นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาระบบในการทำความเข้าใจความต้องการของสัตว์ทั้งหลายและทำความเข้าใจกับหลักการตัดสินใจของมนุษย์
เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะต้องเจอกับความท้าทายในลักษณะแบบเดียวกันในเรื่องที่เกี่ยวกับความต้องการของสัตว์เลี้ยง โดยการฝึกสอนสุนัขของ Pavlov ก็จะใช้รูปแบบการสั่นกระดิ่งพร้อมกับอาหารที่อยู่ตรงหน้า นักวิจัยหลายคนพยายามที่จะทำความเข้าใจว่า สัตว์ทั้งหลายกับมนุษย์มีปฎิสัมพันธ์ในเรื่องของผลตอบแทนในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไปได้อย่างไร อย่างไรก็ตามในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ผลตอบแทนกับพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจน้อยมากที่จะมีความเชื่อมโยงกัน
“รูปแบบพฤติกรรมต่างๆจะแสดงออกมาจากการได้รับผลตอบแทน ด้วยเหตุนี้พวกเราไม่สามารถที่จะทำการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ต่างๆได้อย่างเป็นอิสระ” กล่าวโดยหัวหน้าวิจัย Shoichiro Yamaguchi” พวกเราเข้าใจดีว่า จะต้องทำการหากรณีศึกษาที่ตรงข้ามกัน และจะต้องทำการวิเคราะห์คุณค่าของผลตอบแทนที่ได้รับได้อย่างแม่นยำจากพฤติกรรมการรับรู้ที่แสดงออกมา”
ทีมวิจัยได้ทำการสังเกตการณ์รับรู้ความรู้สึกของตัวหนอนจากการที่พวกมันได้ทำการค้นหาอาหารที่อยู่ตรงหน้าในอุณหภูมิที่แตกต่างกันออกไป พร้อมกับประยุกต์ทำความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของมันว่า การให้อาหารเป็นรางวัลตอบแทนทำให้พวกมันมีปฎิกิริยาในการเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน
ตัวหนอนในช่วงแรกจะมีแรงกระตุ้นต่อการรับรู้อุณหภูมิ จากนั้นก็สังเกตได้ว่า พวกมันเคลื่อนไหวบริเวณโซนอุณหภูมิเมื่อมีการย้ายจานอาหารในบริเวณโซนอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยเทียบกับอุณหภูมิของตัวหนอนที่มีการอดอาหาร และจากนั้นมันก็เคลื่อนที่ไปยังโซนอุณหภูมิอีกที่นึง
ทีมวิจัยได้เผยว่า การให้อาหารตัวหนอนไม่เพียงแค่จะเข้าใจได้ถึงอุณหภูมิในแต่ละสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงตลอดจากการที่พวกมันได้เคลื่อนไหวบริเวณอีกโซนนึง ตัวหนอนมีกลยุทธ์ในการแสดงพฤติกรรมที่จะเข้าถึงอาหารโดยใช้พลังงานของมันให้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการตัดสินใจด้วยหลักเหตุผลของมนุษย์
ที่น่าสนใจก็คือ ตัวหนอนที่อดอาหารจะมีการเคลื่อนไหวไปตามอุณหภูมิในแต่ละสภาพแวดล้อมไปจนถึงหลีกเลี่ยงโซนอุณหภูมิที่พวกมันคิดว่าไม่มีทางหาอาหารเจอได้แน่
“พวกเราจะต้องทำการวิเคราะห์ซ้ำเกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวหนอนและจะต้องทำความเข้าใจกลไกพฤติกรรมของมันให้ลึกซึ้งมากขึ้น” Honda Naoki นักวิทยาศาสตร์อาวุโสได้อธิบายเพิ่มเติม “การวิจัยของพวกเราจะทำการประเมินทางประสาทวิทยาในส่วนของพฤติกรรมของสัตว์ที่แสดงออกมาอย่างอิสระเพื่อที่จะช่วยให้พวกเราเข้าใจถึงการตัดสินใจของสัตว์ชนิดต่างๆได้มากขึ้นและเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ขึ้นมา”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
สัตว์ทั้งหลายมีความต้องการอะไร?
นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาระบบในการทำความเข้าใจความต้องการของสัตว์ทั้งหลายและทำความเข้าใจกับหลักการตัดสินใจของมนุษย์
เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะต้องเจอกับความท้าทายในลักษณะแบบเดียวกันในเรื่องที่เกี่ยวกับความต้องการของสัตว์เลี้ยง โดยการฝึกสอนสุนัขของ Pavlov ก็จะใช้รูปแบบการสั่นกระดิ่งพร้อมกับอาหารที่อยู่ตรงหน้า นักวิจัยหลายคนพยายามที่จะทำความเข้าใจว่า สัตว์ทั้งหลายกับมนุษย์มีปฎิสัมพันธ์ในเรื่องของผลตอบแทนในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไปได้อย่างไร อย่างไรก็ตามในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ผลตอบแทนกับพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจน้อยมากที่จะมีความเชื่อมโยงกัน
“รูปแบบพฤติกรรมต่างๆจะแสดงออกมาจากการได้รับผลตอบแทน ด้วยเหตุนี้พวกเราไม่สามารถที่จะทำการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ต่างๆได้อย่างเป็นอิสระ” กล่าวโดยหัวหน้าวิจัย Shoichiro Yamaguchi” พวกเราเข้าใจดีว่า จะต้องทำการหากรณีศึกษาที่ตรงข้ามกัน และจะต้องทำการวิเคราะห์คุณค่าของผลตอบแทนที่ได้รับได้อย่างแม่นยำจากพฤติกรรมการรับรู้ที่แสดงออกมา”
ทีมวิจัยได้ทำการสังเกตการณ์รับรู้ความรู้สึกของตัวหนอนจากการที่พวกมันได้ทำการค้นหาอาหารที่อยู่ตรงหน้าในอุณหภูมิที่แตกต่างกันออกไป พร้อมกับประยุกต์ทำความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของมันว่า การให้อาหารเป็นรางวัลตอบแทนทำให้พวกมันมีปฎิกิริยาในการเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน
ตัวหนอนในช่วงแรกจะมีแรงกระตุ้นต่อการรับรู้อุณหภูมิ จากนั้นก็สังเกตได้ว่า พวกมันเคลื่อนไหวบริเวณโซนอุณหภูมิเมื่อมีการย้ายจานอาหารในบริเวณโซนอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยเทียบกับอุณหภูมิของตัวหนอนที่มีการอดอาหาร และจากนั้นมันก็เคลื่อนที่ไปยังโซนอุณหภูมิอีกที่นึง
ทีมวิจัยได้เผยว่า การให้อาหารตัวหนอนไม่เพียงแค่จะเข้าใจได้ถึงอุณหภูมิในแต่ละสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงตลอดจากการที่พวกมันได้เคลื่อนไหวบริเวณอีกโซนนึง ตัวหนอนมีกลยุทธ์ในการแสดงพฤติกรรมที่จะเข้าถึงอาหารโดยใช้พลังงานของมันให้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการตัดสินใจด้วยหลักเหตุผลของมนุษย์
ที่น่าสนใจก็คือ ตัวหนอนที่อดอาหารจะมีการเคลื่อนไหวไปตามอุณหภูมิในแต่ละสภาพแวดล้อมไปจนถึงหลีกเลี่ยงโซนอุณหภูมิที่พวกมันคิดว่าไม่มีทางหาอาหารเจอได้แน่
“พวกเราจะต้องทำการวิเคราะห์ซ้ำเกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวหนอนและจะต้องทำความเข้าใจกลไกพฤติกรรมของมันให้ลึกซึ้งมากขึ้น” Honda Naoki นักวิทยาศาสตร์อาวุโสได้อธิบายเพิ่มเติม “การวิจัยของพวกเราจะทำการประเมินทางประสาทวิทยาในส่วนของพฤติกรรมของสัตว์ที่แสดงออกมาอย่างอิสระเพื่อที่จะช่วยให้พวกเราเข้าใจถึงการตัดสินใจของสัตว์ชนิดต่างๆได้มากขึ้นและเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ขึ้นมา”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com