สวัสดีค่ะ เนื่องจากตอนนี้เราได้รับทุนรัฐบาลไต้หวัน และเดินทางไปเรียนต่อที่ไต้หวันเเล้ว เลยอยากจะเเชร์ประสบการณ์การสมัครสอบวัดระดับภาษาจีนของไต้หวัน TOCFL ไว้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับใครที่ต้องการสอบค่ะ เข้าใจหลายๆคนที่กำลังเตรียมตัวสอบเเต่ไม่มีรีวิวการสอบจริงๆจังๆเหมือนการสอบอันอื่นๆ เราเองก็พยายามดิ้นรนด้วยตัวเองมาทุกวิถีทางค่ะ เหน็ดเหนื่อยและท้ออยู่หลายครั้ง กว่าจะสอบผ่านในระดับและในคะเเนนที่สามารถยื่นทุนรัฐบาลไต้หวันได้ เพราะฉะนั้นพอสอบผ่านเลยตั้งใจว่าจะมาแชร์ให้ทุกคนที่ต้องการสอบดูค่ะ เผื่อจะมีประโยชน์บ้าง และแนวทางในการเตรียมสอบต่อไปนี้เป็นเทคนิคที่เราไปใช้แล้วได้ผลกับการสอบจริงค่ะ ซึ่งหากใครมีแนวทางในการเตรียมสอบอื่นๆที่ได้ผลกว่า ก็สามารถแบ่งปันกันได้นะคะ หรือใครคิดว่าแนวทางที่เรามาแบ่งปันในวันนี้ไม่ได้ผลเลย ก็อ่านข้ามไปก็ได้ค่ะ
สำหรับการสอบ TOCFL เราสอบมา 7 ครั้งค่ะ ตลอดทั้งปีเลย เพราะ TOCFL ไม่มีรอบสอบเยอะเหมือนการสอบภาษาอื่นๆ รอบสอบนั้นสามารถติดตามได้ที่ Facebook ศูนย์แนะแนวการศึกษาไต้หวันประจำประเทศไทย
https://www.facebook.com/Taiwan-Education-CenterThailand-337467783021980 เมื่อได้รอบสอบ ลองวางเเผนดูว่ารอบสอบที่ไหนใกล้และสะดวกกับเราที่สุด แต่อย่างที่บอกหลายๆคนไปค่ะ เราสอบหลายครั้งเพราะฉะนั้นคือเรียกว่าตระเวนสอบจนกว่าจะผ่าน คำแนะนำสำหรับหลายๆคนที่ต้องการยื่นทุนรัฐบาลไต้หวันคือสอบไปเถอะ สอบทุกรอบ สอบมันทุกที่ ที่ไหนเปิดก็ไปเถอะค่ะ เพราะถ้าสอบผ่านมาแล้วมันคุ้มค่ามากๆกับหลายๆอย่างที่แลกมา ส่วนสาเหตุที่เราสอบไม่ผ่านคือภาษาจีนที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน กับภาษาจีนที่ใช้ในการสอบไม่เหมือนกันค่ะ (เดี๋ยวเราจะมาทำความรู้จักการสอบนี้อีกทีในหัวข้อถัดไปค่ะ) เพราะฉะนั้นภาษาจีนที่เราใช้ทุกวันไม่สามารถนำไปใช้ในการสอบได้ เราเลยสอบไม่ผ่านสักที รวมถึงเราทำงานมาสักพักนึงแล้วด้วย ทำให้ห่างหายจากการเรียนและอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ ทำให้ไปได้ช้าอยู่พอสมควรค่ะ คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการเตรียมสอบเหมือนกับการสอบภาษาอื่นๆคือเราต้องฝึกทำโจทย์ค่ะ (เดี๋ยวจะมาแนะนำแนวทางการสอบค่ะ) ฝึกฟัง ให้ภาษาจีนเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันเราให้มากที่สุด สร้างสิ่งแวดล้อมให้ได้ใช้ภาษาอยู่เสมอ อ่านให้เยอะ ฟังให้บ่อย และพอถึงห้องสอบเราจะคุ้นเคยกับมันมากขึ้น ไม่ลนลานและมีสติ คือสิ่งที่สำคัญในการสอบค่ะ
รู้จัก TOCFL
TOCFL (The Test of Chinese as a Foreign Language) คือการสอบวัดระดับภาษาจีนของไต้หวัน สำหรับใครที่ต้องการไปเรียนต่อในหลักสูตรภาษาจีน แต่ละมหาวิทยาลัยจะมี requirement อยู่ค่ะว่าต้องการระดับเท่าไหร่ ซึ่งทั่วไปที่เค้าระบุไว้คือ ประมาณ BAND B 1 หรือ 2 (หรือดูรายละเอียดอีกทีที่หลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยค่ะ) ส่วนใครต้องการยื่นทุนรัฐบาลไต้หวันแล้วต้องได้ระดับ BAND B 2 ขึ้นไปเท่านั้นค่ะ จึงจะสามารถขอทุนได้ เพราะฉะนั้นเราต้องการเรียนหลักสูตรภาษาจีนและต้องการยื่นขอทุนรัฐบาลไต้หวันด้วย TOCFL จึงมีความจำเป็นมากค่ะ และมีหลายๆคนถามมาว่าสามารถใช้ HSK แทนได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้นะคะ เดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังค่ะว่า HSK กับ TOCFL มีความแตกต่างกันยังไงจากที่เคยไปสอบมาค่ะ ส่วนการสอบถึงแม้จะเป็นของไต้หวันแต่สามารถเลือกการสอบเป็นตัวย่อได้นะคะ ใครไม่ได้ตัวเต็มไม่ต้องกังวลค่ะ
ตารางด้านบนมาจากเวบไซต์ Official Website ของศูนย์สอบวัดระดับ TOCFL ค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติม
https://www.sc-top.org.tw/chinese/LS/test5.php ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสอบระดับ Band C ไม่สามารถเทียบเท่ากับการสอบของ HSK ค่ะ
จากประสบการณ์สอบมาทั้ง HSK และ TOCFL แล้ว การสอบแตกต่างกันมากนะคะ เช่น ข้อสอบ HSK หมวดการฟังคำตอบจะอยู่ในโจทย์เลย ฟังดีๆจะมีคำตอบอยู่ แต่ TOCFL หมวดการฟังไม่มีคำตอบอยู่ในโจทย์ค่ะ ต้องลองวิเคราะห์อีกทีถึงจะหาคำตอบเจอ ส่วนหมวดการอ่านก็เช่นเดียวกันค่ะ HSK หมวดการอ่าน บทความจะค่อนข้างยาว จะเสียเวลาว่าคำตอบที่โจทย์ถามอยู่ตรงไหนของบทความ แต่ TOCFL หมวดการอ่านไม่มีบทความขนาดยาวให้อ่าน อาจจะเป็นเรื่องราวสั้นๆ รูปภาพจริงในไต้หวัน แต่ต้องวิเคราะห์ ต้องคิดหลายๆขั้น ถึงจะรู้คำตอบค่ะ และอีกอย่างโจทย์จะค่อนข้างอยู่ในชีวิตประจำวันค่ะ ครั้งล่าสุดที่สอบมาเป็นป้ายรถไฟฟ้าในสถานีรถไฟใต้ดิน พอมาที่นี่เลยรู้เลยว่า สาเหตุที่เค้าเลือกโจทย์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตในไต้หวันได้เบื้องต้น อ่านป้ายออก ตีความได้ เอาตัวรอดได้ เพราะฉะนั้นนี่คือสาเหตุที่ไม่สามารถนำผลสอบมาทดแทนกันได้ เพราะรูปแบบในการตั้งคำถามของโจทย์แตกต่างกันมากค่ะ
รายละเอียดการสอบ
การสอบแต่ละระดับจะแบ่งเป็นพาร์ทฟังและพาร์ทอ่านค่ะ เช่น สอบมาได้คะแนนการฟัง 65 คะแนน แต่การอ่านได้แค่ 60 คะแนน ก็ถือว่าได้ระดับ BAND B1 เท่านั้นนะคะ ต้องผ่านเกณฑ์ทั้งสองพาร์ทค่ะ ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างเฉพาะ BAND B นะคะ ถ้าใครต้องการดูเกณฑ์คะแนนระดับอื่นๆสามารถเข้าไปดูที่เวบไซต์ได้เลยค่ะ
https://www.sc-top.org.tw
การเตรียมตัวสอบ
อย่างที่บอกไปตอนแรกค่ะว่าการเตรียมสอบที่ดี จะต้องฝึกทำโจทย์บ่อยๆ และพยายามให้ภาษาจีนเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของเรามากที่สุด ซึ่งการสอบนี้มีตัวอย่างข้อสอบสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ฟรีที่
https://www.sc-top.org.tw/mocktest.php
แต่มีแค่ 3 ชุดเท่านั้นนะคะ แตกต่างกับ HSK มากมีเป็นหลายร้อยชุดค่ะ
อัพเดตเพิ่มเติม (2021) ในเวบมีเพิ่มสามารถลองทำข้อสอบออนไลน์ได้เเล้วนะคะ ลองทำกันดูได้ค่ะ
https://cbt.sc-top.org.tw/sctopj/
การเตรียมสอบพาร์ทฟัง
ต้องบอกทุกคนก่อนค่ะว่านี่เป็นเทคนิคส่วนตัวเท่านั้น ที่มาใช้กับเราและได้ผลค่ะ ถ้าใครมาอ่านถึงตรงนี้แล้วและมีวิธีการในการเตรียมสอบที่ดีกว่า มาแบ่งปันกันได้นะคะ
ขอเริ่มจากการเตรียมสอบพาร์ทฟังก่อนค่ะ ปัญหาของการสอบคือ ถ้าไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ ลนลาน และไม่ทันได้ฟังว่าโจทย์ถามอะไร ซึ่งโจทย์จะถามครั้งเดียวเท่านั้นนะคะ ละพอไม่ทันได้ฟังข้อนั้นก็จะลนลานทำให้กระทบข้อถัดไป ทำให้เสียคะแนนไปหลายข้อ เพราะฉะนั้นคือต้องมีสติก่อนอันดับแรก หากฟังไม่ทันข้อไหน ข้ามไปค่ะ ไปฟังข้ออื่นเลย ดังนั้นเราจึงต้องคุ้นเคยกับภาษาจีนให้มากที่สุดโดยให้ภาษาจีนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเราค่ะ
1. ฟังข่าวไต้หวันจาก youtube
ลองหาใน youtube ได้เลยคำว่า 台灣新聞 จะขึ้น channel มาจำนวนหนึ่งค่ะ ให้เราลองเลือกฟังดู ส่วนมากแต่ละ channel จะคล้ายๆกันแค่บางอันจะมีโฆษณามากหน่อย ขึ้นกับช่วงเวลา ในข่าวนักข่าวพูดภาษาจีนสำเนียงไต้หวัน จะแตกต่างจากที่เรียนของจีนกลางมา และไต้หวันบางครั้งใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกับภาษาจีนกลางด้วย ทำให้เรียนรู้คำศัพท์ไปพร้อมๆกันค่ะ อีกอย่างการฟังข่าวทำให้เรารู้จักบ้านเมือง ความเป็นอยู่ สถานการณ์ปัจจุบัน สภาพอากาศ ปัญหาอาชญากรรม ความสนใจในปัจจุบันของคนบ้านเค้า มากที่สุด หลังจากการฝึกฟังข่าวทุกวันพอได้มาอยู่ที่ไต้หวันเเล้ว ทำให้ฟังสำเนียงเค้าเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ หรือบางคนบอกว่าดูหนัง ฟังเพลงของไต้หวันก็ช่วยได้ ช่วยได้ค่ะ แต่ในหนังในเพลง ศัพท์จะค่อนข้างง่าย เพราะเป็นศัพท์ในชีวิตประจำวันทั่วไป หรือคำศัพท์ความรัก ความสัมพันธ์ ไม่สามารถนำมาช่วยในการสอบได้ทั้งหมดนะคะ แต่สามารถมาช่วยรีแลกซ์ในการเตรียมสอบได้ สลับๆกันไป จะได้ไม่เครียดและกดดันมากเกินไปค่ะ
2. ฟังข่าวไต้หวันจาก application Hinet廣播
หลายคนไม่สะดวกเปิด youtube เพราะค่าอินเทอร์เน็ตแพง และเปลืองแบตโทรศัพท์ และเราเลยสุ่มหามั่วๆไปค่ะเลยเจอแอปนี้ เป็นแอปฟังวิทยุออนไลน์ของไต้หวัน ลองพิม์คำว่า Hinet廣播 เราใช้ ios เลยไม่แน่ใจว่าสำหรับ Android มีมั้ยนะคะ
เข้าไปจะมีคอลังน์ให้เลือกอยู่ค่ะ เราก็เลือกหมวดว่าอยากฟังหมวดไหน ที่แนะนำก็ 新聞 เหมือนเดิม ไม่ได้มีข่าวตลอดด้วยนะคะ บางครั้งมีแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ปรึกษาปัญหาชีวิต แล้วแต่ช่วงเวลาค่ะ ยังไงลองโหลดไปฟังดูได้ค่ะ
วิธีการฟัง
การฟังต้องฟังอย่างมีหลักการและเป้าหมายนะคะ ไม่อย่างงั้นจะไม่ได้ประโยชน์อะไร นอกจากฟังและผ่านเลยไปค่ะ
1. ตั้งเวลาในการฟัง ไม่ว่าจะงานยุ่งหรือเรียนหนักเท่าไหร่ จะต้องมีช่วงเวลาที่ต้องเปิดข่าวฟัง โดยเราตั้งเวลาไว้ค่ะคือ ตอนตื่นนอน อาบน้ำ ช่วงเวลาที่เตรียมตัวไปทำงานจะฟังก่อน และฟังอีกครั้งคือก่อนนอน อาบน้ำก่อนเข้านอน ระยะเวลาตอนเช้าและตอนกลางคืน ครั้งละประมาณ 45 นาทีค่ะ (ไม่รวมระยะเวลาที่ฝึกฟังต่างหากนะคะ) เพราะเราเคยเจองานวิจัยที่บอกว่าใครที่ต้องการเรียนภาษาต่างประเทศได้ดี ต้องฟังภาษานั้นๆก่อนนอน ทำให้สามารถจดจำและเข้าใจภาษานั้นง่ายขึ้น จำที่มาของงานวิจัยไม่ได้แล้วค่ะ แต่เรามาปรับใช้กับตัวเองก็รู้สึกว่าทักษะการฟังดีขึ้นนะคะ
ช่วงแรกที่ได้ฟังบอกเลยค่ะว่า มาทะเลาะอะไรกันให้ดูเนี่ย อารมณ์ประมาณนี้ค่ะ และไม่เข้าใจด้วยเพราะเค้าพูดเร็วมาก พูดความเร็วในอัตราที่เค้าพูดคุยกันปกติที่ไต้หวันนะคะ ไม่เหมือนกับคนไต้หวันบางคนพูดกับเราที่ไทยค่ะ เพราะเค้าปรับอัตราความเร็วในการพูดของเค้าให้ช้าลงเพื่อให้สามารถสื่อสารกับเราได้ค่ะ เพราะฉะนั้นฟังทุกวันค่ะและจะชินไปเอง
2. จับใจความสำคัญเวลาฟัง ฟังแต่ละข่าวเนื้อหาจะไม่ยาวมาก แต่ต้องจับใจความสำคัญคร่าวๆได้ว่าเค้าเล่าเรื่องอะไรให้ฟังอยู่ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ประมาณนี้ค่ะ จากประสบการณ์ที่ฟังข่าวคือ ข่าวดารา ข่าวรายงานสภาพอากาศ ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ฟังง่ายค่ะ แต่พอข่าวการเมือง ข่าวหุ้น จะเริ่มยากละ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นคำศัพท์เฉพาะค่ะ เมื่อฟังแล้วชอบข่าวไหนก็สรุปข่าวแชร์มาหน้าเฟสบุ้คส่วนตัว เล่าให้เพื่อนฟัง หรือจดบันทึกไว้ก็ได้ค่ะ เพื่อเป็นการจับประเด็นจากการฟังอีกชั้นหนึ่ง เพราะบางทีเราฟังแล้วเข้าใจ แต่พอมาเล่าให้คนอื่นฟังหรือเอามาเขียนแล้วไม่เข้าใจก็มีค่ะ ดังนั้นการจดบันทึก การบอกเล่าก็เป็นวิธีการช่วยในการจับประเด็นสำคัญได้และช่วยไม่ให้ลืมด้วยค่ะ
ฝึกทำข้อสอบพาร์ทฟังและพาร์ทอ่าน
1. ลองฝึกทำโจทย์จาก Official Website ของศูนย์สอบ TOCFL
เข้า
https://www.sc-top.org.tw/ Official Website ของศูนย์สอบ TOCFL เลือกคอลัมน์ Mock Test และเลือก Onlline Test
จะขึ้นหน้าตาประมาณนี้ค่ะ ก็เลือกระดับที่เราต้องการสอบได้เลย เสร็จแล้วจะมีคำนวณให้ว่าเราได้คะแนนเท่าไหร่ ซึ่งบอกเลยค่ะว่าถ้าเราจะได้คะแนนตรงนี้ดี ไม่ได้เป็นการการันตีว่าตอนสอบเราจะได้คะแนนดีเหมือกันนะคะ เพราะตอนทำในสถานการณ์จริงจะมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ไม่มีสติ ลนลาน ไม่รู้คำศัพท์ อ่านโจทย์แล้วตีโจทย์ไม่ออก ซึ่งการลองทำออนไลน์จะช่วยให้เรารู้จักรูปแบบการออกข้อสอบของเค้าเท่านั้นค่ะ ว่าแต่ละพาร์ทหน้าตาแบบไหน เพราะฉะนั้นเราต้องกลับไปหาอ่านเพิ่มค่ะ
หรือใครไม่ถนัดทำออนไลน์ จะโหลดมานั่งลองทำก็ได้ค่ะ เลือก Mock Test – Free Download
จะมีหน้าตาข้อสอบให้เลือกทำค่ะ ใครตั้งใจสอบระดับไหนก็เลือกได้เลย มีให้เลือกทั้งแบบตัวเต็มและตัวย่อนะคะ มีทั้งหมด 3 ชุดแบ่งโจทย์เป็นแต่ละภาษาค่ะ มีภาษาไทยด้วยค่ะ
ย้ำอีกครั้งว่าการทำข้อสอบทั้งหมดในนี้เป็นเพียงเพื่อให้รู้จักรูปแบบข้อสอบเท่านั้น ซึ่งเราต้องหาอ่านเพิ่มเติมด้วยค่ะ
เดี๋ยวจะมาแนะนำหนังสือที่ใช้ในพาร์ทอ่านค่ะ เผื่อใครสนใจนะคะ
แชร์ประสบการณ์การเตรียมสอบ TOCFL เพื่อยื่นทุนรัฐบาลไต้หวัน 2018
สำหรับการสอบ TOCFL เราสอบมา 7 ครั้งค่ะ ตลอดทั้งปีเลย เพราะ TOCFL ไม่มีรอบสอบเยอะเหมือนการสอบภาษาอื่นๆ รอบสอบนั้นสามารถติดตามได้ที่ Facebook ศูนย์แนะแนวการศึกษาไต้หวันประจำประเทศไทย https://www.facebook.com/Taiwan-Education-CenterThailand-337467783021980 เมื่อได้รอบสอบ ลองวางเเผนดูว่ารอบสอบที่ไหนใกล้และสะดวกกับเราที่สุด แต่อย่างที่บอกหลายๆคนไปค่ะ เราสอบหลายครั้งเพราะฉะนั้นคือเรียกว่าตระเวนสอบจนกว่าจะผ่าน คำแนะนำสำหรับหลายๆคนที่ต้องการยื่นทุนรัฐบาลไต้หวันคือสอบไปเถอะ สอบทุกรอบ สอบมันทุกที่ ที่ไหนเปิดก็ไปเถอะค่ะ เพราะถ้าสอบผ่านมาแล้วมันคุ้มค่ามากๆกับหลายๆอย่างที่แลกมา ส่วนสาเหตุที่เราสอบไม่ผ่านคือภาษาจีนที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน กับภาษาจีนที่ใช้ในการสอบไม่เหมือนกันค่ะ (เดี๋ยวเราจะมาทำความรู้จักการสอบนี้อีกทีในหัวข้อถัดไปค่ะ) เพราะฉะนั้นภาษาจีนที่เราใช้ทุกวันไม่สามารถนำไปใช้ในการสอบได้ เราเลยสอบไม่ผ่านสักที รวมถึงเราทำงานมาสักพักนึงแล้วด้วย ทำให้ห่างหายจากการเรียนและอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ ทำให้ไปได้ช้าอยู่พอสมควรค่ะ คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการเตรียมสอบเหมือนกับการสอบภาษาอื่นๆคือเราต้องฝึกทำโจทย์ค่ะ (เดี๋ยวจะมาแนะนำแนวทางการสอบค่ะ) ฝึกฟัง ให้ภาษาจีนเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันเราให้มากที่สุด สร้างสิ่งแวดล้อมให้ได้ใช้ภาษาอยู่เสมอ อ่านให้เยอะ ฟังให้บ่อย และพอถึงห้องสอบเราจะคุ้นเคยกับมันมากขึ้น ไม่ลนลานและมีสติ คือสิ่งที่สำคัญในการสอบค่ะ
รู้จัก TOCFL
TOCFL (The Test of Chinese as a Foreign Language) คือการสอบวัดระดับภาษาจีนของไต้หวัน สำหรับใครที่ต้องการไปเรียนต่อในหลักสูตรภาษาจีน แต่ละมหาวิทยาลัยจะมี requirement อยู่ค่ะว่าต้องการระดับเท่าไหร่ ซึ่งทั่วไปที่เค้าระบุไว้คือ ประมาณ BAND B 1 หรือ 2 (หรือดูรายละเอียดอีกทีที่หลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยค่ะ) ส่วนใครต้องการยื่นทุนรัฐบาลไต้หวันแล้วต้องได้ระดับ BAND B 2 ขึ้นไปเท่านั้นค่ะ จึงจะสามารถขอทุนได้ เพราะฉะนั้นเราต้องการเรียนหลักสูตรภาษาจีนและต้องการยื่นขอทุนรัฐบาลไต้หวันด้วย TOCFL จึงมีความจำเป็นมากค่ะ และมีหลายๆคนถามมาว่าสามารถใช้ HSK แทนได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้นะคะ เดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังค่ะว่า HSK กับ TOCFL มีความแตกต่างกันยังไงจากที่เคยไปสอบมาค่ะ ส่วนการสอบถึงแม้จะเป็นของไต้หวันแต่สามารถเลือกการสอบเป็นตัวย่อได้นะคะ ใครไม่ได้ตัวเต็มไม่ต้องกังวลค่ะ
ตารางด้านบนมาจากเวบไซต์ Official Website ของศูนย์สอบวัดระดับ TOCFL ค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.sc-top.org.tw/chinese/LS/test5.php ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสอบระดับ Band C ไม่สามารถเทียบเท่ากับการสอบของ HSK ค่ะ
จากประสบการณ์สอบมาทั้ง HSK และ TOCFL แล้ว การสอบแตกต่างกันมากนะคะ เช่น ข้อสอบ HSK หมวดการฟังคำตอบจะอยู่ในโจทย์เลย ฟังดีๆจะมีคำตอบอยู่ แต่ TOCFL หมวดการฟังไม่มีคำตอบอยู่ในโจทย์ค่ะ ต้องลองวิเคราะห์อีกทีถึงจะหาคำตอบเจอ ส่วนหมวดการอ่านก็เช่นเดียวกันค่ะ HSK หมวดการอ่าน บทความจะค่อนข้างยาว จะเสียเวลาว่าคำตอบที่โจทย์ถามอยู่ตรงไหนของบทความ แต่ TOCFL หมวดการอ่านไม่มีบทความขนาดยาวให้อ่าน อาจจะเป็นเรื่องราวสั้นๆ รูปภาพจริงในไต้หวัน แต่ต้องวิเคราะห์ ต้องคิดหลายๆขั้น ถึงจะรู้คำตอบค่ะ และอีกอย่างโจทย์จะค่อนข้างอยู่ในชีวิตประจำวันค่ะ ครั้งล่าสุดที่สอบมาเป็นป้ายรถไฟฟ้าในสถานีรถไฟใต้ดิน พอมาที่นี่เลยรู้เลยว่า สาเหตุที่เค้าเลือกโจทย์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตในไต้หวันได้เบื้องต้น อ่านป้ายออก ตีความได้ เอาตัวรอดได้ เพราะฉะนั้นนี่คือสาเหตุที่ไม่สามารถนำผลสอบมาทดแทนกันได้ เพราะรูปแบบในการตั้งคำถามของโจทย์แตกต่างกันมากค่ะ
รายละเอียดการสอบ
การสอบแต่ละระดับจะแบ่งเป็นพาร์ทฟังและพาร์ทอ่านค่ะ เช่น สอบมาได้คะแนนการฟัง 65 คะแนน แต่การอ่านได้แค่ 60 คะแนน ก็ถือว่าได้ระดับ BAND B1 เท่านั้นนะคะ ต้องผ่านเกณฑ์ทั้งสองพาร์ทค่ะ ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างเฉพาะ BAND B นะคะ ถ้าใครต้องการดูเกณฑ์คะแนนระดับอื่นๆสามารถเข้าไปดูที่เวบไซต์ได้เลยค่ะ https://www.sc-top.org.tw
การเตรียมตัวสอบ
อย่างที่บอกไปตอนแรกค่ะว่าการเตรียมสอบที่ดี จะต้องฝึกทำโจทย์บ่อยๆ และพยายามให้ภาษาจีนเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของเรามากที่สุด ซึ่งการสอบนี้มีตัวอย่างข้อสอบสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ฟรีที่ https://www.sc-top.org.tw/mocktest.php
แต่มีแค่ 3 ชุดเท่านั้นนะคะ แตกต่างกับ HSK มากมีเป็นหลายร้อยชุดค่ะ
อัพเดตเพิ่มเติม (2021) ในเวบมีเพิ่มสามารถลองทำข้อสอบออนไลน์ได้เเล้วนะคะ ลองทำกันดูได้ค่ะ https://cbt.sc-top.org.tw/sctopj/
การเตรียมสอบพาร์ทฟัง
ต้องบอกทุกคนก่อนค่ะว่านี่เป็นเทคนิคส่วนตัวเท่านั้น ที่มาใช้กับเราและได้ผลค่ะ ถ้าใครมาอ่านถึงตรงนี้แล้วและมีวิธีการในการเตรียมสอบที่ดีกว่า มาแบ่งปันกันได้นะคะ
ขอเริ่มจากการเตรียมสอบพาร์ทฟังก่อนค่ะ ปัญหาของการสอบคือ ถ้าไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ ลนลาน และไม่ทันได้ฟังว่าโจทย์ถามอะไร ซึ่งโจทย์จะถามครั้งเดียวเท่านั้นนะคะ ละพอไม่ทันได้ฟังข้อนั้นก็จะลนลานทำให้กระทบข้อถัดไป ทำให้เสียคะแนนไปหลายข้อ เพราะฉะนั้นคือต้องมีสติก่อนอันดับแรก หากฟังไม่ทันข้อไหน ข้ามไปค่ะ ไปฟังข้ออื่นเลย ดังนั้นเราจึงต้องคุ้นเคยกับภาษาจีนให้มากที่สุดโดยให้ภาษาจีนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเราค่ะ
1. ฟังข่าวไต้หวันจาก youtube
ลองหาใน youtube ได้เลยคำว่า 台灣新聞 จะขึ้น channel มาจำนวนหนึ่งค่ะ ให้เราลองเลือกฟังดู ส่วนมากแต่ละ channel จะคล้ายๆกันแค่บางอันจะมีโฆษณามากหน่อย ขึ้นกับช่วงเวลา ในข่าวนักข่าวพูดภาษาจีนสำเนียงไต้หวัน จะแตกต่างจากที่เรียนของจีนกลางมา และไต้หวันบางครั้งใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกับภาษาจีนกลางด้วย ทำให้เรียนรู้คำศัพท์ไปพร้อมๆกันค่ะ อีกอย่างการฟังข่าวทำให้เรารู้จักบ้านเมือง ความเป็นอยู่ สถานการณ์ปัจจุบัน สภาพอากาศ ปัญหาอาชญากรรม ความสนใจในปัจจุบันของคนบ้านเค้า มากที่สุด หลังจากการฝึกฟังข่าวทุกวันพอได้มาอยู่ที่ไต้หวันเเล้ว ทำให้ฟังสำเนียงเค้าเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ หรือบางคนบอกว่าดูหนัง ฟังเพลงของไต้หวันก็ช่วยได้ ช่วยได้ค่ะ แต่ในหนังในเพลง ศัพท์จะค่อนข้างง่าย เพราะเป็นศัพท์ในชีวิตประจำวันทั่วไป หรือคำศัพท์ความรัก ความสัมพันธ์ ไม่สามารถนำมาช่วยในการสอบได้ทั้งหมดนะคะ แต่สามารถมาช่วยรีแลกซ์ในการเตรียมสอบได้ สลับๆกันไป จะได้ไม่เครียดและกดดันมากเกินไปค่ะ
2. ฟังข่าวไต้หวันจาก application Hinet廣播
หลายคนไม่สะดวกเปิด youtube เพราะค่าอินเทอร์เน็ตแพง และเปลืองแบตโทรศัพท์ และเราเลยสุ่มหามั่วๆไปค่ะเลยเจอแอปนี้ เป็นแอปฟังวิทยุออนไลน์ของไต้หวัน ลองพิม์คำว่า Hinet廣播 เราใช้ ios เลยไม่แน่ใจว่าสำหรับ Android มีมั้ยนะคะ
เข้าไปจะมีคอลังน์ให้เลือกอยู่ค่ะ เราก็เลือกหมวดว่าอยากฟังหมวดไหน ที่แนะนำก็ 新聞 เหมือนเดิม ไม่ได้มีข่าวตลอดด้วยนะคะ บางครั้งมีแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ปรึกษาปัญหาชีวิต แล้วแต่ช่วงเวลาค่ะ ยังไงลองโหลดไปฟังดูได้ค่ะ
วิธีการฟัง
การฟังต้องฟังอย่างมีหลักการและเป้าหมายนะคะ ไม่อย่างงั้นจะไม่ได้ประโยชน์อะไร นอกจากฟังและผ่านเลยไปค่ะ
1. ตั้งเวลาในการฟัง ไม่ว่าจะงานยุ่งหรือเรียนหนักเท่าไหร่ จะต้องมีช่วงเวลาที่ต้องเปิดข่าวฟัง โดยเราตั้งเวลาไว้ค่ะคือ ตอนตื่นนอน อาบน้ำ ช่วงเวลาที่เตรียมตัวไปทำงานจะฟังก่อน และฟังอีกครั้งคือก่อนนอน อาบน้ำก่อนเข้านอน ระยะเวลาตอนเช้าและตอนกลางคืน ครั้งละประมาณ 45 นาทีค่ะ (ไม่รวมระยะเวลาที่ฝึกฟังต่างหากนะคะ) เพราะเราเคยเจองานวิจัยที่บอกว่าใครที่ต้องการเรียนภาษาต่างประเทศได้ดี ต้องฟังภาษานั้นๆก่อนนอน ทำให้สามารถจดจำและเข้าใจภาษานั้นง่ายขึ้น จำที่มาของงานวิจัยไม่ได้แล้วค่ะ แต่เรามาปรับใช้กับตัวเองก็รู้สึกว่าทักษะการฟังดีขึ้นนะคะ
ช่วงแรกที่ได้ฟังบอกเลยค่ะว่า มาทะเลาะอะไรกันให้ดูเนี่ย อารมณ์ประมาณนี้ค่ะ และไม่เข้าใจด้วยเพราะเค้าพูดเร็วมาก พูดความเร็วในอัตราที่เค้าพูดคุยกันปกติที่ไต้หวันนะคะ ไม่เหมือนกับคนไต้หวันบางคนพูดกับเราที่ไทยค่ะ เพราะเค้าปรับอัตราความเร็วในการพูดของเค้าให้ช้าลงเพื่อให้สามารถสื่อสารกับเราได้ค่ะ เพราะฉะนั้นฟังทุกวันค่ะและจะชินไปเอง
2. จับใจความสำคัญเวลาฟัง ฟังแต่ละข่าวเนื้อหาจะไม่ยาวมาก แต่ต้องจับใจความสำคัญคร่าวๆได้ว่าเค้าเล่าเรื่องอะไรให้ฟังอยู่ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ประมาณนี้ค่ะ จากประสบการณ์ที่ฟังข่าวคือ ข่าวดารา ข่าวรายงานสภาพอากาศ ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ฟังง่ายค่ะ แต่พอข่าวการเมือง ข่าวหุ้น จะเริ่มยากละ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นคำศัพท์เฉพาะค่ะ เมื่อฟังแล้วชอบข่าวไหนก็สรุปข่าวแชร์มาหน้าเฟสบุ้คส่วนตัว เล่าให้เพื่อนฟัง หรือจดบันทึกไว้ก็ได้ค่ะ เพื่อเป็นการจับประเด็นจากการฟังอีกชั้นหนึ่ง เพราะบางทีเราฟังแล้วเข้าใจ แต่พอมาเล่าให้คนอื่นฟังหรือเอามาเขียนแล้วไม่เข้าใจก็มีค่ะ ดังนั้นการจดบันทึก การบอกเล่าก็เป็นวิธีการช่วยในการจับประเด็นสำคัญได้และช่วยไม่ให้ลืมด้วยค่ะ
ฝึกทำข้อสอบพาร์ทฟังและพาร์ทอ่าน
1. ลองฝึกทำโจทย์จาก Official Website ของศูนย์สอบ TOCFL
เข้า https://www.sc-top.org.tw/ Official Website ของศูนย์สอบ TOCFL เลือกคอลัมน์ Mock Test และเลือก Onlline Test
จะขึ้นหน้าตาประมาณนี้ค่ะ ก็เลือกระดับที่เราต้องการสอบได้เลย เสร็จแล้วจะมีคำนวณให้ว่าเราได้คะแนนเท่าไหร่ ซึ่งบอกเลยค่ะว่าถ้าเราจะได้คะแนนตรงนี้ดี ไม่ได้เป็นการการันตีว่าตอนสอบเราจะได้คะแนนดีเหมือกันนะคะ เพราะตอนทำในสถานการณ์จริงจะมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ไม่มีสติ ลนลาน ไม่รู้คำศัพท์ อ่านโจทย์แล้วตีโจทย์ไม่ออก ซึ่งการลองทำออนไลน์จะช่วยให้เรารู้จักรูปแบบการออกข้อสอบของเค้าเท่านั้นค่ะ ว่าแต่ละพาร์ทหน้าตาแบบไหน เพราะฉะนั้นเราต้องกลับไปหาอ่านเพิ่มค่ะ
หรือใครไม่ถนัดทำออนไลน์ จะโหลดมานั่งลองทำก็ได้ค่ะ เลือก Mock Test – Free Download
จะมีหน้าตาข้อสอบให้เลือกทำค่ะ ใครตั้งใจสอบระดับไหนก็เลือกได้เลย มีให้เลือกทั้งแบบตัวเต็มและตัวย่อนะคะ มีทั้งหมด 3 ชุดแบ่งโจทย์เป็นแต่ละภาษาค่ะ มีภาษาไทยด้วยค่ะ
ย้ำอีกครั้งว่าการทำข้อสอบทั้งหมดในนี้เป็นเพียงเพื่อให้รู้จักรูปแบบข้อสอบเท่านั้น ซึ่งเราต้องหาอ่านเพิ่มเติมด้วยค่ะ
เดี๋ยวจะมาแนะนำหนังสือที่ใช้ในพาร์ทอ่านค่ะ เผื่อใครสนใจนะคะ