เรื่องราวของเรือนจำที่น่าสนใจในอดีต



 The Chicken Poop Prison

 
ขี้ไก่มีกลิ่นแอมโมเนียที่รุนแรงทำให้หายใจไม่ออกซึ่งยากที่จะยืนเฉยๆได้ กลิ่นนี้ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆในมนุษย์ตั้งแต่อาเจียน ปวดศีรษะและระคายเคืองไปจนถึงความเครียดและภาวะซึมเศร้า แอมโมเนียเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำปฏิกิริยากับน้ำเพื่อผลิตแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนซึ่งทำให้แสบจมูก คอและทางเดินหายใจ การสัมผัสและการสูดดมสารที่ปล่อยออกมาจากขี้ไก่เป็นเวลานานเป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์และสัตว์อื่น
 
ในปี 2013 ความเป็นพิษของขี้ไก่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ที่เมืองในบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา  ในความพยายามที่จะขับไล่คนจรจัดออกจากถนนของเมือง Abbotsford โดยคนงานในเมืองบรรทุกทิ้งขี้ไก่มาทิ้ง และมันกระจายไปทั่วพื้นที่คนไร้บ้านเคยตั้งแคมป์ บรรณาธิการของ Abbotsford Today
ได้เขียนบทความที่น่ารังเกียจซึ่งพูดพาดพิงถึงนายกเทศมนตรีโดยอธิบายถึงการกระทำที่ "ชั่วร้าย" ของเขาว่าเป็นการกระทำของสงครามเคมีกับคนเร่ร่อน ต่อมาเจ้าหน้าที่ของเมืองได้ออกมาขอโทษสำหรับการกระทำของพวกเขาและสัญญาว่าจะทำความสะอาดพื้นที่นั้น
 
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ใช้ขี้ไก่เป็นอาวุธต่อสู้กับมนุษย์ ในปี 1893 ในช่วงที่ฝรั่งเศสได้ยึดจันทบุรีในกรณีพิพาทกันด้วยเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง กองทหารฝรั่งเศสได้สร้างห้องขังเล็ก ๆในแหลมสิงห์ ซึ่งเป็นเมืองชายทะเลที่สวยงามในจังหวัดจันทบุรี มีโครงสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ทำจากอิฐแดงมีความยาวเพียง 14 ฟุตและสูง 23 ฟุตโดยมีช่องระบายอากาศสองแถวที่ด้านข้าง ห้องขังตั้งอยู่ที่ชั้นล่างข้างบนเป็นเล้าไก่ พื้นของเล้ามีรูพรุนทำให้ขี้ไก่ตกลงมาบนเหล่านักโทษที่อยู่ด้านล่าง



คุกนี้ถูกเรียกว่า Khuk Khi Kai หรือ“ คุกขี้ไก่ ”  เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้คุกขี้ไก่เพื่อกักขังทหารญวน คนจีน คนในบังคับของฝรั่งเศสรวมทั้งคนไทยที่ต่อต้าน แต่นักประวัติศาสตร์บางส่วนแย้งว่าเรื่องราวดังกล่าวเป็นเรื่องไร้สาระและอาคารนี้เป็นเพียงหอสังเกตการณ์คู่กับตึกแดง มีชื่อว่า "ป้อมฝรั่งเศส"
Cr.ภาพ kwanchai / Shutterstock.com
Cr.https://www.paiduaykan.com/province/east/chanthaburi/khukkeekai.html
Cr.https://www.amusingplanet.com/2019/12/khuk-khi-kai-chicken-poop-prison.html / By KAUSHIK PATOWARY




 
Rotary Jails

คุกหมุน (rotary jail) ออกแบบโดยวิศวกรชาวอเมริกันสองคนคือ William H. Brown and Benjamin F. Haugh  ระบบประกอบด้วย cell block
(ห้องขังเป็นห้อง ๆ) ทรงกระบอกที่แบ่งออกเป็นหลายห้องโดยแต่ละห้องทำงานเป็นอิสระต่อกัน  โดย cell block จะถูกล้อมรอบอีกทีด้วยกรงเหล็กทรงกลมที่มีช่องเปิดเพียงช่องเดียว
 
บล็อกทั้งหมดติดตั้งอยู่บนเสากลางเพื่อให้สามารถหมุนได้ในขณะที่กรงยังคงอยู่กับที่ ทำให้นักโทษเข้าหรือออกจากห้องขังได้ก็ต่อเมื่อห้องขังของพวกเขาหมุนตรงกับช่องเปิด แนวคิดนี้มาจากคำพูดของ Brown and Haugh ว่า " จะสร้างคุกหรือเรือนจำที่สามารถควบคุมนักโทษได้โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อส่วนตัวระหว่างพวกเขากับผู้คุม " แล้วเหตุใด Brown and Haugh จึงเลือกที่จะสร้างห้องขังแบบหมุนแทนที่จะเป็นทรงกลมธรรมดาหรือมันเป็นความลับ
 
อย่างไรก็ตามการออกแบบได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง  คุกแบบหมุนแห่งแรกจึงถูกสร้างขึ้นใน Crawfordsville รัฐอินเดียนาในปี 1882
มีสิบหกห้องขังในสองชั้นๆละแปดห้อง เนื่องจากการหลบหนีของนักโทษเป็นไปไม่ได้ ผู้คุมคนเดียวก็เพียงพอที่จะดูแลในแต่ละชั้น ด้วยระบบที่คล่องแคล่วว่องไวและระบบเกียร์ที่ได้รับการหล่อลื่นอย่างดี คนคนเดียวก็สามารถใช้มือหมุนบล็อกทั้งหมดได้
 
ห้องขังแบบหมุนมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่น่าทึ่งในเวลานั้นเช่น ระบบระบายอากาศที่ช่วยให้อากาศไหลผ่านเข้าออกห้องขังได้อย่างอิสระ ทำให้ห้องขังอุ่นในช่วงฤดูหนาว  ท่อประปาที่อยู่ในที่ร่ม ห้องอาบน้ำในแต่ละห้อง และห้องสุขาที่ล้างทำความสะอาดได้ มีการสร้างคุก rotary มากถึง 16 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกาแต่ส่วนใหญ่อยู่ในมิดเวสต์ บางครั้งพวกมันถูกเรียกว่า“ คุกกรงกระรอก” (Squirrel Cage Jail)




 
คุกหมุนก็มีคุณสมบัติอื่น ๆที่มีปัญหา ตัวอย่างเช่น ในกรณีเกิดเพลิงไหม้จะไม่สามารถอพยพผู้ต้องขังได้เร็วพอ  เพราะจะเปิดห้องขังได้ครั้งละหนึ่งห้องเท่านั้น แม้ว่าจะไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมดังกล่าว แต่การบาดเจ็บที่แขนขาของนักโทษก็เกิดขึ้นตลอดเวลาขณะถูกจับในระหว่างการหมุน
 
ปัญหานี้และปัญหาทางกลอื่น ๆถูกตัดสินให้คุกแบบหมุนเกือบทั้งหมดถูกทำลายลงในช่วงทศวรรษที่ 1930  ปัจจุบันมีคุก rotary สี่แห่งเท่านั้นที่ยังอยู่
และมีเพียงเรือนจำ Montgomery County และที่พักของนายอำเภอใน Crawfordsville เท่านั้นที่ยังคงหมุนอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ของทั้งหมดกลายเป็นพิพิธภัณฑ์
Cr.ภาพ
Cr.https://www.amusingplanet.com/2019/10/rotary-jails.html / By KAUSHIK PATOWARY





Marshalsea

 
(ภาพวาด Marshalsea Debtors' Prison ในศตวรรษที่ 18)
 
 
ย้อนกลับไปในสมัยวิกตอเรียการเป็นหนี้และไม่สามารถจ่ายได้ถือเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงมาก จนมีเรือนจำพิเศษสำหรับลูกหนี้ทั่วสหราชอาณาจักรเพื่อกักขังอาชญากรทางการเงิน สิ่งเหล่านี้คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของเรือนจำทั้งหมดในสหราชอาณาจักร
 
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 จนถึงการปฏิรูปที่นำมาใช้โดยพระราชบัญญัติลูกหนี้ในปี 1869 ลูกหนี้รายใดก็ได้รับโทษจำคุกด้วยหนี้ที่ต่ำถึง 40 ชิลลิง (ประมาณ 278 ปอนด์ในปี 2014) แทบจะไม่น่าแปลกใจเลยที่มีคนประมาณ 10,000 คนพบว่าตัวเองถูกจำคุกในแต่ละปีเพราะหนี้ ในสมัยนั้นผู้ค้าและพ่อค้าเท่านั้นที่สามารถฟ้องล้มละลายได้ จึงมักเป็นชนชั้นแรงงานที่ยากจนที่ต้องเข้าคุก
 
อย่างไรก็ตาม การจำคุกตัวเองไม่ได้ถือเป็นการลงโทษ ซึ่งการตัดสินลงโทษโดยผู้พิพากษาและอาจมีตั้งแต่การประหารชีวิตไปจนถึงการเฆี่ยนตี จนถึงการผูกมัดนักโทษกับอุปกรณ์ควบคุมต่างๆเช่น สวมขื่อที่คอและมือ เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวมากพอ ๆ กับความอัปยศอดสู

เรือนจำเป็นเพียงสถานที่กักขังคนจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับการชำระหนี้ที่ตัดสินโดยผู้พิพากษา สถานที่คุมขังถูกทำให้เป็นบ้านพักอาศัยเพื่อผลกำไรโดยบุคคลที่โลภและซาดิสต์ สภาพความเป็นอยู่ที่น่ากลัวและการถูกปฏิบัติที่โหดร้ายเป็นเรื่องปกติ นักโทษถูกบังคับให้จ่ายค่าห้องและค่าอาหารและถูกบังคับ
ให้ทำงานเช่น การเปลี่ยนกุญแจหรืองานหนักอื่นๆ 
 
ที่เรือนจำลูกหนี้ Marshalsea ในลอนดอน มีบาร์ ร้านค้าและร้านอาหารสำหรับนักโทษที่มีสิทธิพิเศษที่สามารถจ่ายได้ คนอื่น ๆจะถูกอัดแน่นในห้องเล็ก ๆ คนยากจนที่สุดที่ไม่สามารถจ่ายค่าอาหารต้องเผชิญกับความอดอยากเว้นแต่จะมีคนบริจาค แต่การบริจาคมักจะถูกระงับโดยผู้คุม ตามรายงานของคณะกรรมการรัฐสภาปี 1729 ผู้ต้องขัง 300 คนอดตายในช่วงสามเดือน
 
Marshalsea มีชื่อเสียงที่สุดของเรือนจำลูกหนี้ที่สร้างความอับอายผ่านงานเขียนของ Charles Dickens ซึ่งพ่อของเขาถูกส่งไปที่นั่นในปี 1824 จากความล้มเหลวในการจ่ายค่าขนมปัง มันส่งผลร้ายแรงต่อ Charles ทำให้เขาสนับสนุนในการปฏิรูปเรือนจำลูกหนี้  Dickens เขียนเรื่อง Marshalsea เช่นเดียวกับเรือนจำอื่น ๆ ในนวนิยายหลายเรื่องของเขาเช่น Pickwick Papers, David Copperfield โดยเฉพาะใน Little Dorrit ซึ่งพ่อของตัวเอกถูกส่งไปยัง Marshalsea เพื่อทวงหนี้ โดยปัญหาเรื่องหนี้สินและความอยุติธรรมในสังคมเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในงานของเขา
 
เมื่อถูกจำคุกแล้วเป็นการยากมากที่เจ้าหนี้จะได้รับการชำระ  นอกเหนือจากค่าอาหารและค่าเช่าแล้วลูกหนี้ยังถูกปรับสำหรับความผิดทุกประเภทเช่นการส่งเสียงดังมากเกินไป การต่อสู้ การสูบบุหรี่ การขโมย การทำลายและอื่น ๆ แม้ว่านักโทษจะสามารถชำระหนี้เดิมได้ แต่ก็อาจจะไม่สามารถออกไปได้เพราะเงินทั้งหมดที่เป็นหนี้ในเรือนจำ เมื่อเรือนจำ Fleet ปิดตัวลงในปี 1842 ลูกหนี้สองคนถูกพบว่าอยู่ที่นั่นมา 30 ปีแล้ว
 


(ภาพวาดแสดงให้เห็นผู้ป่วยในเรือนจำ Marshalsea)

 
(ภาพวาด Fleet Street Marriage ในยุควิกตอเรีย)

 
(ส่วนหนึ่งของกำแพงด้านนอกของเรือนจำ Marshalsea Cr.ภาพ Philip Talmage / Flickr)


ดังนั้นนักโทษจึงพาครอบครัวไปอยู่ด้วยกันในเรือนจำโดยยอมรับว่านี่คือบ้านใหม่ เมื่อพ่อของ Charles Dicken ถูกคุมขังที่ Marshalsea เขาพาภรรยาและลูกคนเล็กของเขาไปอยู่ด้วยในขณะที่ Charles อายุ 12 ปีไปอยู่กับครอบครัวเพื่อน  เรือนจำลูกหนี้ได้กลายเป็นชุมชน ผู้คนแต่งงานกันลับๆให้กำเนิดลูกและเลี้ยงดูครอบครัว ในที่สุดจึงเกิดคำว่า “Fleet marriage” ใช้เรียกการแต่งงานที่เกิดขึ้นนอกโบถส์
 
โดยปกตินักโทษจะได้รับอนุญาตให้ออกไปหางานทำเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการจำคุก ในปี 1729 นักโทษระยะยาวถูกพบว่าทำงานในร้านกาแฟใน Marshalsea ขณะที่อีกคนทำงานในร้านสเต็ก นอกจากนี้ยังมีร้านตัดเสื้อและร้านตัดผม ห้องพักบางห้องไว้ขายบริการ
 
ในที่สุดสถานเหล่านี้ก็ถูกปิดโดยพระราชบัญญัติของรัฐสภาในปี 1842 เรือนจำส่วนใหญ่ถูกรื้อถอนไปแล้ว  ในศตวรรษที่ 20 บางส่วนถูกใช้เป็นร้านค้า
ห้องพักและห้องสมุดท้องถิ่น สิ่งที่เหลืออยู่ของ Marshalsea คือกำแพงอิฐยาวที่โดดเด่นในพรมแดนใต้
Cr.IanVisits / Flickr
Cr.https://www.amusingplanet.com/2018/08/marshalsea-debtors-prison.html / By KAUSHIK PATOWARY
 
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่