กระบวนการก่อเกิดของสภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง
อธิบายจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม
อย่างแรกเลย อธิบายอย่างหยาบ สิ่งที่เป็นรูปปรากฏให้เราได้เห็นสิ่งต่างๆ จับต้องได้ เช่น ปากกาหนึ่งด้าม เกิดจาก ธาตุทั้ง ๔ มาประชุมกัน มารวมตัวกัน ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มารวมตัวกัน ในปากกาหนึ่งด้ามนั้นต้องประกอบด้วยฉะนั้น ธาตุดินก็คือตัวด้ามจับ ธาตุลมก็คือเคลื่อนไหวได้ ธาตุน้ำก็คือน้ำหมึก ธาตุไฟก็คือตัวหล่อหลอมไม่ให้น้ำหมึกแข็งตัวเกินไป
ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมกัน จึงก่อเกิดเป็นรูปต่างๆ เป็นรูป ธรรม ถ้าอธิบายเป็นลักษณะสภาวะของดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอรูปธรรม แต่ยังไม่ถึงนาม
ต่อไปอธิบายธาตุทั้ง ๔ ละเอียดขึ้นไปอีก คือ ธาตุ คือ สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย
๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน มีลักษณะแข็ง เช่น เหล็ก หิน ไม้ ฯลฯ
๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ มีลักษณะไหลหรือเกาะกุม ถ้าอาโปธาตุอยู่ในวัตถุสิ่งใดมาก ก็จะทำให้วัตถุนั้นเหลวและไหลไปได้ แต่ถ้าวัตถุนั้นมีอาโปธาตุน้อย ก็จะทำให้วัตถุนั้นเกาะกุมกันเป็นก้อน
๓. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อนและเย็น ทำให้ดำรงอยู่และทำให้เปลี่ยนแปลง
๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม มีลักษณะเคร่งตึงไม่เคลื่อนไหวและเคลื่อนไหว
อธิบายละเอียดขึ้นไปอีก ข้างในเป็นอรูปธรรม ข้างในมีน้ำก็เป็นอรูปธรรมหนึ่ง แต่เพียงเราไม่เห็นในรูปอันนี้ แต่ก็ยังเป็นรูป ฉะนั้น ต้องเข้าไปสู่นามก่อน ที่จะเข้าสู่ความเป็นนาม คือ ความเป็นมาของน้ำ น้ำเป็นมายังไง
อรูปธรรม ยังมีรูปธรรมอยู่ เป็นเพียงแต่อรูปธรรม คือ ไม่มีรูป แต่มีรูป แต่ลึกกว่านั้นที่เป็นมา เช่น น้ำเป็นรูป แต่ในน้ำมีอยู่ในไฟแต่เราไม่เห็น แต่เราเห็นไฟ แต่ไม่เห็นตัวรองคือน้ำ น้ำก็มีอยู่ในไฟ แต่ในน้ำมี H2O จึงจะมีน้ำได้ เห็นมั้ย นี่แหละต้องอธิบายอรูปก่อนถึงจะเข้าสู่นามธรรม
อรูปนี้มาจากไหน มาจาก H2O ซึ่ง H2O เป็นนามธรรมของอรูปธรรม แต่เป็นรูปนามของนามธรรม ลึกเข้าไปอีก ๓ ขั้น
ในนามมีรูป ในรูปมีนาม
นามถึงจะนำเข้าไปสู่สภาวะ ยังมีสภาวะที่ปรากฏและสภาวะที่เป็นมายา และสภาวะจริง และสภาวะจริงแท้ ซึ่งมีดังนี้
สภาวะ
ซึ่งอธิบายเปรียบเทียบกับต้นไม้
๑. สภาวะปรากฏ คือ ให้เรามองดูที่ต้นไม้ นี่แหละเป็นสภาวะปรากฏ
๒. สภาวะมายา คือ เดี๋ยวต้นไม้ก็จะเหี่ยวเฉา เดี๋ยวก็จะเต่งตึง เดี๋ยวใบก็จะสีเขียว สีเหลือง เป็นต้น มายาก็จะผสมให้เราเห็นใบไม้ว่าเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นรูปแบบอย่างนี้ อย่างโน้น เป็นมายา คือ ปรากฏเป็นรูปใบไม้ขึ้นมาแล้ว
๓. สภาวะจริง คือ เป็นสิ่งมีจริงแต่สมมติ เพราะไม่สามารถอยู่คงทนได้ ต้องแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย เช่น เราเห็นว่าเป็นใบไม้จริงใช่มั้ย แต่จริงแท้มั้ย ก็ไม่จริงแท้ เพราะเป็นสิ่งสมมติ เพราะว่าเข้าสู่ความเป็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้นไม้ต้นนี้ไม่สามารถอยู่ยั่งยืนได้ จึงเป็นสภาวะที่สมมติว่าเป็นต้นไม้เท่านั้น เพราะอยู่อีกไม่นานต้นไม้นี้ก็จะตาย เสื่อมสลาย ย่อยสลายหายไป นี่แหละเป็นสิ่งสมมติ เพราะว่าเหตุปัจจัยเปลี่ยน ต้นไม้นี้ก็หายไปแล้ว นี่แหละจริงแต่ไม่แท้
๔. สภาวะจริงแท้ คือ เป็นอนัตตา ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งของแท้จะอยู่ยั่งยืนไม่ได้ นี่แหละเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สภาวะที่จริงแท้ต้องเป็นสภาวะแห่งพระไตรลักษณ์ ซึ่งสรรพสิ่งไม่สามารถหนีพ้นพระไตรลักษณ์ได้
กระบวนการก่อเกิดของสภาวะธรรม
๑. รูปธรรม คือ เป็นรูปธรรมมองเห็นได้ จับต้องได้ มีลักษณะเป็นทางกายภาพ เช่น น้ำอยู่ในแก้ว เราเอาใบชาใส่ลงไปในแก้ว น้ำในแก้วนั้นก็กลายเป็นน้ำชา เราใส่ผงโกโก้ลงไปก็กลายเป็นน้ำโกโก้
๒. อรูปธรรม คือ มีรูปแต่มองไม่เห็นรูป น้ำโกโก้ จะประกอบไปด้วยน้ำ+ผงโกโก้ เมื่อเราไปซื้อน้ำโกโก้มา ๑ แก้ว ในน้ำโกโก้หนึ่งแก้วนั้นจะประกอบด้วยน้ำส่วนหนึ่ง และผงโกโก้ส่วนหนึ่ง แล้วนำทั้งสองอย่างนี้มาผสมกัน จนเข้าสู่เป็นหนึ่งเดียวกัน เราเรียกว่า น้ำโกโก้ และน้ำโกโก้นั้นก็จะมีน้ำเปล่าอยู่ ทำไมเราไม่เรียกว่าน้ำบริสุทธิ์ แต่ทำไมเรียกว่าน้ำโกโก้ อันที่จริงแก้วน้ำโกโก้นี้มีน้ำเปล่าที่บริสุทธิ์อยู่ แต่ว่าเรามองไม่เห็นเอง
น้ำที่ชงอยู่ในโกโก้ เราเรียกโกโก้แต่ทำไมเราไม่เรียกน้ำ แต่ในผงโกโก้ข้างในมีน้ำอยู่ แต่น้ำที่อยู่ในผงโกโก้เราไม่เรียกว่าเป็นโกโก้ แต่ว่าเรามองไม่เห็นเอง แต่ที่จริงแล้วมันปนเปผสมกันอยู่ มันละเอียดมากเราจึงเรียกว่าน้ำโกโก้ นี่แหละเป็นอรูปธรรม
๓. นามธรรม คือ ในนามธรรมนี้ก็จะแยกล่ะ ในน้ำนี้มาจากไหนจะแยกเป็นส่วนๆ
๔. สภาวะธรรม คือ สิ่งที่ปรากฏ มาจากในธรรม มาด้วยพลังของอะไร ถ้าเราแยกย่อยไป เช่น แก้วน้ำชา พอเราแยกย่อยในแก้วน้ำชา ตัว "ชา" ก็จะหายไปเลย มีแต่ คาเฟอิน มีแต่ สารเคมีต่างๆ ออกมาจากเป็นธาตุต่างๆ กลายเป็นว่า น้ำชาไม่มีแล้ว มีแต่สารคาเฟอิน และ H2O คือ ออกซิเจน ๑ อะตอมและไฮโดรเจน ๒ อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ ที่มารวมตัวกันแล้วที่เรียกว่า "น้ำชา" เขาเรียกว่า สารแห่งธรรม คือธรรมที่เป็นสภาวะแห่งพลังธรรมที่มาร่วมกัน
สภาวธรรม คือ เป็นพลังของสายนั้นๆ แต่ก็ยังเป็นรูป (พลัง เช่น พลังแห่งการก่อเกิด พลังแห่งการดำรงอยู่ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง พลังแห่งความสำเร็จ เป็นต้น) เช่น สารคาเฟอิน (กาเฟอีน เป็นสารอัลคาลอยด์ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลเมทิลแซนทีน ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับสารประกอบธีโอฟิลลีน และ ธีโอโบรมีน ในสถานะบริสุทธิ์ จะมีสีขาวเป็นผง และมีรสขมจัด สูตรทางเคมีคือ C8H10N4O2, จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) พอเราไปสกัดก็จะออกมาเป็นรูปได้ แต่ในตัวคาเฟอินทำให้เป็นอย่างนั้น เป็นพลัง นั่นแหละเป็นนามแล้ว ตัวที่ทำให้ตาแข็ง นอนไม่หลับ นี่แหละเป็นนามแล้ว ถ้าปรากฏออกมาเป็นคือเป็นตัวสารเคมีคาเฟอิน แต่ที่พลังของสารเคมีคาเฟอิน (ภาษาฝรั่งเศส: caféine) คือ มีพลังในการมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้
คาเฟอิน พอเราสกัดออกมาก็เป็นผง เป็นรูปได้ แต่ในตัวคาเฟอินที่ทำให้เป็นอย่างนั้น เป็นพลังแห่งการตื่นตัว ลดความง่วงได้ อันนั้นแหละเป็นนามละ ตัวที่ทำให้ตื่นตัว ตาแข็งได้ นี่แหละเป็นนามแล้ว
๕. สุญญตา คือ ทุกอย่างต้องย่อยสลาย จะอยู่คงทนไม่ได้ เช่น เราชงน้ำชาจะให้คงอยู่เหมือนเดิม ๓ วันก็ไม่ได้ แค่ ๒ วัน เราก็กินไม่ได้แล้ว
๖. ตถตา คือ เป็นเช่นนี้แลในธรรมชาติ
๗. ทั้งหมดนี้เป็นองคาพยพกระบวนการองค์ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นเช่นนี้แล
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
กระบวนการก่อเกิดของสภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง
อธิบายจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม
อย่างแรกเลย อธิบายอย่างหยาบ สิ่งที่เป็นรูปปรากฏให้เราได้เห็นสิ่งต่างๆ จับต้องได้ เช่น ปากกาหนึ่งด้าม เกิดจาก ธาตุทั้ง ๔ มาประชุมกัน มารวมตัวกัน ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มารวมตัวกัน ในปากกาหนึ่งด้ามนั้นต้องประกอบด้วยฉะนั้น ธาตุดินก็คือตัวด้ามจับ ธาตุลมก็คือเคลื่อนไหวได้ ธาตุน้ำก็คือน้ำหมึก ธาตุไฟก็คือตัวหล่อหลอมไม่ให้น้ำหมึกแข็งตัวเกินไป
ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมกัน จึงก่อเกิดเป็นรูปต่างๆ เป็นรูป ธรรม ถ้าอธิบายเป็นลักษณะสภาวะของดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอรูปธรรม แต่ยังไม่ถึงนาม
ต่อไปอธิบายธาตุทั้ง ๔ ละเอียดขึ้นไปอีก คือ ธาตุ คือ สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย
๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน มีลักษณะแข็ง เช่น เหล็ก หิน ไม้ ฯลฯ
๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ มีลักษณะไหลหรือเกาะกุม ถ้าอาโปธาตุอยู่ในวัตถุสิ่งใดมาก ก็จะทำให้วัตถุนั้นเหลวและไหลไปได้ แต่ถ้าวัตถุนั้นมีอาโปธาตุน้อย ก็จะทำให้วัตถุนั้นเกาะกุมกันเป็นก้อน
๓. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อนและเย็น ทำให้ดำรงอยู่และทำให้เปลี่ยนแปลง
๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม มีลักษณะเคร่งตึงไม่เคลื่อนไหวและเคลื่อนไหว
อธิบายละเอียดขึ้นไปอีก ข้างในเป็นอรูปธรรม ข้างในมีน้ำก็เป็นอรูปธรรมหนึ่ง แต่เพียงเราไม่เห็นในรูปอันนี้ แต่ก็ยังเป็นรูป ฉะนั้น ต้องเข้าไปสู่นามก่อน ที่จะเข้าสู่ความเป็นนาม คือ ความเป็นมาของน้ำ น้ำเป็นมายังไง
อรูปธรรม ยังมีรูปธรรมอยู่ เป็นเพียงแต่อรูปธรรม คือ ไม่มีรูป แต่มีรูป แต่ลึกกว่านั้นที่เป็นมา เช่น น้ำเป็นรูป แต่ในน้ำมีอยู่ในไฟแต่เราไม่เห็น แต่เราเห็นไฟ แต่ไม่เห็นตัวรองคือน้ำ น้ำก็มีอยู่ในไฟ แต่ในน้ำมี H2O จึงจะมีน้ำได้ เห็นมั้ย นี่แหละต้องอธิบายอรูปก่อนถึงจะเข้าสู่นามธรรม
อรูปนี้มาจากไหน มาจาก H2O ซึ่ง H2O เป็นนามธรรมของอรูปธรรม แต่เป็นรูปนามของนามธรรม ลึกเข้าไปอีก ๓ ขั้น
ในนามมีรูป ในรูปมีนาม
นามถึงจะนำเข้าไปสู่สภาวะ ยังมีสภาวะที่ปรากฏและสภาวะที่เป็นมายา และสภาวะจริง และสภาวะจริงแท้ ซึ่งมีดังนี้
สภาวะ
ซึ่งอธิบายเปรียบเทียบกับต้นไม้
๑. สภาวะปรากฏ คือ ให้เรามองดูที่ต้นไม้ นี่แหละเป็นสภาวะปรากฏ
๒. สภาวะมายา คือ เดี๋ยวต้นไม้ก็จะเหี่ยวเฉา เดี๋ยวก็จะเต่งตึง เดี๋ยวใบก็จะสีเขียว สีเหลือง เป็นต้น มายาก็จะผสมให้เราเห็นใบไม้ว่าเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นรูปแบบอย่างนี้ อย่างโน้น เป็นมายา คือ ปรากฏเป็นรูปใบไม้ขึ้นมาแล้ว
๓. สภาวะจริง คือ เป็นสิ่งมีจริงแต่สมมติ เพราะไม่สามารถอยู่คงทนได้ ต้องแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย เช่น เราเห็นว่าเป็นใบไม้จริงใช่มั้ย แต่จริงแท้มั้ย ก็ไม่จริงแท้ เพราะเป็นสิ่งสมมติ เพราะว่าเข้าสู่ความเป็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้นไม้ต้นนี้ไม่สามารถอยู่ยั่งยืนได้ จึงเป็นสภาวะที่สมมติว่าเป็นต้นไม้เท่านั้น เพราะอยู่อีกไม่นานต้นไม้นี้ก็จะตาย เสื่อมสลาย ย่อยสลายหายไป นี่แหละเป็นสิ่งสมมติ เพราะว่าเหตุปัจจัยเปลี่ยน ต้นไม้นี้ก็หายไปแล้ว นี่แหละจริงแต่ไม่แท้
๔. สภาวะจริงแท้ คือ เป็นอนัตตา ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งของแท้จะอยู่ยั่งยืนไม่ได้ นี่แหละเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สภาวะที่จริงแท้ต้องเป็นสภาวะแห่งพระไตรลักษณ์ ซึ่งสรรพสิ่งไม่สามารถหนีพ้นพระไตรลักษณ์ได้
กระบวนการก่อเกิดของสภาวะธรรม
๑. รูปธรรม คือ เป็นรูปธรรมมองเห็นได้ จับต้องได้ มีลักษณะเป็นทางกายภาพ เช่น น้ำอยู่ในแก้ว เราเอาใบชาใส่ลงไปในแก้ว น้ำในแก้วนั้นก็กลายเป็นน้ำชา เราใส่ผงโกโก้ลงไปก็กลายเป็นน้ำโกโก้
๒. อรูปธรรม คือ มีรูปแต่มองไม่เห็นรูป น้ำโกโก้ จะประกอบไปด้วยน้ำ+ผงโกโก้ เมื่อเราไปซื้อน้ำโกโก้มา ๑ แก้ว ในน้ำโกโก้หนึ่งแก้วนั้นจะประกอบด้วยน้ำส่วนหนึ่ง และผงโกโก้ส่วนหนึ่ง แล้วนำทั้งสองอย่างนี้มาผสมกัน จนเข้าสู่เป็นหนึ่งเดียวกัน เราเรียกว่า น้ำโกโก้ และน้ำโกโก้นั้นก็จะมีน้ำเปล่าอยู่ ทำไมเราไม่เรียกว่าน้ำบริสุทธิ์ แต่ทำไมเรียกว่าน้ำโกโก้ อันที่จริงแก้วน้ำโกโก้นี้มีน้ำเปล่าที่บริสุทธิ์อยู่ แต่ว่าเรามองไม่เห็นเอง
น้ำที่ชงอยู่ในโกโก้ เราเรียกโกโก้แต่ทำไมเราไม่เรียกน้ำ แต่ในผงโกโก้ข้างในมีน้ำอยู่ แต่น้ำที่อยู่ในผงโกโก้เราไม่เรียกว่าเป็นโกโก้ แต่ว่าเรามองไม่เห็นเอง แต่ที่จริงแล้วมันปนเปผสมกันอยู่ มันละเอียดมากเราจึงเรียกว่าน้ำโกโก้ นี่แหละเป็นอรูปธรรม
๓. นามธรรม คือ ในนามธรรมนี้ก็จะแยกล่ะ ในน้ำนี้มาจากไหนจะแยกเป็นส่วนๆ
๔. สภาวะธรรม คือ สิ่งที่ปรากฏ มาจากในธรรม มาด้วยพลังของอะไร ถ้าเราแยกย่อยไป เช่น แก้วน้ำชา พอเราแยกย่อยในแก้วน้ำชา ตัว "ชา" ก็จะหายไปเลย มีแต่ คาเฟอิน มีแต่ สารเคมีต่างๆ ออกมาจากเป็นธาตุต่างๆ กลายเป็นว่า น้ำชาไม่มีแล้ว มีแต่สารคาเฟอิน และ H2O คือ ออกซิเจน ๑ อะตอมและไฮโดรเจน ๒ อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ ที่มารวมตัวกันแล้วที่เรียกว่า "น้ำชา" เขาเรียกว่า สารแห่งธรรม คือธรรมที่เป็นสภาวะแห่งพลังธรรมที่มาร่วมกัน
สภาวธรรม คือ เป็นพลังของสายนั้นๆ แต่ก็ยังเป็นรูป (พลัง เช่น พลังแห่งการก่อเกิด พลังแห่งการดำรงอยู่ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง พลังแห่งความสำเร็จ เป็นต้น) เช่น สารคาเฟอิน (กาเฟอีน เป็นสารอัลคาลอยด์ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลเมทิลแซนทีน ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับสารประกอบธีโอฟิลลีน และ ธีโอโบรมีน ในสถานะบริสุทธิ์ จะมีสีขาวเป็นผง และมีรสขมจัด สูตรทางเคมีคือ C8H10N4O2, จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) พอเราไปสกัดก็จะออกมาเป็นรูปได้ แต่ในตัวคาเฟอินทำให้เป็นอย่างนั้น เป็นพลัง นั่นแหละเป็นนามแล้ว ตัวที่ทำให้ตาแข็ง นอนไม่หลับ นี่แหละเป็นนามแล้ว ถ้าปรากฏออกมาเป็นคือเป็นตัวสารเคมีคาเฟอิน แต่ที่พลังของสารเคมีคาเฟอิน (ภาษาฝรั่งเศส: caféine) คือ มีพลังในการมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้
คาเฟอิน พอเราสกัดออกมาก็เป็นผง เป็นรูปได้ แต่ในตัวคาเฟอินที่ทำให้เป็นอย่างนั้น เป็นพลังแห่งการตื่นตัว ลดความง่วงได้ อันนั้นแหละเป็นนามละ ตัวที่ทำให้ตื่นตัว ตาแข็งได้ นี่แหละเป็นนามแล้ว
๕. สุญญตา คือ ทุกอย่างต้องย่อยสลาย จะอยู่คงทนไม่ได้ เช่น เราชงน้ำชาจะให้คงอยู่เหมือนเดิม ๓ วันก็ไม่ได้ แค่ ๒ วัน เราก็กินไม่ได้แล้ว
๖. ตถตา คือ เป็นเช่นนี้แลในธรรมชาติ
๗. ทั้งหมดนี้เป็นองคาพยพกระบวนการองค์ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นเช่นนี้แล
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์