ธรรมที่ควรกำหนดรู้, ควรละ, ควรทำให้แจ้ง, ควรทำให้เจริญ ( นัยที่ ๑ )
ภิกษุ ท. !
ธรรม ๔ ประการเหล่านี้คือ ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้ ก็มี, ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย ก็มี,
ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา พึงทำให้เจริญ ก็มี, ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้แจ้ง ก็มี.
ภิกษุ ท !
ก็ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้ คืออะไร ?
คือ อุปาทานขันธ์ ๕
ก็ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย คืออะไร ?
คือ อวิชชา และ ภวตัณหา
ก็ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้เจริญ คืออะไร ?
คือ สมถะ และ วิปัสสนา
ก็ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้แจ้ง คืออะไร ?
คือ วิชชา และ วิมุตติ
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรม ๔ ประการ.
บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๓-๓๓๔/๒๔๕.
ธรรมที่ควรกำหนดรู้, ควรละ, ควรทำให้แจ้ง, ควรทำให้เจริญ ( นัยที่ ๒ )
ภิกษุ ท. !
บุคคลใด...
เมื่อรู้เมื่อเห็น จักษุ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็น รูป ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็น จักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็น จักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็น เวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
อันเป็น สุข ก็ตาม, เป็น ทุกข์ ก็ตาม, ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็ตาม ตามความเป็นจริง
บุคคลนั้น...
ย่อม ไม่กำหนัด ใน จักษุ
ย่อม ไม่กำหนัด ใน รูป
ย่อม ไม่กำหนัด ใน จักขุจักษุวิญญาณ
ย่อม ไม่กำหนัด ใน จักษุสัมผัส
ย่อม ไม่กำหนัด ใน เวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะ จักษุสัมผัส เป็นปัจจัย
อันเป็น สุข ก็ตาม, เป็น ทุกข์ ก็ตาม, ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็ตาม.
เมื่อบุคคลนั้น ไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่
อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดอีกต่อไป;
ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เขาย่อมละเสียได้;
ความกระวนกระวาย แม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้
ความกระวนกระวายแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้;
ความแผดเผา แม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้
ความแผดเผา แม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้;
ความเร่าร้อน แม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้
ความเร่าร้อน แม้ทางขิจ เขาย่อมละเสียได้;
บุคคลนั้น...
ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปในกาย ด้วย
ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปในจิต ด้วย.
เมื่อบุคคลนั้นเป็นเช่นนั้นแล้ว...
ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ
ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ
สติของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ
สมาธิของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม และ อาชีวะ ของเขา บริสุทธิ์ อยู่ก่อนแล้ว นั่นเทียว
ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า บุคคลนั้น ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ใน อริยอัฏฐังคิกมรรค แล้ว
เมื่อเขาทำ อริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
สติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
สัมมัปปธาน ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
อิทธิบาท ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
อินทรีย์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
พละ ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
ธรรมทั้งสอง คือ สมถะ วิปัสสนา ของบุคคลนั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป
บุคคลนั้นชื่อว่า...
ย่อม กำหนดรู้ซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ย่อม ละซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ย่อม ทำให้เจริญซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่ควรทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ย่อม ทำให้แจ้งซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุ ท. !
ก็ ธรรม ที่ควรกำหนดรู้ ด้วย ปัญญาอันยิ่ง คืออะไร ?
คือ อุปาทานในขันธ์ ๕
ก็ ธรรม ที่ควรกำหนดละ ด้วย ปัญญาอันยิ่ง คืออะไร ?
คือ อวิชชา และ ภวตัณหา
ก็ ธรรม ที่ควรทำให้เจริญ ด้วย ปัญญาอันยิ่ง คืออะไร ?
คือ สมถะวิปัสสนา
ก็ ธรรม ที่ควรทำให้แจ้ง ด้วย ปัญญาอันยิ่ง คืออะไร ?
คือ วิชชา และ วิมุตติ
( ในกรณี อายตนะ หมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ตามตัวอักษร ต่างกันเพียงแต่ชื่ออายตนะเท่านั้น)
บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๓-๕๒๖/๘๒๘-๘๓๑.
" ธรรม ที่ควร กำหนดรู้, ควรละ, ความทำให้เจริญ, ควรทำให้แจ้ง "
ภิกษุ ท. !
ธรรม ๔ ประการเหล่านี้คือ ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้ ก็มี, ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย ก็มี,
ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา พึงทำให้เจริญ ก็มี, ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้แจ้ง ก็มี.
ภิกษุ ท !
ก็ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้ คืออะไร ?
คือ อุปาทานขันธ์ ๕
ก็ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย คืออะไร ?
คือ อวิชชา และ ภวตัณหา
ก็ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้เจริญ คืออะไร ?
คือ สมถะ และ วิปัสสนา
ก็ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้แจ้ง คืออะไร ?
คือ วิชชา และ วิมุตติ
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรม ๔ ประการ.
บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๓-๓๓๔/๒๔๕.
ธรรมที่ควรกำหนดรู้, ควรละ, ควรทำให้แจ้ง, ควรทำให้เจริญ ( นัยที่ ๒ )
ภิกษุ ท. !
บุคคลใด...
เมื่อรู้เมื่อเห็น จักษุ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็น รูป ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็น จักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็น จักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็น เวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
อันเป็น สุข ก็ตาม, เป็น ทุกข์ ก็ตาม, ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็ตาม ตามความเป็นจริง
บุคคลนั้น...
ย่อม ไม่กำหนัด ใน จักษุ
ย่อม ไม่กำหนัด ใน รูป
ย่อม ไม่กำหนัด ใน จักขุจักษุวิญญาณ
ย่อม ไม่กำหนัด ใน จักษุสัมผัส
ย่อม ไม่กำหนัด ใน เวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะ จักษุสัมผัส เป็นปัจจัย
อันเป็น สุข ก็ตาม, เป็น ทุกข์ ก็ตาม, ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็ตาม.
เมื่อบุคคลนั้น ไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่
อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดอีกต่อไป;
ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เขาย่อมละเสียได้;
ความกระวนกระวาย แม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้
ความกระวนกระวายแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้;
ความแผดเผา แม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้
ความแผดเผา แม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้;
ความเร่าร้อน แม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้
ความเร่าร้อน แม้ทางขิจ เขาย่อมละเสียได้;
บุคคลนั้น...
ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปในกาย ด้วย
ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปในจิต ด้วย.
เมื่อบุคคลนั้นเป็นเช่นนั้นแล้ว...
ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ
ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ
สติของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ
สมาธิของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม และ อาชีวะ ของเขา บริสุทธิ์ อยู่ก่อนแล้ว นั่นเทียว
ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า บุคคลนั้น ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ใน อริยอัฏฐังคิกมรรค แล้ว
เมื่อเขาทำ อริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
สติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
สัมมัปปธาน ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
อิทธิบาท ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
อินทรีย์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
พละ ๕ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์
ธรรมทั้งสอง คือ สมถะ วิปัสสนา ของบุคคลนั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป
บุคคลนั้นชื่อว่า...
ย่อม กำหนดรู้ซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ย่อม ละซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ย่อม ทำให้เจริญซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่ควรทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ย่อม ทำให้แจ้งซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุ ท. !
ก็ ธรรม ที่ควรกำหนดรู้ ด้วย ปัญญาอันยิ่ง คืออะไร ?
คือ อุปาทานในขันธ์ ๕
ก็ ธรรม ที่ควรกำหนดละ ด้วย ปัญญาอันยิ่ง คืออะไร ?
คือ อวิชชา และ ภวตัณหา
ก็ ธรรม ที่ควรทำให้เจริญ ด้วย ปัญญาอันยิ่ง คืออะไร ?
คือ สมถะวิปัสสนา
ก็ ธรรม ที่ควรทำให้แจ้ง ด้วย ปัญญาอันยิ่ง คืออะไร ?
คือ วิชชา และ วิมุตติ
( ในกรณี อายตนะ หมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ตามตัวอักษร ต่างกันเพียงแต่ชื่ออายตนะเท่านั้น)
บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๓-๕๒๖/๘๒๘-๘๓๑.