ในยุคแห่งการบุกเบิกโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และการสื่อสาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการกำเนิดการไปรษณีย์ในสยาม นับถึงปีนี้ประเทศไทยมี “ไปรษณีย์” มานาน 135 ปีแล้ว
สัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่คนจะนึกถึงเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อนึกถึงไปรษณีย์ก็คือ ตู้ไปรษณีย์สีแดง ซึ่งอยู่คู่กับการไปรษณีย์ในเมืองไทยมาตั้งแต่แรกเริ่ม ผ่านเวลามานาน 135 ปี ไปรษณีย์ไทยมีตู้ไปรษณีย์ หรือ “ตู้แดง” ออกมาแล้ว 10 รุ่น ใครเกิดทันรุ่นไหนก็คงคุ้นตารุ่นนั้น ส่วนรุ่นไหนเกิดไม่ทันก็คงไม่คุ้น
ในวาระ 135 ปีนี้เป็นโอกาสดีที่เราได้เห็นไปรษณีย์ไทยนำภาพและความเป็นมาตู้ไปรษณีย์สีแดงแต่ละรุ่นออกมาเผยแพร่ให้ชมและเป็นข้อมูลความรู้
นี่คือตู้ไปรษณีย์รุ่นต่าง ๆ พร้อมข้อมูลความเป็นมาที่หาดูหาชมได้ไม่ง่ายนัก
ปี 2426 ตู้ทิ้งหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดของไทย กรมไปรษณีย์สยามได้รับมอบเป็นของขวัญจากประเทศเยอรมนี ในโอกาสที่เปิดบริการไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม ลักษณะตู้เป็นทรงสี่เหลี่ยมและเป็นโลหะหล่อทั้งชิ้นในสไตล์วิกตอเรียน
ปี 2428 ตู้ไปรษณีย์แบบแขวน กรมไปรษณีย์ได้ผลิตตู้ไปรษณีย์ขึ้นใช้เอง เป็นแบบที่ทำด้วยไม้และโลหะแผ่น
ปี 2454 ตู้เหล็กทรงกลม หล่อด้วยโลหะทั้งตู้ สั่งเข้ามาใช้งานในช่วงต้นรัชกาลที่ 6 มี 2 รุ่น คือ รุ่นที่สั่งทำมาจากประเทศอังกฤษ และรุ่นที่สั่งทำมาจากประเทศสิงคโปร์
ปี 2469 ตู้ไปรษณีย์สมัยรัชกาลที่ 7 ผลิตขึ้นใช้เองในประเทศ หล่อด้วยซีเมนต์หนาประมาณ 20 เซนติเมตร
ปี 2477 ตู้ไปรษณีย์สมัยรัชกาลที่ 8 ตู้หล่อซีเมนต์โดยใช้รูปทรงและขนาดเดียวกับตู้ในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่แตกต่างกันเล็กน้อยตรงบริเวณส่วนบนของตู้ และตราครุฑที่ปีกจะกางเหยียดตรง
ปี 2496 ตู้ไปรษณีย์สมัยรัชกาลที่ 9 ตู้หล่อซีเมนต์ทรงกรงนก มีขนาดเล็กและเสาสูง ใช้ในพื้นที่ที่มีปริมาณงานน้อยในส่วนภูมิภาค สร้างขึ้นเพื่อใช้งานในสมัยต้นรัชกาลที่ 9
ปี 2514 ตู้ไปรษณีย์แบบ ข. ตู้ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง ทำด้วยโลหะแผ่น ลักษณะเดียวกับตู้ไปรษณีย์แบบ ก. แต่ต่างกันที่มีช่องใส่ไปรษณียภัณฑ์เพียงช่องเดียว ใช้งานในพื้นที่ที่มีจำนวนไปรษณียภัณฑ์น้อย โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค
ปี 2516 ตู้ไปรษณีย์แบบ ก. ตู้ทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ทำด้วยโลหะแผ่นขึ้นรูปฐานเป็นซีเมนต์หนา มีช่องใส่ไปรษณียภัณฑ์ 2 ช่องสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล กับปลายทางในภูมิภาคหรือต่างประเทศ ติดตั้งตามชุมชนที่มีปริมาณงานมาก
ปี 2520 ตู้ไปรษณีย์แบบ ค. ตู้โลหะขนาดเล็ก มีเสาสูง ส่วนบนของตู้จะมีลักษณะโค้งมน ตั้งบนฐานซีเมนต์หล่ออย่างหนา ใช้งานในพื้นที่ที่มีจำนวนไปรษณียภัณฑ์น้อยในภูมิภาค
ปี 2546-ปัจจุบัน ตู้ไปรษณีย์แบบ ก. ทรงเหมือนกันกับตู้แบบ ก. ที่เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 แตกต่างกันที่รายละเอียด ข้อความและตราสัญลักษณ์
นอกจากนี้ ในปัจจุบันไปรษณีย์ไทยได้ปรับตัวให้ทันโลกยุคดิจิทัลด้วยการพัฒนาตู้ไปรษณีย์อัจฉริยะ “พี่ตู้…รู้ทุกเรื่อง” ให้บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร แหล่งของฝาก ผลิตภัณฑ์ในชุมชน และที่ทำการไปรษณีย์ในแต่ละพื้นที่ เพียงสแกนคิวอาร์โค้ดที่แปะอยู่ที่ตู้ เป็นการยกระดับให้ตู้ไปรษณีย์เป็นศูนย์ข้อมูล และกระตุ้นเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง แถมยังมีพอร์ตชาร์จโทรศัพท์ให้บริการด้วย ถูกใจมนุษย์ออนไลน์สุด ๆ
ส่วนตู้ไปรษณีย์สีแดงแบบเดิมยังใช้ส่งจดหมายและโปสต์การ์ดได้เหมือนเคย
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
https://www.prachachat.net/d-life/news-207441
ย้อนไทม์ไลน์ ตู้แดง 10 รุ่น คู่ประวัติศาสตร์ 135 ปี ไปรษณีย์ไทย
ในยุคแห่งการบุกเบิกโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และการสื่อสาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการกำเนิดการไปรษณีย์ในสยาม นับถึงปีนี้ประเทศไทยมี “ไปรษณีย์” มานาน 135 ปีแล้ว
สัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่คนจะนึกถึงเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อนึกถึงไปรษณีย์ก็คือ ตู้ไปรษณีย์สีแดง ซึ่งอยู่คู่กับการไปรษณีย์ในเมืองไทยมาตั้งแต่แรกเริ่ม ผ่านเวลามานาน 135 ปี ไปรษณีย์ไทยมีตู้ไปรษณีย์ หรือ “ตู้แดง” ออกมาแล้ว 10 รุ่น ใครเกิดทันรุ่นไหนก็คงคุ้นตารุ่นนั้น ส่วนรุ่นไหนเกิดไม่ทันก็คงไม่คุ้น
ในวาระ 135 ปีนี้เป็นโอกาสดีที่เราได้เห็นไปรษณีย์ไทยนำภาพและความเป็นมาตู้ไปรษณีย์สีแดงแต่ละรุ่นออกมาเผยแพร่ให้ชมและเป็นข้อมูลความรู้
นี่คือตู้ไปรษณีย์รุ่นต่าง ๆ พร้อมข้อมูลความเป็นมาที่หาดูหาชมได้ไม่ง่ายนัก
ปี 2426 ตู้ทิ้งหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดของไทย กรมไปรษณีย์สยามได้รับมอบเป็นของขวัญจากประเทศเยอรมนี ในโอกาสที่เปิดบริการไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม ลักษณะตู้เป็นทรงสี่เหลี่ยมและเป็นโลหะหล่อทั้งชิ้นในสไตล์วิกตอเรียน
ปี 2428 ตู้ไปรษณีย์แบบแขวน กรมไปรษณีย์ได้ผลิตตู้ไปรษณีย์ขึ้นใช้เอง เป็นแบบที่ทำด้วยไม้และโลหะแผ่น
ปี 2454 ตู้เหล็กทรงกลม หล่อด้วยโลหะทั้งตู้ สั่งเข้ามาใช้งานในช่วงต้นรัชกาลที่ 6 มี 2 รุ่น คือ รุ่นที่สั่งทำมาจากประเทศอังกฤษ และรุ่นที่สั่งทำมาจากประเทศสิงคโปร์
ปี 2469 ตู้ไปรษณีย์สมัยรัชกาลที่ 7 ผลิตขึ้นใช้เองในประเทศ หล่อด้วยซีเมนต์หนาประมาณ 20 เซนติเมตร
ปี 2477 ตู้ไปรษณีย์สมัยรัชกาลที่ 8 ตู้หล่อซีเมนต์โดยใช้รูปทรงและขนาดเดียวกับตู้ในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่แตกต่างกันเล็กน้อยตรงบริเวณส่วนบนของตู้ และตราครุฑที่ปีกจะกางเหยียดตรง
ปี 2496 ตู้ไปรษณีย์สมัยรัชกาลที่ 9 ตู้หล่อซีเมนต์ทรงกรงนก มีขนาดเล็กและเสาสูง ใช้ในพื้นที่ที่มีปริมาณงานน้อยในส่วนภูมิภาค สร้างขึ้นเพื่อใช้งานในสมัยต้นรัชกาลที่ 9
ปี 2514 ตู้ไปรษณีย์แบบ ข. ตู้ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง ทำด้วยโลหะแผ่น ลักษณะเดียวกับตู้ไปรษณีย์แบบ ก. แต่ต่างกันที่มีช่องใส่ไปรษณียภัณฑ์เพียงช่องเดียว ใช้งานในพื้นที่ที่มีจำนวนไปรษณียภัณฑ์น้อย โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค
ปี 2516 ตู้ไปรษณีย์แบบ ก. ตู้ทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ทำด้วยโลหะแผ่นขึ้นรูปฐานเป็นซีเมนต์หนา มีช่องใส่ไปรษณียภัณฑ์ 2 ช่องสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล กับปลายทางในภูมิภาคหรือต่างประเทศ ติดตั้งตามชุมชนที่มีปริมาณงานมาก
ปี 2520 ตู้ไปรษณีย์แบบ ค. ตู้โลหะขนาดเล็ก มีเสาสูง ส่วนบนของตู้จะมีลักษณะโค้งมน ตั้งบนฐานซีเมนต์หล่ออย่างหนา ใช้งานในพื้นที่ที่มีจำนวนไปรษณียภัณฑ์น้อยในภูมิภาค
ปี 2546-ปัจจุบัน ตู้ไปรษณีย์แบบ ก. ทรงเหมือนกันกับตู้แบบ ก. ที่เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 แตกต่างกันที่รายละเอียด ข้อความและตราสัญลักษณ์
นอกจากนี้ ในปัจจุบันไปรษณีย์ไทยได้ปรับตัวให้ทันโลกยุคดิจิทัลด้วยการพัฒนาตู้ไปรษณีย์อัจฉริยะ “พี่ตู้…รู้ทุกเรื่อง” ให้บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร แหล่งของฝาก ผลิตภัณฑ์ในชุมชน และที่ทำการไปรษณีย์ในแต่ละพื้นที่ เพียงสแกนคิวอาร์โค้ดที่แปะอยู่ที่ตู้ เป็นการยกระดับให้ตู้ไปรษณีย์เป็นศูนย์ข้อมูล และกระตุ้นเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง แถมยังมีพอร์ตชาร์จโทรศัพท์ให้บริการด้วย ถูกใจมนุษย์ออนไลน์สุด ๆ
ส่วนตู้ไปรษณีย์สีแดงแบบเดิมยังใช้ส่งจดหมายและโปสต์การ์ดได้เหมือนเคย
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
https://www.prachachat.net/d-life/news-207441