★สติปัฎฐาน๔หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เป็นหนึ่งเดียวในพระไตรปิฎกที่พระพุทธองค์ทรงรับรองการบรรลุธรรมในระยะเวลาที่แน่นอน7ปี★

.......โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น,
สัตตะ วัสสานิ. ตลอด ๗ ปี,
ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง,
ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑,
สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่)

ติฏฐันตุ ภิกขะเว สัตตะวัสสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้,
โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น,
ฉะ วัสสานิ. ตลอด ๖ ปี,
ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง,
ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑,
สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่)..
...........................................................................................................................................................................................................................................
.................ติฏฐันตุ ภิกขะเว อัฑฒะมาสัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกึ่งเดิอนยกไว้,
โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น,
สัตตาหัง. ตลอด ๗ วัน,
ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง,
ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑,
สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่)........................................
.............................................................
..........เอกายะโน ภิกขะเว อะยัง มัคโค. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก,
สัตตานัง วิสุทธิยา. เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย,
โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศกและความร่ำไร,
ทุกขะโทมะนัสสานัง อัฏฐังคะมายะ. เพื่ออัศดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส,
ญายัสสะ อะธิคะมายะ. เพื่อบรรลุญายธรรม,
นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ. เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง,
ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานาติ. ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้,
อิติ ยันตัง วุตตัง. คำอันใดที่กล่าวแล้วอย่างนี้,
อิทะเมตัง ปะฏิจจะ วุตตันติ. คำอันนั้น ที่อาศัยทางอันเอก(คือสติปัฏฐาน๔) นี้กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้,
อิทะมะโวจะ ภะคะวา อัตตะมะนา เต ภิกขู. ภิกษุเหล่านี้มีใจยินดี,
ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติ. เพลิดเพลินนักซึ่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แลฯ,
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่