ท่านผู้อ่านคงจำกันได้ดี ถึง “วิกฤตสินเชื่อด้อยมาตรฐาน” (Sub-Prime Crisis) หรือที่มีชื่อเล่นว่า “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” เมื่อช่วงปี 2550-2551 เพราะเนื่องจากเป็นอีกหนึ่งครั้งที่ทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับมหาวิบัติทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา จนลุกลามต่อเนื่องมาเป็นผลกระทบแบบโดมิโนในระดับประเทศสู่ประเทศ ระดับภูมิภาคสู่ภูมิภาค และลงเอยด้วยการเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกในท้ายที่สุด
หากย้อนมองกลับไป วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มีจุดเริ่มต้นจากการที่รัฐบาลสหรัฐฯออก นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อให้มีการจับจ่ายใช้สอยและลงทุนมากขึ้น ซึ่งผลที่ตามมาในเบื้องต้นก็เป็นไปตามที่มีการคาดหวังไว้ กล่าวคือ ผู้คนจำนวนมากต่างออกมากู้เงินไปเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากราคาที่ดินได้พุ่งทะยานขึ้นมาตอบรับกับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง
แต่ทว่า เหตุการณ์ที่ตามมาหลังจากนั้นคือ ราคาได้ไต่ขึ้นมาสูงมากเกินความเป็นจริง จากอุปสงค์ของอสังหาฯที่มีเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล จนส่งผลให้ตลาดอสังหาฯต้องตกอยู่ในภาวะฟองสบู่ที่นับวันก็ยิ่งบวมขึ้นและปูดขึ้น อีกทั้งสหรัฐฯยังต้องมาเจอกับวิกฤตการณ์น้ำมันแพง ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อเป็นการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลให้มีความต้องการน้อยลง จนสุดท้าย มูลค่าที่ดินเลยลดลงอย่างรวดเร็ว และ ตลาดอสังหาฯก็ต้องพบกับภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด
สำหรับเรื่องที่เป็นประเด็นปัญหา มันอยู่ตรงสินเชื่อที่ถูกปล่อยออกไปในช่วงเวลาดังกล่าว เป็น สินเชื่ออสังหาฯคุณภาพต่ำ หรือที่เราเรียกว่า ซับไพรม์ ซึ่งเป็นสินเชื่อที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้ลูกค้าที่มีทรัพย์สินค้ำประกันมูลค่าน้อยกว่าเงินกู้ (ทรัพย์สินค้ำประกันถูกตีมูลค่าสูงเกินจริง) หรือ ลูกค้าที่มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ส่วนที่ว่า ทำไมคนเหล่านี้ถึงได้รับการอนุมัติเงินกู้ มันคงจะหนีไม่พ้นคำตอบที่ว่า สถาบันการเงินต่างถือโอกาสตอนที่ตลาดกำลังบูมเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด อีกทั้งยังสามารถเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าปกติจากการที่ลูกค้ามีคุณสมบัติต่ำกว่ามาตรฐานสำหรับการกู้เงิน
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว คนที่กู้เงินไปซื้ออสังหาฯก็ไม่สามารถขายเพื่อเก็งกำไรได้อีกต่อไป ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการชำระหนี้ต่อสถาบันการเงิน ปริมาณหนี้เสียก็เพิ่มทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายสถาบันการเงินต่างล้มกันระเนระนาดไม่เป็นท่า เพราะขาดสภาพคล่อง ส่วนพวกหนี้เน่าทั้งหลายก็ถูกจำหน่ายถ่ายโอนจากมือหนึ่งสู่อีกมือหนึ่งทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งก็ลงเอยด้วยการเกิดเป็นซับไพร์มของซับไพร์มซ้อนกันต่อไปอีกเป็นทอดๆ ตามแบบฉบับของการเชิญชวนกันไปเจ๊ง
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ยุคเก่า ซึ่งเป็นผลพวงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
ในปัจจุบัน หนึ่งกระแสที่ทำให้ทั่วโลกต่างต้องตกอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกคือ ความกังวลต่อราคาน้ำมันที่กำลังดิ่งเหวลงทุกวันๆ เพราะถือเป็นผลกระทบอย่างหนักต่อรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจผลิตเชลออยล์ในสหรัฐฯ ซึ่งมีการระดมทุนผ่าน “สินเชื่อสถาบันการเงิน” และ “หุ้นกู้ผลตอบแทนสูง” (High-Yield Bond) หรือที่มีชื่อเล่นว่า “หุ้นกู้ขยะ” (Junk Bond) จำนวนมหาศาล
เพราะฉะนั้น หลายคนจึงวิตกว่าธุรกิจน้ำมันในสหรัฐฯจะดำเนินไปไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง เนื่องจากราคาน้ำมันในปัจจุบันร่วงลงมาหลุดจุดคุ้มทุนของผู้ผลิตส่วนใหญ่แล้ว และหากสถานการณ์ยังคงดำเนินอย่างนี้ต่อไปอีกซักระยะเวลา ธุรกิจเชลออยล์จะต้องหยุดการผลิตลง ซึ่งนั่นหมายความว่า สถาบันการเงิน และนักลงทุนทั่วไปจะหนีไม่พ้นการเผชิญหน้ากับความเสี่ยงจากการผิดชำระหนี้โดยบริษัทต่างๆ (Default Risk) และยังรวมไปถึงดอกเบี้ยอีกด้วย
ทั้งนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้ผลิตเชลออยล์ต่างถือโอกาสกู้เงินผ่านสถาบันการเงิน และออกหุ้นกู้ต่อสาธารณะ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านกำลังการผลิตที่ก้าวกระโดดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
ขณะที่ฝั่งผู้ให้กู้ ทั้งสถาบันการเงิน และนักลงทุนต่างเล็งเห็นแต่ความสำเร็จอันงดงามของการผลิตเชลออยล์ โดยนึกไปไม่ถึงว่าจะโดนกลุ่มโอเปคสกัดดาวรุ่งด้วยการไล่ทุบราคาน้ำมันให้ลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุนของสหรัฐฯ ซึ่งด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้มีการปล่อยสินเชื่อ และซื้อหุ้นกู้ที่มีมูลค่ามหาศาลจากผู้ผลิตรายต่างๆ อีกทั้งนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคิดว่า การซื้อหุ้นกู้ขยะจากบริษัทน้ำมันจะให้ผลตอบแทนแก่พวกเขามากกว่าการนำเงินไปแช่ไว้ในธนาคาร ในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยยังต่ำอยู่ โดยในปัจจุบันหุ้นกู้ขยะที่ออกโดยผู้ผลิตน้ำมันมีจำนวนมากถึง 30% ของจำนวนหุ้นกู้ประเภทนี้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดเจนว่าเกือบทุกอย่างกำลังเดินไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2550 แตกต่างกันแค่ตรงผู้เล่นและตัวแปรหลัก ซึ่งในปัจจุบันคือ บริษัทน้ำมัน และราคาน้ำมัน ขณะที่ในอดีตคือ ลูกค้าสถาบันการเงิน และราคาอสังหาริมทรัพย์ สำหรับด้านอารมณ์ความรู้สึกของคนแตกต่างกัน คือ ต้องการจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าปกติจากการให้ผู้กู้ที่มีคุณสมบัติต่ำกว่าเกณฑ์ยืมเงิน ซึ่งในที่สุดแล้วถ้ายังไม่มีการลดกำลังการผลิตลงเพื่อให้ราคาดีดกลับมาอยู่ในระดับที่ผู้ผลิตจากสหรัฐฯจะสามารถสร้างกำไรได้ดี หนี้สินไม่มากก็น้อยก่อนจะกลายสภาพเป็นหนี้เน่า และสร้างความเสียหายต่อสถาบันการเงินและผู้ลงทุน
ที่มา
http://www.kaohoon.com
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ส่อปะทุอีกรอบ จาก“ยุคฟองสบู่อสังหาฯ” สู่ “ยุคฟองสบู่เชลออยล์”
ท่านผู้อ่านคงจำกันได้ดี ถึง “วิกฤตสินเชื่อด้อยมาตรฐาน” (Sub-Prime Crisis) หรือที่มีชื่อเล่นว่า “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” เมื่อช่วงปี 2550-2551 เพราะเนื่องจากเป็นอีกหนึ่งครั้งที่ทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับมหาวิบัติทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา จนลุกลามต่อเนื่องมาเป็นผลกระทบแบบโดมิโนในระดับประเทศสู่ประเทศ ระดับภูมิภาคสู่ภูมิภาค และลงเอยด้วยการเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกในท้ายที่สุด
หากย้อนมองกลับไป วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มีจุดเริ่มต้นจากการที่รัฐบาลสหรัฐฯออก นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อให้มีการจับจ่ายใช้สอยและลงทุนมากขึ้น ซึ่งผลที่ตามมาในเบื้องต้นก็เป็นไปตามที่มีการคาดหวังไว้ กล่าวคือ ผู้คนจำนวนมากต่างออกมากู้เงินไปเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากราคาที่ดินได้พุ่งทะยานขึ้นมาตอบรับกับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง
แต่ทว่า เหตุการณ์ที่ตามมาหลังจากนั้นคือ ราคาได้ไต่ขึ้นมาสูงมากเกินความเป็นจริง จากอุปสงค์ของอสังหาฯที่มีเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล จนส่งผลให้ตลาดอสังหาฯต้องตกอยู่ในภาวะฟองสบู่ที่นับวันก็ยิ่งบวมขึ้นและปูดขึ้น อีกทั้งสหรัฐฯยังต้องมาเจอกับวิกฤตการณ์น้ำมันแพง ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อเป็นการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลให้มีความต้องการน้อยลง จนสุดท้าย มูลค่าที่ดินเลยลดลงอย่างรวดเร็ว และ ตลาดอสังหาฯก็ต้องพบกับภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด
สำหรับเรื่องที่เป็นประเด็นปัญหา มันอยู่ตรงสินเชื่อที่ถูกปล่อยออกไปในช่วงเวลาดังกล่าว เป็น สินเชื่ออสังหาฯคุณภาพต่ำ หรือที่เราเรียกว่า ซับไพรม์ ซึ่งเป็นสินเชื่อที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้ลูกค้าที่มีทรัพย์สินค้ำประกันมูลค่าน้อยกว่าเงินกู้ (ทรัพย์สินค้ำประกันถูกตีมูลค่าสูงเกินจริง) หรือ ลูกค้าที่มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ส่วนที่ว่า ทำไมคนเหล่านี้ถึงได้รับการอนุมัติเงินกู้ มันคงจะหนีไม่พ้นคำตอบที่ว่า สถาบันการเงินต่างถือโอกาสตอนที่ตลาดกำลังบูมเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด อีกทั้งยังสามารถเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าปกติจากการที่ลูกค้ามีคุณสมบัติต่ำกว่ามาตรฐานสำหรับการกู้เงิน
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว คนที่กู้เงินไปซื้ออสังหาฯก็ไม่สามารถขายเพื่อเก็งกำไรได้อีกต่อไป ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการชำระหนี้ต่อสถาบันการเงิน ปริมาณหนี้เสียก็เพิ่มทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายสถาบันการเงินต่างล้มกันระเนระนาดไม่เป็นท่า เพราะขาดสภาพคล่อง ส่วนพวกหนี้เน่าทั้งหลายก็ถูกจำหน่ายถ่ายโอนจากมือหนึ่งสู่อีกมือหนึ่งทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งก็ลงเอยด้วยการเกิดเป็นซับไพร์มของซับไพร์มซ้อนกันต่อไปอีกเป็นทอดๆ ตามแบบฉบับของการเชิญชวนกันไปเจ๊ง
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ยุคเก่า ซึ่งเป็นผลพวงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
ในปัจจุบัน หนึ่งกระแสที่ทำให้ทั่วโลกต่างต้องตกอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกคือ ความกังวลต่อราคาน้ำมันที่กำลังดิ่งเหวลงทุกวันๆ เพราะถือเป็นผลกระทบอย่างหนักต่อรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจผลิตเชลออยล์ในสหรัฐฯ ซึ่งมีการระดมทุนผ่าน “สินเชื่อสถาบันการเงิน” และ “หุ้นกู้ผลตอบแทนสูง” (High-Yield Bond) หรือที่มีชื่อเล่นว่า “หุ้นกู้ขยะ” (Junk Bond) จำนวนมหาศาล
เพราะฉะนั้น หลายคนจึงวิตกว่าธุรกิจน้ำมันในสหรัฐฯจะดำเนินไปไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง เนื่องจากราคาน้ำมันในปัจจุบันร่วงลงมาหลุดจุดคุ้มทุนของผู้ผลิตส่วนใหญ่แล้ว และหากสถานการณ์ยังคงดำเนินอย่างนี้ต่อไปอีกซักระยะเวลา ธุรกิจเชลออยล์จะต้องหยุดการผลิตลง ซึ่งนั่นหมายความว่า สถาบันการเงิน และนักลงทุนทั่วไปจะหนีไม่พ้นการเผชิญหน้ากับความเสี่ยงจากการผิดชำระหนี้โดยบริษัทต่างๆ (Default Risk) และยังรวมไปถึงดอกเบี้ยอีกด้วย
ทั้งนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้ผลิตเชลออยล์ต่างถือโอกาสกู้เงินผ่านสถาบันการเงิน และออกหุ้นกู้ต่อสาธารณะ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านกำลังการผลิตที่ก้าวกระโดดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
ขณะที่ฝั่งผู้ให้กู้ ทั้งสถาบันการเงิน และนักลงทุนต่างเล็งเห็นแต่ความสำเร็จอันงดงามของการผลิตเชลออยล์ โดยนึกไปไม่ถึงว่าจะโดนกลุ่มโอเปคสกัดดาวรุ่งด้วยการไล่ทุบราคาน้ำมันให้ลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุนของสหรัฐฯ ซึ่งด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้มีการปล่อยสินเชื่อ และซื้อหุ้นกู้ที่มีมูลค่ามหาศาลจากผู้ผลิตรายต่างๆ อีกทั้งนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคิดว่า การซื้อหุ้นกู้ขยะจากบริษัทน้ำมันจะให้ผลตอบแทนแก่พวกเขามากกว่าการนำเงินไปแช่ไว้ในธนาคาร ในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยยังต่ำอยู่ โดยในปัจจุบันหุ้นกู้ขยะที่ออกโดยผู้ผลิตน้ำมันมีจำนวนมากถึง 30% ของจำนวนหุ้นกู้ประเภทนี้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดเจนว่าเกือบทุกอย่างกำลังเดินไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2550 แตกต่างกันแค่ตรงผู้เล่นและตัวแปรหลัก ซึ่งในปัจจุบันคือ บริษัทน้ำมัน และราคาน้ำมัน ขณะที่ในอดีตคือ ลูกค้าสถาบันการเงิน และราคาอสังหาริมทรัพย์ สำหรับด้านอารมณ์ความรู้สึกของคนแตกต่างกัน คือ ต้องการจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าปกติจากการให้ผู้กู้ที่มีคุณสมบัติต่ำกว่าเกณฑ์ยืมเงิน ซึ่งในที่สุดแล้วถ้ายังไม่มีการลดกำลังการผลิตลงเพื่อให้ราคาดีดกลับมาอยู่ในระดับที่ผู้ผลิตจากสหรัฐฯจะสามารถสร้างกำไรได้ดี หนี้สินไม่มากก็น้อยก่อนจะกลายสภาพเป็นหนี้เน่า และสร้างความเสียหายต่อสถาบันการเงินและผู้ลงทุน
ที่มา http://www.kaohoon.com