เอไอเอส ชนะ “ทีโอที” คณะอนุญาโตตุลการชี้ขาดไม่ต้องจ่าย 31,462.51 ล้านบาท เพราะจ่ายเข้ารัฐเหมือนกัน และไม่ต้องนำไปโยงกับคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะคนละคู่กรณี ขณะที”ทีโอที”มีสิทธิยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน...
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะอนุญาโตตุลาการ ได้ชี้ขาดกรณีข้อพิพาทระหว่างบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) กับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส โดยให้เอไอเอสชนะ ไม่ต้องชำระค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือเพิ่มเติม เป็นเงิน 31,462.51 ล้านบาท ตามที่ทีโอทีเรียกร้อง เนื่องจากเอไอเอส ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมแล้ว เป็นการดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2546 ซึ่งไม่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ทีโอที เพราะเมื่อทีโอทีได้รับเงินส่วนแบ่งรายได้นั้นแล้ว ก็ต้องนำเงินส่งเป็นรายได้ของกระทรวงการคลังเช่นเดียวกัน อีกทั้งเอไอเอสไม่ได้ผิดชำระเงินให้ทีโอทีแต่อย่างใด
ฉะนั้นทีโอทีจึงไม่มีสิทธิเรียกให้เอไอเอสชำระหนี้ซ้ำอีกส่วนกรณีที่ทีโอที อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ อม.1/2553 ที่วินิจฉัยว่าการออกกฎหมายการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน ทำให้รัฐเสียหายนั้น ไม่สามารถนำเอามาผูกผันกับเอไอเอสได้เนื่องจาก ผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาของศาลฎีกา คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นคนละคนกับเอไอเอส ,ข้อกล่าวหาและข้อเท็จจริงเป็นคนละเรื่องกัน ,ทั้งทีโอทีและเอไอเอส ต่างไม่ใช่คู่ความในคดีอาญาดังกล่าว
ทั้งนี้การที่เอไอเอส นำเงินส่วนแบ่งรายได้ 10% ไปชำระภาษีสรรพสามิตนั้น เป็นการดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2546 ซึ่งเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาในวันที่ 23 ม.ค.2550 ครม.จะมีมติให้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมนั้น ก็ไม่ได้มีผลย้อนหลังให้เอไอเอสต้องชำระเงินค่าสัมปทานเพิ่ม เพราะเป็นการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเท่านั้น นอกจากนี้คณะอนุญาโตตุลาการ ยังมีคำสั่งให้ทีโอที ส่งคืนหนังสือค้ำประกันผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำปีที่ 17 ให้เอไอเอสด้วย เพราะเอไอเอสไม่ได้ผิดสัญญาและชำระค่าสัมปทานครบถ้วนแล้ว ขณะที่เอไอเอสก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากค่าธรรมเนียมหนังสือค้ำ ประกันที่ธนาคารเรียกเก็บในระหว่างที่ทีโอที ยังไม่คืนหนังสือค้ำประกันให้
อย่างไรก็ตามหากทีโอที ไม่เห็นด้วยกับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลการ ทีโอที สามารถยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางให้มีคำสั่งเพิกถอดคำชี้ขาดได้ ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด แต่ต้องอยู่ในขอบเขตกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น 1.คู่พิพาทฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาไม่ได้ดำเนินตามกฎหมาย ,สัญญาอนุญาโตตุลการไม่มีผลผูกผันตามกฎหมายแห่งประเทศที่คู่พิพาทได้ตกลงกัน ไว้, ไม่มีการแจ้งให้คู่พิพาทที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดรู้ล่วงหน้า หรือคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกินขอบเขตแห่งสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างกัน ,องค์ประกอบของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ได้เป็นตามที่คู่พิพาทได้ตกลงกันไว้ 2.มีกรณีปรากฏต่อศาลว่า คำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ ตามกฎหมาย และการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้น จะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ครม.เมื่อวันที่ 23 ม.ค.2550 ได้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม และต่อมาเมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553 ศาลฎีกาแผนคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ตัดสินคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าการออกมติดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนนั้น ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาทีโอที ได้เรียกร้องให้เอไอเอส ชำระค่าสัมปทานเพิ่มเติม เพราะทีโอทีขาดรายได้ในช่วงที่เอไอเอส นำส่วนแบ่งรายได้ 10% ไปจ่ายภาษีสรรพสามิต แต่เอไอเอสไม่ยินยอม จึงนำเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลการดังกล่าว
ก่อนหน้านี้คณะอนุญาโตตุลาการ ได้ชี้ขาดให้บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ในเครือเอไอเอส ชนะบริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่เรียกร้องให้ดีพีซี ชำระค่าสัมปทานเพิ่มเติมหลังจากที่ดีพีซีนำรายจากสัญญาสัมปทานส่วนหนึ่งไป จ่ายภาษีสรรพสามิตในช่วงปี 2546-50 คิดเป็นเงิน 3,400 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้กสทได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองแล้ว และในกรณีเดียวกันกสทก็ได้เรียกร้องให้ดีแทรและทรูมูฟ ชำระค่าสัมปทานเพิ่มอีก โดยดีแทค คิดเป็นเงิน 21,000ล้านบาท ทรูมูฟ 8,500 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาข้อพิพาทของคณะอนุญาตโตตุลาการ
http://www.thairath.co.th/content/175092
กรณี AIS ข้อมูลคดี เคยมีการชี้ขาดมาแล้วโดยคณะอนุญาโตตุลการมาแล้วครับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะอนุญาโตตุลาการ ได้ชี้ขาดกรณีข้อพิพาทระหว่างบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) กับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส โดยให้เอไอเอสชนะ ไม่ต้องชำระค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือเพิ่มเติม เป็นเงิน 31,462.51 ล้านบาท ตามที่ทีโอทีเรียกร้อง เนื่องจากเอไอเอส ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมแล้ว เป็นการดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2546 ซึ่งไม่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ทีโอที เพราะเมื่อทีโอทีได้รับเงินส่วนแบ่งรายได้นั้นแล้ว ก็ต้องนำเงินส่งเป็นรายได้ของกระทรวงการคลังเช่นเดียวกัน อีกทั้งเอไอเอสไม่ได้ผิดชำระเงินให้ทีโอทีแต่อย่างใด
ฉะนั้นทีโอทีจึงไม่มีสิทธิเรียกให้เอไอเอสชำระหนี้ซ้ำอีกส่วนกรณีที่ทีโอที อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ อม.1/2553 ที่วินิจฉัยว่าการออกกฎหมายการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน ทำให้รัฐเสียหายนั้น ไม่สามารถนำเอามาผูกผันกับเอไอเอสได้เนื่องจาก ผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาของศาลฎีกา คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นคนละคนกับเอไอเอส ,ข้อกล่าวหาและข้อเท็จจริงเป็นคนละเรื่องกัน ,ทั้งทีโอทีและเอไอเอส ต่างไม่ใช่คู่ความในคดีอาญาดังกล่าว
ทั้งนี้การที่เอไอเอส นำเงินส่วนแบ่งรายได้ 10% ไปชำระภาษีสรรพสามิตนั้น เป็นการดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2546 ซึ่งเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาในวันที่ 23 ม.ค.2550 ครม.จะมีมติให้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมนั้น ก็ไม่ได้มีผลย้อนหลังให้เอไอเอสต้องชำระเงินค่าสัมปทานเพิ่ม เพราะเป็นการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเท่านั้น นอกจากนี้คณะอนุญาโตตุลาการ ยังมีคำสั่งให้ทีโอที ส่งคืนหนังสือค้ำประกันผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำปีที่ 17 ให้เอไอเอสด้วย เพราะเอไอเอสไม่ได้ผิดสัญญาและชำระค่าสัมปทานครบถ้วนแล้ว ขณะที่เอไอเอสก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากค่าธรรมเนียมหนังสือค้ำ ประกันที่ธนาคารเรียกเก็บในระหว่างที่ทีโอที ยังไม่คืนหนังสือค้ำประกันให้
อย่างไรก็ตามหากทีโอที ไม่เห็นด้วยกับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลการ ทีโอที สามารถยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางให้มีคำสั่งเพิกถอดคำชี้ขาดได้ ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด แต่ต้องอยู่ในขอบเขตกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น 1.คู่พิพาทฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาไม่ได้ดำเนินตามกฎหมาย ,สัญญาอนุญาโตตุลการไม่มีผลผูกผันตามกฎหมายแห่งประเทศที่คู่พิพาทได้ตกลงกัน ไว้, ไม่มีการแจ้งให้คู่พิพาทที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดรู้ล่วงหน้า หรือคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกินขอบเขตแห่งสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างกัน ,องค์ประกอบของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ได้เป็นตามที่คู่พิพาทได้ตกลงกันไว้ 2.มีกรณีปรากฏต่อศาลว่า คำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ ตามกฎหมาย และการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้น จะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ครม.เมื่อวันที่ 23 ม.ค.2550 ได้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม และต่อมาเมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553 ศาลฎีกาแผนคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ตัดสินคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าการออกมติดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนนั้น ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาทีโอที ได้เรียกร้องให้เอไอเอส ชำระค่าสัมปทานเพิ่มเติม เพราะทีโอทีขาดรายได้ในช่วงที่เอไอเอส นำส่วนแบ่งรายได้ 10% ไปจ่ายภาษีสรรพสามิต แต่เอไอเอสไม่ยินยอม จึงนำเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลการดังกล่าว
ก่อนหน้านี้คณะอนุญาโตตุลาการ ได้ชี้ขาดให้บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ในเครือเอไอเอส ชนะบริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่เรียกร้องให้ดีพีซี ชำระค่าสัมปทานเพิ่มเติมหลังจากที่ดีพีซีนำรายจากสัญญาสัมปทานส่วนหนึ่งไป จ่ายภาษีสรรพสามิตในช่วงปี 2546-50 คิดเป็นเงิน 3,400 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้กสทได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองแล้ว และในกรณีเดียวกันกสทก็ได้เรียกร้องให้ดีแทรและทรูมูฟ ชำระค่าสัมปทานเพิ่มอีก โดยดีแทค คิดเป็นเงิน 21,000ล้านบาท ทรูมูฟ 8,500 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาข้อพิพาทของคณะอนุญาตโตตุลาการ
http://www.thairath.co.th/content/175092