[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ
ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง
เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป
และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้
จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว
มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ
มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว
ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ
[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป
เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า
อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชาและภวตัณหา
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะและวิปัสสนา
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
บางส่วน จากพระสูตรไหนต้องบอกมั้ย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=14&item=828
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=825
ประเด็นคืออะไร คืองี้นะ
เอาย่อหน้าแรกก่อน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ขอย่อสั้นๆเลยนะครับ
เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมไม่พอกพูนต่อไป ละตัณหา ประกอบไปด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
เอาล่ะ หยุดตรงนี้ก่อนนะครับ
การรู้เห็นตามความเป็นจริง เป็นการปฏิบัติ หรือเป็นผลจากการปฏิบัติ...?
ถ้าอ่านแบบนี้แล้ว ฉันรู้สึกว่า การรู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นผลจากการปฏิบัตินะ
ปฏิบัติอะไร ตอบว่า ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ซึ่งอันนี้ตามที่อ่านย่อหน้าสุดท้ายนะ
ทีนี้มาที่ย่อหน้าตอนท้าย ท่านว่า
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ กำหนดรู้ยังไง แบบไหน...? ก็คงต้องไปอ่านในพระสูตรอื่นๆที่ว่ากันด้วยขันธ์ ๕
เช่น รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง เป็นต้น กระมัง...?
ธรรมที่ควรละ คือ อวิชชาและภวตัณหา ทำไมท่านไม่รวมถึง ตัณหาอื่นด้วยเล่า อันนี้ก็ละไว้
ธรรมที่ควร เจริญ คือ สมถะและวิปัสสนา อันนี้ก็ธรรมดา ภาวนาก็คือเจริญนั่นเอง ไม่แปลกอะไร
ถ้าถามว่าต้องทำอย่างไรเพื่อกำหนดรู้และละอวิชชาและภวตัณหาข้างต้น ก็ต้องบอกว่า เจริญสมถะและวิปัสสนา
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชาและวิมุตติ อันนี้คือปลายทางแห่งการปฏิบัติ
ถ้าไม่มีปลายทางอย่างนี้มันจะเคว้ง เหมือนปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดหมาย บางทีก็เลยปฏิบัติไปเลยเถืดก็มี
เพราะเราไม่หาตัวปลายว่าคืออะไร
ฉันคิดอย่าง คุณก็อาจจะคิดอีกอย่างก็ได้ ความคิดมีได้หลายอย่างนะ
ตามความรู้สึกของฉัน เราไม่เข้าใจพระสูตรได้ทั้งหมดหรอก จนกว่าเราจะปฏิบัติผ่านมาแล้วอย่างสมบูรณ์
อ้อ... เคยมีคนทักฉันว่า ฉันเฝ้าไปเถียงกับใครต่อใครในกระทู้
ฉันก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เพราะฉันรู้สึกว่า มันเป็นกระทู้สนทนา
สนทนาก็ต้องมีการคุยโต้ตอบกันสิ มันแปลกหรือ...?
มันเป็นกระทู้คุยกันนะจ๊ะ
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ธรรมที่ควรละ ธรรมที่ควรเจริญ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง... ด้วยปัญญา
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ
ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง
เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป
และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้
จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว
มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ
มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว
ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ
[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป
เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า
อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชาและภวตัณหา
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะและวิปัสสนา
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
บางส่วน จากพระสูตรไหนต้องบอกมั้ย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=14&item=828
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=825
ประเด็นคืออะไร คืองี้นะ
เอาย่อหน้าแรกก่อน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... ขอย่อสั้นๆเลยนะครับ
เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมไม่พอกพูนต่อไป ละตัณหา ประกอบไปด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
เอาล่ะ หยุดตรงนี้ก่อนนะครับ
การรู้เห็นตามความเป็นจริง เป็นการปฏิบัติ หรือเป็นผลจากการปฏิบัติ...?
ถ้าอ่านแบบนี้แล้ว ฉันรู้สึกว่า การรู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นผลจากการปฏิบัตินะ
ปฏิบัติอะไร ตอบว่า ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ซึ่งอันนี้ตามที่อ่านย่อหน้าสุดท้ายนะ
ทีนี้มาที่ย่อหน้าตอนท้าย ท่านว่า
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ กำหนดรู้ยังไง แบบไหน...? ก็คงต้องไปอ่านในพระสูตรอื่นๆที่ว่ากันด้วยขันธ์ ๕
เช่น รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง เป็นต้น กระมัง...?
ธรรมที่ควรละ คือ อวิชชาและภวตัณหา ทำไมท่านไม่รวมถึง ตัณหาอื่นด้วยเล่า อันนี้ก็ละไว้
ธรรมที่ควร เจริญ คือ สมถะและวิปัสสนา อันนี้ก็ธรรมดา ภาวนาก็คือเจริญนั่นเอง ไม่แปลกอะไร
ถ้าถามว่าต้องทำอย่างไรเพื่อกำหนดรู้และละอวิชชาและภวตัณหาข้างต้น ก็ต้องบอกว่า เจริญสมถะและวิปัสสนา
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชาและวิมุตติ อันนี้คือปลายทางแห่งการปฏิบัติ
ถ้าไม่มีปลายทางอย่างนี้มันจะเคว้ง เหมือนปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดหมาย บางทีก็เลยปฏิบัติไปเลยเถืดก็มี
เพราะเราไม่หาตัวปลายว่าคืออะไร
ฉันคิดอย่าง คุณก็อาจจะคิดอีกอย่างก็ได้ ความคิดมีได้หลายอย่างนะ
ตามความรู้สึกของฉัน เราไม่เข้าใจพระสูตรได้ทั้งหมดหรอก จนกว่าเราจะปฏิบัติผ่านมาแล้วอย่างสมบูรณ์
อ้อ... เคยมีคนทักฉันว่า ฉันเฝ้าไปเถียงกับใครต่อใครในกระทู้
ฉันก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เพราะฉันรู้สึกว่า มันเป็นกระทู้สนทนา
สนทนาก็ต้องมีการคุยโต้ตอบกันสิ มันแปลกหรือ...?
มันเป็นกระทู้คุยกันนะจ๊ะ