นักเขียนบท คือ สารตั้งต้น และเป็น 1 ใน 3 อรหันต์ ที่แบกผลงาน 1 เรื่อง นั่นคือ ผู้เขียนบท-ผู้กำกับ-นักแสดงนำ
สามส่วนนี้ เป็นแกนหลัก ที่จะทำให้ผลงานละคร/หนัง ดังหรือไม่ ร่วมกับองค์ประกอบอื่น ได้แก่
ตากล้อง คนจัดแสง เสื้อผ้า ฉาก นักแสดงสมทบ ซึ่งทำให้งานละเอียดขึ้น
รายได้เฉลี่ยของนักเขียนบทเกาหลี คิดเป็นเงินไทย อยู่ที่ประมาณ 1,700,000 บาท ต่อปี
ค่าครองชีพในเกาหลีใต้ สูงกว่าไทย นักเขียนบทไทย ควรมีรายได้ ปีละ 1,400,000 บาท ต่อปี
หรือ ราวๆ เดือนละ 1 แสนกว่าบาท เพราะงานเขียนบท ต้องใช้ทีมทำวิจัย และหาแรงบันดาลใจ
ในการคิดแต่ละตอนให้เรื่องดำเนินไป ใช้เวลา 1-2 ปี ต่อ 1 เรื่อง
พวกเขาควรปลอดความกังวลทางการเงิน
กลุ่มนี้ คือ นักเขียนบทมืออาชีพ ทั่วไป
ส่วนที่ทำให้ซีรีย์โด่งดังได้ นักเขียนบทเกาหลีกลุ่มนี้ มีรายได้ไม่ห่างจากดารายอดนิยม
คือ ตอนละประมาณ 2 ล้านบาทไทย เขียน 16 ตอน
รายได้รวม 32 ล้านบาท รับเงินทันทีที่เขียนเสร็จ
รายได้ทั้งหมด อาจไปถึง 40-45 ล้านบาท / 1 เรื่อง เมื่อรวมกับ
ค่าลิขสิทธิ์จาก re-run และ streaming platforms
ยิ่งจำนวนผู้ชมมาก ส่วนแบ่งรายได้ ก็ยิ่งมาก
นั่นหมายความว่า ถ้านักเขียนบทเกาหลีคนหนึ่ง ทำให้ซีรีย์ดังสัก 3 เรื่องในช่วง
เวลา 10 ปีของการทำงาน ก็เกษียณอายุด้วยเงิน 100 ล้านบาท
ด้วยพล็อตเรื่องที่แปลกใหม่ บทสนทนาที่คมคาย ตัวละครที่มีเสน่ห์ ลุ่มลึก
ทำให้ซีรีย์เกาหลี ตีตลาดโลก
เราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
แต่ค่าตัวนักกีฬา สูงกว่า ค่าตัวศิลปิน หลายเท่า
เคยไหม ที่รัฐจะให้เงินสัก 2 ล้าน กับ
ผู้ที่ชนะการประกวดสาขาศิลปะ ระดับนานาชาติ
งบประมาณที่ใช้ฝึกซ้อมอัดฉีดนักกีฬา มีพอสมควร
แต่งบประมาณที่สร้าง-พัฒนาศิลปินให้กับชาติ มีสัดส่วนค่อนข้างน้อย
ไม่เพียงแต่ภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัทผู้ผลิตไทย
ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับนักเขียนบท
ทำให้ใน 1 ปี มีผลงานคุณภาพออกมาไม่กี่เรื่อง
นักเขียนบท จึงเป็น อาชีพที่ขาดแคลนในประเทศไทย
ทั้งที่พวกเขาสร้างรายได้ให้แก่คนจำนวนมากในอุตสาหกรรมบันเทิง
ส่องรายได้ของนักเขียนบทซีรีย์-ภาพยนตร์เกาหลี
สามส่วนนี้ เป็นแกนหลัก ที่จะทำให้ผลงานละคร/หนัง ดังหรือไม่ ร่วมกับองค์ประกอบอื่น ได้แก่
ตากล้อง คนจัดแสง เสื้อผ้า ฉาก นักแสดงสมทบ ซึ่งทำให้งานละเอียดขึ้น
รายได้เฉลี่ยของนักเขียนบทเกาหลี คิดเป็นเงินไทย อยู่ที่ประมาณ 1,700,000 บาท ต่อปี
ค่าครองชีพในเกาหลีใต้ สูงกว่าไทย นักเขียนบทไทย ควรมีรายได้ ปีละ 1,400,000 บาท ต่อปี
หรือ ราวๆ เดือนละ 1 แสนกว่าบาท เพราะงานเขียนบท ต้องใช้ทีมทำวิจัย และหาแรงบันดาลใจ
ในการคิดแต่ละตอนให้เรื่องดำเนินไป ใช้เวลา 1-2 ปี ต่อ 1 เรื่อง
พวกเขาควรปลอดความกังวลทางการเงิน
กลุ่มนี้ คือ นักเขียนบทมืออาชีพ ทั่วไป
ส่วนที่ทำให้ซีรีย์โด่งดังได้ นักเขียนบทเกาหลีกลุ่มนี้ มีรายได้ไม่ห่างจากดารายอดนิยม
คือ ตอนละประมาณ 2 ล้านบาทไทย เขียน 16 ตอน
รายได้รวม 32 ล้านบาท รับเงินทันทีที่เขียนเสร็จ
รายได้ทั้งหมด อาจไปถึง 40-45 ล้านบาท / 1 เรื่อง เมื่อรวมกับ
ค่าลิขสิทธิ์จาก re-run และ streaming platforms
ยิ่งจำนวนผู้ชมมาก ส่วนแบ่งรายได้ ก็ยิ่งมาก
นั่นหมายความว่า ถ้านักเขียนบทเกาหลีคนหนึ่ง ทำให้ซีรีย์ดังสัก 3 เรื่องในช่วง
เวลา 10 ปีของการทำงาน ก็เกษียณอายุด้วยเงิน 100 ล้านบาท
ด้วยพล็อตเรื่องที่แปลกใหม่ บทสนทนาที่คมคาย ตัวละครที่มีเสน่ห์ ลุ่มลึก
ทำให้ซีรีย์เกาหลี ตีตลาดโลก
เราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
แต่ค่าตัวนักกีฬา สูงกว่า ค่าตัวศิลปิน หลายเท่า
เคยไหม ที่รัฐจะให้เงินสัก 2 ล้าน กับ
ผู้ที่ชนะการประกวดสาขาศิลปะ ระดับนานาชาติ
งบประมาณที่ใช้ฝึกซ้อมอัดฉีดนักกีฬา มีพอสมควร
แต่งบประมาณที่สร้าง-พัฒนาศิลปินให้กับชาติ มีสัดส่วนค่อนข้างน้อย
ไม่เพียงแต่ภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัทผู้ผลิตไทย
ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับนักเขียนบท
ทำให้ใน 1 ปี มีผลงานคุณภาพออกมาไม่กี่เรื่อง
นักเขียนบท จึงเป็น อาชีพที่ขาดแคลนในประเทศไทย
ทั้งที่พวกเขาสร้างรายได้ให้แก่คนจำนวนมากในอุตสาหกรรมบันเทิง