ครามสกล ของดีถิ่นธรรมะ
“มีโอกาสไปเห็นการทอผ้าและย้อมครามของชาวบ้าน ส่วนใหญ่เป็นผ้าผืน ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เลยมองว่าศักยภาพของผ้าครามสกลมันเยอะมาก ไปแตะนิดเดียวสามารถขยายไปได้เลย เพราะมันคือวิถีชุมชนอยู่แล้ว”
แม้ไม่ได้เป็นผู้ผลิตผ้าย้อมครามโดยตรง แต่ สกุณา สาระนันท์ ผู้ริเริ่มแบรนด์สินค้าที่นำผ้าย้อมครามของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร มาดีไซน์ตัดเย็บให้ดูสวยงามเข้าสมัย สวมใส่ใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเสื้อ หมวก กระเป๋า ฯลฯ ยังคิดค้นชุดย้อมครามสำเร็จรูป พร้อมแพ็กเกจน่ารัก ๆ หิ้วกลับไปทำเองได้ที่บ้านในชื่อ “ครามสกล (Kramsakon)”
“เราเรียนจบเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในหม้อย้อมคราม แต่ชาวบ้านเค้าอธิบายไม่ได้หรอก แค่ต้องใส่แบบนี้แล้วจะเป็นแบบนั้น เราก็ต่อยอดมาจากเค้าอีกที”
ครามเป็นไม้พุ่ม เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับพืชตระกูลถั่ว มีเรื่องเล่าว่าตายายคู่หนึ่ง บ้วนน้ำหมากไปโดนเข้าโดยไม่ตั้งใจ แล้วเห็นว่าใบไม้เปลี่ยนเป็นสีคราม คือจุดเริ่มต้นของการนำพืชชนิดนี้มาย้อมผ้า หากแต่ยังมีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนละเอียดลออ จนอดทึ่งในภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่คิดค้นวิธีการนี้ขึ้นมา
ใบครามจะสดให้สีดีในตอนเช้ามืด หยุดให้สีเมื่อถูกแสง จึงนิยมเก็บก่อนพระอาทิตย์ขึ้น นำมาแช่น้ำไว้หนึ่งวัน กรองเอาน้ำมาผสมปูนขาวที่ได้จากการเผาเปลือกหอย กวนให้เข้ากันทิ้งให้ตกตะกอน กรองอีกรอบจะได้เนื้อครามที่เรียกว่า ครามเปียก
แต่ยังไม่จบง่าย ๆ ต้องผ่านขั้นตอน “การก่อหม้อ” ที่ชาวบ้านเรียก “หม้อนิล” สำหรับย้อมผ้า โดยผสมเนื้อครามเปียกกับน้ำด่างหรือน้ำขี้เถ้าลงในหม้อดิน เติมมะขามเปียก น้ำอ้อย น้ำตาลทราย ขั้นตอนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าอัศจรรย์ แต่อธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์
“ในใบครามจะมีสารกลูโคไซอินดิแคน (Glucoside Indican) เมื่อนำไปแช่น้ำจะเปลี่ยนเป็นอินดอกซิล (Ingokyl) ให้สีฟ้า ผสมปูนขาวพร้อมเติมอากาศโดยตีน้ำแรง ๆ ให้เกิดฟอง เนื้อปูนขาวจะเปลี่ยนเป็นสีคราม (Indigo blue) กรองแล้วจะได้เนื้อครามเปียก (Indigo cake) เก็บไว้ใช้ได้เป็นปี แต่เม็ดสีครามเป็นสีที่ไม่ละลายน้ำ จึงต้องมีขั้นตอนการก่อหม้อ โดยนำเนื้อครามเปียกผสมน้ำด่างกรองเอาแต่น้ำ เติมจุลินทรีย์อันได้แก่ มะขามเปียก น้ำอ้อย น้ำตาลทราย เพื่อเปลี่ยนสีครามให้กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำได้ (Indigo white) หม้อครามจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวพร้อมย้อมผ้า หลังจุ่มผ้าลงไปในหม้อย้อมแล้วยกขึ้นสัมผัสอากาศ จะเกิดปฏิกิริยา Oxidation กลับไปเป็นสีครามอีกครั้ง” (ข้อมูล : หนังสือเที่ยวชุมชนยลผ้าไทย โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
แต่ละชุมชนจะมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นของผ้าย้อมครามที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ครามสกลจึงหยิบใช้ให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ อาจเพิ่มโน่นนิดนี่หน่อย ตามความต้องการของลูกค้า
“เราดูดีไซน์ที่ลูกค้าต้องการ ถ้าอยากได้เนื้อผ้าพลิ้ว ๆ จะต้องใช้เส้นใยอะไร จริง ๆ ชาวบ้านรู้เยอะกว่าเรามาก เราให้มาสอนเรื่องการก่อหม้อ การทอ บางอย่างชาวบ้านทำดีแล้ว แค่เข้าไปปรับนิดหน่อย เหมือนแลกเปลี่ยนความรู้กัน ตอนนี้มีกลุ่มเครือข่ายสามสิบกว่ากลุ่ม จะดูว่าแต่ละกลุ่มมีความถนัดและโดดเด่นเรื่องอะไร อย่างผ้าเข็นมือ เราจะเอาจากอูนดง โคกพลู หนองสะไน เชิงดอย จุดเด่นของเค้าคือ มีฝ้ายในท้องที่ มีครามที่สีสวย ถ้ามัดหมี่จะไปหาแถบลุ่มน้ำสงคราม เส้นใยจะพลิ้ว ลวดลายสวยงาม เพราะถนัดใช้เรยอนหรือฝ้ายประดิษฐ์”
อีกหนึ่งกิจกรรมที่ขาดไม่ได้คือ ทดลองมัดย้อมผ้าด้วยตัวเอง ซึ่งไม่ใช่เฉพาะที่ครามสกล ทุกชุมชนก็จัดกิจกรรมนี้สำหรับผู้มาเยี่ยมชมเช่นกัน นิยมย้อมเสื้อยืดหรือผ้าพันคอ เพราะชิ้นไม่ใหญ่นำไปสวมใส่ใช้อวดคนอื่นได้ ด้วยวิธีพับ รัด มัด ขยำ ใครอยากได้สีเข้ม ๆ ต้องย้อมซ้ำ ๆ ในหม้อถัดไปจะย้อมในหม้อเดิมไม่ได้ เพราะเม็ดสีถูกใช้ไปแล้ว
เป้าหมายของครามสกลคือตลาดนอกพื้นที่ พัฒนาผ้าย้อมครามของชาวบ้าน มาผลิตภัณฑสินค้าแฟชั่นที่คนทุกวัยนำไปใช้ได้ จึงใช้ทำเลนอกเมือง กว้างขวางร่มรื่น ลมโกรกเย็นสบาย เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านระหว่างเดินทาง เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เรียนรู้ ทดลอง ช้อปปิ้ง ที่เยี่ยมยอด
“ผ้าครามเป็นอาชีพที่ยั่งยืน สร้างรายได้ให้กับชุมชน จะยั่งยืนได้ก็ต้องรักษาคุณภาพ โดยเฉพาะความเป็นครามธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดแข็ง ที่ทำให้เราโดดเด่นและแตกต่าง ครามสกลไม่ได้ทำสิ่งใหม่ แค่เอาของที่มีอยู่ในวิถีผู้คนไปต่อยอด มันน่าภาคภูมิใจนะ”
ครามสกล เปิดทุกวัน 08.00 – 17.00 น. โทร.08 0582 6655 Line id : ppsakuna Facebook : ครามสกล- Kramsakon
มนต์เสน่ห์อีสาน เมืองแห่งผ้าคราม
“มีโอกาสไปเห็นการทอผ้าและย้อมครามของชาวบ้าน ส่วนใหญ่เป็นผ้าผืน ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เลยมองว่าศักยภาพของผ้าครามสกลมันเยอะมาก ไปแตะนิดเดียวสามารถขยายไปได้เลย เพราะมันคือวิถีชุมชนอยู่แล้ว”
แม้ไม่ได้เป็นผู้ผลิตผ้าย้อมครามโดยตรง แต่ สกุณา สาระนันท์ ผู้ริเริ่มแบรนด์สินค้าที่นำผ้าย้อมครามของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร มาดีไซน์ตัดเย็บให้ดูสวยงามเข้าสมัย สวมใส่ใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเสื้อ หมวก กระเป๋า ฯลฯ ยังคิดค้นชุดย้อมครามสำเร็จรูป พร้อมแพ็กเกจน่ารัก ๆ หิ้วกลับไปทำเองได้ที่บ้านในชื่อ “ครามสกล (Kramsakon)”
“เราเรียนจบเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในหม้อย้อมคราม แต่ชาวบ้านเค้าอธิบายไม่ได้หรอก แค่ต้องใส่แบบนี้แล้วจะเป็นแบบนั้น เราก็ต่อยอดมาจากเค้าอีกที”
ครามเป็นไม้พุ่ม เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับพืชตระกูลถั่ว มีเรื่องเล่าว่าตายายคู่หนึ่ง บ้วนน้ำหมากไปโดนเข้าโดยไม่ตั้งใจ แล้วเห็นว่าใบไม้เปลี่ยนเป็นสีคราม คือจุดเริ่มต้นของการนำพืชชนิดนี้มาย้อมผ้า หากแต่ยังมีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนละเอียดลออ จนอดทึ่งในภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่คิดค้นวิธีการนี้ขึ้นมา
ใบครามจะสดให้สีดีในตอนเช้ามืด หยุดให้สีเมื่อถูกแสง จึงนิยมเก็บก่อนพระอาทิตย์ขึ้น นำมาแช่น้ำไว้หนึ่งวัน กรองเอาน้ำมาผสมปูนขาวที่ได้จากการเผาเปลือกหอย กวนให้เข้ากันทิ้งให้ตกตะกอน กรองอีกรอบจะได้เนื้อครามที่เรียกว่า ครามเปียก
แต่ยังไม่จบง่าย ๆ ต้องผ่านขั้นตอน “การก่อหม้อ” ที่ชาวบ้านเรียก “หม้อนิล” สำหรับย้อมผ้า โดยผสมเนื้อครามเปียกกับน้ำด่างหรือน้ำขี้เถ้าลงในหม้อดิน เติมมะขามเปียก น้ำอ้อย น้ำตาลทราย ขั้นตอนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าอัศจรรย์ แต่อธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์
“ในใบครามจะมีสารกลูโคไซอินดิแคน (Glucoside Indican) เมื่อนำไปแช่น้ำจะเปลี่ยนเป็นอินดอกซิล (Ingokyl) ให้สีฟ้า ผสมปูนขาวพร้อมเติมอากาศโดยตีน้ำแรง ๆ ให้เกิดฟอง เนื้อปูนขาวจะเปลี่ยนเป็นสีคราม (Indigo blue) กรองแล้วจะได้เนื้อครามเปียก (Indigo cake) เก็บไว้ใช้ได้เป็นปี แต่เม็ดสีครามเป็นสีที่ไม่ละลายน้ำ จึงต้องมีขั้นตอนการก่อหม้อ โดยนำเนื้อครามเปียกผสมน้ำด่างกรองเอาแต่น้ำ เติมจุลินทรีย์อันได้แก่ มะขามเปียก น้ำอ้อย น้ำตาลทราย เพื่อเปลี่ยนสีครามให้กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำได้ (Indigo white) หม้อครามจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวพร้อมย้อมผ้า หลังจุ่มผ้าลงไปในหม้อย้อมแล้วยกขึ้นสัมผัสอากาศ จะเกิดปฏิกิริยา Oxidation กลับไปเป็นสีครามอีกครั้ง” (ข้อมูล : หนังสือเที่ยวชุมชนยลผ้าไทย โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)แต่ละชุมชนจะมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นของผ้าย้อมครามที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ครามสกลจึงหยิบใช้ให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ อาจเพิ่มโน่นนิดนี่หน่อย ตามความต้องการของลูกค้า
“เราดูดีไซน์ที่ลูกค้าต้องการ ถ้าอยากได้เนื้อผ้าพลิ้ว ๆ จะต้องใช้เส้นใยอะไร จริง ๆ ชาวบ้านรู้เยอะกว่าเรามาก เราให้มาสอนเรื่องการก่อหม้อ การทอ บางอย่างชาวบ้านทำดีแล้ว แค่เข้าไปปรับนิดหน่อย เหมือนแลกเปลี่ยนความรู้กัน ตอนนี้มีกลุ่มเครือข่ายสามสิบกว่ากลุ่ม จะดูว่าแต่ละกลุ่มมีความถนัดและโดดเด่นเรื่องอะไร อย่างผ้าเข็นมือ เราจะเอาจากอูนดง โคกพลู หนองสะไน เชิงดอย จุดเด่นของเค้าคือ มีฝ้ายในท้องที่ มีครามที่สีสวย ถ้ามัดหมี่จะไปหาแถบลุ่มน้ำสงคราม เส้นใยจะพลิ้ว ลวดลายสวยงาม เพราะถนัดใช้เรยอนหรือฝ้ายประดิษฐ์”
อีกหนึ่งกิจกรรมที่ขาดไม่ได้คือ ทดลองมัดย้อมผ้าด้วยตัวเอง ซึ่งไม่ใช่เฉพาะที่ครามสกล ทุกชุมชนก็จัดกิจกรรมนี้สำหรับผู้มาเยี่ยมชมเช่นกัน นิยมย้อมเสื้อยืดหรือผ้าพันคอ เพราะชิ้นไม่ใหญ่นำไปสวมใส่ใช้อวดคนอื่นได้ ด้วยวิธีพับ รัด มัด ขยำ ใครอยากได้สีเข้ม ๆ ต้องย้อมซ้ำ ๆ ในหม้อถัดไปจะย้อมในหม้อเดิมไม่ได้ เพราะเม็ดสีถูกใช้ไปแล้ว
เป้าหมายของครามสกลคือตลาดนอกพื้นที่ พัฒนาผ้าย้อมครามของชาวบ้าน มาผลิตภัณฑสินค้าแฟชั่นที่คนทุกวัยนำไปใช้ได้ จึงใช้ทำเลนอกเมือง กว้างขวางร่มรื่น ลมโกรกเย็นสบาย เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านระหว่างเดินทาง เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เรียนรู้ ทดลอง ช้อปปิ้ง ที่เยี่ยมยอด
“ผ้าครามเป็นอาชีพที่ยั่งยืน สร้างรายได้ให้กับชุมชน จะยั่งยืนได้ก็ต้องรักษาคุณภาพ โดยเฉพาะความเป็นครามธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดแข็ง ที่ทำให้เราโดดเด่นและแตกต่าง ครามสกลไม่ได้ทำสิ่งใหม่ แค่เอาของที่มีอยู่ในวิถีผู้คนไปต่อยอด มันน่าภาคภูมิใจนะ”
ครามสกล เปิดทุกวัน 08.00 – 17.00 น. โทร.08 0582 6655 Line id : ppsakuna Facebook : ครามสกล- Kramsakon