้รับในปี 2008 คือ ในขณะที่ฟองสบู่ค่อยๆพองตัว มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะสังเกตเห็นได้ ความเสี่ยงทุกด้านที่กล่าวมาอาจเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งต่อไป แม้ว่าทุกฝ่ายจะมีบทเรียนและระมัดระวังเป็นอย่างดี แต่ประวัติศาสตร์ก็สอนเราเสมอว่า วิกฤตเศรษฐกิจไม่เคยมาในรูปแบบเดิม
อย่างไรก็ดี ประวัติศาสตร์ยังบอกเราอีกว่า โลกจะใช้เวลาประมาณ 8 ปี ในการเยียวยาตัวเองจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และอย่างน้อย 10 ปีที่ผ่านมาก็ยังคงพิสูจน์ให้เห็นว่านั่นคือเรื่องจริง
ที่มาบทความ : http://bit.ly/2IuyV3O
ติดตามเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆของ Money Buffalo ได้ที่
> Website : www.moneybuffalo.in.th
> Facebook : fb.com/moneybuffalo
> LINE : https://goo.gl/GAQxF8