การนำสมาธิไปใช้ให้เกิดอานิสงส์
สมาธิ แปลว่า ก่อเกิดในขบวนการนั้น
คนทั่วไปมักจะแปลสมาธิด้านเดียวไม่ครบองค์ประกอบ เช่น
ตัวสมาธิคืออะไร ถ้าเราตอบว่าสมาธิ แปลว่าจิตสงบ แล้วเวลาเราขับรถจิตสงบได้มั้ย ก็ไม่ได้ แสดงว่าเราไม่มีสมาธิ แล้วถ้าเราไม่มีสมาธิแล้วเราจะเป็นยังไงชีวิตก็จบใช่มั้ย ตกลงสมาธิทำให้จิตเราสงบหรือเปล่า ถ้าตอบว่าสมาธิทำให้จิตเราสงบก็ไม่ใช่ เพราะมันเป็นด้านเดียว
ถ้าตอบว่าสมาธิแปลว่า ตั้งมั่น อันนี้ก็ด้านเดียว จะทำให้จิตเรานิ่ง แต่จิตเราจะทำงานจิตเราจะนิ่งได้มั้ย ก็ไม่ได้ นี่แหละ ขัดแย้งกัน
ถ้าบอกว่า สมาธิแปลว่าสงบ ถ้าเราไปทำกับข้าว จิตจะสงบไปนั่งหลับตาทำกับข้าวได้มั้ย ก็ไม่ได้ กะทะไหม้แน่นอน
สมาธิ แปลว่า การจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าเป็นเช่นนี้จะทำได้มั้ย ก็ไม่ได้ สมมติว่าเราจดจ่ออยู่กับผักกาด ได้มั้ย แล้วจะกลายเป็นผักสลัดได้มั้ย ก็ไม่ได้ ถ้าจิตเราจดจ่ออยู่กับผักกาดแล้วจะกลายเป็นสลัดไม่ได้
ถ้าจะพูดว่าสมาธิมี ๒ อย่าง สมาธิแบบเคลื่อนไหวกับสมาธิแบบนิ่ง แล้วสมาธิแบบเคลื่อนไหวกับสมาธินิ่ง เรียกว่าสมาธิหรือเปล่า? ก็เรียกว่าสมาธิ เราต้องเข้าใจว่าทั้งหมดต้องรวมกันเป็นสมาธิ
สรุป สมาธิ แปลว่า ตั้งใจก่อเกิดในขบวนการนั้น เราจะทำผักสลัดเราก็ต้องตั้งใจให้ก่อเกิดทั้งหมด ไม่ใช่ว่ามัวแต่จ้องจดจ่อแต่ผักกาดอย่างเดียว แน่นอนไม่ได้เป็นผักสลัดแน่ เพราะเราต้องเอาผักมาซอย มาแพ็ค เอาไปขาย เราจะไปจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นไม่ได้ มันมีหลายสิ่งให้เราจดจ่อด้วยกัน
ยกตัวอย่าง เราไปทำโต๊ะออกมาตัวหนึ่ง เราต้องทำทั้งหมดกระบวนการ จดจ่อแต่น๊อตก็ไม่ได้ จะมัวดูแต่ไม้ก็ไม่ได้ จะดูตัวเดียวก็ไม่ได้ และยิ่งบอกว่าสมาธิแปลว่าสงบยิ่งไปใหญ่
แล้วถ้านั่งแล้วให้จิตนิ่งเข้าสู่ฌานล่ะ หมายความว่ายังไง อันนั้นเป็นการฝึกเอาสมาธิ แล้วเราจะเอาสมาธิไปทำอะไร คือ การที่เราไปนั่งทำสมาธิ ไปเอาแบบ เราไม่รู้แบบเราก็ตั้งสมาธิไม่ได้ใช่มั้ย เดี๋ยวก็คิดถึงคนนั้น เดี๋ยวก็คิดถึงคนนี้ เรากำหนดจิตไม่ได้ แต่เราไปเรียนทำสมาธิเพื่อกำหนดจิตได้ใช่มั้ย พอเรากำหนดจิตได้ปั้บ เรามาทำของอะไรแล้วเราจะกำหนดจิตไว้ในสิ่งของตรงนี้ นี่ถึงจะเรียกว่าเป็นสมาธิได้
นั่นไปเรียน เรียนแล้วก็ต้องเอามาใช้ นี่แหละคนทั่วไปเข้าใจผิดกัน ต้องมาเรียนรู้ใหม่ ไปเรียนวิธี แต่คนทั่วไปเข้าใจอีกว่า ไปเรียนวิธีแล้ววิธีนี้จะสามารถก่อสร้างได้เอง ผิดมั้ยล่ะ คนทั่วไปบอกว่าจะไปนั่งสมาธิแล้วปัญญาจะเกิดเอง เกิดไม่ได้ หลวงพ่อชาจึงบอกว่า คนตาบอดก็ต้องมีปัญญาหมดแล้ว
เราไปนั่งทำสมาธิ เราต้องไปเรียนรู้แบบ และวิธีการมา ถ้าเราไปเรียนแต่รูปแบบ ไม่มีวิธีการ ก็เหมือนกับเอาของมาไม่มีจิตวิญญาณสิ
สมาธิเป็นกำลัง กำลังที่ทำให้เรามีพลัง นั่งคิดได้ ไม่งั้นเราก็ฟุ้งซ่านไปเรื่อย เราจะคิดอะไรเราต้องเอาสมาธิไปคิด ถ้าเราไม่ทำเช่นนี้ก็จะฟุ้งซ่าน
ยกตัวอย่าง เวลานี้เราจะมองที่จุด A แล้วเราต้องใช้กำลังมั้ย ถ้าเราไม่มีกำลังจิตเราก็จะฟุ้งซ่านใช่มั้ย ถ้าจิตเราฟุ้งซ่านนั่นหมายความว่า จิตเราจะไปคิดที่อื่น ไม่ไปคิดยังจุด A เราก็ต้องฝึกวิธีควบคุม พอเราควบคุมก็เปรียบเสมือนมีพลังที่จะให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่หนีไปไหน
อันนี้เป็นการนำสมาธิไปใช้ แต่ไม่ใช่ตัวสมาธิ มีดังนี้
๑. สุญญตสมาธิ คือ เอาสมาธิไปใช้พิจารณาพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่าทุกสิ่งจะยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตนไม่ได้
๒. อนิมิตตสมาธิ คือ ใช้สมาธิเป็นกำลังร่วมพิจารณาสิ่งการณ์ต่างๆ เป็นสิ่งสมมติ
๓. อัปปณิหิตสมาธิ คือ เอาสมาธิไปใช้ในสายอนัตตา บอกว่าเราไม่เป็นอะไร ยึดมั่นในตัวตนไม่ได้
---------------------------
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
การนำสมาธิไปใช้ให้เกิดอานิสงส์
สมาธิ แปลว่า ก่อเกิดในขบวนการนั้น
คนทั่วไปมักจะแปลสมาธิด้านเดียวไม่ครบองค์ประกอบ เช่น
ตัวสมาธิคืออะไร ถ้าเราตอบว่าสมาธิ แปลว่าจิตสงบ แล้วเวลาเราขับรถจิตสงบได้มั้ย ก็ไม่ได้ แสดงว่าเราไม่มีสมาธิ แล้วถ้าเราไม่มีสมาธิแล้วเราจะเป็นยังไงชีวิตก็จบใช่มั้ย ตกลงสมาธิทำให้จิตเราสงบหรือเปล่า ถ้าตอบว่าสมาธิทำให้จิตเราสงบก็ไม่ใช่ เพราะมันเป็นด้านเดียว
ถ้าตอบว่าสมาธิแปลว่า ตั้งมั่น อันนี้ก็ด้านเดียว จะทำให้จิตเรานิ่ง แต่จิตเราจะทำงานจิตเราจะนิ่งได้มั้ย ก็ไม่ได้ นี่แหละ ขัดแย้งกัน
ถ้าบอกว่า สมาธิแปลว่าสงบ ถ้าเราไปทำกับข้าว จิตจะสงบไปนั่งหลับตาทำกับข้าวได้มั้ย ก็ไม่ได้ กะทะไหม้แน่นอน
สมาธิ แปลว่า การจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าเป็นเช่นนี้จะทำได้มั้ย ก็ไม่ได้ สมมติว่าเราจดจ่ออยู่กับผักกาด ได้มั้ย แล้วจะกลายเป็นผักสลัดได้มั้ย ก็ไม่ได้ ถ้าจิตเราจดจ่ออยู่กับผักกาดแล้วจะกลายเป็นสลัดไม่ได้
ถ้าจะพูดว่าสมาธิมี ๒ อย่าง สมาธิแบบเคลื่อนไหวกับสมาธิแบบนิ่ง แล้วสมาธิแบบเคลื่อนไหวกับสมาธินิ่ง เรียกว่าสมาธิหรือเปล่า? ก็เรียกว่าสมาธิ เราต้องเข้าใจว่าทั้งหมดต้องรวมกันเป็นสมาธิ
สรุป สมาธิ แปลว่า ตั้งใจก่อเกิดในขบวนการนั้น เราจะทำผักสลัดเราก็ต้องตั้งใจให้ก่อเกิดทั้งหมด ไม่ใช่ว่ามัวแต่จ้องจดจ่อแต่ผักกาดอย่างเดียว แน่นอนไม่ได้เป็นผักสลัดแน่ เพราะเราต้องเอาผักมาซอย มาแพ็ค เอาไปขาย เราจะไปจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นไม่ได้ มันมีหลายสิ่งให้เราจดจ่อด้วยกัน
ยกตัวอย่าง เราไปทำโต๊ะออกมาตัวหนึ่ง เราต้องทำทั้งหมดกระบวนการ จดจ่อแต่น๊อตก็ไม่ได้ จะมัวดูแต่ไม้ก็ไม่ได้ จะดูตัวเดียวก็ไม่ได้ และยิ่งบอกว่าสมาธิแปลว่าสงบยิ่งไปใหญ่
แล้วถ้านั่งแล้วให้จิตนิ่งเข้าสู่ฌานล่ะ หมายความว่ายังไง อันนั้นเป็นการฝึกเอาสมาธิ แล้วเราจะเอาสมาธิไปทำอะไร คือ การที่เราไปนั่งทำสมาธิ ไปเอาแบบ เราไม่รู้แบบเราก็ตั้งสมาธิไม่ได้ใช่มั้ย เดี๋ยวก็คิดถึงคนนั้น เดี๋ยวก็คิดถึงคนนี้ เรากำหนดจิตไม่ได้ แต่เราไปเรียนทำสมาธิเพื่อกำหนดจิตได้ใช่มั้ย พอเรากำหนดจิตได้ปั้บ เรามาทำของอะไรแล้วเราจะกำหนดจิตไว้ในสิ่งของตรงนี้ นี่ถึงจะเรียกว่าเป็นสมาธิได้
นั่นไปเรียน เรียนแล้วก็ต้องเอามาใช้ นี่แหละคนทั่วไปเข้าใจผิดกัน ต้องมาเรียนรู้ใหม่ ไปเรียนวิธี แต่คนทั่วไปเข้าใจอีกว่า ไปเรียนวิธีแล้ววิธีนี้จะสามารถก่อสร้างได้เอง ผิดมั้ยล่ะ คนทั่วไปบอกว่าจะไปนั่งสมาธิแล้วปัญญาจะเกิดเอง เกิดไม่ได้ หลวงพ่อชาจึงบอกว่า คนตาบอดก็ต้องมีปัญญาหมดแล้ว
เราไปนั่งทำสมาธิ เราต้องไปเรียนรู้แบบ และวิธีการมา ถ้าเราไปเรียนแต่รูปแบบ ไม่มีวิธีการ ก็เหมือนกับเอาของมาไม่มีจิตวิญญาณสิ
สมาธิเป็นกำลัง กำลังที่ทำให้เรามีพลัง นั่งคิดได้ ไม่งั้นเราก็ฟุ้งซ่านไปเรื่อย เราจะคิดอะไรเราต้องเอาสมาธิไปคิด ถ้าเราไม่ทำเช่นนี้ก็จะฟุ้งซ่าน
ยกตัวอย่าง เวลานี้เราจะมองที่จุด A แล้วเราต้องใช้กำลังมั้ย ถ้าเราไม่มีกำลังจิตเราก็จะฟุ้งซ่านใช่มั้ย ถ้าจิตเราฟุ้งซ่านนั่นหมายความว่า จิตเราจะไปคิดที่อื่น ไม่ไปคิดยังจุด A เราก็ต้องฝึกวิธีควบคุม พอเราควบคุมก็เปรียบเสมือนมีพลังที่จะให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่หนีไปไหน
อันนี้เป็นการนำสมาธิไปใช้ แต่ไม่ใช่ตัวสมาธิ มีดังนี้
๑. สุญญตสมาธิ คือ เอาสมาธิไปใช้พิจารณาพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่าทุกสิ่งจะยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตนไม่ได้
๒. อนิมิตตสมาธิ คือ ใช้สมาธิเป็นกำลังร่วมพิจารณาสิ่งการณ์ต่างๆ เป็นสิ่งสมมติ
๓. อัปปณิหิตสมาธิ คือ เอาสมาธิไปใช้ในสายอนัตตา บอกว่าเราไม่เป็นอะไร ยึดมั่นในตัวตนไม่ได้
---------------------------
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์