สวัสดีค่ะ
เราอยากแชร์ประสบการณ์ “ โรคซึมเศร้า” โรคใกล้ตัวที่หลายๆคนคงได้ยินบ่อยมากๆ ในปัจจุบัน แต่น้อยคนนักที่จะรู้ ยอมรับ หรือกล้าที่จะเดินไปพบจิตแพทย์
เราว่าคนส่วนมากยังติดกับความคิดที่ว่า การที่ต้องไปพบจิตแพทย์นั้น เป็นเรื่องหน้าอาย ไม่กล้าไปพบแพทย์จนทำให้ผู้ป่วยหลายๆคนที่เป็นโรคนี้มีอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ อาจจะถึงขั้นทำร้ายตัวเองหรือคิดฆ่าตัวตายในที่สุด
เมื่อไหร่ที่ควรไปจิตแพทย์?
เราขอยกตัวอย่างในเคสของเรานะคะ
เรามีเรื่องที่ทำให้กระทบจิตใจมากๆ บวกกับความเครียดที่สะสมทั้งหมดอาจจะทั้งชีวิต ช่วงพีคมากๆ คือ
- ทานอาหารไม่ลง ตักอาหารเข้าปาก เคี้ยวๆ แล้วกลืน ไม่รู้รสชาติอาหารเลยสักนิด
- นอนไม่หลับ จนต้องพึ่งยานอนหลับติดต่อกันหลายสัปดาห์ จนสมองเริ่มพัง เบลอ ตอบสนองช้า หลงลืม นั่งรถเลยป้าย เหม่อลอย
- ไม่อยากสนทนากับใคร ไม่อยากยิ้ม ไม่อยากทักทายใครทั้งนั้น ( ปกติเป็นคนมนุษยสัมพันธ์ดีค่ะ )
- ไม่มีสมาธิ ไม่อยากทำงาน ทำงานพลาด
- ควบคุมความเศร้าไม่ได้ ร้องไห้ตลอดทั้งวัน
- เริ่มมีความคิด dead wish แว่บเข้ามาในหัว
อาการเหล่านี้เราเป็นอยู่สี่เดือนเต็มๆ วันที่เราตัดสินใจไปพบแพทย์ คือวันที่เราไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เลย เราร้องไห้ไม่หยุดขณะทำงาน จนเราคิดว่ามันไม่ใช่แล้ว รู้สึกสงสารปนกับสมเพชตัวเองมาก
และคิดว่าเราจะปล่อยตัวเองให้เป็นแบบนี้ไม่ได้แล้ว
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
ในเคสของเราเท่าที่ได้คุยกับแพทย์คือ ด้วยพื้นฐานครอบครัว การเลี้ยงดู ประสบการณ์วัยเด็ก ลักษฌะนิสัย กรรมพันธ์ ทุกอย่างล้วนเป็นสาเหตุของโรคนี้
ขั้นตอนการไปพบแพทย์
เรา walk in ไปที่โรงพยาบาลเอกชนค่ะ มุ่งตรงไปที่แผนก Behavioral เดินไปทั้งน้ำตาเลยค่ะ พยาบาลที่เคาน์เตอร์ไม่ต้องซักประวัติใดใด แจ้งชื่อแล้วนั่งรอพบแพทย์ได้เลย
เมื่อพบแพทย์ ท่านก็จะถามว่ามีปัญหาอะไรมา ถามเท่าที่จำเป็น ไม่คาดคั้นและปล่อยให้เราเป็นคนเล่าเอง
ครั้งแรกแพทย์จ่ายยาให้สามตัวค่ะ เป็นยาคลายกังวลทานตอนกลางวัน ตอนก่อนนอน และยาช่วยหลับอีกหนึ่งตัว นัดติดตามอาการหนึ่งสัปดาห์
ผลกระทบของยา
หลังทานยาช่วงแรกๆได้ อาการสงบลงเยอะค่ะ แต่ผลกระทบของยาก็มีมากคือ ง่วงทั้งวัน ตกใจง่าย ใครเรียกชื่อนี่สะดุ้งแรงเลยนะคะ อยากอาหารมากๆ ทานเก่ง ทานทั้งวันจนเพื่อนตกใจ แต่ดีที่เราออกกำลังการเป็นประจำอยู่แล้วเลยไม่อ้วนขึ้นเท่าไหร่ค่ะ
ห้าเดือนผ่านไป
ช่วงสองเดือนแรกหมอนัดติดตามอาการทุกสัปดาห์ อาการดีขึ้นตามลำดับ ตอนนี้นัดพบทุกหนึ่งเดือน มีการลดโดสยาลง แต่ยังต้องทานอย่างต่อเนื่อง เพราะอาการของเรายังไม่สงบซะทีเดียว
เราทำงานได้ตามปกติ ใช้ชีวิตได้ตามปกติ รอยยิ้มและความร่าเริงเริ่มกลับมา มีอาการเศร้าบ้างเป็นครั้งคราวเมื่อเจอสิ่งดระตุ้นแต่ด็สามารถควบคุมมันได้
เคสเราเป็นแค่ระยะเริ่มต้นของโรคนี้นะคะ อาการยังไม่ได้รุนแรงมาก เรายังตื่นขึ้นมาทำงานในทุกๆเช้าได้ ยังมีความคิดด้านดีที่จะดึงตัวเองขึ้นมา
สิ่งที่เราอยากจะบอก
เราเชื่อว่าหลายคนเลยทีเดียวที่กำลังเผชิญกับโรคที่เหมือนเป็นภัยเงียบนี้อยู่ อยากให้ลองสำรวจตัวเองดูค่ะ การพบจิตแพทย์นั้นมันไม่ใช่เรื่องหน้าอาย เราป่วยด้านไหน ก็ต้องได้รับการรักษาด้านนั้น
จิตใจแทบจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้ามันป่วยก็ต้องได้รับดารรักษาเช่นกันค่ะ
อย่าอายที่จะไปพบแพทย์เมื่อรู้ตัวว่าตัวเองเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า
เราอยากแชร์ประสบการณ์ “ โรคซึมเศร้า” โรคใกล้ตัวที่หลายๆคนคงได้ยินบ่อยมากๆ ในปัจจุบัน แต่น้อยคนนักที่จะรู้ ยอมรับ หรือกล้าที่จะเดินไปพบจิตแพทย์
เราว่าคนส่วนมากยังติดกับความคิดที่ว่า การที่ต้องไปพบจิตแพทย์นั้น เป็นเรื่องหน้าอาย ไม่กล้าไปพบแพทย์จนทำให้ผู้ป่วยหลายๆคนที่เป็นโรคนี้มีอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ อาจจะถึงขั้นทำร้ายตัวเองหรือคิดฆ่าตัวตายในที่สุด
เมื่อไหร่ที่ควรไปจิตแพทย์?
เราขอยกตัวอย่างในเคสของเรานะคะ
เรามีเรื่องที่ทำให้กระทบจิตใจมากๆ บวกกับความเครียดที่สะสมทั้งหมดอาจจะทั้งชีวิต ช่วงพีคมากๆ คือ
- ทานอาหารไม่ลง ตักอาหารเข้าปาก เคี้ยวๆ แล้วกลืน ไม่รู้รสชาติอาหารเลยสักนิด
- นอนไม่หลับ จนต้องพึ่งยานอนหลับติดต่อกันหลายสัปดาห์ จนสมองเริ่มพัง เบลอ ตอบสนองช้า หลงลืม นั่งรถเลยป้าย เหม่อลอย
- ไม่อยากสนทนากับใคร ไม่อยากยิ้ม ไม่อยากทักทายใครทั้งนั้น ( ปกติเป็นคนมนุษยสัมพันธ์ดีค่ะ )
- ไม่มีสมาธิ ไม่อยากทำงาน ทำงานพลาด
- ควบคุมความเศร้าไม่ได้ ร้องไห้ตลอดทั้งวัน
- เริ่มมีความคิด dead wish แว่บเข้ามาในหัว
อาการเหล่านี้เราเป็นอยู่สี่เดือนเต็มๆ วันที่เราตัดสินใจไปพบแพทย์ คือวันที่เราไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เลย เราร้องไห้ไม่หยุดขณะทำงาน จนเราคิดว่ามันไม่ใช่แล้ว รู้สึกสงสารปนกับสมเพชตัวเองมาก
และคิดว่าเราจะปล่อยตัวเองให้เป็นแบบนี้ไม่ได้แล้ว
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
ในเคสของเราเท่าที่ได้คุยกับแพทย์คือ ด้วยพื้นฐานครอบครัว การเลี้ยงดู ประสบการณ์วัยเด็ก ลักษฌะนิสัย กรรมพันธ์ ทุกอย่างล้วนเป็นสาเหตุของโรคนี้
ขั้นตอนการไปพบแพทย์
เรา walk in ไปที่โรงพยาบาลเอกชนค่ะ มุ่งตรงไปที่แผนก Behavioral เดินไปทั้งน้ำตาเลยค่ะ พยาบาลที่เคาน์เตอร์ไม่ต้องซักประวัติใดใด แจ้งชื่อแล้วนั่งรอพบแพทย์ได้เลย
เมื่อพบแพทย์ ท่านก็จะถามว่ามีปัญหาอะไรมา ถามเท่าที่จำเป็น ไม่คาดคั้นและปล่อยให้เราเป็นคนเล่าเอง
ครั้งแรกแพทย์จ่ายยาให้สามตัวค่ะ เป็นยาคลายกังวลทานตอนกลางวัน ตอนก่อนนอน และยาช่วยหลับอีกหนึ่งตัว นัดติดตามอาการหนึ่งสัปดาห์
ผลกระทบของยา
หลังทานยาช่วงแรกๆได้ อาการสงบลงเยอะค่ะ แต่ผลกระทบของยาก็มีมากคือ ง่วงทั้งวัน ตกใจง่าย ใครเรียกชื่อนี่สะดุ้งแรงเลยนะคะ อยากอาหารมากๆ ทานเก่ง ทานทั้งวันจนเพื่อนตกใจ แต่ดีที่เราออกกำลังการเป็นประจำอยู่แล้วเลยไม่อ้วนขึ้นเท่าไหร่ค่ะ
ห้าเดือนผ่านไป
ช่วงสองเดือนแรกหมอนัดติดตามอาการทุกสัปดาห์ อาการดีขึ้นตามลำดับ ตอนนี้นัดพบทุกหนึ่งเดือน มีการลดโดสยาลง แต่ยังต้องทานอย่างต่อเนื่อง เพราะอาการของเรายังไม่สงบซะทีเดียว
เราทำงานได้ตามปกติ ใช้ชีวิตได้ตามปกติ รอยยิ้มและความร่าเริงเริ่มกลับมา มีอาการเศร้าบ้างเป็นครั้งคราวเมื่อเจอสิ่งดระตุ้นแต่ด็สามารถควบคุมมันได้
เคสเราเป็นแค่ระยะเริ่มต้นของโรคนี้นะคะ อาการยังไม่ได้รุนแรงมาก เรายังตื่นขึ้นมาทำงานในทุกๆเช้าได้ ยังมีความคิดด้านดีที่จะดึงตัวเองขึ้นมา
สิ่งที่เราอยากจะบอก
เราเชื่อว่าหลายคนเลยทีเดียวที่กำลังเผชิญกับโรคที่เหมือนเป็นภัยเงียบนี้อยู่ อยากให้ลองสำรวจตัวเองดูค่ะ การพบจิตแพทย์นั้นมันไม่ใช่เรื่องหน้าอาย เราป่วยด้านไหน ก็ต้องได้รับการรักษาด้านนั้น
จิตใจแทบจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้ามันป่วยก็ต้องได้รับดารรักษาเช่นกันค่ะ