ก่อนประกวดราคาบิ๊กลอต 15 ล้านเล่ม 1.2 หมื่นล. ! ทำความรู้จัก หนังสือเดินทางที่ใช้อยู่ มีกี่ส่วนองค์ประกอบ หัวใจอยู่ตรงไหน ยี่ห้ออะไร ไฉนเป็นจุดชี้ขาด?
กรณีกระทรวงการต่างประเทศอยู่ระหว่างประกวดราคาจ้างผลิตและให้บริการจัดทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 3 จำนวน 15,000,000 เล่ม (สิบห้าล้านเล่ม) หรือ ภายในระยะเวลา 7 ปีแล้วแต่กรณีใดจะถึงก่อน กำหนดราคากลาง 12,438,750,000 บาท หรือเล่มละ 829.25 บาท โดยมีเอกชน 4 รายเสนอราคา ขณะนี้ยังไม่ทราบผลการประกวดราคา
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org เปิดเผยเอกสาร ข้อสอบถามของเอกชนผู้ซื้อซอง และ ข้อชี้แจงของกระทรวงการต่างประเทศ ไปแล้ว
คราวนี้มาทำความรู้จัก ไส้ในของหนังสือเดินทางกันบ้าง
เดิมกรมการกงสุล ซื้อเล่มหนังสือเดินทาง จาก บริษัทไทยบริทิชซีเคียวพริ้นติ้งจำกัด (TBSP) จัดทำเล่ม และมีกลุ่มเครือบริษัท (CDG) เป็นผู้จัดทำซอฟท์แวร์บริหารจัดการ ต่อมากรมการกงศุล มีนโยบาย จ้างผลิตและจัดทำหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ในลักษณะเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) องค์ประกอบหลัก หรือ หัวใจ ในการจัดทำมีดังนี้
1.ตัวเล่มหนังสือเดินทาง eBooklet ประกอบด้วย
1.1. ไมโครชิปตามมาตรฐาน ICAO (องค์การการบินพลเรือน) อยู่ในปกด้านหลัง ผลิตได้ในไทย
1.2. ไมโครชิป ติดในหน้า Data page หน้าผู้ถือหนังสือเดินทาง ที่มีรูปถ่ายและข้อมูล-ประเทศผู้ออก
1.3. ไมโครชิป มีข้อมูล Biometric อัตตชีวภาพ เช่น ใบหน้า ม่านตา ลายนิ้วมือ ตามมาตรฐาน ICAO
1.4. หน้าลงตรา Visa Page
1.5. มาตรการเพื่อความปลอดภัยอื่นๆ เช่น กระดาษและหมึกที่ใช้ วิธีพิมพ์ วิธีเข้าเล่ม ฯลฯ ซึ่งรวมถึงโรงพิมพ์ ซีเคียวริตี้
2. เครื่องบันทึกข้อมูลลงหนังสือเดินทาง Personallization Machines ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในโลกมีไม่กี่ยี่ห้อเพราะปริมาณการใช้น้อย ราคาสูง เช่น Muhlbauer, IAI, Data Card ฯลฯ มีเทคโนโลยีการพิมพ์ใช้ Laser และหมึกพิมพ์ ที่ให้ความปลอดภัยสูงและป้องกันการปลอมแปลงได้สูง รวมทั้งการอ่านเขียนข้อมูลลงในไมโครชิป และเจาะรู ในหน้าลงตราให้ตรงกับหมายเลขประจำหนังสือเดินทาง เป็นต้น
3. อุปกรณ์ลงประวัติ Enrolment Equipment เพื่อจัดทำ-ตรวจสอบก่อนอนุมัติทำเล่ม-ตรวจพิสูจน์ทราบ ฯลฯ เช่น
3.1. กล้องถ่ายรูปหน้าเข้าฐานข้อมูล พิมพ์ลงหน้าผู้ถือหนังสือ
3.2. กล้องลงหนังสือ กล้องบันทึกม่านตา
3.3. เครื่องอ่านลายนิ้วมือ 10 นิ้ว (มือซ้าย-ขวา 4 นิ้ว และหัวแม่มือ)
4. ระบบ Server Farm-Computer และศูนย์ DSR-Disaster Site Recover เพื่อใช้งานทั้งระบบ
4.1. Front End เพื่องานรับบริการ และ Enrolment ทั้งระบบ
4.2. Back End เพื่อเก็บฐานข้อมูล ทั้งขบวนงาน รวมทั้งการเก็บ Biometrics ที่สำคัญมากที่สุด เพราะเป็นสมบัติส่วนบุคคลที่ละเมิดมิได้ ห้ามบันทึก แจกจ่าย หรือ นำไปใช้ประโยชน์ใดใดที่เจ้าของไม่อนุญาต
4.3. การเชื่อมต่อระหว่างหน่วยงาน และการการป้องกันภัยทางคอมพิวเตอร์
5. สถานที่ของทางราชการ หรืออื่นใดที่กรมการกงสุลให้บริการ
6. ผู้ให้บริการ Outsource พร้อมเจ้าหน้าที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
7. ค่าธรรมเนียม ที่กรมการกงสุลเรียกเก็บรายเล่มๆละ 1,000 บาท และส่วนแบ่งรายได้ที่ผู้จัดทำได้รับ
ในจำนวนนี้เครื่องบันทึกข้อมูลลงหนังสือเดินทาง ถือเป็นองค์ประกอบหลักในการจัดทำหนังสือเดินทางและเป็นหัวใจในการประกวดราคา
การจัดทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ระยะแรก จำนวน 7 ล้านเล่ม 6.6 พันล้านบาท
กลุ่มจันวาณิชย์เป็นผู้ได้รับเลือก เอกชนใช้เครื่องบันทึกข้อมูลลงหนังสือเดินทาง Personallization Machine ยี่ห้อ Muhlbauer เข้าทำการทดสอบ
การจัดทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระยะต่อมาเอกชนใช้เครื่องบันทึกข้อมูลลงหนังสือเดินทางยี่ห้อ IAI แทน ยี่ห้อ Muhlbauer แต่ไม่มีข้อมูลว่าเหตุใดถึงเปลี่ยนยี่ห้อ
มาถึงบิ๊กลอตที่กำลังประกวดราคา 15 ล้านเล่ม ต้องรอดูว่าเจ้าเดิม ใช้ยี่ห้ออะไร? รายอื่นจะมีเครื่องเข้าเสนอทดสอบหรือไม่ ยี่ห้อใด ? ซึ่งเป็นจุดชี้ขาด
ที่น่าสนใจทิ้งท้าย เครื่องบันทึกข้อมูล ที่ใช้งานก่อนหน้านี้เป็นทรัพย์สินของเอกชนหรือของราชการ ถ้าเป็นของราชการ ตอนนี้อยู่ที่ไหน ขายให้แก่ใคร ราคาเท่าใด?
ที่มา
https://www.isranews.org/isranews/68492-report01-68492.html
ผ่าเล่มพาสปอร์ต ‘เครื่องบันทึกข้อมูล’ จุดชี้ขาด ใครกวาด 15 ล้านเล่ม?
กรณีกระทรวงการต่างประเทศอยู่ระหว่างประกวดราคาจ้างผลิตและให้บริการจัดทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 3 จำนวน 15,000,000 เล่ม (สิบห้าล้านเล่ม) หรือ ภายในระยะเวลา 7 ปีแล้วแต่กรณีใดจะถึงก่อน กำหนดราคากลาง 12,438,750,000 บาท หรือเล่มละ 829.25 บาท โดยมีเอกชน 4 รายเสนอราคา ขณะนี้ยังไม่ทราบผลการประกวดราคา
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org เปิดเผยเอกสาร ข้อสอบถามของเอกชนผู้ซื้อซอง และ ข้อชี้แจงของกระทรวงการต่างประเทศ ไปแล้ว
คราวนี้มาทำความรู้จัก ไส้ในของหนังสือเดินทางกันบ้าง
เดิมกรมการกงสุล ซื้อเล่มหนังสือเดินทาง จาก บริษัทไทยบริทิชซีเคียวพริ้นติ้งจำกัด (TBSP) จัดทำเล่ม และมีกลุ่มเครือบริษัท (CDG) เป็นผู้จัดทำซอฟท์แวร์บริหารจัดการ ต่อมากรมการกงศุล มีนโยบาย จ้างผลิตและจัดทำหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ในลักษณะเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) องค์ประกอบหลัก หรือ หัวใจ ในการจัดทำมีดังนี้
1.ตัวเล่มหนังสือเดินทาง eBooklet ประกอบด้วย
1.1. ไมโครชิปตามมาตรฐาน ICAO (องค์การการบินพลเรือน) อยู่ในปกด้านหลัง ผลิตได้ในไทย
1.2. ไมโครชิป ติดในหน้า Data page หน้าผู้ถือหนังสือเดินทาง ที่มีรูปถ่ายและข้อมูล-ประเทศผู้ออก
1.3. ไมโครชิป มีข้อมูล Biometric อัตตชีวภาพ เช่น ใบหน้า ม่านตา ลายนิ้วมือ ตามมาตรฐาน ICAO
1.4. หน้าลงตรา Visa Page
1.5. มาตรการเพื่อความปลอดภัยอื่นๆ เช่น กระดาษและหมึกที่ใช้ วิธีพิมพ์ วิธีเข้าเล่ม ฯลฯ ซึ่งรวมถึงโรงพิมพ์ ซีเคียวริตี้
2. เครื่องบันทึกข้อมูลลงหนังสือเดินทาง Personallization Machines ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในโลกมีไม่กี่ยี่ห้อเพราะปริมาณการใช้น้อย ราคาสูง เช่น Muhlbauer, IAI, Data Card ฯลฯ มีเทคโนโลยีการพิมพ์ใช้ Laser และหมึกพิมพ์ ที่ให้ความปลอดภัยสูงและป้องกันการปลอมแปลงได้สูง รวมทั้งการอ่านเขียนข้อมูลลงในไมโครชิป และเจาะรู ในหน้าลงตราให้ตรงกับหมายเลขประจำหนังสือเดินทาง เป็นต้น
3. อุปกรณ์ลงประวัติ Enrolment Equipment เพื่อจัดทำ-ตรวจสอบก่อนอนุมัติทำเล่ม-ตรวจพิสูจน์ทราบ ฯลฯ เช่น
3.1. กล้องถ่ายรูปหน้าเข้าฐานข้อมูล พิมพ์ลงหน้าผู้ถือหนังสือ
3.2. กล้องลงหนังสือ กล้องบันทึกม่านตา
3.3. เครื่องอ่านลายนิ้วมือ 10 นิ้ว (มือซ้าย-ขวา 4 นิ้ว และหัวแม่มือ)
4. ระบบ Server Farm-Computer และศูนย์ DSR-Disaster Site Recover เพื่อใช้งานทั้งระบบ
4.1. Front End เพื่องานรับบริการ และ Enrolment ทั้งระบบ
4.2. Back End เพื่อเก็บฐานข้อมูล ทั้งขบวนงาน รวมทั้งการเก็บ Biometrics ที่สำคัญมากที่สุด เพราะเป็นสมบัติส่วนบุคคลที่ละเมิดมิได้ ห้ามบันทึก แจกจ่าย หรือ นำไปใช้ประโยชน์ใดใดที่เจ้าของไม่อนุญาต
4.3. การเชื่อมต่อระหว่างหน่วยงาน และการการป้องกันภัยทางคอมพิวเตอร์
5. สถานที่ของทางราชการ หรืออื่นใดที่กรมการกงสุลให้บริการ
6. ผู้ให้บริการ Outsource พร้อมเจ้าหน้าที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
7. ค่าธรรมเนียม ที่กรมการกงสุลเรียกเก็บรายเล่มๆละ 1,000 บาท และส่วนแบ่งรายได้ที่ผู้จัดทำได้รับ
ในจำนวนนี้เครื่องบันทึกข้อมูลลงหนังสือเดินทาง ถือเป็นองค์ประกอบหลักในการจัดทำหนังสือเดินทางและเป็นหัวใจในการประกวดราคา
การจัดทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ระยะแรก จำนวน 7 ล้านเล่ม 6.6 พันล้านบาท
กลุ่มจันวาณิชย์เป็นผู้ได้รับเลือก เอกชนใช้เครื่องบันทึกข้อมูลลงหนังสือเดินทาง Personallization Machine ยี่ห้อ Muhlbauer เข้าทำการทดสอบ
การจัดทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระยะต่อมาเอกชนใช้เครื่องบันทึกข้อมูลลงหนังสือเดินทางยี่ห้อ IAI แทน ยี่ห้อ Muhlbauer แต่ไม่มีข้อมูลว่าเหตุใดถึงเปลี่ยนยี่ห้อ
มาถึงบิ๊กลอตที่กำลังประกวดราคา 15 ล้านเล่ม ต้องรอดูว่าเจ้าเดิม ใช้ยี่ห้ออะไร? รายอื่นจะมีเครื่องเข้าเสนอทดสอบหรือไม่ ยี่ห้อใด ? ซึ่งเป็นจุดชี้ขาด
ที่น่าสนใจทิ้งท้าย เครื่องบันทึกข้อมูล ที่ใช้งานก่อนหน้านี้เป็นทรัพย์สินของเอกชนหรือของราชการ ถ้าเป็นของราชการ ตอนนี้อยู่ที่ไหน ขายให้แก่ใคร ราคาเท่าใด?
ที่มา https://www.isranews.org/isranews/68492-report01-68492.html