สังขาร ๔ อย่าง
ความหมายของคำว่า "สังขาร" นั้น มีความหมายหลายนัย เมื่อสรุปรวมแล้วจะมี ๔ อย่างดังนี้
๑. สังขตสังขาร (formation consisting of the formed) คือ สิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาเป็นรูปร่าง หรือเป็นความคิด ทั้งนามและรูป และปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมแล้ว
๒. อภิสังขตสังขาร (formation consisting of the karma-formed) คือ ปรุงแต่งเกิดขึ้นมาจากวิบากกรรม ข้อนี้เป็นกรรมวิบากที่ปรุงแต่งขึ้นมา ยกตัวอย่าง กรรมวิบากมีขาด้วน กรรมก็จะปรุงแต่งให้คนนั้นเป็นคนขาด้วน ขึ้นกับวิบากกรรม
๓. อภิสังขารณกสังขาร (formation consisting in the act of karma-forming) คือ อันนี้เป็นพลัง เป็นนามธรรมได้ อันนี้เป็นเพียงมโน อยู่ในความคิดอยู่แต่ยังไม่ได้กระทำ ยังไม่ได้แสดงออกมา แต่ก็มีผลกรรมเช่นเดียวกัน แต่ข้อที่ ๒ กระทำให้เห็นชัดๆ เรียบร้อยแล้ว
ข้อที่ ๒ นี้เป็นรูปธรรมให้เห็นชัดๆ แต่ข้อที่ ๓ ไม่เป็นรูปธรรม แต่มีสิ่งทำให้เป็นเพราะว่ามีเหตุ เช่น อาหารนี้มันบูดเน่าเรามองไม่เห็น แต่ข้างในมีเชื้อโรค จึงทำให้เกิดการบูดเน่า แต่ข้อที่ ๒ มีเนื้อหมู ๑ ชิ้น เอามีดสับออกเป็น ๒ ก้อน ให้เห็นชัดๆ
ยกตัวอย่าง วันนี้จะไปนอนบ้านยาย อันนี้เป็นสังขารข้อที่ ๒ จะไปหรือไม่ไปไม่รู้ล่ะ เพียงแต่ได้คิดแล้ว แต่ถ้าหากว่าเป็นสังขารข้อที่ ๑ ได้เดินทางไปนอนบ้านยายหรือไปนอนมาแล้ว
๔. ปโยคาภิสังขาร (formation consisting in exertion or impetus) คือ ปรุงแต่งเพิ่มเติมขึ้นไปทั้งด้านรูปหรือทางด้านนาม หรือทางด้านความคิด ยกตัวอย่าง เราจะหยิบหนังสือ ๑ เล่ม แต่เราไปหยิบหนังสือ ๓ เล่ม เป็นต้น อันนี้จะเติมความพยายามเข้าไป ถ้าเราไม่มีความพยายามเราก็ยกขึ้นมาไม่ได้
หรือมาการลดทอน บั่นทอนลงไปก็เช่นเดียวกัน ก็เป็นการปรุงแต่ง เช่น ยกหยิบหนังสือ ๑๐ เล่ม แต่ไปหยิบหนังสือขึ้นมาแค่ ๒ เล่ม เป็นต้น
ฉะนั้น จะเพิ่มเติมหรือจะลดทอนลง ก็ถือว่าเป็นการปรุงแต่ง
ทำไมเราต้องมาเรียนรู้เกี่ยวกับสังขาร ก็เพราะว่า ต้องการอธิบายให้ละเอียดมากขึ้น เช่น เราทำได้อย่างเดียว แต่เรายังไม่รู้เลยว่ายังมีสังขารเสริมอีกตั้ง ๓ อย่าง ทำให้กรรมหนักเบามีความต่างกัน
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
สังขาร ๔ อย่าง
ความหมายของคำว่า "สังขาร" นั้น มีความหมายหลายนัย เมื่อสรุปรวมแล้วจะมี ๔ อย่างดังนี้
๑. สังขตสังขาร (formation consisting of the formed) คือ สิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาเป็นรูปร่าง หรือเป็นความคิด ทั้งนามและรูป และปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมแล้ว
๒. อภิสังขตสังขาร (formation consisting of the karma-formed) คือ ปรุงแต่งเกิดขึ้นมาจากวิบากกรรม ข้อนี้เป็นกรรมวิบากที่ปรุงแต่งขึ้นมา ยกตัวอย่าง กรรมวิบากมีขาด้วน กรรมก็จะปรุงแต่งให้คนนั้นเป็นคนขาด้วน ขึ้นกับวิบากกรรม
๓. อภิสังขารณกสังขาร (formation consisting in the act of karma-forming) คือ อันนี้เป็นพลัง เป็นนามธรรมได้ อันนี้เป็นเพียงมโน อยู่ในความคิดอยู่แต่ยังไม่ได้กระทำ ยังไม่ได้แสดงออกมา แต่ก็มีผลกรรมเช่นเดียวกัน แต่ข้อที่ ๒ กระทำให้เห็นชัดๆ เรียบร้อยแล้ว
ข้อที่ ๒ นี้เป็นรูปธรรมให้เห็นชัดๆ แต่ข้อที่ ๓ ไม่เป็นรูปธรรม แต่มีสิ่งทำให้เป็นเพราะว่ามีเหตุ เช่น อาหารนี้มันบูดเน่าเรามองไม่เห็น แต่ข้างในมีเชื้อโรค จึงทำให้เกิดการบูดเน่า แต่ข้อที่ ๒ มีเนื้อหมู ๑ ชิ้น เอามีดสับออกเป็น ๒ ก้อน ให้เห็นชัดๆ
ยกตัวอย่าง วันนี้จะไปนอนบ้านยาย อันนี้เป็นสังขารข้อที่ ๒ จะไปหรือไม่ไปไม่รู้ล่ะ เพียงแต่ได้คิดแล้ว แต่ถ้าหากว่าเป็นสังขารข้อที่ ๑ ได้เดินทางไปนอนบ้านยายหรือไปนอนมาแล้ว
๔. ปโยคาภิสังขาร (formation consisting in exertion or impetus) คือ ปรุงแต่งเพิ่มเติมขึ้นไปทั้งด้านรูปหรือทางด้านนาม หรือทางด้านความคิด ยกตัวอย่าง เราจะหยิบหนังสือ ๑ เล่ม แต่เราไปหยิบหนังสือ ๓ เล่ม เป็นต้น อันนี้จะเติมความพยายามเข้าไป ถ้าเราไม่มีความพยายามเราก็ยกขึ้นมาไม่ได้
หรือมาการลดทอน บั่นทอนลงไปก็เช่นเดียวกัน ก็เป็นการปรุงแต่ง เช่น ยกหยิบหนังสือ ๑๐ เล่ม แต่ไปหยิบหนังสือขึ้นมาแค่ ๒ เล่ม เป็นต้น
ฉะนั้น จะเพิ่มเติมหรือจะลดทอนลง ก็ถือว่าเป็นการปรุงแต่ง
ทำไมเราต้องมาเรียนรู้เกี่ยวกับสังขาร ก็เพราะว่า ต้องการอธิบายให้ละเอียดมากขึ้น เช่น เราทำได้อย่างเดียว แต่เรายังไม่รู้เลยว่ายังมีสังขารเสริมอีกตั้ง ๓ อย่าง ทำให้กรรมหนักเบามีความต่างกัน
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์