------- @@@@@ การวิปัสสนา ที่ลัดสั้น @@@@@ ---------

กระทู้สนทนา
https://ppantip.com/topic/33759418/desktop

แก่นคำสอนของศาสนาพุทธคืออะไร ทำอย่างไรจึงจะบรรลุธรรมสูงสุดโดยลัดสั้นที่สุด

...
...
...


                  2.   ทำอย่างไรจึงจะบรรลุธรรมสูงสุดโดยลัดสั้นที่สุด
                              ก็โดยทำ สติปัฏฐาน (ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ)เห็นความจริง ปล่อยวางความยึดถือที่ผิด(ว่ากายและจิตเป็นตน)   บางท่าน ทำสมาธิ ก่อนหรือทำควบคู่กันไป

                             2.1  พระธรรมที่ทรงตรัสสอนว่า  "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น"      (ที่ท่าน ความคิดเห็นที่ 4 ได้แสดงไว้)

"ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนี้ ภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง"

คำว่า ธรรม ในบทพระธรรมนี้ หมายถึงสิ่งใดๆ ทุกสิ่ง(คำว่า ธรรม บาลี แปลความได้หลายแบบ http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B8%C3%C3%C1_%CA%C0%D2%BE%B7%D5%E8%B7%C3%A7%E4%C7%E9&detail=on
)
***********************************************************************************************************************
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=7915&Z=8040
            พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

                                                   ๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร
                                        ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา

             [๔๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทแห่งมิคารมารดา (มหาอุบาสิกาวิสาขา
ผู้เป็นดังว่ามารดาแห่งมิคารเศรษฐี) ในวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท้าวสักกะ
จอมเทพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน
มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน
เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
?


             [๔๓๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า
ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
ถ้าข้อนี้ ภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง


ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง
ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง

ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี

เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง
พิจารณาเห็นความหน่าย
พิจารณาเห็นความดับ

พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น
ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก
เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น
ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้


ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้แล
ภิกษุชื่อว่าน้อมไป ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา
มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่ง
จากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐ
กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
.

...
...
...
...
...

******************************************************************************************************************************

อรรถกถา  (คำอธิบาย พระไตรปิฎก โดยพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงคุณ  เรียกว่า พระอรรถกถาจารย์)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=433
...
...

              บทว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย นี้ อธิบายว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ชื่อว่าธรรมทั้งปวง ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ควร คือไม่เรียน ไม่ปรารถนา ไม่ประกอบไว้ด้วยความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ เพราะเหตุไร เพราะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะถือเอาได้.
               จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีขันธ์ ๕ เป็นต้นนั้น แม้จะถือว่าเป็นของเที่ยง ความไม่เที่ยงเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น แม้จะถือว่าเป็นสุข ความทุกข์เท่านั้น ย่อมถึงพร้อม แม้จะถือว่าเป็นอัตตา อนัตตาเท่านั้นย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรเพื่อยึดมั่น.
...
...
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่