ตรงที่รู้ว่า ไม่มีสัมปชัญญะ นั้นแหละคือ สติปักฐาน 4

กระทู้สนทนา
ธรรมที่แสดง รวมเรียกว่า สติปัฏฐาน 4

เป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ
เป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ
เป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ
เป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

บทย่อแสดง กายานุปัสสนา
เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู,
การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม,
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง

บทย่อแสดง เวทนานุปัสสนา
สุขเวทนา เกิดขึ้นไซร้ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
“สุขเวทนานี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
แต่สุขเวทนานี้ อาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้ ไม่อาศัยเหตุปัจจัยแล้วหาเกิดขึ้นได้ไม่.
อาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ?...........



ตรงที่รู้ว่า ไม่มีสัมปชัญญะ  นั้นแหละคือ สติปัฏฐาน4  

จิตมีนิวรณ์ 5 ก็มีว่ามี  
จิตเป็นกุศลกรรม ก็รู้ว่ามี
จิตไม่มีนิวรณ์ 5 ก็มีว่าไม่มี  
จิตไม่เป็นกุศลกรรม ก็รู้ว่าไม่มี
เพราะเหตุความเกิดสิ่งนี้มี   สิ่งนั้นจึงมี  
เช่น พอเราเกิดใจชอบอะไร จึงมีสมาธิชั่วขณะ ถีนมิทธะจึงหายไป  
เป็นขณะๆ หมดเหตุก็ดับ ถีนมิทธะครอบงำตามเดิม
   ตรงคำสอนแป๊ะๆ   สิ่งนี้มี   สิ่งนั้นจึงมี


จากนั้นเราก็จะแสดงไปตามอาการที่มี ของการมีสติระลึกรู้ถึงแม้ไม่มีสัมปชัญญะ

พอเราฝึกสติปัฏฐาน4 ดีแล้ว   มันจะพัฒนาเรื้อยๆ
จะเห็น สติ กับ สัมปชัญญะ ไม่เหมือนกัน

พอสติปัฏฐาน4 ใว้ดีแล้ว แห่งทางปัญญา
รู้แยกได้ว่า สัมปชัญญะ  มีลักษณะอย่างไร
จึงเป็นไปตามลำดับตามข้อความนี้
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

  อริยสัจจ 4  สำคัญที่สุดเป้าหมายแรกคือรู้ทุกข์ เพื่อมีสัมมาทิฏฐิ
ลักษณะอริยัสจ 4   ก่อนจะมีตัวตน ก่อนจะโกรธ มันไม่มีภาษานึกอะไร มันมีแต่ลักษณะ ความทุกข์ปรากฏ  
ผมเรียกว่า ทุกข์คลาย   แล้วมีลักษณะ ยิ้ม  
ตั้งแต่นั้นมา  มีความเย็นปรากฏ เย็นจริงๆ

  ทางสายหลวงปู่มั่นท่านว่า  หากยังไม่รู้ทุกข์อริยสัจ 4  ถึงยังไงก็ยังหลงตามสังขาร  
แล้ว ไม่มีทางรู้ได้ว่า ใครมีมิจฉาสมาธิหรือสัมมาสมาธิ เพราะมันมีลักษณะอนัตตา
หากยังไม่แจ้งอริยสัจ 4 ต่อให้คิดว่าไม่หลง มันก็หลง = =

พอแจ้งอริยสัจ 4 เบื้ยงต้นได้  สติล้วนๆเลยเบื้องต้น พอจิตใจเปลี่ยนมีลักษณะอย่างไร ทุกข์ปรากฏทันที  
ตามเป็นจริง  จะทุกข์หรือสุขเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของกรรมที่ทำมา
หลวงปู่มั่นจึงมีคำว่า  จะสุขทุกข์ไม่ได้กลัว ส่างจางเครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี  รู้เท่านี้ก็คลายหายร้อน
  จิตนั้นเหมือนมายา หากเราไม่รู้ตามเป็นจริงของจิตใจคือรู้อย่างที่เป็น
มันเหมือน เป็นเหตุเป็นผลเหมือนเราแสดงอาการไปอย่างนั้นอย่างนั้นนั้นเอง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่