Burning (Chang-dong Lee, 2018) คะแนน A+
"หนังพาให้เราไปพบกับความน่าอึดอัด คละคลุ้งไปด้วยคำถามที่คาดหวังคำตอบอย่างน่าพิศวง" เราไม่เคยดูหนังของผู้กำกับ 'ลีชางดง' เลยสักเรื่องเดียว แต่สำหรับหนังสือนิยายหรือเรื่องสั้นของ 'มูราคามิ' นั้นถือว่าอ่านมาเยอะอยู่พอสมควร(ยังไม่ครบทุกเล่ม) เวลาเราอ่านงานของ 'มูราคามิ' เราจะค้นพบห้วงอารมณ์ความรู้สึกที่เหมือนตัวละครในหนังสือกำลังแสดงอาการสะท้อนความรู้สึกที่เปราะบาง พร้อมที่จะแตกสลายไปได้ทุกเมื่อ สำหรับ 'Burning' จึงเป็นความน่าสนใจมากๆในการหยิบเรื่องสั้นที่มีเส้นเรื่องเบาบางมาขยายและตีความพร้อมทั้งสร้างตัวละครที่มีผลกระทบต่อเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างชวนพิศวง บรรยากาศของหนังเองสามารถทำงานได้ตลอดเวลาช่วงขณะที่ดู และยิ่งกว่านั้นคือผลกระทบหลังจากหนังจบ สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนและสร้างความครุ่นคิดต่อเส้นเรื่อง ว่าแท้จริงแล้วทั้งหมดมีความหมายนัยยะหรือตีความได้ว่าอย่างไร การพาเรื่องราวไปไกลถึงขั้นสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนหนุ่มสาวและสะท้อนสังคมชนชั้นประเทศเกาหลีใต้อย่างเปิดเผยในช่วงเวลา 2 ชั่วโมง 28 นาที จึงเป็นอะไรที่น่ายกย่องและต้องคารวะผู้กำกับ 'ลีชางดง' อย่างแท้จริง
ความคลุมเครือและความไม่ชัดเจนที่จับต้องได้ งานฉากที่เซ็ตติ้งและบรรยากาศของงานภาพที่ไม่ต้องอาศัยคำพูดเยอะ สะท้อนออกมาได้อย่างสวยงามราวบทกวีที่ไร้เสียงสนทนา แต่ดังกังวานไปด้วยความเร่งเร้าต่อห้วงความรู้สึก หลายฉากในเรื่องได้ถูกบรรจุลงในความทรงจำว่าเป็นฉากที่ลืมไม่ลง พร้อมทั้งซาวด์ประกอบที่พอเหมาะพอดี ความแยบยลในการวางองค์ประกอบให้เราได้พินิจพิเคราะห์อย่างเชื่องช้า ทิ้งเวลาให้เรามองตัวละครอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมทั้งตัดสลับฉากในจังหวะที่พอดี และสร้างความน่าอึดอัด น่าค้นหา หรือกระทั่งรู้สึกขยะแขยงต่อพฤติกรรมของตัวละคร แบบไม่ต้องอาศัยคำพูดคำจามาใช้อธิบาย มันลงตัวและแทบที่จะดูซ้ำได้หลายๆรอบแบบที่คงไม่รู้สึกเบื่อ เพราะคิดว่าคงจะได้รับรู้หรือตีความได้อีก ด้วยเนื้องานที่สร้างมาเพื่อถามแบบมีนัยยะแอบแฝง มากกว่าเล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา และยิ่งช่วงเวลาครึ่งหลังของหนังยิ่งแสดงความลึกลับ ให้อารมณ์ความซับซ้อนของหนังภายใต้บรรยากาศเงียบงันที่มีพลังซ่อนไว้จนหัวใจเราต้องเต้นระทึกไปกับทิศทางของหนังว่ามันจะจบหรือลงเอยที่ตรงไหน แน่นอนว่า เรารู้สึกสะใจในฉากสุดท้ายของ 'Burning' ที่ขมวดปมทุกอย่างไว้ในฉากเดียว สำหรับเรามันจึงเป็นรางวัลอย่างหนึ่งที่หนังมอบให้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
#สปอย ตัวละคร 'จงซู(ยูอาอิน)' ที่แทนคนหนุ่มที่ไร้งานทำ มีความฝันอยากเป็นนักเขียนแต่ไม่เคยเขียนจริงๆจังๆ อ่านหนังสือประเทืองปัญญา มีความคิดแบบปัญญาชน แต่สภาพแวดล้อมรอบตัวไม่เอื้ออำนวยให้ตัวเขาไปได้ไกลเกินกว่าชนบทชายขอบที่ติดกับดินแดนเกาหลีเหนือ จนแทบที่จะได้ยินเสียงวิทยุจากดินแดนฝั่งโน้น มีพ่อที่อารมณ์ร้อนต้องติดคุก มีแม่ที่ไม่เอาไหนและเป็นหนี้ ทั้งยังทิ้งลูกๆไปตั้งแต่เด็ก 'จงซู' มีแค่วัวเป็นเพื่อนและยังต้องขายมันทิ้งไปเพื่อจุนเจือชีวิตอีก ชีวิตของ 'จงซู' คือพวกขี้แพ้ในสังคมชนชั้นระหว่างความร่ำรวยกับความยากจน และการเข้ามาของ 'แฮมี' หญิงสาวที่สร้างสรรค์เรื่องราวทั้งหมด ทำให้ชีวิตที่ดูจะไม่มีอะไร กลับมามีชีวิตที่ต้องการและแสวงหาตัณหากามอารมณ์ ตัวละคร 'แฮมี (จอน ยอง‑ซอ)' ที่เป็นผู้หญิงคนเดียวจึงเป็นตัวแทนของคนสาวที่หนีไม่พ้นค่านิยมร่วมสมัย จนอยากหายตัวไปจากสิ่งที่เป็นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น การหายตัวไปของเธอจริงๆยังแสดงภาวะต้องสงสัยตามมาอีกชุดใหญ่ และแน่นอนว่ามันตอบสนองสิ่งที่เธอแสดงให้ 'จงซู' ดูด้วยการเล่นละครใบ้ และให้แนวคิดที่น่าสนใจจนเป็นหัวใจของหนังคือความมีอยู่-ไม่มีอยู่ มีส้มในมือเพราะเราลืมไปว่ามันไม่มีส้มในมือ มีแมวจริงหรือไม่มีแมวจริง และการหายตัวไปของ 'แฮมี' ที่ชัดเจนที่สุดจนพาให้ตัวหนังกลายเป็นงานสืบสวนไปชั่วขณะ ความมีหรือไม่มีในหนังจึงสร้างความน่าฉงนสนเท่ห์ และส่งอิทธิพลปกคลุมไปทั่วบริเวณของหนังเรื่องนี้ ตัวละคร 'แฮมี' สำหรับเราจึงให้ความรู้สึกน่าสงสารในเวลาเดียวกันกลับรู้สึกน่ากลัวที่ส่งผลต่อความเป็นเพศชาย อย่างไรเสีย ร่องรอยของการมีอยู่ยังคงปรากฏอยู่เสมอ
#สปอย การปรากฏตัวของ 'เบน' สร้างความแตกต่างทางชนชั้นระหว่างตัวเขากับ 'จงซู' อย่างชัดเจนและบอกคนดูอย่างตรงไปตรงมา คำพูดของเบนที่บอกกับ 'จงซู' ว่าเขาไม่เคยร้องไห้ กับ 'พอไม่มีน้ำตา เราก็ไม่มีหลักฐานว่ามันคือความเศร้า' ทำให้ตัวละครทั้งสองตัวอยู่คนละฝากฝั่งในทันที และแน่นอนว่า คนส่วนใหญ่หรือประชากรส่วนมากอยู่ฝั่งจงซู(พวกเราจน) มันจึงเป็นคำพูดที่-ดันคนชั้นล่างของคนรวยที่มีเวลาเหลือเฟือ ใช้ชีวิตด้วยการ 'เล่น' ไปวันๆ แต่อย่างไรเสีย ตัวละครทั้งสองตัวก็พยายามที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แม้จะมีเส้นบางๆกั้นกลาง พร้อมทั้งความน่าขยะแขยงที่เกินรับได้ สะท้อนผ่านการฟังเรื่องราวจากหญิงสาวตัวเล็กๆ และแสดงการหาวพร้อมรอยยิ้มที่ดูแล้วอยากจะเข้าไปตบกระโหลก ทั้งหมดจึงทำให้ตัวละคร 'จงซูและคนดู' คือพวกขี้แพ้ ชนชั้นล่าง พวกไม่เอาไหน และไม่มีเวลาไปเข้าใจการมีชีวิตอยู่ด้วยซ้ำ อย่างไรเสีย แม้เราจะรู้สึกเกลียดตัวละครเบนมากแค่ไหน แต่เรากลับชอบตัวละครตัวนี้ที่สุดในเรื่อง เพราะมันสะท้อนให้เรามองเห็นสังคมชนชั้นบนที่ไม่เคยรับรู้ถึงความทุกข์ยาก ความลำบากยากแค้นของคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคมชนชั้นล่าง และเมื่อพวกเขาลงมาสัมผัสก็พบกับความน่าเบื่อจนต้องหาวออกมา และทำเป็นไม่สนใจเพียงใช้ชีวิตไปวันๆ ยิ่งไปกว่านั้นยังตามไปทำลายความไร้ค่าไร้ประโยชน์ด้วยรูปแบบ 'เผาเรือนเพาะชำ' สองเดือนครั้งอย่างสบายใจ ทำให้ตัวละครทุกตัวในเรื่องยกเว้น 'เบน' คือมนุษย์ที่ไม่เคยมีอยู่และไม่เคยถูกมองเห็นเลย รวมถึงเราที่กำลังนั่งดูอยู่ด้วย เศร้า
#สปอย มีช่วงเวลาเดียวที่ 'จงซู' และ 'คนดู' เอาชนะเบนได้ คือช่วงเวลาที่ ‘จงซู’ พยายามเขียนนิยายในห้อง 'แฮมี' พร้อมทั้งตัดภาพให้เรามองสภาพมุมกว้าง และเรายังสามารถมองเห็น 'จงซู' การเขียนของจงซู น่าจะตอบคำถามให้ฉากที่เบนแต่งหน้าให้หญิงสาว หรือการเอามีดแทงเบนตายคารถหรูพร้อมจุดไฟเผาทิ้งในฉากสุดท้าย ทั้งหมดอาจเกิดจากการจินตนาการของ 'จงซู' และถ้ามันเป็นแบบนั้นจริงๆ มันยิ่งตอกย้ำลงไปอีกว่าพวกเราไม่มีทางเอาชนะคนรวยไปได้ ถ้าไม่เพ้อฝัน มโนไปเอง หรือขีดเขียนเรื่องราวได้เอง สำหรับเราจึงมองว่าช่วงเวลาสุดท้ายของหนังคือกำไรที่หนังมอบให้ แม้ว่ามันจะรู้สึกรันทด หม่นเศร้า แต่ก็รู้สึกสะใจดีเหมือนกัน ไฟในใจมันลุกพร้อมที่จะเผาแล้ว
ท้ายสุด 'Burning' ไม่ได้ดูยากเกินไปจนรู้สึกเบื่อ ไม่ต้องใช้ความพยายามเยอะจนเกินไป เพราะถึงเราจะไม่เข้าใจรายละเอียดของหนังทั้งหมด ก็ยังสามารถรับชมได้อย่างเพลิดเพลินด้วยองค์ประกอบงานภาพและฉากที่สวยงาม ละเมียดละไมราวบทกวี ร้อยประสานกันได้อย่างลุ่มลึก พร้อมดนตรีประกอบที่เร่งเร้าอารมณ์ หนังมีสัญลักษณ์แอบแฝงที่ตั้งคำถามให้คนดูต้องไปหาคำตอบกันเอาเอง เต็มไปด้วยแนวความคิดที่แยบยล สลับซับซ้อนและน่าติดตาม ชวนระทึกและน่าค้นหา ลึกลับอย่างมีเสน่ห์ น่าอึดอัดแบบพิศวง และที่สำคัญตามชื่อเรื่อง คือมันทำให้ใจของเราร้อนรุ่มขึ้นมาทันที เพราะมันสะท้อนสังคมชนชั้นที่ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนๆก็ไม่อาจต่างกันได้เลย...ไม่เหงาแต่เศร้า...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
Review: Burning (Chang-dong Lee, 2018) รีวิวโดย Form Corleone
"หนังพาให้เราไปพบกับความน่าอึดอัด คละคลุ้งไปด้วยคำถามที่คาดหวังคำตอบอย่างน่าพิศวง" เราไม่เคยดูหนังของผู้กำกับ 'ลีชางดง' เลยสักเรื่องเดียว แต่สำหรับหนังสือนิยายหรือเรื่องสั้นของ 'มูราคามิ' นั้นถือว่าอ่านมาเยอะอยู่พอสมควร(ยังไม่ครบทุกเล่ม) เวลาเราอ่านงานของ 'มูราคามิ' เราจะค้นพบห้วงอารมณ์ความรู้สึกที่เหมือนตัวละครในหนังสือกำลังแสดงอาการสะท้อนความรู้สึกที่เปราะบาง พร้อมที่จะแตกสลายไปได้ทุกเมื่อ สำหรับ 'Burning' จึงเป็นความน่าสนใจมากๆในการหยิบเรื่องสั้นที่มีเส้นเรื่องเบาบางมาขยายและตีความพร้อมทั้งสร้างตัวละครที่มีผลกระทบต่อเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างชวนพิศวง บรรยากาศของหนังเองสามารถทำงานได้ตลอดเวลาช่วงขณะที่ดู และยิ่งกว่านั้นคือผลกระทบหลังจากหนังจบ สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนและสร้างความครุ่นคิดต่อเส้นเรื่อง ว่าแท้จริงแล้วทั้งหมดมีความหมายนัยยะหรือตีความได้ว่าอย่างไร การพาเรื่องราวไปไกลถึงขั้นสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนหนุ่มสาวและสะท้อนสังคมชนชั้นประเทศเกาหลีใต้อย่างเปิดเผยในช่วงเวลา 2 ชั่วโมง 28 นาที จึงเป็นอะไรที่น่ายกย่องและต้องคารวะผู้กำกับ 'ลีชางดง' อย่างแท้จริง
ความคลุมเครือและความไม่ชัดเจนที่จับต้องได้ งานฉากที่เซ็ตติ้งและบรรยากาศของงานภาพที่ไม่ต้องอาศัยคำพูดเยอะ สะท้อนออกมาได้อย่างสวยงามราวบทกวีที่ไร้เสียงสนทนา แต่ดังกังวานไปด้วยความเร่งเร้าต่อห้วงความรู้สึก หลายฉากในเรื่องได้ถูกบรรจุลงในความทรงจำว่าเป็นฉากที่ลืมไม่ลง พร้อมทั้งซาวด์ประกอบที่พอเหมาะพอดี ความแยบยลในการวางองค์ประกอบให้เราได้พินิจพิเคราะห์อย่างเชื่องช้า ทิ้งเวลาให้เรามองตัวละครอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมทั้งตัดสลับฉากในจังหวะที่พอดี และสร้างความน่าอึดอัด น่าค้นหา หรือกระทั่งรู้สึกขยะแขยงต่อพฤติกรรมของตัวละคร แบบไม่ต้องอาศัยคำพูดคำจามาใช้อธิบาย มันลงตัวและแทบที่จะดูซ้ำได้หลายๆรอบแบบที่คงไม่รู้สึกเบื่อ เพราะคิดว่าคงจะได้รับรู้หรือตีความได้อีก ด้วยเนื้องานที่สร้างมาเพื่อถามแบบมีนัยยะแอบแฝง มากกว่าเล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา และยิ่งช่วงเวลาครึ่งหลังของหนังยิ่งแสดงความลึกลับ ให้อารมณ์ความซับซ้อนของหนังภายใต้บรรยากาศเงียบงันที่มีพลังซ่อนไว้จนหัวใจเราต้องเต้นระทึกไปกับทิศทางของหนังว่ามันจะจบหรือลงเอยที่ตรงไหน แน่นอนว่า เรารู้สึกสะใจในฉากสุดท้ายของ 'Burning' ที่ขมวดปมทุกอย่างไว้ในฉากเดียว สำหรับเรามันจึงเป็นรางวัลอย่างหนึ่งที่หนังมอบให้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
#สปอย ตัวละคร 'จงซู(ยูอาอิน)' ที่แทนคนหนุ่มที่ไร้งานทำ มีความฝันอยากเป็นนักเขียนแต่ไม่เคยเขียนจริงๆจังๆ อ่านหนังสือประเทืองปัญญา มีความคิดแบบปัญญาชน แต่สภาพแวดล้อมรอบตัวไม่เอื้ออำนวยให้ตัวเขาไปได้ไกลเกินกว่าชนบทชายขอบที่ติดกับดินแดนเกาหลีเหนือ จนแทบที่จะได้ยินเสียงวิทยุจากดินแดนฝั่งโน้น มีพ่อที่อารมณ์ร้อนต้องติดคุก มีแม่ที่ไม่เอาไหนและเป็นหนี้ ทั้งยังทิ้งลูกๆไปตั้งแต่เด็ก 'จงซู' มีแค่วัวเป็นเพื่อนและยังต้องขายมันทิ้งไปเพื่อจุนเจือชีวิตอีก ชีวิตของ 'จงซู' คือพวกขี้แพ้ในสังคมชนชั้นระหว่างความร่ำรวยกับความยากจน และการเข้ามาของ 'แฮมี' หญิงสาวที่สร้างสรรค์เรื่องราวทั้งหมด ทำให้ชีวิตที่ดูจะไม่มีอะไร กลับมามีชีวิตที่ต้องการและแสวงหาตัณหากามอารมณ์ ตัวละคร 'แฮมี (จอน ยอง‑ซอ)' ที่เป็นผู้หญิงคนเดียวจึงเป็นตัวแทนของคนสาวที่หนีไม่พ้นค่านิยมร่วมสมัย จนอยากหายตัวไปจากสิ่งที่เป็นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น การหายตัวไปของเธอจริงๆยังแสดงภาวะต้องสงสัยตามมาอีกชุดใหญ่ และแน่นอนว่ามันตอบสนองสิ่งที่เธอแสดงให้ 'จงซู' ดูด้วยการเล่นละครใบ้ และให้แนวคิดที่น่าสนใจจนเป็นหัวใจของหนังคือความมีอยู่-ไม่มีอยู่ มีส้มในมือเพราะเราลืมไปว่ามันไม่มีส้มในมือ มีแมวจริงหรือไม่มีแมวจริง และการหายตัวไปของ 'แฮมี' ที่ชัดเจนที่สุดจนพาให้ตัวหนังกลายเป็นงานสืบสวนไปชั่วขณะ ความมีหรือไม่มีในหนังจึงสร้างความน่าฉงนสนเท่ห์ และส่งอิทธิพลปกคลุมไปทั่วบริเวณของหนังเรื่องนี้ ตัวละคร 'แฮมี' สำหรับเราจึงให้ความรู้สึกน่าสงสารในเวลาเดียวกันกลับรู้สึกน่ากลัวที่ส่งผลต่อความเป็นเพศชาย อย่างไรเสีย ร่องรอยของการมีอยู่ยังคงปรากฏอยู่เสมอ
#สปอย การปรากฏตัวของ 'เบน' สร้างความแตกต่างทางชนชั้นระหว่างตัวเขากับ 'จงซู' อย่างชัดเจนและบอกคนดูอย่างตรงไปตรงมา คำพูดของเบนที่บอกกับ 'จงซู' ว่าเขาไม่เคยร้องไห้ กับ 'พอไม่มีน้ำตา เราก็ไม่มีหลักฐานว่ามันคือความเศร้า' ทำให้ตัวละครทั้งสองตัวอยู่คนละฝากฝั่งในทันที และแน่นอนว่า คนส่วนใหญ่หรือประชากรส่วนมากอยู่ฝั่งจงซู(พวกเราจน) มันจึงเป็นคำพูดที่-ดันคนชั้นล่างของคนรวยที่มีเวลาเหลือเฟือ ใช้ชีวิตด้วยการ 'เล่น' ไปวันๆ แต่อย่างไรเสีย ตัวละครทั้งสองตัวก็พยายามที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แม้จะมีเส้นบางๆกั้นกลาง พร้อมทั้งความน่าขยะแขยงที่เกินรับได้ สะท้อนผ่านการฟังเรื่องราวจากหญิงสาวตัวเล็กๆ และแสดงการหาวพร้อมรอยยิ้มที่ดูแล้วอยากจะเข้าไปตบกระโหลก ทั้งหมดจึงทำให้ตัวละคร 'จงซูและคนดู' คือพวกขี้แพ้ ชนชั้นล่าง พวกไม่เอาไหน และไม่มีเวลาไปเข้าใจการมีชีวิตอยู่ด้วยซ้ำ อย่างไรเสีย แม้เราจะรู้สึกเกลียดตัวละครเบนมากแค่ไหน แต่เรากลับชอบตัวละครตัวนี้ที่สุดในเรื่อง เพราะมันสะท้อนให้เรามองเห็นสังคมชนชั้นบนที่ไม่เคยรับรู้ถึงความทุกข์ยาก ความลำบากยากแค้นของคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคมชนชั้นล่าง และเมื่อพวกเขาลงมาสัมผัสก็พบกับความน่าเบื่อจนต้องหาวออกมา และทำเป็นไม่สนใจเพียงใช้ชีวิตไปวันๆ ยิ่งไปกว่านั้นยังตามไปทำลายความไร้ค่าไร้ประโยชน์ด้วยรูปแบบ 'เผาเรือนเพาะชำ' สองเดือนครั้งอย่างสบายใจ ทำให้ตัวละครทุกตัวในเรื่องยกเว้น 'เบน' คือมนุษย์ที่ไม่เคยมีอยู่และไม่เคยถูกมองเห็นเลย รวมถึงเราที่กำลังนั่งดูอยู่ด้วย เศร้า
#สปอย มีช่วงเวลาเดียวที่ 'จงซู' และ 'คนดู' เอาชนะเบนได้ คือช่วงเวลาที่ ‘จงซู’ พยายามเขียนนิยายในห้อง 'แฮมี' พร้อมทั้งตัดภาพให้เรามองสภาพมุมกว้าง และเรายังสามารถมองเห็น 'จงซู' การเขียนของจงซู น่าจะตอบคำถามให้ฉากที่เบนแต่งหน้าให้หญิงสาว หรือการเอามีดแทงเบนตายคารถหรูพร้อมจุดไฟเผาทิ้งในฉากสุดท้าย ทั้งหมดอาจเกิดจากการจินตนาการของ 'จงซู' และถ้ามันเป็นแบบนั้นจริงๆ มันยิ่งตอกย้ำลงไปอีกว่าพวกเราไม่มีทางเอาชนะคนรวยไปได้ ถ้าไม่เพ้อฝัน มโนไปเอง หรือขีดเขียนเรื่องราวได้เอง สำหรับเราจึงมองว่าช่วงเวลาสุดท้ายของหนังคือกำไรที่หนังมอบให้ แม้ว่ามันจะรู้สึกรันทด หม่นเศร้า แต่ก็รู้สึกสะใจดีเหมือนกัน ไฟในใจมันลุกพร้อมที่จะเผาแล้ว
ท้ายสุด 'Burning' ไม่ได้ดูยากเกินไปจนรู้สึกเบื่อ ไม่ต้องใช้ความพยายามเยอะจนเกินไป เพราะถึงเราจะไม่เข้าใจรายละเอียดของหนังทั้งหมด ก็ยังสามารถรับชมได้อย่างเพลิดเพลินด้วยองค์ประกอบงานภาพและฉากที่สวยงาม ละเมียดละไมราวบทกวี ร้อยประสานกันได้อย่างลุ่มลึก พร้อมดนตรีประกอบที่เร่งเร้าอารมณ์ หนังมีสัญลักษณ์แอบแฝงที่ตั้งคำถามให้คนดูต้องไปหาคำตอบกันเอาเอง เต็มไปด้วยแนวความคิดที่แยบยล สลับซับซ้อนและน่าติดตาม ชวนระทึกและน่าค้นหา ลึกลับอย่างมีเสน่ห์ น่าอึดอัดแบบพิศวง และที่สำคัญตามชื่อเรื่อง คือมันทำให้ใจของเราร้อนรุ่มขึ้นมาทันที เพราะมันสะท้อนสังคมชนชั้นที่ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนๆก็ไม่อาจต่างกันได้เลย...ไม่เหงาแต่เศร้า...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/