นายชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวความคืบหน้าโครงการจัดจ้างผลิตและให้บริการจัดทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 3 ว่า สำหรับการดำเนินโครงการระยะที่ 3 กระทรวงการต่างประเทศตั้งเป้าพัฒนารูปแบบหนังสือเดินทาง และยกระดับมาตรฐานการให้บริการให้สูงกว่าโครงการที่ผ่านมา โดยจะมีการเพิ่มอายุการใช้งานหนังสือเดินทางสำหรับผู้บรรลุนิติภาวะจากเดิม 5 ปี เป็นสูงสุด 10 ปี ลดระยะเวลาการรับคำร้องจาก 20 นาทีเหลือ 12 นาที ยกระดับการเก็บข้อมูลชีวมาตร โดยให้มีการเก็บข้อมูลม่านตา เพิ่มเติมจากเดิมที่ใช้เพียงใบหน้าและลายนิ้วมือเท่านั้น นอกจากนี้ยังจะเพิ่มศูนย์ผลิตหนังสือเดินทางอีกหนึ่งแห่ง จากเดิมที่สามารถผลิตได้ที่กรมการกงสุลเพียงแห่งเดียวเพื่อให้การบริการประชาชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
นายชาตรีกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเผยแพร่ร่างขอบเขตงาน(ทีโออาร์) เพื่อให้บริษัทต่างๆ ยื่นข้อเสนอได้จนถึงวันที่ 1 มิถุนยายนนี้ ขยายจากเดิมในวันที่ 1 มีนาคม เพื่อให้เอกชนมีเวลาเตรียมการมากขึ้น
“ยืนยันว่ากระบวนการและขั้นตอนการดำเนินโครงการเป็นไปตามกฎหมาย โปร่งใส และคำนึงถึงความเป็นธรรม เปิดกว้างในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ ไม่มีการล็อกสเปก”นายชาตรีกล่าว และว่า ผู้ประกอบการที่สนใจเสนอราคาต้องประกวดผ่านระบบการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(อี บิดดิ้ง) ที่มีการตั้งคณะกรรมการรองรับภารกิจต่างๆ ซึ่งมีทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและเทคนิคจากหน่วยงานภายนอกร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีการเข้าร่วมข้อตกลงคุณธรรมกับกรมบัญชีกลาง และเชิญผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรมจากองค์กรต่อต้านคอรัปชัน (ประเทศไทย) เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องทุกขั้นตอน”
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
https://www.prachachat.net/economy/news-150180
นักเดินทางเฮ! กรมการกงสุลเตรียมขยายอายุหนังสือเดินทาง จาก 5 ปี เป็น 10 ปี
นายชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวความคืบหน้าโครงการจัดจ้างผลิตและให้บริการจัดทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 3 ว่า สำหรับการดำเนินโครงการระยะที่ 3 กระทรวงการต่างประเทศตั้งเป้าพัฒนารูปแบบหนังสือเดินทาง และยกระดับมาตรฐานการให้บริการให้สูงกว่าโครงการที่ผ่านมา โดยจะมีการเพิ่มอายุการใช้งานหนังสือเดินทางสำหรับผู้บรรลุนิติภาวะจากเดิม 5 ปี เป็นสูงสุด 10 ปี ลดระยะเวลาการรับคำร้องจาก 20 นาทีเหลือ 12 นาที ยกระดับการเก็บข้อมูลชีวมาตร โดยให้มีการเก็บข้อมูลม่านตา เพิ่มเติมจากเดิมที่ใช้เพียงใบหน้าและลายนิ้วมือเท่านั้น นอกจากนี้ยังจะเพิ่มศูนย์ผลิตหนังสือเดินทางอีกหนึ่งแห่ง จากเดิมที่สามารถผลิตได้ที่กรมการกงสุลเพียงแห่งเดียวเพื่อให้การบริการประชาชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
นายชาตรีกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเผยแพร่ร่างขอบเขตงาน(ทีโออาร์) เพื่อให้บริษัทต่างๆ ยื่นข้อเสนอได้จนถึงวันที่ 1 มิถุนยายนนี้ ขยายจากเดิมในวันที่ 1 มีนาคม เพื่อให้เอกชนมีเวลาเตรียมการมากขึ้น
“ยืนยันว่ากระบวนการและขั้นตอนการดำเนินโครงการเป็นไปตามกฎหมาย โปร่งใส และคำนึงถึงความเป็นธรรม เปิดกว้างในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ ไม่มีการล็อกสเปก”นายชาตรีกล่าว และว่า ผู้ประกอบการที่สนใจเสนอราคาต้องประกวดผ่านระบบการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(อี บิดดิ้ง) ที่มีการตั้งคณะกรรมการรองรับภารกิจต่างๆ ซึ่งมีทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและเทคนิคจากหน่วยงานภายนอกร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีการเข้าร่วมข้อตกลงคุณธรรมกับกรมบัญชีกลาง และเชิญผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรมจากองค์กรต่อต้านคอรัปชัน (ประเทศไทย) เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องทุกขั้นตอน”
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
https://www.prachachat.net/economy/news-150180