สัปดาห์ที่แล้วมีประเด็นเสื่อมเกิดขึ้นในวงการสื่ออีกจนได้ หลังจากเงียบหายไปพักหนึ่ง จากกรณีที่สื่อค่ายหนึ่งพยายามจุดกระแสข่าวโจมตีซีพีในทำนองว่า ยึดที่รัฐไปสร้างเมืองใหม่ ซึ่งหลังจากข่าวออกไป หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งกรมธนารักษ์ และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ที่ถูกพาดพิงถึง ต่างตบเท้าออกมาแสดงหลักฐานข้อมูลที่สอดคล้องกัน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับข้อมูลที่สื่อต้นเหตุนำเสนอ รวมถึงซีพีเองที่เป็นเป้าหมายของการโจมตี ก็ออกแถลงการณ์ประกาศฟ้องร้องดำเนินคดีกับสื่อดังกล่าว ฐานเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
งานนี้ก็ต้องเรียกว่า กรรมติดจรวด ปฏิบัติการเล่นเกมสกปรกล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะจากที่กะว่าจะทำลายชื่อเสียงเขาให้ย่อยยับ กลับต้องโดนซะเองเพียงแค่ชั่วข้ามคืน จนต้องออกมาแก้ตัวเสียงอ่อย ๆ ผิดกับวันแรกที่ออกมาโจมตีเขาด้วยเสียงแข็งกร้าว คงได้เห็นแล้วว่าเกมใต้โต๊ะครั้งนี้เจอของแข็ง เพราะครั้งนี้ความอดทนของเอกชนรายนี้ถึงที่สุด หลังจากปล่อยให้ย่ำยีกันมานาน ก็ถึงเวลาเอาจริงซะที
และอยากจะบอกว่า งานนี้เห็นทีจะหนักเอาการ เพราะสื่อรายนี้ต้องไปเจอกับโจทย์เก่า ที่เป็นทนายความคนเดียวกับที่ดูแลคดี ที่ดิวตี้ฟรียักษ์ใหญ่ฟ้องร้องสื่อรายนี้เช่นกัน เรียกว่าเจอเข้าไปสองคดี ถึงขั้นล้มละลายกันได้เลยทีเดียว (...มิน่าเห็นทางผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสื่อนี้ ถึงขั้นต้องรีบขายหุ้นอีกสื่อในเครือฯ สงสัยจะเอามาเตรียมจ่ายตอนแพ้คดี)
หากรู้ที่มาที่ไปของสื่อค่ายนี้ หรือไปดูว่าใครถือหุ้นหรือบริหารอยู่เบื้องหลังบ้าง ก็จะถึงบางอ้อว่า ทำไมต้องตั้งหน้าตั้งตาหาเรื่องเอกชนรายนี้ตลอดเวลา ทำทีเหมือนว่าเป็นสื่อน้ำดี ขุดคุ้ยความชั่วร้ายของฝ่ายที่เป็นจำเลยของสังคม แต่อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่เห็น เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรขาวหรือดำบริสุทุธิ์ ไม่ใช่ทุกสื่อที่เป็นสื่อน้ำดี และไม่ใช่ซีพีจะเลวร้ายทุกเรื่อง ต้องพิจารณากันเป็นเรื่อง ๆ ไป
สำหรับข้อมูลที่สื่อต้นเหตุนำมากล่าวอ้างโจมตี ดูเหมือนจะไร้น้ำหนัก กลายเป็นเศษขยะไปในพริบตา หลังจากที่ทางอีอีซีและกรมธนารักษ์ออกมาชี้แจงยืนยันทันควัน สรุปความได้ว่า ที่ดินที่ถูกกล่าวอ้างว่า ซีพีเซ็นสัญญาเช่ากับกรมธนารักษ์ เพื่อนำไปสร้างเมืองใหม่นั้น แท้ที่จริงแล้ว...
1. ไม่เคยมีการเซ็นสัญญาระหว่างซีพีกับกรมธนารักษ์
2. ที่ดินที่ถูกกล่าวอ้างนั้น ยังอยู่ในความครอบครองของกองทัพเรือ
3. ที่ดินที่ถูกกล่าวอ้างนั้น ยังไม่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับโครงการอีอีซี
4. สำนักงานอีอีซียังไม่เคยเสนอขอใช้ที่ดินราชพัสดุใน จ.ฉะเชิงเทรา
5. ซีพีไม่เคยร้องขอต่อสำนักงานอีอีซี เพื่อขอใช้ที่ดินที่ถูกกล่าวอ้าง หรือทีดินใด ๆ
6. หากซีพีต้องการใช้พื้นที่ ก็ต้องเป็นที่ดินของซีพีเองเท่านั้น
7. หากจะนำที่ดินที่ถูกกล่าวอ้างนั้นไปเข้าโครงการอีอีซีต้องมีอีกหลายขั้นตอน คือ กองทัพเรือที่ครอบครองอยู่ต้องยินยอม เมือยินยอมแล้วต้องเสนอต่อสำนักงานอีอีซีให้กำหนดเป็นเขตส่งเสริมพิเศษ จากนั้นกรมธนารักษ์จึงจะส่งมอบที่ดินให้อีอีซีได้
ปิดบังปัญหารากเหง้า
นั่นคือในส่วนของการชี้แจงของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ยังมีในส่วนของรายละเอียดอื่น ที่สื่อต้นเหตุบิดเบือนก็คือ ที่ดินแปลงที่ถูกนำมากล่าวอ้างนั้น แท้ที่จริงแล้วกองทัพเรือ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดูแลแทนกรมธนารักษ์ได้ขอคืนจากผู้เช่าตั้งแต่ปี 2557 ก่อนที่จะมีโครงการอีอีซีซะอีก
โดยกองทัพเรือขอยกเลิกสัญญาเช่า (ต่อสัญญาให้เป็นรายปี) เนื่องจากจะนำพื้นที่มาทำประโยชน์ในกิจการของกองทัพเรือ แต่ราษฎรผู้เช่าบางส่วนยังไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ จึงเป็นปัญหาคาราคาซังมาจนบัดนี้ ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างกองทัพเรือกับราษฎรผู้เช่าอาศัย ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับโครงการเมืองใหม่ หรืออีอีซีเลยแม้แต่น้อย แต่สื่อดังกล่าวกลับเขียนข่าวและออกรายการในทำนองให้เข้าใจว่า กรมธนารักษ์ยกเลิกสัญญาเช่า เพื่อนำที่ดินมาให้เอกชนพัฒนาเป็นเมืองใหม่
เรื่องนี้จึงเป็นการจับแพะมาชนแกะ หลังจากที่เจ้าสัวซีพีได้แสดงวิสัยทัศน์ว่า จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นทำเลที่ดีที่มีศักยภาพ หากสามารถพัฒนาเป็นเมืองใหม่ได้ ก็จะทำให้ประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดใกล้เคียงได้ประโยชน์อย่างมหาศาล จึงสบช่องให้นำเรื่องการยกเลิกสัญญาเช่าทีดินของกองทัพเรือกับกรมธนารักษ์ มาปั้นเรื่องผูกโยงว่าเป็นเรื่องเดียวกันว่าจะยกที่ดินดังกล่าวให้ซีพีไปสร้างเมืองใหม่
มีอะไรในกอไผ่ ทำไมจ้องโจมตีตลอดเวลา
ก็ไม่อยากจะคิดเลยเถิดไปไกลถึงขนาดว่า สื่อรายนี้ได้รับใบสั่งจากใครมาหรือไม่ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ เพราะตั้งแต่ที่มีข่าวว่า ซีพีเล็งหาพันธมิตร เพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยกลุ่ม ปตท. มีทีท่าจะเข้าร่วมจับมือกัน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจะทำให้อีกกลุ่มที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม
(ซึ่งถือหุ้นอยู่ในเครือสื่อรายนี้) เสียประโยชน์ รวมถึงช่วงเวลาที่ซีพีพาสื่อมวลชนไปดูงานรถไฟในต่างประเทศ สื่อรายนี้ก็ออกข่าวตะลุมบอลซีพีอย่างไม่ยั้งติด ๆ กันมาตลอด
หากสังเกตดี ๆ จะเห็นว่า ไม่ว่าประเด็นไหนที่สื่อรายนี้นำมาตี ไม่เคยได้รับความสนใจตอบรับหรือสานต่อจากสื่อรายอื่น ๆ นอกเครือฯ สื่อรายนี้เลย นั่นก็เพราะว่าสื่อรายอื่นรู้ดีว่า สื่อรายนี้ต้องการอะไร จึงไม่ได้ให้ค่ากับข้อมูลต่าง ๆ ที่ออกมาโจมตี
ร้ององค์กรเกี่ยวข้องจัดการสื่อนอกคอก
สื่อที่เปรียบตนเองเป็นหมาเฝ้าบ้านหรือผู้พิทักษ์ความยุติธรรม อ้างว่าตนเองมีจรรยาบรรณ มีคุณธรรม แล้วประณามผู้อื่นขาดคุณธรรม ในขณะที่ตนเองบิดเบือน และปกปิดความจริงจากสายตาเจ้าของบ้าน หรือผู้รับสาร เอาผลประโยชน์ใส่ตัว ยังจะเรียกตนเองว่าสื่อน้ำดี มีคุณธรรมได้อีกหรือ
ในขณะที่บ้านเมืองกำลังต้องการความสามัคคี คนดี ๆ มากมายต่างตั้งใจเข้ามาทำงานเพื่อบ้านเพื่อเมือง เจอสื่อแบบนี้เข้าไป ไม่ว่าใครก็ท้อแท้ หมดกำลังใจได้เหมือนกัน
สื่อแบบนี้ทำให้สื่อดี ๆ เสียหาย จึงสมควรถูกลงทัณฑ์ ควรมีกฎหมายมาช่วยล้างมาเฟียในคราบสื่อพวกนี้ออกไปให้หมดจากวงการ
ถ้าจะให้ดี กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแลกิจการทีวีดิจิทัล และ/หรือองค์กรกำกับดูแลวิชาชีพสื่อมวลชน ควรจะถอนใบอนุญาตหรือจัดการกับสื่อที่บิดเบือนข้อมูล สร้างเรื่องเท็จ ปั้นน้ำเป็นตัว ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและความสับสนในสังคม ใช้วิชาชีพสื่อหากินอย่างไร้จรรยาบรรณเช่นนี้เถอะ
----------------------------------------
หมาเฝ้าบ้านหรือหมานอกคอก
งานนี้ก็ต้องเรียกว่า กรรมติดจรวด ปฏิบัติการเล่นเกมสกปรกล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะจากที่กะว่าจะทำลายชื่อเสียงเขาให้ย่อยยับ กลับต้องโดนซะเองเพียงแค่ชั่วข้ามคืน จนต้องออกมาแก้ตัวเสียงอ่อย ๆ ผิดกับวันแรกที่ออกมาโจมตีเขาด้วยเสียงแข็งกร้าว คงได้เห็นแล้วว่าเกมใต้โต๊ะครั้งนี้เจอของแข็ง เพราะครั้งนี้ความอดทนของเอกชนรายนี้ถึงที่สุด หลังจากปล่อยให้ย่ำยีกันมานาน ก็ถึงเวลาเอาจริงซะที
และอยากจะบอกว่า งานนี้เห็นทีจะหนักเอาการ เพราะสื่อรายนี้ต้องไปเจอกับโจทย์เก่า ที่เป็นทนายความคนเดียวกับที่ดูแลคดี ที่ดิวตี้ฟรียักษ์ใหญ่ฟ้องร้องสื่อรายนี้เช่นกัน เรียกว่าเจอเข้าไปสองคดี ถึงขั้นล้มละลายกันได้เลยทีเดียว (...มิน่าเห็นทางผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสื่อนี้ ถึงขั้นต้องรีบขายหุ้นอีกสื่อในเครือฯ สงสัยจะเอามาเตรียมจ่ายตอนแพ้คดี)
หากรู้ที่มาที่ไปของสื่อค่ายนี้ หรือไปดูว่าใครถือหุ้นหรือบริหารอยู่เบื้องหลังบ้าง ก็จะถึงบางอ้อว่า ทำไมต้องตั้งหน้าตั้งตาหาเรื่องเอกชนรายนี้ตลอดเวลา ทำทีเหมือนว่าเป็นสื่อน้ำดี ขุดคุ้ยความชั่วร้ายของฝ่ายที่เป็นจำเลยของสังคม แต่อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่เห็น เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรขาวหรือดำบริสุทุธิ์ ไม่ใช่ทุกสื่อที่เป็นสื่อน้ำดี และไม่ใช่ซีพีจะเลวร้ายทุกเรื่อง ต้องพิจารณากันเป็นเรื่อง ๆ ไป
สำหรับข้อมูลที่สื่อต้นเหตุนำมากล่าวอ้างโจมตี ดูเหมือนจะไร้น้ำหนัก กลายเป็นเศษขยะไปในพริบตา หลังจากที่ทางอีอีซีและกรมธนารักษ์ออกมาชี้แจงยืนยันทันควัน สรุปความได้ว่า ที่ดินที่ถูกกล่าวอ้างว่า ซีพีเซ็นสัญญาเช่ากับกรมธนารักษ์ เพื่อนำไปสร้างเมืองใหม่นั้น แท้ที่จริงแล้ว...
1. ไม่เคยมีการเซ็นสัญญาระหว่างซีพีกับกรมธนารักษ์
2. ที่ดินที่ถูกกล่าวอ้างนั้น ยังอยู่ในความครอบครองของกองทัพเรือ
3. ที่ดินที่ถูกกล่าวอ้างนั้น ยังไม่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับโครงการอีอีซี
4. สำนักงานอีอีซียังไม่เคยเสนอขอใช้ที่ดินราชพัสดุใน จ.ฉะเชิงเทรา
5. ซีพีไม่เคยร้องขอต่อสำนักงานอีอีซี เพื่อขอใช้ที่ดินที่ถูกกล่าวอ้าง หรือทีดินใด ๆ
6. หากซีพีต้องการใช้พื้นที่ ก็ต้องเป็นที่ดินของซีพีเองเท่านั้น
7. หากจะนำที่ดินที่ถูกกล่าวอ้างนั้นไปเข้าโครงการอีอีซีต้องมีอีกหลายขั้นตอน คือ กองทัพเรือที่ครอบครองอยู่ต้องยินยอม เมือยินยอมแล้วต้องเสนอต่อสำนักงานอีอีซีให้กำหนดเป็นเขตส่งเสริมพิเศษ จากนั้นกรมธนารักษ์จึงจะส่งมอบที่ดินให้อีอีซีได้
ปิดบังปัญหารากเหง้า
นั่นคือในส่วนของการชี้แจงของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ยังมีในส่วนของรายละเอียดอื่น ที่สื่อต้นเหตุบิดเบือนก็คือ ที่ดินแปลงที่ถูกนำมากล่าวอ้างนั้น แท้ที่จริงแล้วกองทัพเรือ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดูแลแทนกรมธนารักษ์ได้ขอคืนจากผู้เช่าตั้งแต่ปี 2557 ก่อนที่จะมีโครงการอีอีซีซะอีก
โดยกองทัพเรือขอยกเลิกสัญญาเช่า (ต่อสัญญาให้เป็นรายปี) เนื่องจากจะนำพื้นที่มาทำประโยชน์ในกิจการของกองทัพเรือ แต่ราษฎรผู้เช่าบางส่วนยังไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ จึงเป็นปัญหาคาราคาซังมาจนบัดนี้ ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างกองทัพเรือกับราษฎรผู้เช่าอาศัย ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับโครงการเมืองใหม่ หรืออีอีซีเลยแม้แต่น้อย แต่สื่อดังกล่าวกลับเขียนข่าวและออกรายการในทำนองให้เข้าใจว่า กรมธนารักษ์ยกเลิกสัญญาเช่า เพื่อนำที่ดินมาให้เอกชนพัฒนาเป็นเมืองใหม่
เรื่องนี้จึงเป็นการจับแพะมาชนแกะ หลังจากที่เจ้าสัวซีพีได้แสดงวิสัยทัศน์ว่า จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นทำเลที่ดีที่มีศักยภาพ หากสามารถพัฒนาเป็นเมืองใหม่ได้ ก็จะทำให้ประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดใกล้เคียงได้ประโยชน์อย่างมหาศาล จึงสบช่องให้นำเรื่องการยกเลิกสัญญาเช่าทีดินของกองทัพเรือกับกรมธนารักษ์ มาปั้นเรื่องผูกโยงว่าเป็นเรื่องเดียวกันว่าจะยกที่ดินดังกล่าวให้ซีพีไปสร้างเมืองใหม่
มีอะไรในกอไผ่ ทำไมจ้องโจมตีตลอดเวลา
ก็ไม่อยากจะคิดเลยเถิดไปไกลถึงขนาดว่า สื่อรายนี้ได้รับใบสั่งจากใครมาหรือไม่ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ เพราะตั้งแต่ที่มีข่าวว่า ซีพีเล็งหาพันธมิตร เพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยกลุ่ม ปตท. มีทีท่าจะเข้าร่วมจับมือกัน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจะทำให้อีกกลุ่มที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม (ซึ่งถือหุ้นอยู่ในเครือสื่อรายนี้) เสียประโยชน์ รวมถึงช่วงเวลาที่ซีพีพาสื่อมวลชนไปดูงานรถไฟในต่างประเทศ สื่อรายนี้ก็ออกข่าวตะลุมบอลซีพีอย่างไม่ยั้งติด ๆ กันมาตลอด
หากสังเกตดี ๆ จะเห็นว่า ไม่ว่าประเด็นไหนที่สื่อรายนี้นำมาตี ไม่เคยได้รับความสนใจตอบรับหรือสานต่อจากสื่อรายอื่น ๆ นอกเครือฯ สื่อรายนี้เลย นั่นก็เพราะว่าสื่อรายอื่นรู้ดีว่า สื่อรายนี้ต้องการอะไร จึงไม่ได้ให้ค่ากับข้อมูลต่าง ๆ ที่ออกมาโจมตี
ร้ององค์กรเกี่ยวข้องจัดการสื่อนอกคอก
สื่อที่เปรียบตนเองเป็นหมาเฝ้าบ้านหรือผู้พิทักษ์ความยุติธรรม อ้างว่าตนเองมีจรรยาบรรณ มีคุณธรรม แล้วประณามผู้อื่นขาดคุณธรรม ในขณะที่ตนเองบิดเบือน และปกปิดความจริงจากสายตาเจ้าของบ้าน หรือผู้รับสาร เอาผลประโยชน์ใส่ตัว ยังจะเรียกตนเองว่าสื่อน้ำดี มีคุณธรรมได้อีกหรือ
ในขณะที่บ้านเมืองกำลังต้องการความสามัคคี คนดี ๆ มากมายต่างตั้งใจเข้ามาทำงานเพื่อบ้านเพื่อเมือง เจอสื่อแบบนี้เข้าไป ไม่ว่าใครก็ท้อแท้ หมดกำลังใจได้เหมือนกัน
สื่อแบบนี้ทำให้สื่อดี ๆ เสียหาย จึงสมควรถูกลงทัณฑ์ ควรมีกฎหมายมาช่วยล้างมาเฟียในคราบสื่อพวกนี้ออกไปให้หมดจากวงการ
ถ้าจะให้ดี กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแลกิจการทีวีดิจิทัล และ/หรือองค์กรกำกับดูแลวิชาชีพสื่อมวลชน ควรจะถอนใบอนุญาตหรือจัดการกับสื่อที่บิดเบือนข้อมูล สร้างเรื่องเท็จ ปั้นน้ำเป็นตัว ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและความสับสนในสังคม ใช้วิชาชีพสื่อหากินอย่างไร้จรรยาบรรณเช่นนี้เถอะ
----------------------------------------