คิดว่าถูกหรือแพงครับ
'โอสถสภา' กำหนดช่วงราคาขายหุ้นไอพีโอที่ 22-25 บาท จำนวน 603.75 ล้านหุ้น หวังนำเงิน 13,282.5 - 15,093.75 ล้านบาท ขยายธุรกิจและชำระคืนเงินกู้ เตรียมเปิดนักลงทุนทั่วไปจอง 1-4 ต.ค. และนักลงทุนสถาบัน 8-10 ต.ค.นี้
แบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP กำหนดช่วงราคาเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ( IPO) ที่ 22-25 บาทต่อหุ้น จาการสำรวจความต้องการจองซื้อ ( Bookbuilding) จากนักลงทุนสถาบัน ซึ่งมีค่า P/E 25.97 -29.51 เท่า ขณะที่ P/E ของอุตสาหกรรมเดียวกันอยู่ที่ 31.21 เท่า โดยจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ทั้งนี้หุ้นที่เสนอขายจำนวนไม่เกิน 603.75 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์)หุ้นละ 1 บาท เสนอขายแก่นักลงทุนในประเทศ รวม 392.25 ล้านบาท ประกอบด้วย นักลงทุนสถาบันในประเทศ จำนวน 208.37 ล้านหุ้น ประชาชนทั่วไป จำนวน 146 ล้านหุ้น ผู้มีอุปการคุณของบริษัทจำนวน 18.34 ล้านหุ้น บุคคลทีมีความสัมพันธ์ของบริษัท (กรรมการและผู้บริหาร) จำนวน 3 ล้านหุ้น พนักงานของบริษัทจำนวน 16.53 ล้านหุ้น เสนอขายแก่นักลงทุนต่างประเทศ ผ่านผุ้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศรวม 211.50 ล้านบาท ทั้งนี้ เปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อในวันที่ 1-4 ตุลาคม 2561 และเปิดให้นักลงทุนสถาบัน (รวมถึงผุ้ลงทุนสถาบันที่เป็น Cornerstone Investorsในประเทศไทย และ ผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศและนักลงทุนสถาบันที่เป็นCornerstone Investors ในต่างประเทศ )จองซื้อในวันที่ 8-10 ตุลาคม 2561
สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จำนวน 13,282.5 - 15,093.75 ล้านบาท บริษัทจะนำไป ขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า การปรับปรุงประสิทธิภาพสินค้า และการดำเนินธุรกิจภายในของบริษัทฯ รวม 5,394 ล้านบาท แบ่งเป็น การก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ในเมียนมาร์2,424.0 ล้านบาท สร้างเตาหลอมแก้วใหม่ที่โรงงานผลิตขวดแก้วของบริษัทฯ 1,800 ล้านบาท ก่อสร้างโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทแป้งแห่งใหม่ 167.3 ล้านบาท และ โครงการอื่น ๆ รวมถึง การซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ รายจ่ายฝ่ายทุนในกระบวนการผลิตขวดแก้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับปรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และโรงงานต้นแบบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อทดสอบคุณภาพ 1,002.7 ล้านบาท ส่วนอีก 5,408.4 -5,700 ล้านบาท นำไปชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงิน และที่เหลือประมาณ ประมาณ 1,198.2 ล้านบาทใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
'โอสถสภา'เคาะช่วงราคาขายหุ้นไอพีโอ 22-25 บาทต่อหุ้น
'โอสถสภา' กำหนดช่วงราคาขายหุ้นไอพีโอที่ 22-25 บาท จำนวน 603.75 ล้านหุ้น หวังนำเงิน 13,282.5 - 15,093.75 ล้านบาท ขยายธุรกิจและชำระคืนเงินกู้ เตรียมเปิดนักลงทุนทั่วไปจอง 1-4 ต.ค. และนักลงทุนสถาบัน 8-10 ต.ค.นี้
แบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP กำหนดช่วงราคาเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ( IPO) ที่ 22-25 บาทต่อหุ้น จาการสำรวจความต้องการจองซื้อ ( Bookbuilding) จากนักลงทุนสถาบัน ซึ่งมีค่า P/E 25.97 -29.51 เท่า ขณะที่ P/E ของอุตสาหกรรมเดียวกันอยู่ที่ 31.21 เท่า โดยจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ทั้งนี้หุ้นที่เสนอขายจำนวนไม่เกิน 603.75 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์)หุ้นละ 1 บาท เสนอขายแก่นักลงทุนในประเทศ รวม 392.25 ล้านบาท ประกอบด้วย นักลงทุนสถาบันในประเทศ จำนวน 208.37 ล้านหุ้น ประชาชนทั่วไป จำนวน 146 ล้านหุ้น ผู้มีอุปการคุณของบริษัทจำนวน 18.34 ล้านหุ้น บุคคลทีมีความสัมพันธ์ของบริษัท (กรรมการและผู้บริหาร) จำนวน 3 ล้านหุ้น พนักงานของบริษัทจำนวน 16.53 ล้านหุ้น เสนอขายแก่นักลงทุนต่างประเทศ ผ่านผุ้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศรวม 211.50 ล้านบาท ทั้งนี้ เปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อในวันที่ 1-4 ตุลาคม 2561 และเปิดให้นักลงทุนสถาบัน (รวมถึงผุ้ลงทุนสถาบันที่เป็น Cornerstone Investorsในประเทศไทย และ ผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศและนักลงทุนสถาบันที่เป็นCornerstone Investors ในต่างประเทศ )จองซื้อในวันที่ 8-10 ตุลาคม 2561
สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จำนวน 13,282.5 - 15,093.75 ล้านบาท บริษัทจะนำไป ขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า การปรับปรุงประสิทธิภาพสินค้า และการดำเนินธุรกิจภายในของบริษัทฯ รวม 5,394 ล้านบาท แบ่งเป็น การก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ในเมียนมาร์2,424.0 ล้านบาท สร้างเตาหลอมแก้วใหม่ที่โรงงานผลิตขวดแก้วของบริษัทฯ 1,800 ล้านบาท ก่อสร้างโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทแป้งแห่งใหม่ 167.3 ล้านบาท และ โครงการอื่น ๆ รวมถึง การซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ รายจ่ายฝ่ายทุนในกระบวนการผลิตขวดแก้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับปรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และโรงงานต้นแบบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อทดสอบคุณภาพ 1,002.7 ล้านบาท ส่วนอีก 5,408.4 -5,700 ล้านบาท นำไปชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงิน และที่เหลือประมาณ ประมาณ 1,198.2 ล้านบาทใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน