คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีกล่าวถึงนายขนมต้มในพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน (ชำระโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส) กับฉบับพระราชหัตถเลขาซึ่งชำระสมัยรัชกาลที่ ๔ กล่าวแค่ว่า
"ฝ่ายพระเจ้าอังวะยังอยู่ ณะ เมืองย่างกุ้ง ทำการยกฉัตรยอดพระมหาเจดีย์เกษธาตุสำเรจ์แล้วให้มีการฉลอง จึ่งขุนนางพม่ากราบทูลว่า คนมวยเมืองไทมีฝีมือดียิ่งนัก จึ่งตรัสสั่งให้จัดหามาได้นายขนมต้มคนหนึ่ง เปนมวยดีมีฝีมือแต่ครั้งกรุงเก่า เอาตัวมาถวายพระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะจึ่งให้จัดพม่าคนมวยเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้มได้กันแล้ว ก็ให้ชกกันหน้าพระธินั่ง แลนายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึ่งยกก็แพ้ แล้วจัดคนอื่นเข้ามาเปรียบชกอิก นายขนมต้มชกพม่าชกมอญแพ้ถึ่งเก้าคนสิบคนสู้ไม่ได้ พระเจ้าอังวะทอดพระเนตรยกพระหัตถ์ตบพระอุระตรัสสรรเสรีญฝีมือนายขนมต้มว่า ไทมีพิศม์อยู่ทั่วตัว แต่มือเปล่าไม่มีอาวุธเลยยังสู้ได้ คนเดียวชณะถึ่งเก้าคนสิบคนฉนี้ เพราะจ้าวนายไม่ดีจึ่งเสียบ้านเมืองแก่ข้าศึก ถ้าจ้าวนายดีแล้วไหนเลยจะเสียกรุงศรีอยุทธยา แล้วพระราชทานรางวัลแก่นายขนมต้มโดยสมควร"
เรื่องพระเจ้ามังระยกยอดพระเกศธาตุที่พระเจดีย์ชเวดากองตามพงศาวดารพม่าระบุว่าเกิดใน พ.ศ.๒๓๑๗ แต่ไม่มีระบุเรื่องนายขนมต้มในหลักฐานฝั่งพม่าครับ
ความน่าเชื่อถือของพระราชพงศาวดารฉบับพระพนรัตน์ (ซึ่งเป็นต้นแบบของพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา) ยังน่ากังขาอยู่ เพราะมีเนื้อความพิสดารหลายอย่างถูกเพิ่มมามากเมื่อเทียบกับพงศาวดารเก่าๆ และมีการเพิ่มรายละเอียดของตำนานท้องถิ่นหรือบุคคลต่างๆมากขึ้นเช่นบางระจัน ขุนรองปลัดชู นายขนมต้ม ฯลฯ ซึ่งผิดจากขนบการเขียนพงศาวดารแบบเดิมที่เน้นแต่เรื่องกษัตริย์และเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง และมีการเขียนบทสนทนาซึ่งมีใจความยกย่องคนไทยหรือวิพากษ์วิจารณ์เจ้านายยุคอยุทธยาอยู่มาก เช่นเรื่องนายขนมต้ม หรือเรื่องอะแซหวุ่นกี้ดูตัวพระยาจักรีและได้ยกย่องสรรเสริญมาก(ในขณะที่พงศาวดารที่ชำระสมัยรัชกาลที่ ๑ ฉบับเก่าๆ ไม่มีกล่าวถึงเลย มีแต่บรรยายสงครามสั้นๆ)
จึงสันนิษฐานว่าเนื้อหาเรื่องนายขนมต้มมีการเสริมแต่งไปตามบริบทของสังคมยุคนั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเค้าความจริงเลยครับ
ส่วนเรื่องอื่นๆที่รู้จักกันส่วนใหญ่เช่นพ่อแม่พี่สาวถูกฆ่า เรียนมวยจากชายพเนจร มาจากนิยายที่แต่งโดยคมทวน คันธนู กวีซีไรต์ครับ
"ฝ่ายพระเจ้าอังวะยังอยู่ ณะ เมืองย่างกุ้ง ทำการยกฉัตรยอดพระมหาเจดีย์เกษธาตุสำเรจ์แล้วให้มีการฉลอง จึ่งขุนนางพม่ากราบทูลว่า คนมวยเมืองไทมีฝีมือดียิ่งนัก จึ่งตรัสสั่งให้จัดหามาได้นายขนมต้มคนหนึ่ง เปนมวยดีมีฝีมือแต่ครั้งกรุงเก่า เอาตัวมาถวายพระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะจึ่งให้จัดพม่าคนมวยเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้มได้กันแล้ว ก็ให้ชกกันหน้าพระธินั่ง แลนายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึ่งยกก็แพ้ แล้วจัดคนอื่นเข้ามาเปรียบชกอิก นายขนมต้มชกพม่าชกมอญแพ้ถึ่งเก้าคนสิบคนสู้ไม่ได้ พระเจ้าอังวะทอดพระเนตรยกพระหัตถ์ตบพระอุระตรัสสรรเสรีญฝีมือนายขนมต้มว่า ไทมีพิศม์อยู่ทั่วตัว แต่มือเปล่าไม่มีอาวุธเลยยังสู้ได้ คนเดียวชณะถึ่งเก้าคนสิบคนฉนี้ เพราะจ้าวนายไม่ดีจึ่งเสียบ้านเมืองแก่ข้าศึก ถ้าจ้าวนายดีแล้วไหนเลยจะเสียกรุงศรีอยุทธยา แล้วพระราชทานรางวัลแก่นายขนมต้มโดยสมควร"
เรื่องพระเจ้ามังระยกยอดพระเกศธาตุที่พระเจดีย์ชเวดากองตามพงศาวดารพม่าระบุว่าเกิดใน พ.ศ.๒๓๑๗ แต่ไม่มีระบุเรื่องนายขนมต้มในหลักฐานฝั่งพม่าครับ
ความน่าเชื่อถือของพระราชพงศาวดารฉบับพระพนรัตน์ (ซึ่งเป็นต้นแบบของพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา) ยังน่ากังขาอยู่ เพราะมีเนื้อความพิสดารหลายอย่างถูกเพิ่มมามากเมื่อเทียบกับพงศาวดารเก่าๆ และมีการเพิ่มรายละเอียดของตำนานท้องถิ่นหรือบุคคลต่างๆมากขึ้นเช่นบางระจัน ขุนรองปลัดชู นายขนมต้ม ฯลฯ ซึ่งผิดจากขนบการเขียนพงศาวดารแบบเดิมที่เน้นแต่เรื่องกษัตริย์และเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง และมีการเขียนบทสนทนาซึ่งมีใจความยกย่องคนไทยหรือวิพากษ์วิจารณ์เจ้านายยุคอยุทธยาอยู่มาก เช่นเรื่องนายขนมต้ม หรือเรื่องอะแซหวุ่นกี้ดูตัวพระยาจักรีและได้ยกย่องสรรเสริญมาก(ในขณะที่พงศาวดารที่ชำระสมัยรัชกาลที่ ๑ ฉบับเก่าๆ ไม่มีกล่าวถึงเลย มีแต่บรรยายสงครามสั้นๆ)
จึงสันนิษฐานว่าเนื้อหาเรื่องนายขนมต้มมีการเสริมแต่งไปตามบริบทของสังคมยุคนั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเค้าความจริงเลยครับ
ส่วนเรื่องอื่นๆที่รู้จักกันส่วนใหญ่เช่นพ่อแม่พี่สาวถูกฆ่า เรียนมวยจากชายพเนจร มาจากนิยายที่แต่งโดยคมทวน คันธนู กวีซีไรต์ครับ
แสดงความคิดเห็น
นายขนมต้ม มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์หรือไม่ครับ