มีพระบาลีในปัณฑิตวัคคแห่งพระธรรมบทกล่าวไว้ ดังนี้คือ "ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตกฺกิเลเสหิ ปณฺฑิโต" แปลว่า "บัณฑิตพึงชำระตนคือจิต ให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส" แสดงว่า จิตที่บริสุทธิ์นี้ คือ ตน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกมาสอนพระอานนท์ดังกล่าวแล้วข้างต้นนี้ ดังนั้นคำสอนที่ว่า ไม่มีตัวตน จึงย่อมขัดแย้งกับพุทธพจน์ข้อนี้อย่างไม่มีปัญหา
>> เชื่อว่ามีตัวตน นั่นขัดแย้งคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด เพราะความเข้าใจผิด
ยิ่งเอาจิตเป็นตัวตน ยิ่งย้อนแย้งทั้งพระไตรฯ
จิต เกิดเองลอยๆไม่ได้ ต้องเกิดดับพร้อมเจตสิกเสมอ
จิตปราศจากอาสวะกิเลส แต่ไม่ใช่จะไม่มีอะไรปรุงแต่งจิตที่ปราศจากอาสวะกิเลส
มิใช่จิตจะบริสุทธิ์ เกิดโดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมได้ เพียงแต่จะเป็นเจตสิกใดเกิดร่วมเท่านั้น
และคิดว่ามีตัวตน เพราะมีสิ่งปรากฎ นั่นก้อไม่ได้ศึกษาอีกว่า
สภาวะธรรมทั้งปวงนั้นมี แต่จะหาความเป็นตัวตน ที่จะไม่เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นไม่มี
และพระองค์ก้อทรงแสดงชัดเจนในปรมัตธรรม หรือธรรมที่มีอยู่จริง ได้แก่
จิต เจตสิก รูป นิพพาน
นั่นคือ ความเป็นอนัตตาของสภาวะธรรมทั้งปวง
นั่นคือ สัพเพ ธัมมา อนัตตา
มิใช่คิดตื้นๆ แค่สองประโยคแรกที่ท่านตรัสว่า
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ สังขารา ทุกขา
แลัวตีความแบบผู้ที่ไม่ได้ศึกษา และมองภาพรวมของทั้งพระไตรฯไม่ออกว่า
สัพเพ ธัมมา อนัตตา
นั่นคือการรวมยอดทั้งหมดของพระไตรฯ คือความเป็นอนัตตาของทั้งสังขาร และวิสังขาร
ซึ่งท่านทรงแจกแจงรายละเอียดไว้แล้วในทั้งพระไตรฯ
มิใช่มากล่าวตื้นๆ ไร้ภูมิว่า นั่นเป็นพุทธพจน์เดียว
แล้วยังแยกไม่ออกอีกว่า
จงมีตนเป็นที่พึ่ง
ตน นั้นเป็นสมมุติบัญญัติ ที่ใช้สื่อสาร และพระองค์ก้อทรงจำแนกแจกแจงไว้แล้วว่า
อย่างไรคือบัญญัติ อย่างไรคือ ปรมัตธรรม
เมื่อจำแนกตน หรือขันธ์ออกมา จะหาความเป็นตนไม่ได้
หรือแม้แต่นิพพาน จะมีตนอะไรที่สมอ้างว่า นิพพานเป็นของตน
นั่นคือสภาวะธรรมทั้งปวงที่มีอยู่จริงเหล่านั้น ทั้งสังขารและวิสังขาร
ย่อมเป็นไปตามลักษณะนั้นๆตามธรรมดา และมีมาแต่เหตุทั้งสิ้น
สัพเพ ธัมมา อนัตตา
นั่นคือบทสรุปของทั้งพระไตรฯ
ที่ทรงเปี่ยมด้วยพระปัญญา ที่สรุปพระบรมสัจจะธรรมทั้งหมดลงได้ด้วยประโยคสั้นๆ เพียงประโยคเดียว
สัพเพ ธัมมา อนัตตา คือบทสรุปทั้งหมดของพระบรมสัจจธรรม
>> เชื่อว่ามีตัวตน นั่นขัดแย้งคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด เพราะความเข้าใจผิด
ยิ่งเอาจิตเป็นตัวตน ยิ่งย้อนแย้งทั้งพระไตรฯ
จิต เกิดเองลอยๆไม่ได้ ต้องเกิดดับพร้อมเจตสิกเสมอ
จิตปราศจากอาสวะกิเลส แต่ไม่ใช่จะไม่มีอะไรปรุงแต่งจิตที่ปราศจากอาสวะกิเลส
มิใช่จิตจะบริสุทธิ์ เกิดโดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมได้ เพียงแต่จะเป็นเจตสิกใดเกิดร่วมเท่านั้น
และคิดว่ามีตัวตน เพราะมีสิ่งปรากฎ นั่นก้อไม่ได้ศึกษาอีกว่า
สภาวะธรรมทั้งปวงนั้นมี แต่จะหาความเป็นตัวตน ที่จะไม่เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นไม่มี
และพระองค์ก้อทรงแสดงชัดเจนในปรมัตธรรม หรือธรรมที่มีอยู่จริง ได้แก่
จิต เจตสิก รูป นิพพาน
นั่นคือ ความเป็นอนัตตาของสภาวะธรรมทั้งปวง
นั่นคือ สัพเพ ธัมมา อนัตตา
มิใช่คิดตื้นๆ แค่สองประโยคแรกที่ท่านตรัสว่า
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ สังขารา ทุกขา
แลัวตีความแบบผู้ที่ไม่ได้ศึกษา และมองภาพรวมของทั้งพระไตรฯไม่ออกว่า
สัพเพ ธัมมา อนัตตา
นั่นคือการรวมยอดทั้งหมดของพระไตรฯ คือความเป็นอนัตตาของทั้งสังขาร และวิสังขาร
ซึ่งท่านทรงแจกแจงรายละเอียดไว้แล้วในทั้งพระไตรฯ
มิใช่มากล่าวตื้นๆ ไร้ภูมิว่า นั่นเป็นพุทธพจน์เดียว
แล้วยังแยกไม่ออกอีกว่า
จงมีตนเป็นที่พึ่ง
ตน นั้นเป็นสมมุติบัญญัติ ที่ใช้สื่อสาร และพระองค์ก้อทรงจำแนกแจกแจงไว้แล้วว่า
อย่างไรคือบัญญัติ อย่างไรคือ ปรมัตธรรม
เมื่อจำแนกตน หรือขันธ์ออกมา จะหาความเป็นตนไม่ได้
หรือแม้แต่นิพพาน จะมีตนอะไรที่สมอ้างว่า นิพพานเป็นของตน
นั่นคือสภาวะธรรมทั้งปวงที่มีอยู่จริงเหล่านั้น ทั้งสังขารและวิสังขาร
ย่อมเป็นไปตามลักษณะนั้นๆตามธรรมดา และมีมาแต่เหตุทั้งสิ้น
สัพเพ ธัมมา อนัตตา
นั่นคือบทสรุปของทั้งพระไตรฯ
ที่ทรงเปี่ยมด้วยพระปัญญา ที่สรุปพระบรมสัจจะธรรมทั้งหมดลงได้ด้วยประโยคสั้นๆ เพียงประโยคเดียว