Marshalsea คุกลูกหนี้

1.


ย้อนกลับไปในยุคสมัยวิคตอเรีย Victorian Times
การเป็นหนี้สินและไม่สามารถจ่ายเงินชำระหนี้ได้
เป็นอาชญากรรมขั้นที่ร้ายแรงมาก
จนมีคุกสำหรับจำคุกลูกหนี้เป็นกรณีพิเศษทั่วทั้งประเทศอังกฤษ
ไว้จำคุกอาชญากรทางการเงิน
คิดเป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของคุกทั้งหมดในสหราชอาณาจักร

2.

3.




ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา
จนถึงการปฏิรูปที่นำพระราชบัญญัติลูกหนี้ ปี 1869 มาบังคับใช้
ลูกหนี้อาจถูกจับกุมติดคุกได้ด้วยข้อหาการเป็นหนี้ไม่น้อยกว่า 40 ชิลลิ่ง(2 ปอนด์) (ประมาณ 278 ปอนด์ในปี 2014)
ดังนั้น จึงแทบจะไม่น่าแปลกใจเลยที่มีลูกหนี้ประมาณ 10,000 คน
ถูกจับกุมคุมขังในแต่ละปีสำหรับหนี้จำนวนนี้
ซึ่งในยุคนั้น การล้มละลายจะมีได้เฉพาะระหว่างพ่อค้ากับพ่อค้าเท่านั้น
ดังนั้นจึงมักจะมีแต่  ชนชั้นแรงงานที่ยากจนที่จะต้องถูกคุมขังในคุก


การถูกจำคุกไม่ใช่เป็นการขอลงโทษตนเองแต่อย่างใด
แต่จะต้องผ่านการตัดสินให้ติดคุกโดยผู้พิพากษา
และอาจจะมีตั้งแต่โทษบังคับให้ใช้หนี้
จนถึงการจับกุมคุมขังผู้ต้องหาให้มาติดคุกลูกหนี้
โดยมีการยึดข้าวของอุปกรณ์ข้าวของต่าง ๆ เช่น หุ้น เอกสารสิทธิ์
หรือการถูกใส่ขื่อคอและมือ/จำโซ่ตรวน
ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายกายสบายใจอย่างมาก
พอ ๆ กับการสร้างความอัปยศอดสูให้กับลูกหนี้


คุกลูกหนี้จึงเป็นสถานที่ที่จะกักขังผู้คนไว้จนกว่าเจ้าหนี้จะพอใจ
เช่น เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จนเป็นที่พอใจ
หรือชะตากรรมของลูกหนี้ขึ้นกับคำตัดสินของผู้พิพากษาจะตัดสินตามอำเภอใจ


คุกเหล่านี้ได้ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำหน้าที่เหมือนโรงเตี๊ยมที่ฉกฉวยหากินอย่างหิวกระหายแบบเสือหิวเสือโหย
และบ่อยครั้งที่ผู้คุมดูแลนักโทษอย่างทารุณโหดร้ายแบบพวกโรคจิตซาดิสต์
สภาพความเป็นอยู่ที่น่ากลัวและการควบคุมนักโทษที่โหดร้ายกลายเป็นเรื่องปกติ
นักโทษถูกบังคับให้ต้องจ่ายค่าห้องและค่าอาหาร
และแม้แต่งานประจำของผู้คุม เช่น การเปิดกุญแจห้องขัง และการถอดโซ่ตรวนออก
คุกเลยกลายเป็นที่กรรโชกทรัพย์ที่สมบูรณ์แบบ


ที่คุกลูกหนี้ Marshalsea ในกรุงลอนดอน
มีบาร์(ร้านขายเหล้า) ร้านค้าและร้านอาหารสำหรับนักโทษ
นักโทษที่ได้รับสิทธิ์พิเศษเฉพาะคนที่สามารถจ่ายเงินได้
ส่วนนักโทษรายอื่น ๆ จะถูกอัดแน่นเข้าไปในห้องขังเล็ก ๆ
คนยากจนที่ไม่สามารถจ่ายเงินค่าอาหาร
ต้องเผชิญกับความอดอยากหิวโหย  เว้นเสียแต่ว่าจะมีคนบริจาคให้
แต่ข้าวของที่มีคนบริจาคให้มักจะถูกดอย(ยักยอก)โดยพวกผู้คุม
ทั้งนี้ตามรายงานของคณะกรรมาธิการรัฐสภาในปี 1729
ผู้ต้องขังจำนวน 300 คนตายเพราะความหิวโหยภายในระยะเวลา 3 เดือน

4.




Marshalsea เป็นคุกลูกหนี้ที่ชาวอังกฤษรู้จักกันมากที่สุด
ถึงเรื่องราวที่เลวร้ายและความน่าอับอายจากงานเขียนของ Charles Dickens
เพราะพ่อของท่านติดคุกที่นั่นในปี 1824
เพราะไม่มีเงินจ่ายให้กับคนขายขนมปัง
เรื่องนี้จึงมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อ Charles Dickens ตลอดชีวิต
ทำให้ท่านกลายเป็นผู้สนับสนุนอย่างเข้มแข็งให้ปฏิรูปคุกลูกหนี้
และใช้ปากกาที่แหลมคมในงานเขียนบรรยายสภาพเลวร้าย
เพื่อให้มีการปฏิรูปคุกของลูกหนี้  ให้มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น


Charles Dickens ได้เขียนเกี่ยวกับคุกลูกหนี้ Marshalsea
และคุกอื่น ๆ อีกหลายแห่งในนวนิยายหลายเล่มเช่น
Pickwick Papers David Copperfield และส่วนใหญ่ใน Little Dorrit
ซึ่งพ่อของตัวเอกในเรื่องถูกจับตัวไปติดคุกลูกหนี้ Marshalsea
เพราะมีหนี้สินที่สลับซับซ้อนมากจนไม่มีใครสามารถเข้าใจได้
และทำให้เขาไม่อาจจะหลุดพ้นจากหนี้และออกจากคุกลูกหนี้ได้
ปัญหาเรื่องหนี้สินและความอยุติธรรมทางสังคม
จึงเป็นรูปแบบและเรื่องราวจริงที่เคยเกิดขึ้นกับ Charles Dickens ในผลงานของท่าน

5.




การติดคุกในแต่ละครั้ง
จึงกลายเป็นเรื่องยากมากสำหรับลูกหนี้ที่กลายเป็นนักโทษ
ที่จะหลุดพ้นจากค่าธรรมเนียมคุกที่ค้างชำระและจะสะสมไปเรื่อย ๆ
นอกเหนือจากค่าอาหารและค่าเช่าแล้ว
นักโทษมักจะถูกปรับด้วยค่าปรับต่าง ๆ ที่ผู้คุมตั้งกฏเกณฑ์กำหนดไว้
เช่น การส่งสียงดังเกินไป การชกต่อยกัน การสบถ/สาปแช่ง การสูบบุหรี่ การลักขโมย
การทำให้บันไดเป็นรอยเปื้อนสกปรก และอื่น ๆ อีกมากมาย
ถึงแม้ว่านักโทษจะสามารถชำระหนี้เดิมให้เจ้าหนี้ทั้งหมดได้
แต่นักโทษก็ยังไม่สามารถออกจากคุกไปได้
ถ้ายังมีเงินคงค้างในคุกที่จะต้องจ่ายเพิ่มเติมอีก เช่น
ค่าอาหาร ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม ค่าปรับต่าง ๆ ที่คงค้าง
ให้กับผู้คุมคุกลูกหนี้ให้หมด/พอใจเสียก่อน  จึงจะถูกปล่อยตัวให้เป็นอิสระ


ในตอนที่คุก Fleet Prison ถูกปิดในปี 1842
พบว่ามีนักโทษ 2 รายยังอยู่ในคุกลูกหนี้ถึง 30 ปีแล้ว  เพราะมีหนี้ที่ติดค้างผู้คุมคุกลูกหนี้

6.




ดังนั้น  นักโทษจึงมักจะพาครอบครัวไปอยู่ด้วยกับพวกเขาในคุก
โดยต้องทำใจยอมรับว่าเป็นบ้านใหม่หลังที่ 2 ของพวกตน
ทั้งนี้น่าจะดีกว่าให้ครอบครัวของตนเป็นคนเร่ร่อน/คนไร้ที่อยู่/คนจรจัดที่ผิดกฎหมายในยุคนั้น
เมื่อตอนที่พ่อของ Charles Dicken ถูกจำคุกที่คุกลูกหนี้ Marshalsea
ท่านได้พาภรรยาและ  Charles Dicken ลูกชายคนเล็กไปอยู่ด้วยกันที่นั่น
ในตอนที่ Charles Dicken มีอายุได้ 12 ขวบ
และภายในคุกก็ห้อมล้อมเต็มไปด้วยเพื่อนของครอบครัวท่านที่ติดคุกเหมือนกัน


เรื่องแบบนี้ทำให้เกิดมีการตั้งชุมชนขึ้นภายในคุกของลูกหนี้
ลูกหนี้และคนในครอบครัวลูกหนี้มักจะแต่งงานกันเองภายในคุกลูกหนี้
และผลของการแต่งงานทำให้เกิดเด็กและสร้างครอบครัวใหม่ขึ้นมาภายในคุก
ในที่สุดคำว่า Fleet marriage หมายถึงการแต่งงานลับที่เกิดขึ้นนอกโบสถ์


ตามหลักศาสนาคริสต์การแต่งงาน
จะต้องยืนยันสิทธิหน้าที่ต่อหน้าบาทหลวงเท่านั้น
ถ้าไม่ทำตามแบบพิธีกรรมศาสนาคริสต์
จะถือว่าบุตรที่เกิดมาเป็นลูกนอกสมรสผิดทั้งศีลธรรมและกฎหมายในยุคนั้น
ทำให้ชาติยุโรปจึงต้องแยกศาสนาออกจากการเมืองการปกครองในยุคหลัง
เพราะการทำตามแบบพิธีกรรมศาสนาคริสต์
เป็นการจำกัดสิทธิและหน้าที่พลเมืองที่พึงมีต่อรัฐและทำลายสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งวิทยาการ/วิทยาศาสตร์มีการเผยแพร่ในหนังสือต่าง ๆ มากขึ้น
จนทำลายรากเง่าอวิชาต่าง ๆ และอำนาจศาสนาจักรลงอย่างสิ้นเชิง


นักโทษมักจะได้รับอนุญาตให้ออกไปหางานทำข้างนอกได้
เพื่อหาเงินมาชำระค่าใช้จ่ายภายในจากการถูกจำคุกลูกหนี้


ในปี ค.ศ. 1729  นักโทษจำคุกระยะยาวคนหนึ่ง
ได้เปิดร้านกาแฟอยู่ภายในคุกลูกหนี้ Marshalsea
ในขณะที่นักโทษอีกคนหนึ่งเปิดร้านขายสเต็ก
นอกจากนี้ยังมีช่างตัดเสื้อและร้านตัดผม
และบางส่วนภายในของห้องพักกลายเป็นซ่องโสเภณี


คุกลูกหนี้ Marshalsea ที่น่าสยดสยองถูกปิดลง
โดยพระราชบัญญัติของรัฐสภาในปี 1842
อาคารส่วนใหญ่ของคุกถูกทุบทำลาย/รื้อถอน
แม้ว่าจะยังคงเหลืออาคารบางส่วนที่ถูกใช้งาน
เป็นร้านค้าและห้องพักจนถึงศตวรรษที่ 20
ทุกวันนี้ ยังมีห้องสมุดท้องถิ่นตั้งอยู่ภายในเขตคุกลูกหนี้
ส่วนที่ยังเหลืออยู่ของคุกลูกหนี้ Marshalsea
คือ แนวกำแพงอิฐยาวซึ่งเป็นร่องรอยสำคัญทางเขตด้านใต้


หมายเหตุ


แนวคิดหลักของ มิเชล  ฟูโกต์  Michel Foucault
คุก ทหาร ศาล ตำรวจ โรงพยาบาลบ้า โรงเรียน
คือ เครื่องมือในการปกครองและกดขี่ประชาชน

7.




เรียบเรียง/ที่มา


http://bit.ly/2wqqDVe
http://bit.ly/2obho7A



8.

Photo credit: IanVisits/Flickr

9.

ส่วนหนึ่งของกำแพงภายนอกคุกลูกหนี้ Marshalsea  Photo credit: Philip Talmage/Flickr

10.

ส่วนหนึ่งของกำแพงภายนอกคุกลูกหนี้ Marshalsea  Photo credit: IanVisits/Flickr

11.

ประตูทางทิศใต้ทางด้านทิศเหนือของคุกลูกหนี้ Marshalsea ที่สร้างครั้งแรกในปี 1773
อาคารที่มีเสาและลานภายในคุก  ประตูทางเข้าคุกลูกหนี้ที่มีชื่อเสียโด่งดัง
นักโทษจะถูกกักขังอยู่ติดกับท่อระบายน้ำภายในคุก ซึ่งอยู่ไกลที่สุดทางด้านขวามือ

12.

ลานภายในคุกในตอนก่อสร้างครั้งแรก  คุกลูกหนี้ในปี 1800

13.

ทางเดินภายในคุกลูกหนี้ Marshalsea Court ในปี  1800 ส่วนหนึ่งของคุก

14.

ภาพวาด Charles Dickens ถูกบังคับให้ทำงานในโรงงาน ตอนที่พ่อติดคุกลูกหนี้ Marshalsea

15.

ภาพปกต้นฉบับ  Little Dorrit ของ Charles Dickens ที่แสดงถึง Amy กำลังออกจากคุกลูกหนี้  Marshalsea

16.

ลานภายในคุกในปี 1897 อาคารบางส่วนเป็นห้องพักและร้านค้า

17.

ลานภายในคุกรุ่นที่ 2  คุกลูกหนี้ Marshalsea ในปี 2007
เรียกชื่อว่า Angel Place  อยู่ที่ด้านซ้ายมือของห้องสมุดสาธารณะ

18.


19.


แผนผังคุกลูกหนี้ Marshalsea สร้างเพิ่มเติมครั้งที่สองในปี 1842 ตอนที่ถูกปิดทำการ

20.

ขื่อคาและโซ่ตรวนที่ลงโทษนักโทษ ตามรายงานคณะกรรมาธิการ Gaols Committee ในปี 1729



เรื่องเดิม


Presidio Modelo คุกที่ทันสมัยที่สุด





10 เรือนจำที่แปลกประหลาด






หมายเหตุ



ที่มา  https://bit.ly/2wslDzp


Statista รายงานปีนี้ 2018/2561ว่า

คนคุกไทยมีมากเป็นอันดับ 6 ของโลก = 349,804 ราย

ถ้ามีคุกคนใช้หนี้ไม่ได้ คงจะเพิ่มเป็นสิบ ๆ ล้านคน

เฉพาะตัวเลขในปี 2017/2560

คนไทย 68% เป็นหนี้

คงจะต้องล้อมรั้วหลายจังหวัดจึงจะพอขังนักโทษ

ถ้าสมมุติว่าเมืองไทยมีกฎหมายจำคุกลูกหนี้ที่ไม่มีเงินจ่ายหนี้


ที่มา  https://bit.ly/2MWceu2


Credit : นายแพทย์วัลลภ พรเรืองวงศ์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่