“หมอบอกว่าผมมี ..ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (Pneumothorax) ต้องรีบใส่ท่อระบายลม ... ! แนะนำหน่อยครับ”

กระทู้สนทนา
พฤหัสนี้ขอนำเสนอเรื่อง ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (Pneumothorax)

เป็นคำถามที่มักถามมาบ่อยและต้องการคำตอบเร่งด่วนเสมอ ( ผมมักจะตอบไม่ทัน)

อันนี้ขอยกตัวอย่างเคสจริงที่เป็นนักศึกษามหาลัย
เป็นชาวเยอรมันมาเรียน elective ที่บ้านเรา . วันหนึ่งก็มีอาการแน่นหน้าอก จึงรีบมาห้องฉุกเฉิน

*รายละเอียดหาอ่านได้ ใน Googleครับ search ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ *

จะแนะนำประมาณนี้ครับ
1. ถ้าหมอที่ห้องฉุกเฉินประเมินแล้วต้องใส่ท่อระบายลม .. ควรจะใส่เลยครับ เพราะการตัดสินใจล่าช้าอาจเกิดอันตรายได้
2. จะมีวิธีการวัดปริมาณลมที่รั่ว ถ้าเกินกว่าค่า .. จะแนะนำให้ใส่ท่อระบายเลย
3. แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหรือสัญญาณชีพจรไม่ดี.. หมอจะไม่ดูตัวเลขใดๆทั้งสิ้น และมักจะตัดสินใจใส่ท่อเลย ( เอาอาการผู้ป่วยเป็นที่ตั้งในการตัดสิน)
4. หลังจากใส่ท่อแล้ว.. ถ้าติดตามสักระยะลมรั่วหายหมอจะเอาออก... โดยเฉลี่ยจะอยู่ประมาณสามถึงห้าวันถ้าไม่มีผลแทรกซ้อน
5. ส่วนใหญ่แผลจะติดเองแล้วหายอย่างสมบูรณ์
6. สาเหตุที่ลมรั่วเอง... ก็มีหลายสาเหตุ อาจจะต้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด... ในบ้านเราหมอจะให้ความสำคัญกับวัณโรคปอดเป็นพิเศษ
เพราะเจอเยอะแล้วรักษาหายขาด

รูปที่ 1 : รอยประสีแดงคือขอบเขตของปอดที่ถูกลมกดเบียดเข้าไปข้างใน
( ดาวสีแดงคือบริเวณของลม)
รูปเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดจะเห็นลมชัดเจนมากขึ้น

รูปที่2 : เอกซเรย์ปอดหลังใส่ท่อระบายลม สังเกตว่าลมในเยี่ยหุ้มปอดหายไปหมดแล้ว

รูปที3 : เอกซเรย์ปอดและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดสองอาทิตย์หลังจากกลับบ้านไปแล้ว พบว่าภาวะลมในโยมปอดหายหมด

บทสรุป: ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ถ้าแพทย์ประเมินแล้วต้องใส่ ไม่ต้องเสียเวลากับ ขอความเห็นแพทย์คนที่สอง ( 2nd opinion ) ..
#ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ #pneumothorax



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่