[๔๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคย่อมทรงทราบว่าพระองค์ เป็นผู้ตรัสความน้อมไปในธรรม เป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ
แก่เทพผู้มีศักดิ์มากผู้ใดผู้หนึ่งบ้างหรือหนอ?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลาน์ เรารู้เฉพาะอยู่ จะเล่าให้ฟัง ท้าวสักกะจอมเทพ
เข้ามาหาเรา อภิวาทแล้ว ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามเราว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้น
แห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน
เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกร-
*โมคคัลลาน์ เมื่อท้าวสักกะนั้นถามอย่างนี้แล้ว เราบอกว่า ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้
สดับว่า
ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้น
รู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้-
*ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ
พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ
ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้
เฉพาะตน ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดังนี้ ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุ
ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจาก
กิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรโมคคัลลาน์ เราจำได้อยู่ว่า เราเป็นผู้กล่าวความน้อมไปในธรรม
เป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ แก่ท้าวสักกะจอมเทพ อย่างนี้แล.
----------------------------------------------
ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ หลักปฏิบัตินี้ ถือเป็นสุดยอด หัวใจ หรือจุดสุดท้ายของการปฏิบัติธรรม
ไม่ว่าจะเป็นด้านสมาธิ หรือด้านปัญญา ที่เรากำลังดำเนินกันอยู่
หากปฏิบัติสมาธิ เกิดเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์อะไรก็ให้ถือว่าเป็นทางผ่าน อย่าน้อม อย่าดึง อย่ายึดมั่นถือมั่นดึงเข้ามาในจิต เพราะจะมีกิเลสแทรกเข้ามาอย่างไม่รู้ตัว มันเหมือนกระดาษซึม
หากจะเป็นการพิจารณาด้านปัญญา ไม่ว่าจะเป็นกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม เมื่อจิตเห็นแจ้งอะไรในจิตก็ตาม หรือมีความรู้สึกว่าจิตเข้าใจในอะไรบ้างอย่าง แล้วเกิดปัญญาแตกฉานมาก เกิดความรู้แปลกๆ ใหม่ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ในจิต ก็ปล่อยวางมันไป รู้แล้วก็สักแต่ว่ารู้ไป อย่าไปยึดมั่น ถือมั่นในความคิดนั้นๆ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีความเกิดดับโดยหลักธรรมชาติอยู่แล้ว หากไปยึดมั่นถือมั่นในผลลัพธ์จากการดำเนินวิปัสสนาในสิ่งที่แปลกๆ ใหม่ๆ นั้น จะทำให้เกิดวิปัสสนูกิเลสได้โดยไม่รู้ตัว
ความรู้รวบยอด คือ รู้มีค่าเท่ากับไม่รู้ คำว่ามีค่าเท่ากันหมายความว่า ถึงแม้จะรู้แล้ว ก็ดับไป ถึงแม้จะไม่รู้แล้ว ก็ดับไป
พอจิตเข้าใจรวบยอดแบบนี้แล้ว ก็จะไม่ยึดมั่นในความรู้นั้น และไม่ยึดมั่นในความไม่รู้นั่นด้วย
และจะหมดความดิ้นรนในความทะยานอยากวิ่งไปที่ความรู้ หรือความไม่รู้อีกต่อไป แต่จะกลายเป็นความรู้โดยหลักธรรมชาติที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ติดข้องในสิ่งใดๆ ในโลก
หากจิตทิ้งทั้งทางซ้าย และทางขวา จิตจะรู้โดยชอบเองโดยอัตโนมัติทั้งไม่ติดในความรู้นั้น แต่จะเป็นความรู้โดยหลักธรรมชาตินั้นที่ไม่มีอะไรปิดกั้น ไม่ติดทั้งทางซ้าย ไม่ติดทั้งทางขวา กลายเป็นมัชฌิมาปฏิปทาโดยหลักธรรมชาติไป
จึงไม่มีปัญหาทั้งอัตตา และอนัตตา ว่านิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตากัน
ไม่มีปัญหาทั้งชาตินี้ และชาติหน้า ว่ามีจริงไหม
ไม่มีปัญหาทั้งตายและเกิด หรือตายแล้วศูนย์กันแน่
เพราะปัญหาเหล่านั้น "เป็นการตั้งคำถามแห่งความสงสัย ที่มีความแฝงแห่งความยึดมั่น ถือมั่นว่า มีเราอยู่"
เช่นที่ทุ่มเถียงกันว่า นิพพานเป็นอัตตา หรือเป็นอนัตตากันแน่ ในความแฝงของลึกๆ ที่มีค่าเท่ากันคือ ยึดมั่นในความเห็นว่านิพพานต้องเป็นอะไรสักอย่าง ไม่อัตตาก็อนัตตา แล้วก็ทุ่มเถียงกัน จนลืมไปว่า อาสวะกิเลส "เป็นเงาแห่งความยึดมั่นถือมั่น" แฝงอยู่ในนิพพาน ที่ทุ่มเถียงกันอยู่
หรือที่สงสัยกันว่า ตกลงคนเรานี่ตายแล้วเกิด หรือตายแล้วศูนย์กันแน่นะ หรือชาติหน้าจะมีจริงไหม หรือตายแล้วไปไหน เป็นต้น
"เงาแห่งอาสวะกิเลสในคำถามนั้นคือ ยึดมั่นถือมั่นใจความเป็นเราที่มีตัวตนจริงๆ ยึดมั่นถือมั่น "ในคำว่าชาตินี้" ยึดมั่นถือ "ในคำว่าชาติหน้า" จึงมีการทุ่มเถียงกันอย่างหนัก
ทุกอย่างในโลกทั้งสามนี้มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามธรรมชาติของมันเอง เมื่อมีเหตุย่อมมีผล เมื่อหมดเหตุผลก็ดับไป
เหมือนเปิดไฟฟ้าที่เปิด หรือไฟในตะเกียง เป็นต้นครับ
ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคย่อมทรงทราบว่าพระองค์ เป็นผู้ตรัสความน้อมไปในธรรม เป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ
แก่เทพผู้มีศักดิ์มากผู้ใดผู้หนึ่งบ้างหรือหนอ?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลาน์ เรารู้เฉพาะอยู่ จะเล่าให้ฟัง ท้าวสักกะจอมเทพ
เข้ามาหาเรา อภิวาทแล้ว ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามเราว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้น
แห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน
เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกร-
*โมคคัลลาน์ เมื่อท้าวสักกะนั้นถามอย่างนี้แล้ว เราบอกว่า ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้
สดับว่า
ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้น
รู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้-
*ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ
พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ
ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้
เฉพาะตน ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดังนี้ ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุ
ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจาก
กิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรโมคคัลลาน์ เราจำได้อยู่ว่า เราเป็นผู้กล่าวความน้อมไปในธรรม
เป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ แก่ท้าวสักกะจอมเทพ อย่างนี้แล.
----------------------------------------------
ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ หลักปฏิบัตินี้ ถือเป็นสุดยอด หัวใจ หรือจุดสุดท้ายของการปฏิบัติธรรม
ไม่ว่าจะเป็นด้านสมาธิ หรือด้านปัญญา ที่เรากำลังดำเนินกันอยู่
หากปฏิบัติสมาธิ เกิดเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์อะไรก็ให้ถือว่าเป็นทางผ่าน อย่าน้อม อย่าดึง อย่ายึดมั่นถือมั่นดึงเข้ามาในจิต เพราะจะมีกิเลสแทรกเข้ามาอย่างไม่รู้ตัว มันเหมือนกระดาษซึม
หากจะเป็นการพิจารณาด้านปัญญา ไม่ว่าจะเป็นกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม เมื่อจิตเห็นแจ้งอะไรในจิตก็ตาม หรือมีความรู้สึกว่าจิตเข้าใจในอะไรบ้างอย่าง แล้วเกิดปัญญาแตกฉานมาก เกิดความรู้แปลกๆ ใหม่ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ในจิต ก็ปล่อยวางมันไป รู้แล้วก็สักแต่ว่ารู้ไป อย่าไปยึดมั่น ถือมั่นในความคิดนั้นๆ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีความเกิดดับโดยหลักธรรมชาติอยู่แล้ว หากไปยึดมั่นถือมั่นในผลลัพธ์จากการดำเนินวิปัสสนาในสิ่งที่แปลกๆ ใหม่ๆ นั้น จะทำให้เกิดวิปัสสนูกิเลสได้โดยไม่รู้ตัว
ความรู้รวบยอด คือ รู้มีค่าเท่ากับไม่รู้ คำว่ามีค่าเท่ากันหมายความว่า ถึงแม้จะรู้แล้ว ก็ดับไป ถึงแม้จะไม่รู้แล้ว ก็ดับไป
พอจิตเข้าใจรวบยอดแบบนี้แล้ว ก็จะไม่ยึดมั่นในความรู้นั้น และไม่ยึดมั่นในความไม่รู้นั่นด้วย
และจะหมดความดิ้นรนในความทะยานอยากวิ่งไปที่ความรู้ หรือความไม่รู้อีกต่อไป แต่จะกลายเป็นความรู้โดยหลักธรรมชาติที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ติดข้องในสิ่งใดๆ ในโลก
หากจิตทิ้งทั้งทางซ้าย และทางขวา จิตจะรู้โดยชอบเองโดยอัตโนมัติทั้งไม่ติดในความรู้นั้น แต่จะเป็นความรู้โดยหลักธรรมชาตินั้นที่ไม่มีอะไรปิดกั้น ไม่ติดทั้งทางซ้าย ไม่ติดทั้งทางขวา กลายเป็นมัชฌิมาปฏิปทาโดยหลักธรรมชาติไป
จึงไม่มีปัญหาทั้งอัตตา และอนัตตา ว่านิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตากัน
ไม่มีปัญหาทั้งชาตินี้ และชาติหน้า ว่ามีจริงไหม
ไม่มีปัญหาทั้งตายและเกิด หรือตายแล้วศูนย์กันแน่
เพราะปัญหาเหล่านั้น "เป็นการตั้งคำถามแห่งความสงสัย ที่มีความแฝงแห่งความยึดมั่น ถือมั่นว่า มีเราอยู่"
เช่นที่ทุ่มเถียงกันว่า นิพพานเป็นอัตตา หรือเป็นอนัตตากันแน่ ในความแฝงของลึกๆ ที่มีค่าเท่ากันคือ ยึดมั่นในความเห็นว่านิพพานต้องเป็นอะไรสักอย่าง ไม่อัตตาก็อนัตตา แล้วก็ทุ่มเถียงกัน จนลืมไปว่า อาสวะกิเลส "เป็นเงาแห่งความยึดมั่นถือมั่น" แฝงอยู่ในนิพพาน ที่ทุ่มเถียงกันอยู่