เนื่องจากข่าวที่ศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้ กทพ. แพ้คดี BEM ในวันนี้ก็เลยไปหาข้อมูลมาว่ามีข้อพิพาทที่ BEM เรียกร้องค่าชดเชยจาก กทพ. ทั้งหมดกี่เรื่องกันแน่ก็ไปเจอแหล่งข้อมูล -->
https://thaipublica.org/2016/07/disputes-exat/ <--
โดยผมได้แยกข้อพิพาทตามลำดับของกระบวนการพิจารณาได้ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ข้อพิพาทที่ศาลปกครองสูงสุดตัดสินแล้วในวันนี้และ BEM ชนะข้อพิพาท
1.1 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2547 เรียกร้องให้การทางพิเศษฯ ชดเชยรายได้ค่าผ่านทางพิเศษส่วนที่ลดลงไปอันเนื่องมาจากการเปิดใช้ทางยกระดับอุตราภิมุข (ทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ช่วงอนุสรณ์สถานถึงรังสิต) ซึ่งถือว่าเป็นทางแข่งขัน เรียกค่าชดเชยรายได้จำนวนเงิน 1,790.00 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา (รวมดอกเบี้ยจำนวนเงิน 3,296.72 ล้านบาท)
-------------------------------------------------------------------------------------------------
2. ข้อพิพาทที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด (ศาลปกครองกลางตัดสินให้ BEM ชนะข้อพิพาท)
2.1 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เสนอข้อพิพาทเรียกร้องให้การทางพิเศษฯ แบ่งรายได้ค่าผ่านทางพิเศษของโครงข่ายในเขตเมืองที่บริษัทฯ พึงได้รับเป็นจำนวนเงิน 3,831.48 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนับวันเปิดใช้งานของพื้นที่ส่วนแรกที่แตกต่างกัน ต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดให้การทางพิเศษฯ ชำระเงินตามที่บริษัทฯ เรียกร้องพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา และเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2552 การทางพิเศษฯ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และต่อมา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2554 บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งพร้อมออกคำบังคับให้การทางพิเศษฯ ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการและคำสั่งของคณะอนุญาโตตุลาการโดยคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มเติมจนถึงวันฟ้อง จำนวนเงิน 1,189.68 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 5,021.16 ล้านบาท
-------------------------------------------------------------------------------------------------
3. ข้อพิพาทที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง
3.1 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2551 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้ค่าเสียหาย (โครงข่ายในเขตเมืองและนอกเขตเมืองของระบบทางด่วนขั้นที่ 2) จากการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษปี พ.ศ. 2546 จำนวนเงิน 4,368.00 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา และให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางพิเศษของรถยนต์แต่ละประเภทของโครงข่ายในเขตเมืองและโครงข่ายนอกเขตเมืองตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2546 และอัตราค่าผ่านทางพิเศษตามที่บริษัทฯ เรียกร้อง จนกว่าจะมีการปรับและบังคับใช้อัตราค่าผ่านทางพิเศษให้เป็นไปตามที่เรียกร้องไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม 2551 พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จ
-------------------------------------------------------------------------------------------------
3. ข้อพิพาทที่ กทพ. ถูกฟ้องหรือถูกเรียกค่าชดเชยที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ
3.1 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2543 เรียกร้องให้ กทพ. ชดเชยผลกระทบจาก “เหตุการณ์ที่เป็นข้อยกเว้น” ตามสัญญาข้อ 19 อันเนื่องจากการเกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและสภาวะดอกเบี้ยสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯ ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำนวนเงิน 5.12 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย
--ขณะนี้ข้อพิพาทอยู่ในขั้นตอนอนุญาโตตุลาการกำหนดวันพิจารณา
3.2 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้เงินค่าเสียหายเป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางพิเศษของรถยนต์แต่ละประเภทของทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D จำนวนเงิน 1,048.24 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา และชดใช้เงินค่าเสียหายเป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางพิเศษของรถยนต์แต่ละประเภทของทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D ตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2546 และอัตราค่าผ่านทางพิเศษตามที่บริษัทเรียกร้องจนกว่าจะมีการดำเนินการปรับและบังคับใช้อัตราค่าผ่านทางพิเศษ ให้เป็นไปตามที่เรียกร้องไม่เกินวันที่ 31สิงหาคม 2551 พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
3.3 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้เงินค่าเสียหายจากการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางด่วนขั้นที่ 2 ในปี พ.ศ. 2551 เป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางรถยนต์แต่ละประเภทของโครงข่ายในเขตเมืองและโครงข่ายนอกเขตเมือง ตามอัตราค่าผ่านทางในคำเสนอข้อพิพาทกับอัตราค่าผ่านทางตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ทุนทรัพย์ที่ยื่นข้อพิพาท จำนวนเงิน 9,091.79 ล้านบาท
3.4 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้เงินค่าเสียหายจากการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D ในปี พ.ศ. 2551 เป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางรถยนต์แต่ละประเภทของทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D ตามอัตราค่าผ่านทางในคำเสนอข้อพิพาทกับอัตราค่าผ่านทางตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ทุนทรัพย์ที่ยื่นข้อพิพาทจำนวนเงิน 4,062.83 ล้านบาท
3.5 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) ได้ยื่นข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2556 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้ค่าเสียหายจากการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษในปี พ.ศ. 2546 เป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางพิเศษ ทางพิเศษสายบางปะอิน–ปากเกร็ด ตามอัตราค่าผ่านทางพิเศษในคำเสนอข้อพิพาทกับอัตราค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2546 ทุนทรัพย์ที่ยื่นข้อพิพาท จำนวนเงิน 69 ล้านบาท
-------------------------------------------------------------------------------------------------
4. ข้อพิพาทที่อยู่ระหว่างรอกำหนดวันพิจารณาข้อพิพาทชั้นคณะผู้พิจารณา
4.1 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้ค่าเสียหายจากการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษฯ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ปี 2556 พร้อมดอกเบี้ย ตามสัญญาจำนวนเงิน 2,083.53 ล้านบาท จากการที่ปรับอัตราค่าผ่านทางตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 2 สิงหาคม 2556
รวมข้อพิพาททั้งหมดที่ กทพ. มีข้อพิพาทกับ BEM และถูกเรียกร้องให้ชำระค่าเสียหายให้กับ BEM
โดยผมได้แยกข้อพิพาทตามลำดับของกระบวนการพิจารณาได้ดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ข้อพิพาทที่ศาลปกครองสูงสุดตัดสินแล้วในวันนี้และ BEM ชนะข้อพิพาท
1.1 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2547 เรียกร้องให้การทางพิเศษฯ ชดเชยรายได้ค่าผ่านทางพิเศษส่วนที่ลดลงไปอันเนื่องมาจากการเปิดใช้ทางยกระดับอุตราภิมุข (ทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ช่วงอนุสรณ์สถานถึงรังสิต) ซึ่งถือว่าเป็นทางแข่งขัน เรียกค่าชดเชยรายได้จำนวนเงิน 1,790.00 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา (รวมดอกเบี้ยจำนวนเงิน 3,296.72 ล้านบาท)
-------------------------------------------------------------------------------------------------
2. ข้อพิพาทที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด (ศาลปกครองกลางตัดสินให้ BEM ชนะข้อพิพาท)
2.1 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เสนอข้อพิพาทเรียกร้องให้การทางพิเศษฯ แบ่งรายได้ค่าผ่านทางพิเศษของโครงข่ายในเขตเมืองที่บริษัทฯ พึงได้รับเป็นจำนวนเงิน 3,831.48 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนับวันเปิดใช้งานของพื้นที่ส่วนแรกที่แตกต่างกัน ต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดให้การทางพิเศษฯ ชำระเงินตามที่บริษัทฯ เรียกร้องพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา และเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2552 การทางพิเศษฯ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และต่อมา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2554 บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งพร้อมออกคำบังคับให้การทางพิเศษฯ ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการและคำสั่งของคณะอนุญาโตตุลาการโดยคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มเติมจนถึงวันฟ้อง จำนวนเงิน 1,189.68 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 5,021.16 ล้านบาท
-------------------------------------------------------------------------------------------------
3. ข้อพิพาทที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง
3.1 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2551 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้ค่าเสียหาย (โครงข่ายในเขตเมืองและนอกเขตเมืองของระบบทางด่วนขั้นที่ 2) จากการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษปี พ.ศ. 2546 จำนวนเงิน 4,368.00 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา และให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางพิเศษของรถยนต์แต่ละประเภทของโครงข่ายในเขตเมืองและโครงข่ายนอกเขตเมืองตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2546 และอัตราค่าผ่านทางพิเศษตามที่บริษัทฯ เรียกร้อง จนกว่าจะมีการปรับและบังคับใช้อัตราค่าผ่านทางพิเศษให้เป็นไปตามที่เรียกร้องไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม 2551 พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จ
-------------------------------------------------------------------------------------------------
3. ข้อพิพาทที่ กทพ. ถูกฟ้องหรือถูกเรียกค่าชดเชยที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ
3.1 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2543 เรียกร้องให้ กทพ. ชดเชยผลกระทบจาก “เหตุการณ์ที่เป็นข้อยกเว้น” ตามสัญญาข้อ 19 อันเนื่องจากการเกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและสภาวะดอกเบี้ยสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯ ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำนวนเงิน 5.12 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย --ขณะนี้ข้อพิพาทอยู่ในขั้นตอนอนุญาโตตุลาการกำหนดวันพิจารณา
3.2 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้เงินค่าเสียหายเป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางพิเศษของรถยนต์แต่ละประเภทของทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D จำนวนเงิน 1,048.24 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา และชดใช้เงินค่าเสียหายเป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางพิเศษของรถยนต์แต่ละประเภทของทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D ตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2546 และอัตราค่าผ่านทางพิเศษตามที่บริษัทเรียกร้องจนกว่าจะมีการดำเนินการปรับและบังคับใช้อัตราค่าผ่านทางพิเศษ ให้เป็นไปตามที่เรียกร้องไม่เกินวันที่ 31สิงหาคม 2551 พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
3.3 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้เงินค่าเสียหายจากการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางด่วนขั้นที่ 2 ในปี พ.ศ. 2551 เป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางรถยนต์แต่ละประเภทของโครงข่ายในเขตเมืองและโครงข่ายนอกเขตเมือง ตามอัตราค่าผ่านทางในคำเสนอข้อพิพาทกับอัตราค่าผ่านทางตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ทุนทรัพย์ที่ยื่นข้อพิพาท จำนวนเงิน 9,091.79 ล้านบาท
3.4 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้เงินค่าเสียหายจากการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D ในปี พ.ศ. 2551 เป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางรถยนต์แต่ละประเภทของทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D ตามอัตราค่าผ่านทางในคำเสนอข้อพิพาทกับอัตราค่าผ่านทางตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ทุนทรัพย์ที่ยื่นข้อพิพาทจำนวนเงิน 4,062.83 ล้านบาท
3.5 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) ได้ยื่นข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2556 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้ค่าเสียหายจากการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษในปี พ.ศ. 2546 เป็นเงินผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางพิเศษ ทางพิเศษสายบางปะอิน–ปากเกร็ด ตามอัตราค่าผ่านทางพิเศษในคำเสนอข้อพิพาทกับอัตราค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2546 ทุนทรัพย์ที่ยื่นข้อพิพาท จำนวนเงิน 69 ล้านบาท
-------------------------------------------------------------------------------------------------
4. ข้อพิพาทที่อยู่ระหว่างรอกำหนดวันพิจารณาข้อพิพาทชั้นคณะผู้พิจารณา
4.1 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาท เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 เรียกร้องให้ กทพ. ชดใช้ค่าเสียหายจากการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษฯ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ปี 2556 พร้อมดอกเบี้ย ตามสัญญาจำนวนเงิน 2,083.53 ล้านบาท จากการที่ปรับอัตราค่าผ่านทางตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 2 สิงหาคม 2556