ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารฝ่าย IT ของธนาคารฯ อยู่ตรงไหน กับระบบธนาคารที่ล่ม ยุค 4.0 หรือ 0.4



ธุรกรรมทางการเงินนั้น ในปัจจุบันนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งของชีวิตของผู้คนในยุคสมัยนี้ บวกกับภาครัฐบาลให้ความสำคัญและสนับสนุน "สังคมไร้เงินสด" จึงทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆในประเทศใทยตอบสนองจึงพัฒนาระบบต่างๆขึ้นมารองรับนโยบาย

ประชาชน หรือผู้บริโภคอย่างเราๆก็ได้ผลประโยชน์จากนโยบายฯ ดังกล่าว เช่น ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนต่างๆ จึงส่งผลให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ใช้บริการ online กันเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ในปัจจุบัน

และแล้วสิ่งที่ตามมาคือ ปัญหาเรื่องของข้อมูลจำนวนมาก จากการใช้งานผู้บริโภค จึงทำให้ระบบมีปัญหา ตัวอย่างดังภาพประกอบ คือระบบธนาคารล่ม

ปัญหา ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างเราเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่การทำธุรกรรม แง่ความเชื่อมั่น รวมถึงระบบเศรษฐกิจ

1. ผลกระทบต่อ "การทำธุรกรรม" ผู้บริโภคอย่างเรา ไม่สามารถ เบิกถอนเงิน เพื่อ ชำระค่าสินค้า และบริการ ทั้งในเรื่องของการจ่ายค่าวัตถุในการซื้อสินค้า เพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป และนำสินค้าสำเร็จรูปจำหน่าย ลูกค้า ไม่สามารถชำระค่าสินค้าให้ผู้ผลิตได้ อาจส่งผลกระทบเรื่องของระยะเวลาการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า ผู้ผลิตก็อาจจะโดนลูกค้าปรับอีก เนื่องจากส่งมอบสินค้าไม่ทัน

2. ผลกระทบต่อ "ความเชื่อมั่น" ผู้บริโภคอย่างเรา จะเชื่อมั่นระบบของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดได้อย่างไร ว่า การทำธุรกรรมทั้งหมดจะมีความปลอดภัย และน่าเชื่อถือ เนื่องจากแค่เรื่องการจัดการบริหารระบบของธนาคารเองยังมีปัญหา ทั้งๆที่ผู้บริหารระดับสูงก็ทราบอยู่แล้วว่า ถ้าปริมาณการใช้เยอะๆ จะส่งผลอะไรบ้างกับระบบ แต่ก็ยังคงนิ่งเฉย หรือปล่อยปะละเลยกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น

ผลกระทบ 2 เรื่องหลักๆ ก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่มากๆ สำหรับ ธนาคารพาณิชย์ของประเทศ

ดังนั้น ผู้บริหารฝ่ายIT ทั้งหลาย ช่วยพิจารณาด้วยนะครับ ว่า สมควรที่จะมานั่งบริหารในตำแหน่งนี้ไหม ถ้ายังมีระบบการเงินที่ผิดพลาด ทั้งๆที่ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะธุรกรรมทางด้านการเงินสำคัญมาก คุณยังปล่อยปะละเลยให้ปัญหาเกิดขึ้น ทั้งๆที่รู้ว่า ปัญหาต้องเกิด แต่ถ้าคุณตอบว่าไม่ทราบว่าจะเกิด คุณอย่าดำรงค์ตำแหน่งผู้บริหารฝ่าย IT เลยนะครับ คิดว่า ความสามารถในการคิดคุณยังไม่มีความสามารถพอ

ปล2. โอนจาก scb ไป kbank ณ เวลา ประมาณ 13.00 น ของวันที่ 01/09/61 ก็ยังเกิดขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่