การโกนหัว ปริศนาละกิเลส
การโกนหัว "เส้นผม" เป็นสัญลักษณ์เปรียบเสมือน "กิเลส ความวุ่นวาย" การที่เราโกนหัวนั้นก็เหมือนกับว่าเราเอาสิ่งที่วุ่นวายหนอออก ไม่ถูกกิเลสตัณหาครอบงำ เพราะเส้นผมอยู่บนหัว เป็นสัญลักษณ์แห่งกิเลสตัณหา
ครั้นที่พระพุทธเจ้าตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ออกผนวชนั้น พอถึงฝั่งริมแม่น้ำเนรัญชรา พระองค์ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระโมลี ผมของพระองค์ แล้วเหลือค้างไว้ ๒ องคุลี แล้วก็ไม่ยาวอีกเลยนั้นเป็นปริศนาธรรม เหมือนกับการตัดกิเลสได้แล้วจะยาวได้อย่างไร?
เส้นผมของเราเปรียบเสมือนกิเลสตัณหา พระพุทธเจ้าควบคุมได้แล้วก็ไม่ยาวแล้ว
กิเลสก็คือ กิเลสเป็นตัวหาสนองความอยาก ความต้องการ
ส่วนตัวตัณหา หมายความว่า เรามีความต้องการอยากกินกาแฟ กิเลสเป็นตัวหาเสาะหากาแฟมากิน
ตัวต้นตอของกิเลสก็คือตัณหา คือตัวอยาก ตัวทำให้คนเกิด ทำให้โลกหมุน ทำให้จักรวาลอยู่ได้
ตัณหานั้นมี ๓ อย่างคือ
๑. กามตัณหา คือ ความพึงพอใจ อยากให้มี อยากให้เป็น ความทะยานอยากในกาม หมายความว่า ความต้องการอยากดี อยากเป็นนั้นเป็นนี่ฯลฯ
๒. ภวตัณหา คือ ความอยากเป็นนั่น เป็นนี่ ความอยากในภพ หมายถึง เราก็ยึดมั่นถือมั่นในภพในชาติต่างๆ
เวลานี้เราเป็นพระเอกแล้วเราอยากเป็นพระเอกต่อใช่ไหม? เวลานี้เราเป็นคนแล้วอยากเป็นคนต่อไหม? ไม่อยากเป็นอย่างอื่น เรามีเงินเราก็ไม่อยากสูญเสียเงินไป เวลานี้เป็นกษัตริย์ก็ไม่อยากหลุดจากความเป็นกษัตริย์ สรุป เรามีสิ่งใดเราก็ไม่อยากหลุดจากสิ่งนั้น เราอยากได้สิ่งใดก็ไม่อยากหลุดจากสิ่งนั้น ตรงนี้ดีแล้วก็ไม่อยากหลุดจากดีตรงนี้ ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง พอเราอยู่ดีแล้วไม่อยากเปลี่ยนนี่แหละ เป็นตัณหาเหมือนกัน
๓. วิภวตัณหา คือ ไม่อยากเป็นนั้นเป็นนี่ มีก็ได้ ไม่อยากมีก็ได้ ใจไม่ปรารถนา
ยกตัวอย่างตัณหาเช่นเกี่ยวกับจมูกของเรา
ตัวที่ ๑ จมูกแบน ไม่เอา จะเอาแหลมๆ โด่งๆ
ตัวที่ ๒ จะเอาจมูกสวยๆ เอาอย่างนี้
ตัวที่ ๓ ยังไงก็ได้ จมูกโด่งก็ได้ ไม่โด่งก็ได้ ปล่อยไปเถอะ ก็เป็นกิเลสตัณหาเหมือนกัน ไม่เป็นไร
๓ สายนี้ขึ้นพร้อมกัน ลงพร้อมกัน เพียงแต่ว่าข้อไหนเป็นประธาน แต่ละข้อมีหมดเลย
เราไปเสาะแสวงหาที่จะไปนิพพาน ใช้วิธีการต่างๆ ก็เป็นกิเลส
เราปรารถนาอยากนิพพาน ก็เป็นตัณหา เราไปเสาะแสวงหาวิธีการต่างที่จะไปนิพพาน นี่ก็เป็นกิเลส
แล้วกิเลสของเราที่มีมันสันโดษ มีความพอดีสมกับเหตุไหม? ถ้าไม่พอดีก็ทุกข์ แม้พระพุทธเจ้าก็เคยทุกข์มาแล้ว ตอนที่บำเพ็ญทุกรกิริยา อดอาหาร ไม่กินข้าว อยากได้นิพพาน ท่านก็ทุกข์มาแล้ว สุดท้ายต้องหันกลับมากินข้าว
เราอยากได้นิพพานแล้ว เรามีตัณหา นี่เป็นกิเลสตัณหาทั้งดีและไม่ดี พอเราจะเข้าไปถึงนิพพาน รูเข็มเล็กแค่ไหน มีกี่รู เรามีปมกี่ปมเราต้องวางข้างนอกหมด ถ้าไม่วางก็เข้าสู่นิพพานไม่ได้
ตัณหานี้วางไว้ข้างนอกแล้ว ไม่เป็นตัณหาโลกิยะ แต่เป็นตัณหาโลกุตตระ เข้าสู่ตัณหาปรมัตถ์แล้ว เป็นตัณหาขาว เป็นกิเลสขาว เป็นตัณหาดำรงแห่งความเป็นพุทธะ
แล้วพระโสดาบันกระแสแห่งพระนิพพานได้อย่างไร ก็ต้องชิมได้ แม้แต่สุนัขก็ยังชิมรสแห่งนิพพานได้แล้ว เช่น พระพุทธเจ้าก็เคยเป็นควายมาก่อน เป็นเต่าก็ยังเคย
ถ้าเราจะชิมรสนิพพานได้อย่างไร เช่นเมื่อเราโดนใครหยิก เราก็เจ็บ เราก็ทุกข์ แล้วเราหายเจ็บทุกข์ ก็ให้เราดำรงปิติแห่งสุขนี้ไว้ แล้วเราก็สอนใจตนเองว่า เราอย่าไปสร้างเหตุที่มันเจ็บทุกข์ เราก็ไม่เจ็บ นี่แหละนิพพาน เพราะเราไม่เอาเอง เพราะมัวแต่ไปคว้าหาที่อื่นเอง
ยกตัวอย่าง เมื่อใครมาหยิกเรา เราก็เจ็บ เขาปล่อยเราก็หายเจ็บ นี่แหละ เมื่อเหตุเปลี่ยน ผลก็ย่อมเปลี่ยน เราก็มีความสุข นี่แหละมันก็เป็นปกติสุขเช่นนี้เอง ก็เป็นตถตา นี่แหละมีตัณหาทั้ง ๓ ตัว แต่ตัณหานี้เกี่ยวเราไม่ได้
ถ้าหากเราปวดฟัน เสียวฟัง พอปวดฟันจนต้องตาหลี่ แล้วเราตบะเราพอหรือยัง ขนาดพระพุทธเจ้ายังต้องฝึก ๕๐๐ ชาติ พระพุทธเจ้าฝึกตั้ง ๕๐๐ ชาติ เราก็ต้องฝึก
เราสุขเราก็ไม่หลงใหลไปกับความสุข พอเราทุกข์ เราทุกข์ตามเราก็ทุกข์มาก ถ้าเราไม่ทุกข์ตามเราก็ทุกข์น้อยลง เป็นการทุกข์แต่พอเหตุ แล้วเราจะทำยังไงไม่ให้ทุกข์ ก็คือ เหตุนี้มันทำให้ทุกข์ เรายอมรับในเหตุไหม? ถ้าเรายอมรับทุกข์ในเหตุนั้น ใจเราย่อมไม่เร่าร้อน ร้อนรน อยากจะเอาแบบยึดมั่นถือมั่น มันก็เป็นเช่นนี้เอง ทีนี้เราไม่อยากให้เจ็บน้อยลงเราก็ต้องมีปัญญาจัดการเดี๋ยวทุกข์ก็น้อยลงเอง ทุกข์อย่างหนีไม่พ้นเป็นเช่นนั้นเอง เป็นตถตา
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
การโกนหัว ปริศนาละกิเลส
การโกนหัว "เส้นผม" เป็นสัญลักษณ์เปรียบเสมือน "กิเลส ความวุ่นวาย" การที่เราโกนหัวนั้นก็เหมือนกับว่าเราเอาสิ่งที่วุ่นวายหนอออก ไม่ถูกกิเลสตัณหาครอบงำ เพราะเส้นผมอยู่บนหัว เป็นสัญลักษณ์แห่งกิเลสตัณหา
ครั้นที่พระพุทธเจ้าตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ออกผนวชนั้น พอถึงฝั่งริมแม่น้ำเนรัญชรา พระองค์ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระโมลี ผมของพระองค์ แล้วเหลือค้างไว้ ๒ องคุลี แล้วก็ไม่ยาวอีกเลยนั้นเป็นปริศนาธรรม เหมือนกับการตัดกิเลสได้แล้วจะยาวได้อย่างไร?
เส้นผมของเราเปรียบเสมือนกิเลสตัณหา พระพุทธเจ้าควบคุมได้แล้วก็ไม่ยาวแล้ว
กิเลสก็คือ กิเลสเป็นตัวหาสนองความอยาก ความต้องการ
ส่วนตัวตัณหา หมายความว่า เรามีความต้องการอยากกินกาแฟ กิเลสเป็นตัวหาเสาะหากาแฟมากิน
ตัวต้นตอของกิเลสก็คือตัณหา คือตัวอยาก ตัวทำให้คนเกิด ทำให้โลกหมุน ทำให้จักรวาลอยู่ได้
ตัณหานั้นมี ๓ อย่างคือ
๑. กามตัณหา คือ ความพึงพอใจ อยากให้มี อยากให้เป็น ความทะยานอยากในกาม หมายความว่า ความต้องการอยากดี อยากเป็นนั้นเป็นนี่ฯลฯ
๒. ภวตัณหา คือ ความอยากเป็นนั่น เป็นนี่ ความอยากในภพ หมายถึง เราก็ยึดมั่นถือมั่นในภพในชาติต่างๆ
เวลานี้เราเป็นพระเอกแล้วเราอยากเป็นพระเอกต่อใช่ไหม? เวลานี้เราเป็นคนแล้วอยากเป็นคนต่อไหม? ไม่อยากเป็นอย่างอื่น เรามีเงินเราก็ไม่อยากสูญเสียเงินไป เวลานี้เป็นกษัตริย์ก็ไม่อยากหลุดจากความเป็นกษัตริย์ สรุป เรามีสิ่งใดเราก็ไม่อยากหลุดจากสิ่งนั้น เราอยากได้สิ่งใดก็ไม่อยากหลุดจากสิ่งนั้น ตรงนี้ดีแล้วก็ไม่อยากหลุดจากดีตรงนี้ ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง พอเราอยู่ดีแล้วไม่อยากเปลี่ยนนี่แหละ เป็นตัณหาเหมือนกัน
๓. วิภวตัณหา คือ ไม่อยากเป็นนั้นเป็นนี่ มีก็ได้ ไม่อยากมีก็ได้ ใจไม่ปรารถนา
ยกตัวอย่างตัณหาเช่นเกี่ยวกับจมูกของเรา
ตัวที่ ๑ จมูกแบน ไม่เอา จะเอาแหลมๆ โด่งๆ
ตัวที่ ๒ จะเอาจมูกสวยๆ เอาอย่างนี้
ตัวที่ ๓ ยังไงก็ได้ จมูกโด่งก็ได้ ไม่โด่งก็ได้ ปล่อยไปเถอะ ก็เป็นกิเลสตัณหาเหมือนกัน ไม่เป็นไร
๓ สายนี้ขึ้นพร้อมกัน ลงพร้อมกัน เพียงแต่ว่าข้อไหนเป็นประธาน แต่ละข้อมีหมดเลย
เราไปเสาะแสวงหาที่จะไปนิพพาน ใช้วิธีการต่างๆ ก็เป็นกิเลส
เราปรารถนาอยากนิพพาน ก็เป็นตัณหา เราไปเสาะแสวงหาวิธีการต่างที่จะไปนิพพาน นี่ก็เป็นกิเลส
แล้วกิเลสของเราที่มีมันสันโดษ มีความพอดีสมกับเหตุไหม? ถ้าไม่พอดีก็ทุกข์ แม้พระพุทธเจ้าก็เคยทุกข์มาแล้ว ตอนที่บำเพ็ญทุกรกิริยา อดอาหาร ไม่กินข้าว อยากได้นิพพาน ท่านก็ทุกข์มาแล้ว สุดท้ายต้องหันกลับมากินข้าว
เราอยากได้นิพพานแล้ว เรามีตัณหา นี่เป็นกิเลสตัณหาทั้งดีและไม่ดี พอเราจะเข้าไปถึงนิพพาน รูเข็มเล็กแค่ไหน มีกี่รู เรามีปมกี่ปมเราต้องวางข้างนอกหมด ถ้าไม่วางก็เข้าสู่นิพพานไม่ได้
ตัณหานี้วางไว้ข้างนอกแล้ว ไม่เป็นตัณหาโลกิยะ แต่เป็นตัณหาโลกุตตระ เข้าสู่ตัณหาปรมัตถ์แล้ว เป็นตัณหาขาว เป็นกิเลสขาว เป็นตัณหาดำรงแห่งความเป็นพุทธะ
แล้วพระโสดาบันกระแสแห่งพระนิพพานได้อย่างไร ก็ต้องชิมได้ แม้แต่สุนัขก็ยังชิมรสแห่งนิพพานได้แล้ว เช่น พระพุทธเจ้าก็เคยเป็นควายมาก่อน เป็นเต่าก็ยังเคย
ถ้าเราจะชิมรสนิพพานได้อย่างไร เช่นเมื่อเราโดนใครหยิก เราก็เจ็บ เราก็ทุกข์ แล้วเราหายเจ็บทุกข์ ก็ให้เราดำรงปิติแห่งสุขนี้ไว้ แล้วเราก็สอนใจตนเองว่า เราอย่าไปสร้างเหตุที่มันเจ็บทุกข์ เราก็ไม่เจ็บ นี่แหละนิพพาน เพราะเราไม่เอาเอง เพราะมัวแต่ไปคว้าหาที่อื่นเอง
ยกตัวอย่าง เมื่อใครมาหยิกเรา เราก็เจ็บ เขาปล่อยเราก็หายเจ็บ นี่แหละ เมื่อเหตุเปลี่ยน ผลก็ย่อมเปลี่ยน เราก็มีความสุข นี่แหละมันก็เป็นปกติสุขเช่นนี้เอง ก็เป็นตถตา นี่แหละมีตัณหาทั้ง ๓ ตัว แต่ตัณหานี้เกี่ยวเราไม่ได้
ถ้าหากเราปวดฟัน เสียวฟัง พอปวดฟันจนต้องตาหลี่ แล้วเราตบะเราพอหรือยัง ขนาดพระพุทธเจ้ายังต้องฝึก ๕๐๐ ชาติ พระพุทธเจ้าฝึกตั้ง ๕๐๐ ชาติ เราก็ต้องฝึก
เราสุขเราก็ไม่หลงใหลไปกับความสุข พอเราทุกข์ เราทุกข์ตามเราก็ทุกข์มาก ถ้าเราไม่ทุกข์ตามเราก็ทุกข์น้อยลง เป็นการทุกข์แต่พอเหตุ แล้วเราจะทำยังไงไม่ให้ทุกข์ ก็คือ เหตุนี้มันทำให้ทุกข์ เรายอมรับในเหตุไหม? ถ้าเรายอมรับทุกข์ในเหตุนั้น ใจเราย่อมไม่เร่าร้อน ร้อนรน อยากจะเอาแบบยึดมั่นถือมั่น มันก็เป็นเช่นนี้เอง ทีนี้เราไม่อยากให้เจ็บน้อยลงเราก็ต้องมีปัญญาจัดการเดี๋ยวทุกข์ก็น้อยลงเอง ทุกข์อย่างหนีไม่พ้นเป็นเช่นนั้นเอง เป็นตถตา
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์