ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการ "TRUE" ไม่ต้องจ่ายเงินตอบแทนตามสัญญาให้ "TOT" กว่า 1.2 พันล้านบาท เหตุไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาในคดีที่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และ กรณีบมจ.ทีโอที ขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และ กรณีบมจ.ทีโอที ขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยให้ TRUE ชำระเงินตามสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนเพื่อขยายบริการโทรศัพท์ฯ ให้แก่ทีโอที โดยศาลปกครองพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และปฏิเสธการขอของทีโอที
สืบเนื่องมาจาก TRUE ผู้ที่ทำสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนเพื่อขยายบริการโทรศัพท์ฯ กับทีโอที ต่อมา มีการตรา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546 และ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 โดยกำหนดให้เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงมีมติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 และเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 ให้ความเห็นชอบแนวทางการดำเนินการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องชำระให้แก่คู่สัญญาภาครัฐ
ดังนั้น ทีโอทีจึงหักเงินจากส่วนแบ่งรายได้ส่งให้ TRUE เพื่อนำไปชำระภาษีสรรพสามิตตามมติ ครม.จำนวน 1,479,621,120.89 บาท แต่ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550 ให้ยกเลิกมติ ครม.เดิม โดยกำหนดให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องเสียภาษีสรรพสามิตตามจำนวนรายรับที่แต่ละฝ่ายได้รับ ทีโอทีจึงเรียกร้องให้ TRUE คืนเงินดังกล่าว ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ TRUE คืนเงินจำนวน 1,217,505,724.17 บาท ให้แก่ทีโอที
ทั้งนี้ ศาลปกครองกลางเห็นว่า มติ ครม.เดิมมิใช่มติที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตามมาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่คณะอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ TRUE ชำระเงินผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาแก่ทีโอที จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นไปตามข้อตกลงแห่งสัญญาพิพาทและการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ที่มา :
The Bangkok Insight
TRUE เฮ!! ศาลตัดสินไม่ต้องจ่ายเงิน 1.2 พันล้านคืนให้ TOT
ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการ "TRUE" ไม่ต้องจ่ายเงินตอบแทนตามสัญญาให้ "TOT" กว่า 1.2 พันล้านบาท เหตุไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาในคดีที่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และ กรณีบมจ.ทีโอที ขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และ กรณีบมจ.ทีโอที ขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยให้ TRUE ชำระเงินตามสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนเพื่อขยายบริการโทรศัพท์ฯ ให้แก่ทีโอที โดยศาลปกครองพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และปฏิเสธการขอของทีโอที
สืบเนื่องมาจาก TRUE ผู้ที่ทำสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนเพื่อขยายบริการโทรศัพท์ฯ กับทีโอที ต่อมา มีการตรา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546 และ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 โดยกำหนดให้เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงมีมติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 และเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 ให้ความเห็นชอบแนวทางการดำเนินการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องชำระให้แก่คู่สัญญาภาครัฐ
ดังนั้น ทีโอทีจึงหักเงินจากส่วนแบ่งรายได้ส่งให้ TRUE เพื่อนำไปชำระภาษีสรรพสามิตตามมติ ครม.จำนวน 1,479,621,120.89 บาท แต่ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550 ให้ยกเลิกมติ ครม.เดิม โดยกำหนดให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องเสียภาษีสรรพสามิตตามจำนวนรายรับที่แต่ละฝ่ายได้รับ ทีโอทีจึงเรียกร้องให้ TRUE คืนเงินดังกล่าว ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ TRUE คืนเงินจำนวน 1,217,505,724.17 บาท ให้แก่ทีโอที
ทั้งนี้ ศาลปกครองกลางเห็นว่า มติ ครม.เดิมมิใช่มติที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตามมาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่คณะอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ TRUE ชำระเงินผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาแก่ทีโอที จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นไปตามข้อตกลงแห่งสัญญาพิพาทและการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ที่มา : The Bangkok Insight