คนไข้แพ้ยาอาการหนักสามารถเรียกร้องอะไรจาก รพ ได้ไมครับ

คนไข้มีอาการไอเจ็บคอ  ไปหาวันเสาร์หมอที่ รพ เอกชลแห่งหนึ่งหมอแจ้งว่าเป็นไซนัสอักเสบ หมอสั่งยาให้ยามาทานและแนะนำให้ล้างจมูก หลังคนไข้กินยาที่หมอสั่งครบอาทิตย์อาการไม่ดีขึ้น ก็ไปพบหมอครบอาทิตย์(ตรงกับวันเสาร์)พอดี หมอเพิ่มยาให้กลับบ้านมาทานต่อ อาการแย่ลงวันอาทิตย์ 5 ทุ่มต้องไปแอดมิดที่ รพ ตรงกับวันที่ 11-11-2024 และรักษาอาการที่เพิ่มคือเจ็บตา และฝื่นแดงๆ เริ่มขึ้นที่หน้าและคอ หมอเฝ้าดูอาการเกิน 24 ชม จนคนไข้อาการหนักขึ้นจนต้องส่งไอซียู หมอรับเคสแจ้งเจ้าเหลือดไปเพาะเชื้อวันที่ 12-11-2024 รอผลว่าเป็นไข้ชิคุนกุนยา ซึ่งผลเหลือดจะออกวันที่ 14-11-2024 และผลเหลือดโรคหัดเยอรมันจะออกวันที่ 16-11-2024 สรุปคือคนไข้แพ้ยา นอนพักฟื้นไอซียู 1 อาทิตย์ อาการหนัก ฝื่นขึ้นหน้า คอ และหลัง อาการเจ็บปากริมฝีปากแห้งมีเหลือดไหลตามรอยแผลที่ปาก และดวงตาไม่สามารถมองเห็น เพราะแผลที่รอบๆ ดวงตาและแผลที่เปลือกตา เหมือนคนโดนสาดนํ้ากรดใส้หน้า อาการค่อนข้างหนักแต่ได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่ประสานงานที่วอร์ดพยาบาลว่า อาการคนไข้แพ้ยา รพ ไม่มีส่วนรับผิดชอบ อยากสอบถามผู้ที่มีความรู้เรื่องนี้ คนไข้กินยาตามหมอสั่ง และคนไข้แพ้ยาที่หมอสั่งให้ จนเกิดอาการตาจะบอด และแทบจะเสียโฉมที่ใบหน้า แต่เจ้าหน้าที่บอกไม่ใช่ส่วนรับผิดชอบของ รพ ทั้งที่คนใข้ก็มาใช้บริการที่ รพ นี้ และยังเคยแอดมิดที่ รพ นี้ด้วยซึ่งทางทาง รพ มีประวัติคนไข้เป็นอย่างดี อยากสอบถามผู้ที่มีความรู้ด้านนี้ครับ
ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 3
เห็นด้วยกับ คห ๑ และ ๒ ครับ
ส่วนเรื่องการเรียกร้อง .. น่าจะเริ่มด้วยการปรึกษาพูดคุยกับทางโรงพยาบาล ส่วนหลังจากนั้นก็ค่อยคิดหาทางกันต่อไป
ขอให้ผู้ป่วยแคล้วคลาดปลอดภัย หายเร็ว ๆ นะครับ

ปล. ผมเคยแสดงความเห็นเรื่องคล้ายกันนี้ ขอยกมาประกอบ ถ้าสนใจ ก็แวะไปอ่านต่อได้นะครับ

แพ้ยา ผลข้างเคียงของยา ???  แถม.. แพ้ยา ใครผิด ???    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-06-2008&group=28&gblog=1

มาต่อประเด็นเรื่อง " แพ้ยา ใครผิด " ???

ก็อย่างที่หลายความเห็นได้บอกไป ผมก็ขอรวบรวม เป็นเบื้องต้น ว่า ถ้ามี " แพ้ยา " เกิดขึ้น ใครบ้าง ที่ .. " อาจ " .. ผิด

๑ ผู้ป่วย (ญาติ) เป็นความผิดของ ตนเอง เช่น เคยแพ้ยา แต่จำชื่อยาไม่ได้ ไม่ได้กลับไปถามคนขายยา(ยาชุด) เภสัชกร แพทย์ หรือ ลืมบอกว่าเคยแพ้

๒ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ( แพทย์ เภสัช พยาบาล ) รับไปเต็ม ๆ เช่น
- มีบันทึกการแพ้ยา (มีประวัติอยู่) หรือ ผุ้ป่วย-ญาติ ได้แจ้งชื่อยาที่แพ้แล้ว แต่ก็ยังให้ยาที่แพ้ หรือ ยาในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
- เกิดอาการแพ้ยาขึ้นแล้ว แต่ ไม่ได้ให้การดูแลรักษาตามสมควร

๓ ผู้ป่วยและแพทย์ แบ่งกันไป เช่น ผู้ป่วยไม่เคยมีประวัติมาก่อนพอเริ่มมีอาการแพ้ ก็ไม่ได้กลับหาแพทย์ รักษาตนเอง หรือ ไปพบแพทย์ท่านใหม่ แต่ก็ไม่ได้บอกว่า กินยาอะไรอยู่ แพทย์ท่านใหม่ ก็ไม่ได้นึกถึงทั้ง ๆ ที่ อาการเหมือนแพ้ยา

๔ ไม่มีใครผิด เช่น ผู้ป่วยไม่เคยมีประวัติมาก่อน พอได้รับยา ก็เริ่มมีอาการแพ้ กลับไปพบแพทย์ หรือ ไป รพ. แพทย์ก็ให้การรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องเหมาะสม แต่ มีอาการแพ้รุนแรง อาการก็เป็นมากถึงแม้ได้รับการรักษาเต็มที่แล้วก็ยังไม่ดีหรือเสียชีวิต

ปัญหา ตอนนี้ ก็คือ เวลาเกิดเรื่องอะไรสักอย่าง... ก็จะพยายามหาว่า " ใครผิด "

ทั้ง ๆ ที่บางที ก็ไม่ได้เป็นความผิดของใคร หรือ อาจเป็นความผิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คนละเล็กละน้อยที่เผอิญมาผสมกันอย่างเหมาะเจาะ ในเวลาที่เหมาะสม ...

อาจเปรียบเทียบง่าย ๆ ก็คง คล้ายกับ " อุบัติเหตุ " ... บางครั้งก็มีคนผิดเต็ม ๆ บางครั้งก็ต่างฝ่ายต่างผิด บางครั้งก็เกิดเนื่องจาก สภาพแวดล้อม ถนน ดินฟ้าอากาศ ผสมเข้าไปด้วย ...

เรื่องบางเรื่อง เราได้รู้ข้อมูล เพียงส่วนเดียว เท่านั้น ก็อย่าพึ่งไปฟันธง ... เหมือนที่ วงเฉลียง ร้องไว้ " อื่น ๆ อีกมากมาย มากมาย มากมายยยยยย ... อาจจะจริงเราเห็นอยู่ ... เผื่อใจไว้ที่ยังไม่เห็น "

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่