เชื่อมั้ย..ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน (ER) คือผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน!!
ประเทศไทยมีผู้ใช้บริการ ER ถึง 35 ล้านครั้งต่อปี การที่มีผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินอยู่เกินครึ่ง ส่งผลให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จนอาจทำให้พิการ หรือบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิต
และการมีผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินจำนวนมาก ยังส่งผลให้ ER แออัด หมอและพยาบาลต้องทำงานเกินกำลัง จึงเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังคนไข้ทุกคน
โดยเฉพาะคิวการรักษา!
เพราะว่านี่คือ #ห้องฉุกเฉิน (ER) ลำดับการรักษาในห้องนี้จึงไม่เรียงตามลำดับก่อนหลัง! หรือพูดง่ายๆ คือ มาก่อนอาจต้องรอนาน และต้องรักษาทีหลัง?? จนกลายเป็นดราม่าในโลกโซเชียล บ่อยครั้ง
เพราะหมอมีความจำเป็นต้องให้การรักษากับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่มา ER เป็นอันดับแรก
“คุณเคยไป ER ตอนกลางคืนด้วยสาเหตุเหล่านี้ไหม?” หนีรถติด ขี้เกียจลางานตอนกลางวัน ขอใบรับรองแพทย์ ไม่อยากรอคิวนาน รวมทั้งปวดหัวเป็นไข้ และเล็บขบ ฯลฯ
ที่คนไข้ส่วนใหญ่ทำแบบนี้ อาจเป็นเพราะคิดว่า ER เปิดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนไข้
ขอยืนยันว่านี่คือ ความเข้าใจผิด ที่เราทุกคนสามารถช่วยกันเปลี่ยนแปลงได้
ยังมีดราม่าใน ER อีกเรื่องหนึ่ง คือ หมอเวรไม่รีบรักษา มัวแต่อยู่หน้าจอเล่นเฟสบุ๊คหรือเล่นเกมส์?
นั่นเพราะคนไข้ยังไม่ทราบว่า ปัจจุบันประเทศไทยแก้ปัญหาการขาดแคลนหมอเฉพาะทางฉุกเฉินในพื้นที่โรงพยาบาลอยู่ห่างไกล ด้วยการใช้ระบบให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกล (Emergency Telemedicine)
เป็นระบบการสื่อสารระหว่างหมอเวรเฉพาะทางฉุกเฉินของโรงพยาบาลระดับสูง (รุ่นพี่) กับหมอเวรห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล (รุ่นน้อง) ผ่านหน้าจอ ที่ช่วยให้คนไข้ฉุกเฉินเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที อย่างเท่าเทียมกัน ลดอัตราตายและพิการ ..ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกลในผืนแผ่นดินไทย ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตก็ใกล้หมอผู้เชี่ยวชาญได้เหมือนกัน
อยากให้ผู้ป่วยที่ไป ER ทุกคนพึงตระหนักว่า ในบางครั้งที่เราต้องเสียเวลารอตรวจรักษา หมอเวรห้องฉุกเฉินอาจกำลังช่วยยื้อชีวิตของผู้ป่วยอีกคนอยู่ก็ได้
ดังนั้น..ทุกนาทีที่คุณต้องรอ จึงเป็นการให้โอกาสหมอได้ต่อลมหายใจคนอื่น
“ ไม่ป่วยฉุกเฉิน ไม่ใช้ห้องฉุกเฉิน ช่วยต่อชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ”
https://www.facebook.com/thaimedcouncil/photos/a.1532175813713985/2104653913132836/?type=3
[แพทยสภา] เชื่อมั้ย..ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน (ER) คือผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน!!
เชื่อมั้ย..ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน (ER) คือผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน!!
ประเทศไทยมีผู้ใช้บริการ ER ถึง 35 ล้านครั้งต่อปี การที่มีผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินอยู่เกินครึ่ง ส่งผลให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จนอาจทำให้พิการ หรือบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิต
และการมีผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินจำนวนมาก ยังส่งผลให้ ER แออัด หมอและพยาบาลต้องทำงานเกินกำลัง จึงเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังคนไข้ทุกคน
โดยเฉพาะคิวการรักษา!
เพราะว่านี่คือ #ห้องฉุกเฉิน (ER) ลำดับการรักษาในห้องนี้จึงไม่เรียงตามลำดับก่อนหลัง! หรือพูดง่ายๆ คือ มาก่อนอาจต้องรอนาน และต้องรักษาทีหลัง?? จนกลายเป็นดราม่าในโลกโซเชียล บ่อยครั้ง
เพราะหมอมีความจำเป็นต้องให้การรักษากับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่มา ER เป็นอันดับแรก
“คุณเคยไป ER ตอนกลางคืนด้วยสาเหตุเหล่านี้ไหม?” หนีรถติด ขี้เกียจลางานตอนกลางวัน ขอใบรับรองแพทย์ ไม่อยากรอคิวนาน รวมทั้งปวดหัวเป็นไข้ และเล็บขบ ฯลฯ
ที่คนไข้ส่วนใหญ่ทำแบบนี้ อาจเป็นเพราะคิดว่า ER เปิดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนไข้
ขอยืนยันว่านี่คือ ความเข้าใจผิด ที่เราทุกคนสามารถช่วยกันเปลี่ยนแปลงได้
ยังมีดราม่าใน ER อีกเรื่องหนึ่ง คือ หมอเวรไม่รีบรักษา มัวแต่อยู่หน้าจอเล่นเฟสบุ๊คหรือเล่นเกมส์?
นั่นเพราะคนไข้ยังไม่ทราบว่า ปัจจุบันประเทศไทยแก้ปัญหาการขาดแคลนหมอเฉพาะทางฉุกเฉินในพื้นที่โรงพยาบาลอยู่ห่างไกล ด้วยการใช้ระบบให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางไกล (Emergency Telemedicine)
เป็นระบบการสื่อสารระหว่างหมอเวรเฉพาะทางฉุกเฉินของโรงพยาบาลระดับสูง (รุ่นพี่) กับหมอเวรห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล (รุ่นน้อง) ผ่านหน้าจอ ที่ช่วยให้คนไข้ฉุกเฉินเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที อย่างเท่าเทียมกัน ลดอัตราตายและพิการ ..ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกลในผืนแผ่นดินไทย ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตก็ใกล้หมอผู้เชี่ยวชาญได้เหมือนกัน
อยากให้ผู้ป่วยที่ไป ER ทุกคนพึงตระหนักว่า ในบางครั้งที่เราต้องเสียเวลารอตรวจรักษา หมอเวรห้องฉุกเฉินอาจกำลังช่วยยื้อชีวิตของผู้ป่วยอีกคนอยู่ก็ได้
ดังนั้น..ทุกนาทีที่คุณต้องรอ จึงเป็นการให้โอกาสหมอได้ต่อลมหายใจคนอื่น
“ ไม่ป่วยฉุกเฉิน ไม่ใช้ห้องฉุกเฉิน ช่วยต่อชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ”
https://www.facebook.com/thaimedcouncil/photos/a.1532175813713985/2104653913132836/?type=3